Blink Blink
Latest news
TeslaUSA

Tesla ขึ้นทะเบียนพาณิชย์ที่อินเดียแล้ว เตรียมขาย Model 3 อย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้

Tesla เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่อินเดียเร็วๆนี้อย่างแน่นอน เพราะตอนนี้ Tesla แอบไปตั้งบริษัท R&D (Research and development) วิจัยและพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของตนเองในเมืองบังกาลอหรือบังกาลูลู(Banglore) ณ ประเทศอินเดียแล้วนะครับ

เมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา ทางรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐคานาตากะ(Karnataka)ประเทศอินเดียได้เอาข้อมูลภายในออกมาให้สื่อมวลชนทราบว่า Tesla ได้จดทะเบียนพาณิชย์ในนาม Tesla Motors India and Energy Private Limited

เฟสแรกนั้นจะมีแค่ R&D (Research and development) หรือศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในเมืองบังกาลอ และเฟสถัดมาคือการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ที่ประเทศอินเดียครับ

โดยเทสล่าได้ทำการจ้าง 3 แม่ทัพมาคุมทัพในการทำธุรกิจครั้งนี้ด้วยครับ ได้แก่ Vaibhav Taneja เป็น หัวหน้าด้านบัญชี,  Venkatrangam Sreeram ผู้บริหารระดับสูงของอินเดีย, และ David Jon Feinstein ตำแหน่ง a technical recruiter จากอเมริกา

ตอนนี้อินเดียวางแผนให้เมืองบังกาลอเป็นเมืองตั้งไข่ให้กับเทสล่าเพื่อให้เทสล่าสามารถยืนยัดได้นะครับ จากนั้นจะทำการขยายสาขาของ Tesla ไปยังหัวเมืองต่างๆ ทั่วอินเดีย เช่น มุมไบ, เชนไน, ปูเน่, ไฮเดอราบัด, และหัวเมืองอื่นๆ ครับ

Tesla จะยังคงใช้การขายแบบ Apple หรือเรียกว่า Direct Sale คือการขายทุกอย่างจะผ่าน website และไม่มี dealership ในการหัก % ค่านายหน้าครับ

Tesla Model 3 รุ่นอินเดีย

ยังไม่มีแหล่งข่าวแน่ชัดว่า Tesla Model 3 รุ่นวางขายอินเดียนั้นจะผลิตอินเดียด้วยหรือป่าว แต่ที่แน่ๆ Tesla Model 3 เหล่านี้จะถูกส่งมาจากประเทศจีนครับ อย่างไรก็ตาม Tesla เตรียมวางขาย Tesla Model 3 Long Range ในช่วงแรก สเปคคร่าวๆ คือ วิ่งได้ 560 km WLTP ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง อัตราเร่ง 0-100 km/h ภายใน 4.8 วินาที ส่วนรุ่น Performance จะตามเร็วๆ นี้เช่นกันครับ

รายงานราคา Tesla Model 3 เบื้องต้นนั้นจะอยู่ที่ 5.5 – 6 ล้านรูปี (2.2 – 2.4 ล้านบาท) เนื่องจากเป็นการนำเข้า CBU

หลังจากที่ Tesla สร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเสร็จแล้ว มีการคาดการณ์ว่า ราคารถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 จะลดลงมามากกว่านี้อย่างแน่นอน

ที่มา : firstpost

BLINK DRIVE TAKE

ทุกท่านอ่านข้อความด้านบนไม่ผิดหรอกครับ ผมเขียนให้อ่านอีกรอบก็ได้ครับ เฟสถัดมาคือการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ที่ประเทศอินเดียครับ อ่านแล้วรู้สึกหน้าชากันไหมครับ? อุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็น GDP หลักในการทำเงินเพื่อส่งออกของประเทศไทยกำลังจะโดนอินเดียคาบไปรับประทานครับ

คุณอาจจะเอาร้อยแปดเหตุผล(หรือข้ออ้าง)ที่ Tesla เลือกอินเดียก็ได้ครับ แต่เหตุผลหลักคือ ไทยไม่เคยคิดจะไปจีบเค้ามาลงทุนเลยครับ

