Blink Blink
Latest news
interviewTeslaUSA

คนไทยรีวิว Tesla Model S ขับมา 4 ปีวิ่งไป 63,138 km, คุ้มไหม?

สวัสดีครับ วันนี้ Blink Drive มีเรื่องราวของชาวไทยที่ซื้อ Tesla Model S มาขับที่ประเทศจีนนะครับ ตอนแรกที่สัมภาษณ์นั้นก็ดูเหมือนเป็นเจ้าของรถยนต์ธรรมดาแต่พอได้พูดคุยเกี่ยวกับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าแล้วรู้เลยว่า บุคคลท่านนี้ไม่ธรรมดาครับ ความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้านั้นเยอะมากๆ และเป็นคนที่ศึกษารถยนต์ไฟฟ้าแบบจริงจังอีกท่านนึงที่ผมเคยพบเจอมาเลย เพียงแต่ที่ผ่านมาเค้าไม่ได้ทำ Public Account อย่างเช่น youtube, หรือ facebook fanpage ให้ทุกท่านได้ชมกันนะครับ

เอาล่ะครับ คนไทยที่เป็นเจ้าของ Tesla Model S ท่านนี้มีนามว่า ติ่งครับ ผมขอเรียกเค้าว่าคุณติ่งแล้วกันนะครับ คุณติ่งซื้อ Tesla Model S มาในปี 2016 ที่ประเทศจีนครับ โดยรุ่นที่เค้าซื้อในตอนนั้นเป็นตัวรอง Top ของ Model S ในปีนั้นคือ 90D

Tesla Model S

รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S ถือว่าเป็นรถยนต์ Sedan (4 ประตู)ที่เร็วที่สุดในโลกตอนนี้นะครับ จุดกำเนิดของรถคันนี้อยู่ที่โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ณ เมือง Fremont รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศอเมริกา

Tesla Model S คันแรกได้ถูกส่งมอบให้แก่ลูกค้า ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ที่โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Fremont

Tesla ประสบความสำเร็จในการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าในอเมริกาในปี 2012 ทำให้ขยายตลาดไปยังยุโรปในปี 2013 ภายในปีเดียว Tesla Model S ขึ้นแท่นรถยนต์ไฟฟ้าขายดีที่สุดในท้องตลาดเกือบทุกประเทศในยุโรปและยอดขายในนอร์เวย์นั้นสูงสุดในประวัติศาสตร์รถยนต์ไฟฟ้าที่เคยมีมา

ในปี 2014 Tesla ได้ทำการขยายตลาดยังไปประเทศจีน และตามมาคือ ญีปุ่่น, ออสเตรเลีย, ฮ่องกง, อังกฤษซึ่งประเทศเหล่านี้มีตำแหน่งพวงมาลัยฝั่งขวาเหมือนประเทศไทย

รูปภาพ : Tesla Model S คันแรกที่ประเทศจีน
รูปภาพ : Tesla Model S จอดชาร์จไฟที่ประเทศญีปุ่น

Tesla Model S นั้นมีโรงงานผลิตแค่แห่งเดียวในโลกเท่านั้นคือประเทศอเมริกา ต่างจาก Tesla Model 3 หรือ Model Y ที่มีโรงงานผลิต 2 แห่งบนโลกแล้วซึ่งนั่นก็คือ จีนและอเมริกา

Model S จะเป็นรถเก๋ง sedan ที่มีขนาดพอ ๆ กับ BMW Series 5 หรือ Mercedes Benz E-Class ครับ

Tesla Model S ในปี 2012 นั้นมีแบตสูงสุดที่ 85 kWh และในปี 2015 Tesla ได้เปิดตัว Model S รุ่นแบต 90 kWh จากนั้นในปี 2016 กลางปี Tesla ก้ได้เขยิบความจุแบตของ Model S รุ่นสูงสุดเป็น 100 kWh ส่วนในปี 2021 นี้ Tesla เตรียมตัวเปิดตัว Model S รุ่น Plaid Mode ที่จะมีแบตสูงสุดถึง 120 kWh หรือมากกว่านั้น

อ้างอิง : Insideev

อย่างไรก็ตาม Tesla Model S ที่คุณติ่งซื้อมาในปี 2016 นั้นยังเป็นตัวรอง Top ของ Model S สมัยนั้นคือ Model S 90D เดี๋ยว Blink Drive จะเล่าให้ฟังว่ารุ่นนี้มีความพิเศษอย่างไรบ้าง?

