Blink Blink
Latest news
TeslaUSA

แผลแค่นิ้วหัวแม่โป้ง เทสล่าคิดค่าซ่อม 5.26 แสนบาท($16K), ปรากฏซ่อมอู่นอกจบที่ 21,000 บาท($700)

เหตุเกิดจากผู้ใช้งานเทสล่า โมเดล 3 นามว่า ดอนัลด์ โบน หรือผมขอเรียกคุณดอนัลด์ล่ะกันครับ เค้าใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 SR+(Standard Range Plus) แล้วขับไปขูดหินหรือเศษวัสดุขนาดใหญ่ที่อยู่กลางถนน(debris)เข้า ปรากฏว่า debris(เศษวัสดุ)นั้นไปกระทบโดนชิ้นส่วนใต้ท้องรถเบาๆ ทีนึง

ศูนย์ตีค่าซ่อม 526,000 บาท

ตอนแรกเค้าก็ไม่ได้เอะใจอะไรเพราะแรงกระทบและเสียงที่กระทบนั้นไม่ได้แรงเลย เค้าก็คิดว่าเดี๋ยวเอาไปให้ศูนย์เทสล่าดูดีกว่าเพราะมีน้ำไหลออกมาจากด้านล่างของรถครับ ตอนแกเอารถไปให้เทสล่าตรวจเชคแกก็คิดว่าแผลนี้น่าจะประมาณ 24,000 บาท($800) แต่ปรากฏว่า Tesla แจ้งเค้ามาว่า เศษซากปรักหักพัง(ฝรั่งใช้คำว่า debris ซึ่งมันแปลว่าเศษซาก) ที่ไปกระแทกใต้ท้องรถเค้านั้นไปกระทบโดน port (ท่อ)นึงแล้วเกิดหัก คุณดอนัลด์ฟังเสร็จก็คิดว่า อืม เข้าใจดีและบอกให้เทสล่าเปลี่ยนอะไหล่ตัวนั้น

แต่ปรากฏว่าเทสล่าแจ้งมาว่าต้องเปลี่ยนแบตทั้ง pack เลยเพราะตัว port ตัวนี้มันยึดติดกับรังแบต Tesla เอาไว้ซึ่งไม่สามารถซ่อมเฉพาะ port ได้และเนื่องจากเป็นความผิดของผู้ใช้งาน ไม่ได้เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการผลิตหรือผู้ผลิตครับ

คุณดอโนล์ดได้ยินปุ๊บก็คอตกเลย เค้าสารภาพเลยว่าไม่มีเงินเยอะขนาดนั้นเพื่อที่จะซ่อมอะไหล่ตัวนี้ แล้วความโชคร้ายอีกอย่างนึงคือแกเพิ่งเปลี่ยนประกันรถไม่กี่วันเอง และประกันรถตัวใหม่นั้นไม่มี comprehensive insurance ซึ่งก็คือประกันตัวรถที่นอกเหนือจากอุบัติเหตุทางถนนหรือเรียกอีกอย่างว่าถ้ารถถูกขโมย, โดนกรีดรถ, รถไฟไหม้, ต้นไม้หล่นทับ, หรือลูกเห็บตกใส่ เป็นต้น ประกันตัวนี้จะครอบคลุมตัวรถครับ แต่พี่แกดันไม่ได้ทำประกันตัวนี้เอาไว้เพราะแกคิดว่าชีวิตนี้ดวงไม่น่าจะซวยได้ปานนี้ครับ เคสนี้จะจบได้ง่ายๆ ถ้าพี่ดอโนล์ดทำประกันชั้น 1 เอาไว้ครับ

คุณดอโนล์ดก็พยายามติดต่อทนายเพื่อสู้เคสนี้กับเทสล่าแต่ไม่มีทนายที่ไหนเอาด้วยเลยเพราะเทสล่าเป็นบริษัทที่ใหญ่และเคสนี้คือ คุณดอโนล์ดผิดเต็มๆ ตรงที่ไม่มีประกัน comprehensive insurance เอาไว้(แต่เท่าที่ผมดูจากการที่แกพูดแล้วเหมือนกับแกไม่มี insurance ตอนรถประสบปัญหาเลยนะครับ แต่ยังไงผมไม่ขอ comment ตรงนี้นะครับ)

รูปภาพ : คุณดอโนล์ด

ขอซื้อแบตpackเก่าจาก Tesla

คุณดอโนล์ดก็เริ่มค้นหาราคาแบตมือสองใน ebay แล้วว่าราคาเท่าไหร่แต่ปรากฏว่าเค้าขายกันเฉพาะ Module battery ไม่ใช่ battery pack (ขออนุญาติอธิบายนิดนึงนะครับว่า Tesla Model 3 Battery pack นั้นจะมี 4 Module ภายในแบบภาพด้านล่างนี้ครับ)

