Blink Blink
Latest news
reportTeslaUSA

ยอดส่งมอบ Tesla Q2, 2564 โตขึ้นกว่า Q2 ปีที่แล้วถึง 122%

Tesla ได้ปล่อยข้อมูลรายงานยอดส่งมอบ/ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla สำหรับไตรมาสสองของ พ.ศ. 2564 โดยมียอดผลิตที่ 206,421 คันและมียอดส่งมอบที่ 201,250 คัน

หมายเหตุ : ยอดผลิตกับยอดส่งมอบจะไม่ตรงกันเสมอเพราะเวลาบริษัทปิดตัวเลขทางบัญชีนั้นจะทำการ cut off ยอดส่งมอบภายในวันสุดท้ายของไตรมาส ส่วนรถที่ผลิตออกมาแล้วบางคันก็อยู่ระหว่างการส่งมอบไปยังมือลูกค้า ดังนั้นเค้าจะไม่เอามานับรวมกันครับ

การนับยอดส่งมอบรถในอเมริกานั้นจะคิดเป็นไตรมาส โดยปีนึงมี 4 ไตรมาสดังนี้

  • ไตรมาสที่ 1 หมายถึงช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 
  • ไตรมาสที่ 2 หมายถึงช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 
  • ไตรมาสที่ 3 หมายถึงช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 
  • ไตรมาสที่ 4 หมายถึงช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

ซึ่งรายงานของโพสนี้จะเป็นรายงานยอดผลิตและส่งมอบของไตรมาสที่ 2 ครับ

รายงาน
ไตรมาส 2
ยอดผลิตยอดส่งมอบ
Model S/X2,3401,890
Model 3/Y204,081199,360
รวม206,421201,250

ยอดส่งมอบทะลุ 200,000 คัน

นี่เป็นไตรมาสแรกของเทสล่าตั้งแต่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามาเลยก็ว่าได้ที่มียอดส่งมอบทะลุ 200,000 คันไปแล้ว ส่งผลให้ยอดส่งมอบและยอดผลิตนั้นทำลายสถิติเดิมที่เคยมีมาทั้งหมด ถ้ามองเป็นกราฟของ 1-2 ปีที่แล้วนั้นจะเห็นได้ว่า ยอดส่งมอบของปีที่แล้วนั้นเทียบชั้นปีนี้ได้ไม่ได้เลยครับ เรียกได้ว่าทำลายสถิติทุกๆ ไตรมาสที่ผ่านมาทั้งหมด

ยอดส่งมอบปี 2564 มีสิทธิ์ทะลุ 500,000 คันไหม?

ถ้าลองเปรียบเทียบยอดส่งมอบปี 2562 กับปี 2564 นั้น ตอนนี้แค่ยอดขายครึ่งปี 2564 ก็ชนะยอดขายทั้งปีของปี 2562 ไปแล้วนะครับ ถือว่ามีสิทธิ์สูงมากๆ ที่ยอดขายปี 2564 นั้นจะทะลุ 500,000 คันเพราะว่าตอนนี้ Tesla มีกำลังผลิตทั้งหมด 2 แห่งด้วยกันบนโลกคือ โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Fremont ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ณ ประเทศอเมริกาและโรงงาน Gigafactory 3 ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ณ ประเทศจีน และอาจจะเป็นไปได้ว่าโรงงาน Gigafactory Texas อาจจะผลิต Tesla Model Y ทันภายในปลายปี 2021 ด้วย ถ้า Tesla สามารถสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเสร็จทันปลายปีนี้จริงๆ ก็อาจจะได้เห็นยอดขาย Tesla พุ่งกระโดดอีกรอบเป็นแน่ครับ

ที่มา : electrek,

BLINK DRIVE TAKE

แล้วไทยล่ะ?

KKP Researchโดยเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์ประเด็นเหล่านี้ ไว้อย่างน่าสนใจว่า ไทยกำลังกลายเป็นฐานการผลิตรถเครื่องยนต์สันดาปภายในแห่งสุดท้ายของอาเซียน  จากห่วงโซ่การผลิตยานยนต์ที่แนบแน่นกับบริษัทรถญี่ปุ่น อันสวนทางกับตลาด EV ของไทยที่จะถูกขับเคลื่อนโดย EV นำเข้าจากจีน

ขณะเดียวกันประเทศไทย ที่มีสัดส่วนการผลิตรถ ICE ถึงครึ่งหนึ่งของอาเซียน จึงมีต้นทุนในการปรับตัว (adjustment costs) สูง ทั้งในด้านเทคโนโลยีและด้านแรงงานที่เกี่ยวเนื่องกับการปรับทักษะและกฎหมายแรงงาน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ยากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย ที่นอกจากมีประชากรที่กำลังเติบโต และมีอัตราการครอบครองรถตํ่าแล้ว ยังเป็นแหล่งนิกเกิลที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ EV ที่สำคัญของโลกอีกด้วย

ฐานเศษรฐกิจ

เอาจริงๆคือ ไทยไม่คิดจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอยู่แล้วครับเพราะอย่างที่KKP Researchโดยเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์คือ เรายึดติดกับค่ายญี่ปุ่นเกินไป พอเค้าไม่เอา EV เราก็เลยร่วมหัวจมท้ายไปกับเค้าด้วยครับ

เหตุผลก็มีเพียงเท่านั้นครับ ผมสงสารลูกหลานของพวกเราอย่างมากที่จะไม่สามารถพัฒนาแรงงานฝีมือด้านอุตสาหกรรมรถยนต์เทียบเท่าประเทศอื่นๆ ได้อีกแล้วครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

ส่งข้อมูลที่น่าสนใจและอยากให้แปลมาได้ที่ THE FORTRESS

Follow by Email