Tesla Model S 90D

สมัยปี 2015 นั้น Model S แบ่งออกเป็น 4 รุ่นหลักๆ คือ 70, 90, 90D และ P90D ส่วนวิธีการดูตัวเลขเหล่านี้คือ 70 แปลว่า รถคันนั้นใช้แบตขนาด 70 kWh อีกส่วนคือ D โดยคำว่า D ย่อมาจาก Dual Motor ถ้าไม่มี D ตามหลังแสดงว่ารุ่นนั้นเป็นรุ่นขับสอง(ขับหลัง)

อย่างรถยนต์ไฟฟ้า Model S ของคุณติ่งนั้นคือ 90D หรือแบตขนาด 90 kWh และขับเคลื่อนสี่ล้อนั่นเอง

ของคุณติ่งนั้นเป็น 90D ที่ใช้แบตตัว Top แต่ยังไม่ Top สุดของรุ่นครับ ตัว Top สุดในสมัยนั้นคือ P90D ซึ่งตัว P ย่อมาจาก Performance หรือรุ่นแรงและเร็วนั่นเอง

P90D นั้นมีอัตราเร่ง 0 -100 km/h อยู่ที่ 2.8 วินาที ส่วน 90D นั้นอยู่แถวๆ 3.8 วินาทีครับ

ที่ผมแปลกใจคือราคาครับ ประเทศจีนนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากอเมริกาซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งทางการค้าแบบสุด แต่กลับได้ราคารถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S 90D (รองท๊อป)ที่คุณติ่งซื้อมานั้นอยุ่แค่ 5 ล้านบาทกว่าๆ เท่านั้นเอง

เอาล่ะครับ มาอ่านบทสัมภาษณ์ของคุณติ่งที่เป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S คันนี้กันนะครับ

ราคาตอนที่ซื้อตกประมาณ 5 ล้านบาทรวมภาษี ครับ จากเทสล่า โดยตรงเพราะที่จีนเค้ามาเปิดตลาดเอง เเละนี่เป็นรถผมคันเเรกเลยครับ ก่อนหน้านี้ใช้รถแฟน Suzuki Vitara เป็น SUV คันเล็ก ถ้าเทียบกันก็ใช้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่อปีใกล้เคียงกันเเต่ว่าไม่มี HEPA filter เหมือนในเทสล่าครับที่แพงอยู่เวลาเปลี่ยน และถ้ารวมค่าน้ำมันนี่ Vitara แพงกว่าเเน่นอนครับ เพราะผมชาร์จฟรี ละถ้าหากชาร์จที่บ้านไฟ3เฟสก็ถูกกว่าน้ำมันอยู่ดี เเต่ก่อนค่าน้ำมันตกเดือนล่ะ4-5พันกว่าบาทครับ ชาร์จ 20-100%ตก 2ร้อยกว่าบาทถ้าชารจที่บ้านอย่างเดียวคาดว่าตก เดือนละไม่เกิน2พันบาทครับ เอาจริงๆแล้วแท่นชาร์จที่บ้านนี่จะใช้เฉพาะเวลาชาร์จอุ่นแบตเตอรี่ช่วงหน้าหนาวครับ

พอเเฟนคุ้นกับคันนี้เเล้ว นางก็ขาย Vitara ไปเลยครับ ถ้าเป็นการซ่อมเเซมหนักๆเลยไม่มีครับ ถ้าเกิดจากอุบัติเหตุ บุบ ขูดขีด มีบ้าง เเต่มีประกันก็เก็บส่วนนั้นไป

คุณติ่ง

เสียค่าบำรุงรักษา/ค่าซ่อมไปเท่าไหร่?

