Blink Blink
Latest news
interviewTeslaUSA

ใช้งาน Model 3 ไป 240,000 km ภายใน 2 ปีกว่าๆ ซ่อมไรไปแล้วบ้าง?

หลังจากที่ผมเคยเขียนกระทู้ของคุณ Arthur Driessen ชื่อกระทู้ : ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ไปเกือบ 2 แสนกิโลเมตร, ซ่อมอะไรไปแล้วบ้าง? ไปเมื่อเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมาปรากฏว่าวันนี้แกเพิ่งมาประกาศลงหน้าเว็บของแกว่า แกได้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าไปแล้วมากกว่า 150,000 ไมล์หรือ 240,000 km

Recap กันก่อนนะครับ

หมายเหตุ : recap = สรุปความเดิมตอนที่แล้ว

ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ท่านนี้มีชื่อว่า Arthur Driessen เป็นชาวอเมริกาที่สั่งซื้อ Tesla Model 3 ไปตั้งแต่ Tesla เปิดจองวันแรก และก็ได้รับรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้มาขับในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561(2018) ปรากฏว่า พี่แกอยากทดสอบความแกร่งของรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้เลยเอารถยนต์ไฟฟ้าคันนี้ขับทั่วอเมริกา เอาไปลุยทุกสภาพถนน ตั้งแต่ร้อนจัด(40-50 C) จนไปถึงหนาวจัด(หิมะท่วมถนน)กันเลยทีเดียว

“ตอนผมซื้อรถยนต์ไฟฟ้า tesla model 3 รุ่น long range คันนี้มา รถคันนี้ก็ชาร์จแล้ววิ่งได้ประมาณ 310 ไมล์(496 km) หลังจากใช้งานไป 115,000 ไมล์(187,000 km) แล้ว เมื่ออาทิตย์ที่แล้วผมลองไปชาร์จให้เต็ม 100 % ดู ที่จอของผมก็แสดงให้เห็นว่า รถยนต์ไฟฟ้าคันนี้สามารถได้ 308 ไมล์(492 km) ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง”

คุณอาเธอร์ได้กล่าวเอาไว้ใน clip : Tesla Model 3 Maiden Voyage – 115,000 mi ณ นาทีที่ 6:00

หมายเหตุ : รถรุ่นนี้เป็น Low VIN คือเป็นรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 รุ่นที่ผลิตใน VIN Number 12,xxx หรือเรียกว่า 12,000 คันแรกนะครับ ดังนั้นคันนี้เป็นรถรุ่น LR RWD ชื่อเต็มคือ Long Range, Rear Wheel Drive ณ ปัจจุบัน Tesla หยุดการผลิตรถรุ่นนี้ไปแล้วครับ ตอนนี้ Tesla มีเพียง Long Range , AWD (All wheel drive) ขับสี่ไปเลยในรุ่น Long Range

214,000 km (150,000 ไมล์) ซ่อมอะไรไปแล้วบ้าง?

คุณอาร์เธอร์บอกว่าให้แบ่งการบำรุงรักษาออกเป็นสองส่วนดังนี้

1. ความเสียหายที่เกิดจากความผิดผู้ใช้งาน

ความเสียหายส่วนนี้ คุณอาร์เธอร์ให้นิยามว่า self inflicted หรือความเสียหายที่เกิดจากความผิดผู้ใช้งานครับ ความเสียหายส่วนนี้มาจากที่ผู้ใช้งานเป็นคนกระทำครับ ไม่ว่าจะใช้รถคันไหนก็เจอความเสียหายเหล่านี้ได้ทั้งนั้นครับ โดยความเสียหายเหล่านั้นได้แก่

  1. Reattach PDC Sensor – หรือเป็นระบบตรวจจับตอนจอดรถเรียกเป็นภาษาอังกฤษคือ Parking sensor โดยระบบตัวนี้จะมีในรถยนต์ทั่วไปที่เอาไว้แจ้งเตือนตอนเราจอดรถว่าขับเข้าใกล้วัตถุต่างๆ แค่ไหนแล้วครับ
    คุณอาร์เธอร์บอกว่า เค้าขับรถชนหมาป่าไคโยตี้(coyote)ครับ ดังนั้นเป็นความผิดของผู้ใช้งานเต็มๆ
    ค่าใช้จ่าย : ประกันบริษัท Goodwill เคลมให้ฟรี

2. แผ่นปิดใต้ท้องรถ(Under Tray Areo Shield) – คุณอาร์เธอร์ได้ขับรถผ่านซากสัตว์บนท้องถนนช่วงกลางคืนแล้ว ซากสัตว์ตัวนั้นมันกระชากแผ่นปิดใต้ท้องรถกระเด็นไปกับตา
ค่าใช้จ่าย : $165 หรือ 5,115 บาท