ถ้าคิดจะจีบจริงๆ ตอนเค้ามาไทยควรจะรีบมอบ deal (ดีล)สุดพิเศษกว่าคนอื่นให้เค้าครับ

ผมยังย้ำเหมือนเดิมครับว่า เราควรแยกแยะระหว่างคำว่า กีดกันกับกดดันให้ออกก่อน

กดดันหรือกีดกัน

พวกเราอาจจะตีความหมายได้ว่ามันมาถึงยุครถยนต์ไฟฟ้าอย่างปฏิเสธไม่ได้อีกแล้วล่ะครับ ไม่ว่าเทสล่าไปเปิดตลาดที่ไหนในโลกต่างก็มีใบจองรถยนต์ไฟฟ้าแห่กันเข้ามาอย่างถล่มทลาย ยกเว้นประเทศไทย เพราะประเทศเรามีกำแพงภาษีเพื่อกดดันผู้ผลิตที่อยากขายรถยนต์ไฟฟ้าให้เข้ามาผลิตรถยนต์ในประเทศเท่านั้นครับ ช่วงหลังมานี้ผมเริ่มแยกความหมายไม่ออกระหว่างคำว่า กดดันกับกีดกันแล้วครับ เพราะต่างประเทศเกือบทั่วโลกลดกำแพงภาษีรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้เทสล่าเข้าไปขายในประเทศได้อย่างสะดวก อย่างเช่น เกาหลีใต้(ลดกำแพงภาษีไม่พอ กลับแจกเงินให้ประชาชนไปซื้อรถยนต์ไฟฟ้า), จีน(ก่อนเทสล่าสร้างโรงงาน ราคา Tesla ในจีนก็ถูกแสนถูกแล้วครับ), ทุกประเทศในยุโรป(ประมาณ 20 กว่าประเทศ), แคนาดา, แม๊กซิโก, ญีปุ่น(เป็นประเทศผู้นำยอดขายรถยนต์น้ำมัน), เยอรมัน(เจ้าพ่อรถยนต์น้ำมันอยู่กันทั้งนั้น) และประเทศอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อกดดันให้ผู้ผลิตรถยนต์หันไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้แก่ประชาชน

ฝั่งไทยนั้นแปลความหมายคำว่า “กดดัน” เป็นอะไรก็ไม่รู้ ทำให้เกิดการตั้งกำแพงภาษีใส่รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อกดดันให้ผู้ผลิตหน้าใหม่เข้ามาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขายในไทย อารมณ์ประมาณว่า ถ้าอยากขายรถยนต์ไฟฟ้าก็ต้องทำตามผู้ผลิตเจ้าเก่านะ

จริงๆ เราต้องดู scale (สเกล = มาตราส่วน)ของประเทศเราก่อนนะครับ ประชาชนเรามีเพียง 70 ล้านคน ไม่ใช่ 7,000 ล้านคนครับ เราไม่มีอำนาจหรือ demand ในการไปต่อรองประชาคมโลกได้เลยครับ ไม่มีใครมองว่าประเทศไทยเป็นประเทศมีกำลังซื้อมากกว่าจีน, อเมริกา, อินเดีย, หรือแม้กระทั่งเวียดนามหรอกครับ ดังนั้นเราไม่มีกำลังซื้อไปต่อรองให้ผู้ผลิตเข้ามาตั้งฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศได้เลย

การใช้วิธีนี้(การกดดันผู้ผลิตให้มาตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศด้วยการตั้งกำแพงภาษีใส่รถยนต์ไฟฟ้า) มันเป็นวิธีที่ตรงข้ามกับทุกประเทศทั่วโลกครับ ที่พยายามตั้งเป้าเปลี่ยนประเทศตัวเองเป็นประเทศปราศจากควันพิษบนท้องถนน โดยการทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามาวิ่งบนท้องถนนแทนที่รถยนต์น้ำมันครับ

ผมก็อดสงสัยไม่ได้เลยว่า ทำไมจีน, เยอรมัน, เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ไม่คิดแบบไทยๆ กันบ้างนะ ตั้งกำแพงภาษีรถยนต์ไฟฟ้าเท่ากับการนำเข้ารถยนต์น้ำมันไปเลย ฮ่าๆ เพื่อกดดัน(หรือกีดกัน)ให้ Tesla มาตั้งฐานผลิตในประเทศของตนเอง (สี จิ้นผิงควรจะต้องมาศึกษางานที่ไทยนะครับ)

ประเทศที่ผมกล่าวมานั้นมี Tesla Model 3 ขายกันตั้งแต่ราคา 1 – 1.8 ล้านบาทและเป็นประเทศผู้ผลิตยานยนต์ที่เหนือกว่าไทยอีกครับเพราะเป็นต้นกำเนิดยานยนต์ของโลก เค้ายังไม่ “กดดัน” ผู้ผลิตรถยนต์หน้าใหม่ให้เข้ามาขายในประเทศเค้าเลย เค้ายินดีปล่อยให้รถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาผ่านช่องทางภาษี 0 % เป็นกรณีพิเศษเพื่อ “กดดัน” ให้ผู้ผลิตรถยนต์เจ้าเก่าหันไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้าครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Follow by Email