การบำรุงรักษา ก็เข้าศูนย์เทสล่าเช็คสภาพฟรีครับ ซึ่ง 2 ปีแรกฟรี ในปีที่ 3 มีค่าใช้จ่าย 3,907.4 บาท ตอนใช้งานใกล้ครบ 4 ปี ก็เลือกที่จะต่อ Extended warranty ไปอีก 4 ปี ตกปีละ3หมื่นกว่าบาทครับ จริงๆซื้อไว้เผื่อว่าต้องเปลี่ยนอะไรที่ศูนย์นอกทำไม่ได้ และเผื่อว่า ถ้าจะขายต่อ มีตัว Extended warranty นี้กับชาร์จฟรีด้วยราคาจะดีกว่าครับ ที่ต้องออกค่าใช้จ่ายเองในอนาคตจะมีฟิลเตอร์กรองอากาศ หรือเปลี่ยนยาง เเค่นั้นครับ เเละถ้าต้องเปลี่ยนเเบต 12โวลตก็ต้องออกค่าใช้จ่ายเองเเต่ไม่เเพง ตอนนี้ยังไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ 4 ปีกว่าเเล้ว

คุณติ่ง

ผมจำแนกค่าใช้จ่ายที่คุณติ่งจ่ายไปกับรถคันนี้ ถ้าเทียบกับรถน้ำมันที่เคยใช้ก่อนหน้า ดังนี้นะครับ

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปีโดยประมาณ
  รถน้ำมัน จากระยะเวลา 3 ปี  Model S จากระยะเวลา 3 ปี
ค่าน้ำมัน/ค่าไฟ ฿60,000.00 5 พันบาทต่อเดือน ฿5,000.00 เฉพาะเวลาชาร์จอุ่นแบตเตอรี่ที่บ้านช่วงหน้าหนาว
ค่าบำรุงรักษาทั่วไป ฿10,000.00 เข้าศูนย์ทุก 5 พันกม. ตกปีละ 2-3 ครั้ง ฿1,302.47 ปีที่ 3 มีค่าใช้จ่าย 3,907.4 บาท / 2 ปีแรกฟรี
เปลี่ยนยาง ฿0.00 คันนี้ใช้แค่ 4 หมื่นกม. ยังไม่ได้เปลี่ยนยาง ฿0.00 เปลี่ยนปีที่ 4 รวมเกือบ 3 หมื่นบาท
เปลี่ยนไส้กรอง HEPA ฿0.00 ไม่มี HEPA ครับ ฿4,036.63 เปลี่ยนทุก 2 ปี ครั้งละ 12,109.9 บาท ครั้งแรก
ประกันรถเพิ่มเติม ฿25,000.00 เหมือนกับประกันชั้น 1 บ้านเราครับ ฿49,000.00 เหมือนกับประกันชั้น 1 บ้านเราครับ เพิ่มบางอย่างเฉพาะรถไฟฟ้าตามมูลค่ารถ
รวมเฉลี่ยต่อปี ฿95,000.00   ฿59,339.10 ส่วนต่าง 35660 บาทต่อปี รวม 3 ปี แสนนิดๆครับ
  • Extended Warranty – ประกันตัวนี้จะเหมือน Apple care ที่ซื้อปุ๊บประกันรถก็จะต่อออกไปอีก 4 ปีครับ ซึ่งตกปีล่ะ 3 หมื่นกว่าบาท รวม 4 ปี ก็ 129760 บาทซึ่งจะครอบคลุมอุปกรณ์ทั้งคันนะครับ (Bumper to bumper) ยกเว้นกระจกรอบคัน อันนี้ไม่อยู่ในตัวประกันครับ จริงๆซื้อไว้เผื่อว่าต้องเปลี่ยนอะไรที่ศูนย์นอกทำไม่ได้ และเผื่อว่าจะขายต่อ มีตัวนี้กับชาร์จฟรี ราคาจะดีกว่าครับ
  • ไส้กรองอากาศห้องโดยสาร- ไส้กรองอากาศของ Tesla Model S นั้นเป็นแบบ HEPA Filter ที่อยู่ในเครื่องกรองอากาศชั้นนำของโลกนะครับ ราคาเลยโดดมากๆ แถม Tesla เป็นเจ้าเดียวที่ผลิตเสียด้วยเรียกได้ว่า Made in USA อย่างเดียวครับ ราคา 12,109.9บาทต่ออัน : คุณติ่งเปลี่ยนเมื่อเดือนกันยายน 2563 ครับ อันนี้ครั้งที่ 2 เปลี่ยนทุก 2 ปีโดยเฉลี่ย
  • ค่ายาง4ล้อ ค่าใช้จ่ายประมาณ 29,690.24บาท คุณติ่งเพิ่งเปลี่ยนไปปลายปีที่เเล้วครับ
  • ค่า Maintenance ปีที่ 3 – 843.05 หยวน หรือประมาณ เกือบ 4พันบาท ซึ่งเป็นการเปลี่ยนน้ำยาหล่อเย็นในแบตเตอรี่และของเหลวระบบ power train (มอเตอร์ไฟฟ้า)ครับ

เจอปัญหาอะไรไปบ้าง?