3. กระจกหน้ารถและกระจกหลังคา(Windshield and Roof replaced) ก้อนหินขนาดใหญ่หล่นใส่ระหว่างขับรถขึ้นเขา
ค่าใช้จ่าย : $1536 หรือ 47,616 บาท

4. ล้อแตก(crack rim) ขับเหยียบของแข็งบนพื้นถนน
ค่าใช้จ่าย : $650 หรือ 20,150 บาท

2. ความเสียหายที่เกิดจากการใช้งาน

ความเสียหายนี้คือความเสียหายที่เกิดจากการใช้งานอย่างหนักนะครับซึ่งรถทุกคันต้องโดนกันอยู่แล้วถ้าใช้งานรถหนักๆ เดี๋ยวเรามาดูกันว่า คุณอาร์เธอร์โดนอะไรกันไปบ้างนะครับ

  1. Upper Right Control Arm (ปีกนกด้านบนฝั่งขวา)
    ค่าซ่อม : ฟรี (ประกัน Goodwill เคลมให้)

2. Driver Door Strap (ก้านตัวยึดประตูฝั่งคนขับ)
ค่าซ่อม : ฟรี (ประกัน Goodwill เคลมให้)

อ้างอิงจากข้อมูลของคุณอาเธอร์ : มีอยู่สถานที่แห่งหนึ่งที่เค้าไปเยือนนั้นมีลมพัดมาแรงมากๆ (60 mph หรือ 100 km/h) แล้วเค้าทำการเปิดประตูโดยไม่ได้จับเอาไว้ให้ดี ประตูเลยตีออกไปจนทำให้ก้านตัวยึดประตูฉีกออก ทำให้เค้าต้องซ่อมก้านตัวยึดประตูนี้ครับ

3. Clean and lubricate Rear Splines (ทำความสะอาดและหล่อลื่นลูกหมากรถ(ล้อหลัง))
ค่าซ่อม : ฟรี (ประกัน Goodwill เคลมให้)

4. Upper Left Control Arm (ปีกนกด้านบนฝั่งซ้าย)
ค่าซ่อม : $700 หรือ 21,700 บาท

หมายเหตุ : คุณอาร์เธอร์ชอบเอารถของตนเองไปบุกป่า, ลุยเขาหรือเรียกว่าขับแบบ offroad เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เค้ามองว่าค่าใช้จ่ายการซ่อมเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา คือเฮียแกขับโหดจริงๆ นะครับ ถิ่นทุรกันดานแค่ไหนเฮียแกลุยหมดเลย

ยางรถ

ส่วนเรื่องยางรถนั้นเค้าได้แจกแจงออกมาเป็นอย่างนี้ครับ

  • ยาง 2 เส้น(ล้อหลัง)แรก : ถูกเปลี่ยนตอนระยะทาง 13,000 ไมล์(20,800 km)
  • ยาง 2 เส้น(ล้อหลัง)เซ็ทสอง : ถูกเปลี่ยนตอนระยะทาง 33,000 ไมล์(52,800 km)

หมายเหตุ : เนื่องจากรถคันนี้เป็นรถขับเคลื่อน 2 ล้อ(หลัง) ซึ่งเวลาออกตัวหรือเบรค(รีเจน)ก็จะใช้ล้อหลังเป็นหลัก และอย่างที่รู้ว่า รถยนต์ไฟฟ้านั้นแรงบิดนั้นสูงมากๆ ทำให้การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับ 2 ล้อนั้นกินยางไปมากกว่ารถยนต์น้ำมันแหละครับ

สิ่งเดียวเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำให้ผมหัวเสียก็คือ เรื่องยางรถยนต์เพราะว่า มันเปลี่ยนบ่อยมากๆ(ก็แกเล่นขับเฉลี่ยเดือนล่ะ 5,750 ไมล์(9,200 km) นี่หว่า) แต่สิ่งที่โชคดีคือเค้าซื้อประกันยางของ pirelli เอาไว้ซึ่งประกันยางของยี่ห้อนี้ในอเมริกาประมาณ 70,000 ไมล์(112,000 km) ครับ ซึ่งเค้าประหยัดเงินค่าเปลี่ยนยางไปถึง 65 %เลยทีเดียว

โดยเค้าบอกว่าเค้าได้รับส่วนลดจากค่ายยางค่ายนี้ด้วยซึ่งร้านที่ขายยางให้คุณอาเธอร์นั้นแจ้งว่าถ้ากลับมาเปลี่ยนยางยี่ห้อนี้กับร้าน ร้านจะลดให้อีก 50-60 % จากราคาเต็ม

ตอนนี้เค้าเปลี่ยนยางไปแล้ว 4 รอบ(รอบนึงก็เปลี่ยนทั้ง 4 เส้น)และกำลังจะเปลี่ยนอีกรอบนึงเร็วๆ นี้ครับ

รูปภาพ : ประกันยางรถยนต์ของ pirelli รุ่น cinturato P7 ซึ่งประกันมากถึง 70,000 ไมล์ต่อเส้น

ตอนนี้เจอปัญหาอะไรอยู่บ้าง?

