Blink Blink
Latest news
EV CarstoyotaUSA

ชาวอเมริกาจ่ายค่าซ่อมรถ Fuel Cell ไป 133,000 บาท($3,500) เพราะเศษกรวดทะลุเข้าตะแกรงหม้อน้ำรถ

ผมขออ้างอิงข้อมูลนี้จากเว็บ edmund น่ะครับ ซึ่งมีผู้ใช้งานจริงมารีวิวปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถยนต์พลังงานไฮโดรเจน Toyota Mirai ของตนครับ

https://www.edmunds.com/toyota/mirai/2018/consumer-reviews/?rating=1

ค่าบำรุงแพงมาก

ปัญหาอย่างแรกที่ผู้ผลิตเลี่ยงที่จะตอบคือค่าซ่อมบำรุงครับ แผง Fuel cell นั้น sensitive กับฝุ่นละอองมากๆ ถ้าเกิดใช้งานไปแล้วมีฝุ่นเข้าไประหว่างแผงนั้นจะทำให้การแปลงประจุพลังงานไฟฟ้าตกลงอย่างมาก ดังนั้นผู้ผลิตก็เสนอว่า ทุกๆ 5,000 – 10,000 ไมล์(8,000 – 16,000 km) ผู้ใช้งานรถยนต์พลังงานไฮโดนเจนต้องนำรถเข้าศูนย์เพื่อทำความสะอาดแผง Fuel Cell ครับ

ก้อนกรวดทะลุเข้าตะแกรงซ่อมแสนกว่า

อย่างผู้ใช้งาน Krishnan Srini ท่านนี้ได้บอกว่า ซื้อรถยนต์น้ำมันมาใช้งานทั่วไปไม่เคยเกิดปัญหาอะไรเลย แต่พอเราของ lease (เช่าระยะยาว)มาใช้งานปรากฏว่า เสียเงินซ่อมรถไป 114,000 – 152,000 บาท($3,000 – $4,000) เลยทีเดียว จริงๆ แล้วรถ lease นั้นเค้าจะไม่ให้เราซ่อมเครื่องยนต์หรืออะไรทั้งนั้นน่ะครับ ยกเว้นแต่ตัวถังรถที่รถขับไปเฉี่ยวชนมา(cosmetic damage : ความผิดของผู้ใช้งาน)เราจำเป็นต้องซ่อมเองครับ

มาเคสนี้ คุณ Krishnan ยั๊วเอามากๆ เพราะว่าเค้าขับรถ Mirai ซึ่งมันมีกระจังหน้ารถที่ใหญ่กว่ารถยนต์น้ำมันมากๆ เพราะรถคันนี้มันต้องดูดอากาศเข้าไปในแผง Fuel Cell เยอะๆเพื่อทำการแปรรูปอ๊อกซิเจน(อากาศจากนอกรถ)และไฮโดรเจนเป็นกระแสไฟฟ้า

คราวนี้ความซวยมาเกิดเพราะมีก้อนหินขนาดเล็ก(เล็กพอๆ กับก้อนกรวด) มันดันกระเด็นเข้าไประหว่างเค้าขับรถบน highway(ถนนหลวงที่ใช้ความเร็วสูง) ซึ่งมันดันไปโดน Coolant tank (หม้อน้ำรถ) ซึ่ง toyota ปฏิเสธที่จะซ่อมให้ฟรีครับ เพราะเค้ามองว่าเป็นความผิดของ User แต่เอาจริงๆ น่ะครับ ยังไม่มีรถยนต์น้ำมันคันไหนเจอปัญหาก้อนกรวดทะลุหม้อน้ำให้พวกเราเห็นเลยครับ ยิ่งอเมริกานั้นเป็นประเทศที่ customer right สูงมากๆ ถ้าเจอเคสแบบนี้ แถมอยู่ในประกันซะด้วย ส่วนใหญ่ ศูนย์จะเปลี่ยนให้ฟรีครับ แต่ศูนย์ปัดความรับผิดชอบ(ออกแนวโทษคนออกแบบรถ)เพราะเค้าบอกว่า การออกแบบรถคันนี้มันไม่เหมือนรถยนต์น้ำมันเสียทีเดียว แถมอะไหล่ก็ใช้งานแพงกว่าอย่างมาก ทำให้ศูนย์ไม่รับผิดชอบอะไรกับปัญหานี้เลยครับ แถมคุณ Krishnan มาเจอทีหลังว่า คนใช้รถ Toyota Mirai แบบเค้าก็เจอปัญหาหินกรวดพุ่งทะลุหม้อน้ำกันทั้งนั้น

สุดท้ายคุณ Krishnan ต้องจ่ายค่าซ่อมประมาณ 114,000 – 152,000 บาท($3,000 – $4,000) เองทั้งหมดครับ