ดังนั้นคุณโดนัลด์ก็เลยมีไอเดียว่า ถ้า Tesla เปลี่ยน Battery pack เค้าในราคา 5.26 แสนบาท($16,000) งั้นเค้าก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของแบตก้อนเก่าที่ Tesla เปลี่ยนออกไป แต่ปรากฏว่ามันไม่ง่ายเช่นนั้นครับ แบตเตอรี่จะปลอดภัยเมื่ออยู่ภายในรถ ถ้าแบตเตอรี่เป็นไรขึ้นมาในขณะที่มันเชื่อมต่อกับรถนั้น ความผิดจะเป็นของผู้ผลิตครับ แต่ถ้าแกะแบตออกมาแบบภาพด้านล่างนี้แล้วความผิดจะตกไปอยู่ที่คนแกะแบตครับ ซึ่งช่างในอเมริกา(คนที่คุณดอนัลด์เอารถไปซ่อม)ก็ยืนยันเหมือนช่างของ Tesla ว่า ห้ามสั่งซื้อแบตมาแกะเล่นเองถ้าคุณไม่มี license เกี่ยวกับแบตหรือรถยนต์ไฟฟ้าเพราะมันอันตรายถึงชีวิตเลยล่ะครับ สรุปคุณดอโดล์ดก็ตัดสินใจไม่เปลี่ยนแบตกับ Tesla ครับเพราะเค้าแทบไม่ได้แบตแพ๊คเดิม

ค่าซ่อมจาก 5.26 แสนบาทเหลือเพียง 21,000 บาท

หลังจากที่เค้าหมดหนทางเรื่องการเคลมประกันและการซ่อมโดยให้เทสล่าออกค่าใช้จ่ายให้แล้ว เค้าก็ลองไปคุยใน Tesla Forum ต่างๆ จนมีคนแนะนำให้ติดต่อ The electrified Garage Tesla Service ซึ่งที่นี่มีช่างผู้ชำนาญการของ Tesla โดยเฉพาะประจำอยู่ครับ ช่างที่อยู่ในอู่นี้ทุกคนนั้นล้วนแต่มีประสบการณ์การประกอบรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ใน Tesla Factory มาทั้งนั้น ดังนั้นพอช่างคนนี้ทราบถึงปัญหาแล้ว ช่างก็บอกว่า “ซ่อมได้” ในราคาเพียง $700 หรือ 21,000 บาทด้วย แต่มีข้อแม้ว่าคุณดอโนล์ดต้องทำการลากรถ Tesla Model 3 ของเค้ามาที่อู่เองซึ่งอยู่ห่างจากบ้านคุณดอโนล์ดไปประมาณ 3 ช่วงรัฐด้วยกันครับ

ซ่อมแผลนี้ยังไง?

ตอนช่างแกะแผ่นปิดด้านล่างรถออกมาก็เห็นว่ารถอยู่ในสภาพดีทั้งหมดแต่เค้าบอกว่า ข้อเสียของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ขับหลังก็คือจะเหลือช่องว่างมหึมาตรงด้านหน้าแบบภาพด้านล่างนี้ สาเหตุก็เพราะรถคันนี้ขับเคลื่อนล้อหลังซึ่งมีมอเตอร์ขับเคลื่อนแค่ด้านหลัง ส่วนพื้นที่ด้านหน้านั้นจะโล่งโจ้งประมาณนี้ครับ

ข้อดีก็คือน้ำหนักของรถคันนี้จะเบากว่า AWD (ขับ 4) แต่ข้อเสียของรถที่มีมอเตอร์เดียวแบบนี้คือเวลาที่เราขับผ่าน debris(เศษซากปรักหักพัง)แล้วมันไปขูดใต้ท้องรถเรานั้น ไอ่พวกเศษซากเหล่านั้นมันจะดันแผ่นปิดใต้ท้องรถขึ้นและไปกระแทกกับอุปกรณ์อื่นๆใต้ท้องรถอย่างเคสรถคันนี้ครับ เศษซากที่อยู่บนท้องถนนนั้นดันไปชนกับท่อทำความเย็นของแบต (cooling tube) เข้าอย่างจังซึ่งเคสนี้เป็นเคสหนึ่งในร้อยที่จะเกิดขึ้นได้เลยครับเพราะจุดที่ชนนั้นมันแม่นยำมากๆที่ชนไปโดนท่อและข้อต่อของท่อกับรังแบตเตอรี่พอดีครับ

โดย debris(เศษซาก)ที่มาชนกับท่อนั้นไปกระแทกโดนปล่องท่อของรังแบตพอดีทำให้เกิดการฉีกขาดขึ้นครับ

โดย Tesla บอกว่า the only thing that they can do is to replace the battery แปลว่า สิ่งเดียวที่เทสล่าจะซ่อมให้กับเคสนี้คือการเปลี่ยนแบตทั้งแพ๊คเพราะว่าตัวปล่องท่อตัวนี้มันเชื่อมต่อกับแบตทั้งรังไม่ได้ออกแบบมาให้ plug and play หรือถอดเปลี่ยนได้ครับ

