Blink Blink
Latest news
TeslaUSA

แนวทางการดับเพลิงรถยนต์ไฟฟ้า (Tesla Model 3)

น้ำ

น้ำเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการดับเพลิงรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งถ้าจะดับให้ได้นั้นอาจจะต้องใช้น้ำมากถึง 11,000 – 30,000 ลิตร โดยให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเล็งฉีดน้ำไปที่ตัวรังแบตที่อยู่ภายในห้องโดยสาร ในกรณียังไม่สามารถต่อท่อเพื่อดำน้ำมาดับเพลิงได้ ทางเจ้าหน้าที่สามารถใช้ก๊าซ CO2 , ผงเคมีแห้งหรือสารเคมีที่สามารถใช้ในการดับเพลิงมาใช้ทดแทนจนกว่าจะสามารถหาน้ำมาใช้ดับเพลิงได้

หมายเหตุ : Tesla ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีประเภทโฟมในการดับเพลิงรถยนต์ไฟฟ้า

บริษัท Tesla ไม่แนะนำให้โยนรถที่ไฟไหม้อยู่ลงไปในบ่อน้ำหรือสระน้ำเพื่อทำการดับเพลิง

คำเตือน : หลังจากที่ทำการดับเพลิงรถยนต์ไฟฟ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องเปิดน้ำแบบหรี่ๆ เพื่อหล่อเลี้ยง

หาตำแหน่งยกรถเพื่อดับเพลิง

อย่างไรก็ตามการดับเพลิงรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ที่ดีที่สุดนั้นคือการฉีดน้ำตรงเข้าสู่รังแบตที่อยู่ด้านล่างของห้องโดยสารครับ ซึ่งสิ่งสำคัญคือ เจ้าหน้าที่ต้องยกให้โดนตรงจุดที่เป็นตำแหน่งยกรถ (ไม่ใช่ค้ำเหล็กกดโดนแผงแบตเตอรี่ไม่งั้นจะก่อให้เกิดไฟลุกไหม้อีกจุด)

อ้างอิงจากภาพด้านบน บริเวณสีเขียวนั้นคือบริเวณปลอดภัยที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงหรือกู้ภัยจะสามารถทำการยกรถขึ้นมาได้ ส่วนบริเวณสีเหลืองนั้นเป็นบริเวณที่ปลอดภัยสำหรับการเอียงรถขึ้นมาพิงหรือวางเอาไว้ อีกบริเวณนึงคือสีส้มเข้มนี่เป็นบริเวณต้องห้าม ห้ามทำการเอาตัวยกรถไปยังบริเวณนี้เพื่อทำการดันรถขึ้นมาเพราะว่านี่เป็นบริเวณรังแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ของรถซึ่งเปราะบางอย่างมากต่อการกดทับอย่างมากครับ

หมายเหตุ : แบตเตอรี่ lithium-ion นั้นไวต่ออากาศภายนอก ถ้าตัวแบตฉีกขาดแล้วโดนอากาศเมื่อไหร่มันจะลุกไหม้ทันทีครับ ผมจะทิ้งวิดีโอการเอาไฮโดรลิคกดตัวแบตเอาไว้ตรงนี้นะครับ เมื่อใดก็ตามที่สารเคมีภายในโดนอากาศมันก็จะไหม้ทันทีครับ

กล้องตรวจจับความร้อน

กล้องตรวจจับความร้อน [Thermal Imagery Camera or Infrared (TIC or IR)] เป็นสิ่งสำคัญในการดับเพลิงรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการร่นระยะเวลาในการดับเพลิงและใช้น้ำในการดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น

โดยตัวกล้องตรวจจับความร้อนนั้นจะสามารถแยกแบตที่กำลังไหม้(แถบความร้อนจะสูง)อยู่จากแบตที่ยังไม่ไหม้(แถบความร้อนจะต่ำ)เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำการฉีดน้ำเพื่อควบคุมเพลิงบริเวณที่ไหม้อยู่เท่านั้น

ในตลาด online นั้นจะมีกล้องตรวจจับความร้อนมีหลายเกรดและยี่ห้อนะครับ อย่างไรก็ตามผมเอากราฟอุณหภูมิการไหม้แบต NMC (lithium-nickel-manganese-cobalt) ซึ่งเป็นแบตที่ใช้งานใน Tesla Model 3 รุ่น Long Range และ Performance มาให้ดูกันนะครับ

ที่มา : NMC burning Graph

โดยทุกท่านจะเห็นได้ว่าตัวแบตนั้นจะเริ่มมีอุณหภูมิกระชากขึ้นแถวๆช่วง Thermal runaway (ไหม้ไปซักพักแล้ว) ซึ่งอุณหภูมิช่วงนี้จะอยู่แถวๆ 240 องศาเซลเซียสก่อนที่จะพุ่งสูงไปถึง 700 องศาเซลเซียสกันเลยนะครับ

ดังนั้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถทำงานได้ดีที่สุดในสถานการณ์แบบนี้ ทางเจ้าหน้าที่สามารถนำข้อมูลนี้ไปเสนอกับทางหน่วยงานของท่านเพื่อหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมที่ใช้รับมือกับรถยนต์ไฟฟ้ากันต่อไปนะครับ