ปัญหาอย่างที่สองคือ หาปั้มเติมก๊าซยากมากๆ

รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนนั้นเหมือนรถยนต์น้ำมันครับ ยังต้องพึ่งปั้มไฮโดรเจนเพื่อหาเติมเชื้อเพลิง แตกต่างจากรถยนต์ไฟฟ้าที่ชาร์จที่ไหนก็ได้ ชาร์จที่บ้านก็ได้, ชาร์จที่จอดรถหน้าห้างก็ได้, แถมสถานีชาร์จไฟในอเมริกาก็มีมากกว่า 30,000 แห่งไปเสียแล้วครับ

 ผม capture comment ของคุณ Ken Post ซึ่งมีรถพลังงานไฮโดรเจนเอาไว้ครอบครองเช่นกัน เค้ามีปัญหาเกี่ยวกับการเติมแก๊สไฮโดรเจนอย่างมาก อย่างที่รู้กันว่า Toyota ขายรถพร้อม credit ฟรีให้เติมแก๊สใช้กันฟรีๆ ถึง 3 ปีเต็มครับ แต่ปรากฏว่าปั้มแก๊สไฮโดรเจนในสหรัฐอเมริกานั้นมีเพียง 47 ปั้ม แถมคุณ Ken บอกว่าครึ่งนึงของปั้มเหล่านั้นไม่มีแก๊สไฮโดรเจนให้เติม โดยในทุกๆ วันที่เค้าจะเติมแก๊สไฮโดรเจนนั้น เค้าต้องโทรไปถามปั้มแต่ล่ะปั้มว่าวันนี้มีแก๊สเข้ามาไหม ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากมากเลยครับ หรือถ้าปั้มไหนมีแก๊สจริงๆ ก็จะมีรถเข้ามาต่อแถวยาวมากๆ เพื่อจอดรอเติมแก๊สกัน ซึ่งเค้าบอกอีกว่า โฆษณาของ toyota บอกว่า เติมเต็มถังวิ่งได้ 310 ไมล์หรือ 496 km แต่เอาจริงๆ ตั้งแต่คุณ Ken ซื้อมาใช้ยังไม่เคยวิ่งได้เกิน 210 ไมล์หรือ 336 km ต่อจำนวนแก๊สไฮโดนเจน 1 ถังเลยครับ แถมโปรเติมแก๊สฟรี 3 ปีนั้นคือตัวหลอกล่อชัดๆ เพราะหลัง 3 ปีไปแล้วคุณต้องแบกรับภาระค่าแก๊สไฮโดรเจนซึ่งราคา kg ล่ะ $16 หรือประมาณ 608 บาทเอาง่ายๆ ว่าถ้าเต็มเติมถังก็ตก $70 หรือ 2,660 บาทกับระยะทางที่วิ่งได้เพียง 336 km เท่านั้นเอง(ตกกิโลเมตรล่ะ 8 บาทครับ)

รถยนต์ไฟฟ้าที่วิ่งได้ 336 km นั้นจะเสียค่าไฟประมาณ $5 หรือ 190 บาทในกรณีชาร์จไฟบ้าน ส่วนไฟ DC Fast Charge Station ก็ประมาณ 50 kWh x 10 บาทต่อหน่วย = 500 บาทหรือถูกกว่ากันประมาณ 5 เท่าครับ

BLINK DRIVE TAKE

ผมมองว่าถ้าค่ายรถยนต์น้ำมันอยากสร้างรถเพื่อเอาชนะรถยนต์ไฟฟ้าจริงๆ ต้องสร้างสถานีเติมไฮโดรเจนให้แพร่หลายก่อนน่ะครับ แต่ใครจะกล้ามาลงทุนครับเพราะการสร้างสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนสถานีนึงให้ได้มาตราฐานนั้นจะเสียเงินประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 60 ล้านบาทครับ นี่ยังไม่รวมค่าจ้างรถขนแก๊สไฮโดนเจนซื้อต้องเป็นรถที่มีถังขนแก๊สโดยเฉพาะเพราะว่าแก๊สไฮโดรเจนนั้นมีแรงดันมากกว่าแก๊สธรรมดาถึง 1,000 เท่าครับ

ผมจะเอาตารางให้ดูว่าแก๊สแต่ล่ะตัวนั้นใช้แรงดันที่เท่าไหร่ในการเก็บกันบ้าง

  • ถังแก๊ส LPG จะมีแรงดันของก๊าซประมาณ 100-130 PSI
  • ถังแก๊ส NGV จะมีแรงดันของก๊าซประมาณ 2,200 – 2,800 PSI
  • ถังแก๊ส Hydrogen จะมีแรงดันของก๊าซประมาณ 10,000 psi

ยังไงเราคงต้องรอให้ Hydrogen ราคาต่ำกว่า kg ล่ะ $1.6 หรือ 60 บาทแหละครับ(หรือถูกกว่าค่า Hydrogen ทุกวันนี้ประมาณ 10 เท่า) มันถึงจะเท่ากับค่าใช้จ่ายการเดินทางด้วยรถยนต์ไฟฟ้าแบบชาร์จ DC ครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

พูดคุยแลกเปลี่ยนข่าวสารเทคโนโลยีได้ที่ Discord นี้

Follow by Email