คุณอาเธอร์บอกว่า

  1. ปีกนกด้านบนฝั่งขวา(Upper Right Control Arm)เริ่มมีเสียงดังอีกแล้วตอนช่วง 216,000 km แต่พอเอาซิลีโคนหยอดเข้าไป เสียงก็หายไปแล้ว

2. ก้านตัวยึดประตูฝั่งคนขับ(Driver Door Strap)เริ่มมีเสียงดังอีกแล้วเวลาเปิด-ปิดประตู , เค้าคิดจะเปลี่ยนมันเร็วๆ นี้

3. ประตูเต้ารับไฟรถ(Charge Port Cover) ประตูเต้ารับไฟรถของ Tesla หรือ Charge Port Cover นั้นเป็นแบบ automatic หรือเปิด-ปิดอัตโนมัตินะครับ ณ ปัจจุบัน พี่แกใช้งานเต้ารับไฟรถ(Charge Port)แบบ manual คือใช้มือเปิด-ปิดเองครับ

4. สีรถ : เนื่องจากคุณอาเธอร์ขับรถได้โหดอย่างมาก(240,000 km) ไปแล้ว ทำให้ตัวถังโดยเฉพาะด้านหน้ารถนั้นมีรอยสะเก็ดสีหลุดจากเศษหินที่พุ่งมาชนรถอยู่บ่อยๆ มากมายครับ ทำให้สีหลุดลอกไปเยอะอยู่เหมือนกัน ตอนนี้ตัวถังของเค้าเริ่มมีสนิมที่เกิดจากสีหลุดบ้างแล้วครับ เค้าวางแผนจากพ่นสีใหม่เร็วๆ นี้ครับ

แบตเสื่อมหรือยัง?

เอาละครับ มีถึงอีกเรื่องที่คนไทยหลายคนชอบแซวกันติดปากเหลือเกินว่า “ซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ระวังแบตเสื่อมเร็วนะ” เพราะเจ้า hybrid ที่เคยทำตลาดเอาไว้มากกว่า 10 ปีที่ไทยนั้น ทำเอาไว้แสบมากๆครับ มีคนไทยหลายคนเอาแบตรถยนต์ไฟฟ้าไปเทียบกับแบต hybrid ซึ่งผมอยากทำความเข้าใจตรงนี้เลยว่า “แบต hybrid มันกาก” ครับ เพราะตัวแบต hybrid นั้นไม่มีระบบควบคุมอุณหภูมิ, ใช้แบตประเภท Ni-Mh Battery แบตเตอรี่-นิเกิลเมทัลไฮดราย ซึ่ง life cycle(จำนวนครั้งในการชาร์จ)น้อยกว่าแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, และแถมยังให้แบตมาน้อย (แบต hybrid ของพี่โตทุกรุ่นมาพร้อมขนาด 1.6 kWh หรือน้อยกว่ารถยนต์ไฟฟ้า 40-50 เท่า)

หมายเหตุ : copy ย่อหน้านี้มาจาก : กระทู้ ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ไปเกือบ 2 แสนกิโลเมตร, ซ่อมอะไรไปแล้วบ้าง?

คุณอาเธอร์ก็บอกเช่นกันว่า ผมเซ็งๆ อยู่เหมือนกันเวลาคนที่มาตั้งคำถามแบบนี้กับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผมขับเพราะถ้าแบตเสื่อมจริงๆ ผมคงขับรถคันนี้ไม่ได้แล้วล่ะครับ ฮ่าๆ