ตั้งแต่ซื้อมายังไม่เคยเจอปัญหาอะไรเกี่ยวกับการขับขี่เลยครับ มีแค่ครั้งเดียวคือ ไปชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่สถานี Tesla Supercharger เเล้วตัวอแดปเตอร์ติด เอาออกจากหัวชาร์จไม่ได้ โทรบอกศูนย์ เค้าส่งคนมาที่สถานีเลย

แล้วเวลามีปัญหาอื่นเเก้เองไม่ได้ นัดเข้าศูนย์ได้เลยครับ เช็คและแก้ไขฟรีเว้นแต่มีการเปลี่ยนอะไรที่ควรเปลี่ยนตามสภาพ+อายุการใช้งานและไม่อยู่ในประกันแต่เค้าจะถามเราก่อน

คุณติ่ง

ข้อดีของรถไฟฟ้าอีกอย่างคือค่าบำรุงรักษาจากการใช้งานปกติไม่แพงเว่อวัง 42k km เกือบ 3ปี รวมค่า maintenance 843.05 หยวน…

Posted by Wutthinan Tiyaworanan on Tuesday, April 16, 2019

ผมว่ารถยนต์ทุกคันยังไงก็ต้องมีปัญหาตามมาอยู่แล้วครับ ไม่มากก็น้อย ถ้าจะไม่มีปัญหาเลยมันคงดูเวอร์เกินไป แต่สิ่งที่สำคัญคือบริการหลังการขายครับ ซึ่งผมดูรีวิวหลายที่ไม่ว่าจะเป็นของฝรั่งหรือของคนไทยที่ใช้งานในต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าเค้าบริการแบบถวายชีวิตจริงๆ เหมือนบริการหลังการขายของ Apple เลยครับ

วิ่งไปกี่ km แล้ว?

ผมใช้งานมา 63,138 กิโลเเล้วครับ รุ่นนี้เเบตใหญ่สุดเเต่หลังจากใช้ไปไม่นานเค้าก็เปิดตัว 100D แอบเสียดายเล็กน้อยครับ 5555,

ตอนได้รถมาใหม่ นี่ชาร์จเต็มวิ่งได้จริง 450กว่ากิโล ปัจจุบัน ชาจเต็มวิ่งได้ 430 กิโลครับ เสื่อมไป 20โลนิดๆ เเต่ผมใช้ Supercharger บ่อยเเละเเต่ก่อนชารจเต็มตลอด จะไม่ค่อยดีต่อเเบตครับ ตอนนี้ชาร์จเเค่ 80-90% มาได้ปีกว่าเเล้ว ต้องดูว่าผ่านไปอีกสักปี จะเสื่อมเพิ่มเยอะไหม

คุณติ่ง

คุณติ่งบอกผมว่าเค้าขับรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S คันนี้เฉลี่ยปีล่ะ 16,000 km และก็ไม่เคยเจอปัญหาใดๆ ระหว่างใช้งานเลย แบตก็เสื่อมแค่ 4.44 % เท่านั้น อ้างอิงจากระยะทางที่ใช้งานได้

ส่วนอีกเรื่องที่คุณติ่งเคยได้ลองทำกับรถคันนี้คือการเอารถคันนี้ไปวิ่ง Road Trip หรือการวิ่งข้ามเมืองครับ

ทริป : ปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ – ปักกิ่ง 2,952 km

มีแฟนเพจ Blink Drive หลายคนถามกันเข้ามาว่า รถยนต์ไฟฟ้าขับไกลแล้วจะมีปัญหาไหม จะเจอสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไหม? ขอตอบเลยว่าต่างประเทศนั้นเค้าพัฒนาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าคลุมเกือบทั้งประเทศและที่สำคัญคือ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของพวกเค้าชาร์จได้ทั้งวันและคืนครับ ไม่เหมือนที่ไทยที่ยังเป็นแบบ ToU อยู่ครับหรือใช้งานได้เฉพาะหลังช่วงเวลา on peak เท่านั้น