แต่ช่างของ The electrified Garage Tesla Service รู้ข้อมูลของรถคันนี้ทั้งคันครับ เค้าบอกว่า Battery cooling system (ระบบหล่อเย็นแบต)ของ Tesla มันไม่ได้สลับซับซ้อนเกินกว่ามนุษย์จะซ่อมได้ครับ เค้าบอกว่าแรงดันน้ำในท่อหล่อเย็นนั้นมีเพียง 1-2 psi เท่านั้นเองซึ่งต่ำมากๆ (ปั้มน้ำตู้ปลาทองบ้านผมยังแรงดันเยอะกว่าเลย ฮ่าๆ) ดังนั้นเค้าบอกว่าชิ้นส่วนนี้สามารถให้ช่างผู้มีประสบการณ์ซ่อมได้ครับ ช่างแกก็ไม่รีรอเลยครับ เค้าใช้มีด cutter ทำการตัดปล่องท่อออกแบบภาพด้านล่างเลย

พอตัดเสร็จจะหน้าตาเป็นแบบภาพด้านล่างนี้ครับ

จากนั้นเค้าก็ทำการกลึงปลายปล่องท่อใหม่หมดตามภาพด้านล่างนี้ครับ

ส่วนอีกฝั่งนึงก็ใช้ตัวกลึงสร้างเกลียวใหม่เช่นกันครับ

ช่างบอกว่าเวลากลึงเกลียวใหม่ตรงรังแบตนั้นอย่างออกแรงเยอะจนเกินไปไม่งั้นตัวกลึงนี้อาจจะลงลึกไปจนโดนตัวแบตเตอรี่เสียหาย ซึ่งถ้าทะลุไปโดนจริงๆ นี่คือต้องเปลี่ยนแบตโมดูลนั้นใหม่ทั้งโมดูลครับซึ่งคาดว่างานน่าจะไม่จบที่ 21,000 บาท($700) หลังจากสร้างเกลียวเสร็จแล้วช่างก็บอกให้หาตัวปั้มน้ำมือแบบในภาพนี้ทำการปั้มน้ำอัดเข้าไปในรังแบตเพื่อเอาเศษพลาสติกที่เค้าเพิ่งกลึงสร้างเกลียวออกจากรังแบตทั้งหมด เนื่องจากเรายังจำเป็นต้องใช้เส้นทางน้ำนี้ในการระบายความร้อนแบต ถ้ามีเศษพลาสติกอะไรเจือปนอยู่ คาดว่าจะทำให้การระบายความร้อนในอนาคตมีปัญหาครับ

จากนั้นเค้าเอาตัว connector (ตัวเชื่อมที่เป็นทองเหลืองในภาพ)ในการเชื่อมต่อรังแบตกับปล่องท่อของแบตอีกรอบครับ

ช่างทำการอุดรูด้วยซิลิโคนเฉพาะพิเศษ(กันน้ำ)และเค้าบอกว่าตอนขับเข้าไปพยายามขันช้าๆ ไม่งั้นเกลียวทองเหลืองนี้ไปชนแบตที่อยู่ภายในแน่นอน

ถ้าเชื่อมต่อทั้งสองด้านเสร็จแล้ว หน้าตาจะออกมาเป็นแบบนี้ครับ

BLINK DRIVE TAKE

ผมอยากสร้างฐานข้อมูลที่ตรงไป ตรงมาและสามารถพิสูจน์ข้อมูลได้แหละครับ เพื่อให้คนไทยได้รู้ข้อมูลจริงเหมือนชาวต่างประเทศครับ

ถ้าเทสล่าทำไม่ดีกับลูกค้าแบบนี้ ผมก็เขียนโพสนี้เพื่อแจ้งเตือนทุกท่านเหมือนกันครับ ถ้าเคสไหน มีฝรั่งไปรีวิวมาแล้วบอกว่าดี ผมก็เอามาแปลเป็นข่าวให้อ่านเช่นกันครับ ซึ่งที่ผ่านมาผมก็ทำเช่นนั้นมาโดยตลอดครับ ผมเชื่อว่าไม่มีรถคันไหนดีเลิศไปทุกด้านบนโลกอย่างแน่นอน แต่ผมคิดว่า Tesla เป็นค่ายที่ปรับตัวเข้าหาผู้บริโภคไวกว่าผู้อื่นเท่านั้นเองครับ ถ้าเคสนี้ออกไปถึง Tesla แล้วล่ะก็ ผมเชื่อว่าเค้าต้องปรับปรุงการออกแบบชิ้นส่วนนี้ให้สามารถซ่อมง่ายขึ้นในอนาคตก็เป็นได้ครับ

ยังไงก็ตาม เราต้องมาดูกันว่า Tesla จะทำยังไงกับลูกค้าที่เจอปัญหานี้ในอนาคตครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

ส่งข้อมูลที่น่าสนใจและอยากให้แปลมาได้ที่ THE FORTRESS

Follow by Email