แต่ยังไงก็ตามเค้าบอกว่า การประเมินแบตเสื่อม (battery degradation) นั้นเป็นมาตราฐานของความบ้าบอต่างหาก เพราะเอาจริงๆ การประเมินจาก Range หรือระยะทางที่ขับได้จากการชาร์จ 1 ครั้งนั้นไม่เท่ากันซักครั้งหรอก เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่และสภาพถนนนั้นไม่เหมือนกันเลย เว้นแต่ว่าคุณจะขับเส้นทางเดิมทุกๆ วันและคุณใช้รถแค่คนเดียว เพราะบางทีผมก็ขับได้ 220 ไมล์(352 km) จากการชาร์จ 1 ครั้ง แต่บางทีผมก็ขับได้ 300 ไมล์(480 ไมล์)จากการชาร์จ 1 ครั้งเช่นกัน ผมคนเดิม,รถคันเดิมแต่ที่แตกต่างคือสภาพถนนและอากาศในวันนั้น(ฝนตก, หิมะตกเป็นต้น)

อย่างไรก็ตามผมมีสูตรคำนวณแบตของรถผมเอาไว้ดังนี้

 ผมใช้งานรถไป 63 kWh จากแบตรถที่แจ้งเตือนว่ามีถึง 96% ดังนั้นสูตรของผมคือ

(63kWh/96%)=(x/100%)

จะเห็นได้ว่า x= 65.62 หรือเรียกได้ว่าถ้าผมชาร์จแบต 100 % จะมีประจุไฟเหลืออยู่ประมาณ 65.62 kWh

รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 รุ่น Long Range นั้นจะมีความจุแบตอยู่ที่ 75 kWh แต่เอาจริงๆ 1 kWh จากแบตนั้นเอาเป็น buffer (บัพเฟอร์ หรือ สำรอง)ไม่ได้เอามาใช้งานจริง ดังนั้นแบตจะมีความจุสูงสุดที่ 74 kWh เท่านั้น ถ้าคำนวณกันดีๆแล้ว แบตรถผมจะเสื่อมไปแล้วเพียง 11.4 % เท่านั้น

ที่มาข้อมูลทั้งหมด : voyagewithoutcarbon

สรุปค่าเสียหายทั้งหมด

2. แผ่นปิดใต้ท้องรถ(Under Tray Areo Shield) – คุณอาร์เธอร์ได้ขับรถผ่านซากสัตว์บนท้องถนนช่วงกลางคืนแล้ว ซากสัตว์ตัวนั้นมันกระชากแผ่นปิดใต้ท้องรถกระเด็นไปกับตา
ค่าใช้จ่าย : $165 หรือ 5,115 บาท

3. กระจกหน้ารถและกระจกหลังคา(Windshield and Roof replaced) ก้อนหินขนาดใหญ่หล่นใส่ระหว่างขับรถขึ้นเขา
ค่าใช้จ่าย : $1536 หรือ 47,616 บาท

4. ล้อแตก(crack rim) ขับเหยียบของแข็งบนพื้นถนน
ค่าใช้จ่าย : $650 หรือ 20,150 บาท

5. Upper Left Control Arm (ปีกนกด้านบนฝั่งซ้าย)
ค่าซ่อม : $700 หรือ 21,700 บาท

6. เปลี่ยนยาง 4 รอบ รอบล่ะ $820 หรือ 25,420 บาท
ทั้งหมด 4 รอบจะตกประมาณ 101,680 บาท

ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เสียไปในการซ่อมบำรุงรถคันนี้ : 191,146 บาท

BLINK DRIVE TAKE

สุดยอดไปเลยนะครับ ขับรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ไปทั้งหมด 240,000 km แต่เสียค่าซ่อมไปเพียง 191,146 บาท เองนะครับ อย่างไรก็ตามนี่ยังไม่รวมค่าประกันรถ, ค่าไฟสำหรับชาร์จรถ, ค่าอาหารระหว่างทางซึ่งรถยนต์น้ำมันก็ต้องจ่ายราคานี้อยู่แล้วครับ ผมถึงไม่เอามารวมด้วยนะครับ

ส่วนอีกเรื่องคือเค้าบอกว่า เค้าได้ทำการเข้าศูนย์เพื่อไปซ่อมรถตามเมืองต่างๆ ซึ่งผมไม่ได้ลงรายละเอียดอื่นๆ มาให้เลย แต่เค้าบอกว่า เค้าไม่ได้เสียเงินค่าบริการอื่นๆ ให้กับ Tesla เลย ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่ผมเอามาวางไว้ให้นี่คือ final expense แล้วครับ หรือเป็นค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดแล้วครับ

หมายเหตุ : รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ของคุณอาเธอร์นั้นเป็นรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ที่วิ่งเยอะที่สุดในโลกตอนนี้ครับ และเค้าก็ครองแชมป์นี้มาตั้งแต่ปี 2019 แล้วครับ

เรามาลุ้นกันนะครับว่าเค้าจะสามารถพารถคันนี้ทะลุ 1 ล้านกิโลเมตรได้ไหม

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Follow by Email