รุปภาพ : สถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Supercharger ของประเทศจีนและญีปุ่น

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2017 นั้น ผมได้มีโอกาสไปเสนอไอเดียทางธุรกิจ ที่เซี่ยงไฮ้ จะนั่งรถไฟหรือเครื่องบินไปก็แพงอยู่หน่อย เพราะไปกัน 3 คน เลยตัดสินใจขับรถไปเองครับ จุดพักจากปักกิ่งไป เซี่ยงไฮ้ แบ่งเป็น 3 จุด ซึ่งเป็นจุดที่เราแวะพักแล้วก็พร้อมกับชาร์จไฟรถไปด้วย

รูปภาพ : คุณติ่งและภรรยา

เริ่มต้นจากปักกิ่งวิ่งตรงไปยังจี่หนาน (Beijing-Jinan) ระยะทางประมาณ 410กิโลเมตร แล้วก็แวะพักทานอาหารเช้า พวกเราออกจากปักกิ่งประมาณตีสี่ครึ่ง ถึงประมาณ 9 โมง รวมเวลาพักประมาณ 1ชั่วโมง

จากจี่หนานเดินทางต่อไปยังฉูโจ (Jinan-Xuzhou) ระยะทางประมาณ 330กิโลเมตร แล้วก็แวะพักทานอาหารเที่ยง รวมเวลาพักประมาณ 1ชั่วโมงเช่นกันเดินทางต่อประมาณบ่าย 3

รูปภาพ : คุณติ่งและภรรยา

จากฉูโจเดินทางต่อไปยังหยางโจว (Xuzhou-Yangzhou) ระยะทางประมาณ 370กิโลเมตร ถึงประมาณ1 ทุ่ม พักทานอาหารเย็นประมาณ 1ชั่วโมง ออกรถต่อประมาณสองทุ่ม 15 นาที

จากหยางโจวเดินทางไปเซี่ยงไฮ้ (Yangzhou-Shanghai) ระยะทางประมาณ 360 กิโลเมตร ถึงเกือบเที่ยงคืน

ขากลับก็ย้อนกลับทางเดิมแต่ออกสายไปหน่อยกว่าจะถึงปักกิ่งก็ตี2กว่า โดยรวมถือว่ายังโอเครครับ มีจัดไปอีกแน่นอน

ลองคิดเล่นๆ กันดูน่ะครับว่าถ้าเอารถยนต์น้ำมันมาวิ่งระยะทางเกือบ 3,000 km แบบนี้ อย่างแรกที่ต้องเปลี่ยนหลังจากกลับมาจากทริปนี้คือน้ำมันเครื่องแน่นอนครับ แต่คุณติ่งได้บอกผมว่า เค้าไม่ได้เปลี่ยนหรือซ่อมแซมอะไรเลยหลังจากกลับมาจากทริปนี้ครับ

แถมค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าก็ไม่มีเพราะ Tesla นั้นจัดโปรสำหรับ Tesla Model S และ Model X คือชาร์จไฟฟรีที่ Tesla Supercharger ทุกสาขาตลอดอายุการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าครับ

สรุปค่าใช้จ่าย คือค่าอาหาร ค่าทางด่วน รวม ประมาณ 4 พันกว่าบาทแต่ได้เยี่ยมชม3เมืองระหว่างทาง และไม่เสียค่าน้ำมัน เพราะจุดอัดประจุความเร็วสูง (Supercharger) ชาร์จไฟฟรีและเร็วมาก แถมระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autopilot) ก็ลดความเหนื่อยล้าได้มากมาย ทั้งทริปไม่ต้องเปลี่ยนคนขับเลย

คุณติ่ง

เมื่อ 3 วันที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปเสนอไอเดียทางธุรกิจ ที่เซี่ยงไฮ้ จะนั่งรถไฟหรือเครื่องบินไปก็แพงอยู่หน่อย เพราะไปกัน 3…

Posted by Wutthinan Tiyaworanan on Tuesday, May 30, 2017

คิดว่าคันถัดไปจะซื้อรถอะไร?

หลังจากผมขับรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S มาซักพักแล้ว ตอนนี้ ผมคิดว่าคันถัดไปต้องเป็นรุ่นที่ขับเองได้100%ครับ ผมยังสนุกกับ Tesla Model S คันนี้อยู่มาก แม้ว่าจะเป็นเเค่ AP1 (Auto Pilot Version 1) hardware ก็ตาม ตอนนี้เห็นราคา Model Y ที่จีนเเล้วก็น่าสนมากๆครับ ยังไงผมคงต้องลองไป Test drive ดูก่อนละค่อยตัดสินใจว่าจะอัพเกรด Model S หรือ เอา Model Y มาเป็นคันที่2 ครับ

อีกอย่างรถไฟฟ้าค่ายของจีนเองไม่ว่าจะเป็น NIO, XPENG, BYD, Li …etc ก็น่าสนใจครับ

คุณติ่ง

BLINK DRIVE TAKE

สิ่งที่ผมอยากให้ดูการรีวิวนั้นมีหลายส่วนมากๆ เช่น ซื้อมาไม่ซ่อมเลย ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว เพราะคนเริ่มรู้กันเยอะแล้วว่า ถ้ารถยนต์ไฟฟ้าวิ่งไม่ถึง 300,000 km นั้นแทบไม่ต้องห่วงเรื่องแบตหรือมอเตอร์กันเลย หรือจะเป็นเรื่องเทคโนโลยีที่อยู่ในรถ ซึ่งวิศวกรญี่ปุ่นก็เคยออกมาพูดเองว่า Tesla นำหน้าบริษัทรถยนต์น้ำมันอย่าง Toyota ไปมากกว่า 6 ปีแล้วครับ ดังนั้นผมขอพูดในเรื่องที่ทุกคนยังไม่ทราบกันดีกว่า

หลังจากอ่านโพสนี้เสร็จ ตอนนี้เราคงหมดข้ออ้างเรื่องตั้งกำแพงภาษีนำเข้าแพงๆเพื่อป้องกันไม่ให้ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาขายในประเทศอย่างอิสระออกไปได้แล้วนะครับ เพราะตอนปี 2016 นั้น Tesla ยังไม่คิดจะสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในจีนเลย แต่ประเทศจีนกลับปล่อยให้ Tesla เอา Model S เข้าไปขายในราคา 5 ล้านบาท(ตัวรองท๊อป)ซึ่งราคาแพงกว่าอเมริกาประมาณ 20-30 % เท่านั้นครับ ส่วนไทยหรอครับ Model S 90D คงไม่จบที่ราคา 7-8 ล้านบาทในไทยอย่างแน่นอนครับ เพราะเท่าที่ผมทราบมาคือ Model X 90D ของคุณเอยังอยู่แถวๆ 9 ล้านบาทเลยครับ

ผมคิดว่าถ้ารัฐบาลจริงใจกับประชาชนจริงๆ (คืออยากให้รถยนต์ไฟฟ้าเกิดในไทยจริงๆ) เค้าควรจะบินไปดูงานที่จีนบ่อยๆ ครับ จริงๆ ควรจะบินไปดูงานที่เยอรมัน, เกาหลีใต้, อเมริกา, แคนาดา, นอร์เวย์, อังกฤษ, สวิสเซอร์แลนด์, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, ลาว, อินเดีย, แสกนดิเนเวีย, อิตาลี, ฝรั่งเศส, แม๊กซิโก, ซาอุดิอาราเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ดูไบ), และประเทศอื่นๆ อีกมากมาย เพราะประเทศที่ผมพุดมานี้ขายรถยนต์ไฟฟ้าถูกกว่าไทยทั้งหมดครับ

ผมคิดว่า เราควรจะขายรถยนต์ไฟฟ้าในราคาชนกับราคารถยนต์น้ำมันเพื่อกดดันผู้ผลิตให้หันไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้าครับ ไม่ใช่ขึ้นกำแพงภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าเพื่อกดดันประชาชนไปซื้อของแพงมาใช้ครับ

เหตุผลที่บอกว่ากดดันผู้ผลิตให้เข้ามาผลิตในประเทศโดยการขึ้นกำแพงภาษีรถยนต์ไฟฟ้านั้นฟังไม่ขึ้นในปี 2021 แล้วครับ เพราะประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเค้าไม่ได้ทำแบบไทยกันเลย เราทำตามใครครับเนี่ย?

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Follow by Email