ระวังอุปกรณ์ในรถระเบิด

ในกรณีรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ไฟไหม้นั้น เพลิงไหม้สามารถลามไปทั่วตัวรถจนไปถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีแก๊สสะสมเอาไว้เช่น โช๊คหลังรถ, ถุงลมนิรภัย(ในกรณีที่ยังไม่ระเบิดออก), และอุปกรณ์ที่มีแก๊สสะสมต่างๆ ผมได้เอารูปแนบเอาไว้ด้านล่างนี้นะครับ

หมายเหตุ : อุปกรณ์ที่มีการวงสีแดงล้อมเอาไว้นี้เป็นอุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อการระเบิดออกมาระหว่างที่ไฟไหม้ตัวรถนะครับ เนื่องจากภายในอุปกรณ์เหล่านี้มีแก๊สสะสมอยู่

สวมใส่หน้ากากกันแก๊สพิษ

สิ่งที่นักดับเพลิงทุกท่านควรมีคือหน้ากากกันแก๊สพิษนะครับ เพราะแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ปล่อยควันออกมาหรือกำลังไหม้นั้นจะปล่อยแก๊สพิษต่างๆ ออกมา เช่น คาร์บอน ไดอ็อกไซด์, ไฮโดรเจน, คาร์บอนมอนอกไซด์, เขม่า, และสารพิษอื่นๆ ส่วนใครที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุนั้นก็ควรถอยห่างออกมาเพื่อไม่ให้ตัวเองสูดดมก๊าซเหล่านั้นเข้าไปครับ

ข้อควรระวัง : No-cut Zone(บริเวณที่ห้ามตัด)

ถ้าพี่ๆ หน่วยกู้ภัยหรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องการตัดรถเพื่อช่วยเหลือผู้โดยสารภายในรถจริงๆ นั้นล่ะก็ ควรจะละเว้นการตัดตัวถังรถตามบริเวณพื้นที่สีแดงด้านล่างนี้นะครับ ส่วนพื้นที่สีฟ้าอมเขียวนั้นสามารถตัดได้เลยครับ

หลังจากไฟดับแล้ว ควรทำงานต่อ?

หลังจากที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทำการดับเพลิงได้หมดแล้วก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจนะครับ เพราะตัวแบตเตอรี่ของ Tesla นั้นแต่เดิมมันมี liquid cooling แต่พอเจออุบัติเหตุหรือไฟไหม้ ตัว liquid cooling ในแบตนั้นก็ไหลออกจนหมดแล้วครับ คราวนี้ก็เหลือเพียงตัวแบตเตอรี่เฉยๆที่มีโอกาสจะลุกไหม้ขึ้นต่อภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเกิดเพลิงไหม้ครับ

Tesla แนะนำว่าให้เอาไปวางในที่โล่งห่างจากสิ่งของต่างๆ เช่น รถยนต์, ตึกอาคาร, และของต่างๆ เป็นระยะ 15 เมตรและเป็นเวลา 24 ชั่วโมงเพื่อให้แน่ใจว่าในตัวแบตไม่มีความร้อนใดๆ คงเหลืออยู่เพื่อเกิดการไหม้ครั้งที่สองครับ

หลังจากครบ 24 ชั่วโมงแล้ว ทางทีมชุดแรก(First responder) จึงจะอนุญาตส่งชิ้นส่วนเหล่านั้นให้กับผู้เกี่ยวข้องเข้ามาประเมินสถานการณ์ต่อได้ครับ

ที่มาของข้อมูล : Tesla

ข้อมูลเพิ่มเติม

ทุกท่านสามารถดูข้อมูลการดับเพลิงรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติมได้ที่วิดีโอฝรั่งด้านล่างนี้นะครับ

BLINK DRIVE TAKE

หลังจากที่คุณเวลส่งข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ไหม้ที่ไทยเป็นคันแรกนี้ พวกเราก็รีบทำความเข้าใจกับลูกเพจและคนรอบข้างทันทีว่าสถานการณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร, และแนวทางป้องกันคืออะไร ส่วนนี่คือคลิปที่คุณเวลทำการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่กู้ภัยและพยานในเหตุการณ์ทั้งหมดมานะครับ

ผมขอมอบคู่มือการดับเพลิงรถยนต์ไฟฟ้าให้กับพี่ๆ หน่วยกู้ภัยและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงทุกท่าน ขอบคุณทุกท่านจริงๆ ที่ทำงานกันอย่างเต็มที่และดูแลความปลอดภัยให้กับชาวไทยของเรามาโดยตลอดครับ

พวกคุณคือฮีโร่ของคนไทยทุกคนครับ

ปล. ถ้าพี่ๆ หน่วยกู้ภัยหรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิงท่านใดอยากให้ Blink Drive แปลบทความภาษาอังกฤษที่เป็นคู่มือการจัดการกับเพลิงไหม้ของรถยนต์ไฟฟ้าก็แจ้งมาได้ที่ Blink Drive Facebook Fanpage นะครับ ผมยินดีแปลให้ฟรีครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

แชร์ข่าวสารน่าสนใจมาได้ที่ THE FORTRESS

Follow by Email