Blink Blink
Latest news
BMWEurope

สรุปการเปิดตัว BMW iX3 ราคา 3.3 ล้านบาท แบบสั้นๆ

โพสนี้ผมเขียนข้อมูลสรุป BMW iX3 ขึ้นมาด้วยตัวเอง ไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากค่ายรถยนต์ค่ายไหนทั้งนั้น ผมเขียนข้อมูลตามความเป็นจริงของโลกนะครับ ยังไงผมขอสรุปแบบสั้นๆ ให้เข้าใจตรงนี้เลยครับ

Battery

แบต BMW iX3 เป็นขนาด 80 kWh(ใช้งานจริงได้ที่ 74 kWh)
ลักษณะรูปทรงของแบตใช้การออกแบบแบบ prismatic เหมือน MG ZS EV คือ ผู้ผลิตแบตรายเดียวกันเป๊ะ( CATL )และรูปทรงของแบตใกล้เคียงกัน(แต่ไม่ใช่รุ่นเดียวกัน)

เอาเป็นว่า ผมเอารูปทั้งสองรุ่นมาเทียบให้ดูตรงด้านล่างนี้นะครับ จะเห็นได้ว่า รูปทรงคล้ายๆ กัน แต่ความบางหรือหนา(dimension) ของตัวแบตนั้นต่างกันอยู่ครับ แต่ถ้าเสียขึ้นมาก็ใช้แบตจากโรงงาน CATL เหมือน MG ZS EV ได้เลยครับ

รูปแบต MG ZS EV

ข้อดีของการที่แบตจาก CATL ที่มาจากโรงงานเดียวกันกับ MG ZS EV คือเวลาแบตเสียแล้วจะหาอะไหล่เปลี่ยนทันทีเลยนะครับ

รูปแบต BMW iX3

สิ่งนึงที่ BMW ไม่ได้บอกมาคือ BMW iX3 นั้นใช้ platform เดียวกันกับ BMW i3 (รถเก่าๆ เมื่อปี 2013) คือใช้แบตรุ่น(เก่า)เดียวกันและมอเตอร์ไฟฟ้ารุ่น(เก่า)เดียวกันที่พัฒนามาจาก BMW i3 ครับ(เดี๋ยวผมจะพูดในโพสถัดไปครับ) ส่วน BMW iX นั้นใช้ platform ใหม่ทั้งหมด ทำให้น่าเล่นกว่าตัวนี้ครับ

กินไฟ 168 Wh/km, ทำออกมาได้ดีเลย

การกินไฟของ BMW iX3 ต่อการใช้งาน 1 km นั้นจะอยู่ที่ 168 Wh ถือว่าทำออกมาได้ดีเลยนะครับ มีสมาชิกเพจถามมาว่ารถคันนี้วิ่งได้กี่ km ผมบอกเลยว่า อย่าไปเชื่อ Range(ระยะทางที่โรงงานบอกมา) เพราะมันไม่ตรงครับ ให้คำนวณจากการใช้งานจริงแบบที่ฝรั่งเค้ารีวิวกันครับ

อย่างคันนี้ energy consumption rate(การกินไฟต่อการวิ่ง 1 km)อยู่ที่ 168 Wh/km หรือแปลงเป็น kWh คือ 0.168 kWh/km ดังนั้นถ้าแบตสามารถใช้งานได้ 74 kWh รถคันนี้จะวิ่งได้ 440 km ต่อการชาร์จ 1 ครั้งครับ ยังไงก็ตามผมมีตารางเปรียบเทียบการกินไฟของรถ SUV ไฟฟ้าใน section เดียวกันกับ BMW มาให้ดูตรงนี้ครับ

  • BMW iX3 กินไฟ 168 Wh/km
  • Tesla Model Y LR(AWD ขับสี่) กินไฟ 148 Wh/km
  • Volvo XC40 Recharge กินไฟ 265 Wh/km

หมายเหตุ : ตัวเลขยิ่งน้อย ยิ่งดี

ที่มา : คุณตาม Nyland

สรุป การแข่งขันเรื่องการกินไฟ(น้อย)นั้น รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model Y กินขาดไปเลยครับเพราะตัว Tesla นั้นออกแบบเรื่อง energy saving (การประหยัดไฟ)ได้ดีที่สุดในโลกแล้วจริงๆครับ นี่ขนาด Tesla Model Y เปิด dashcam mode ไปด้วยนะครับ ยังกินไฟน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัดครับ

มอเตอร์ 286 แรงม้า(ขับเคลื่อนล้อหลัง)

มอเตอร์ : ใช้มอเตอร์ของ Yasa ที่เป็นผู้ผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าให้ BMW i3 แต่สิ่งที่ผมตะหงิกๆ ใจคือ ระบบขับเคลื่อนของ BMW iX3 นั้นเป็นแบบขับเคลื่อน 2 ล้อ(ล้อหลัง) ส่วน Tesla Model Y ตัวขับหลังในไทยนั้นเริ่มต้นที่ 2.99 ล้านบาท(ถือว่าถูกกว่ากัน 3 แสนบาท)

ผมขอเจาะลึกเรื่องมอเตอร์ไฟฟ้าของ BMW ซักนิดนะครับ BMW แบ่งมอเตอร์ไฟฟ้าออกเป็น 3 ประเภทหลักคือ BMW Entry, BMW performance, และมอเตอร์สำหรับรถยนต์ PHEV

มอเตอร์ไฟฟ้าที่ถูกนำมาใช้งานใน BMW iX3 นั้นจัดอยู่ในตระกูล BEV Entry ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกันกับ Mini cooper SE และ BMW i3

ส่วน BMW iX ที่กำลังจะวางขายนั้น motor จะจัดอยู่ในตระกูล BEV Performance ครับ

ถ้าเปรียบเทียบพละกำลังขับระหว่าง SUV EV ที่ขายในไทยตอนนี้เรียกได้ว่า BMW iX3 นั้นอาจจะต้องเหนื่อยเยอะหน่อยนะครับ ผมจะเอาแรงม้าของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ล่ะค่ายมาเปรียบเทียบตรงนี้ครับ

  • Volvo XC40 Recharge (AWD) 402 แรงม้า(ราคา 2.59 ล้านบาท)
  • Tesla Model Y SR+ (RWD) 258 แรงม้า(ราคา 2.99 ล้านบาท)
  • Tesla Model Y Long Range (AWD) 440 แรงม้า(ราคา 3.59 ล้านบาท)
  • BMW iX3 (RWD) 268 แรงม้า(ราคา 3.3 ล้านบาท)

สรุป : รถ SUV ที่อยู่ class เดียวกันกับ BMW iX3 และมีระบบขับเคลื่อนที่คุ้มราคาในไทยนั้น ผมยกให้ Volvo XC40 EV Recharge อยู่นะครับ เพราะรถคันนี้มีมอเตอร์ไฟฟ้าให้มา 2 ตัวและเป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อมาให้เลย

รูปภาพ : Volvo XC40(มอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว : หน้า, หลังจากโรงงาน)

อัตราเร่ง 0-100 km/h ภายใน 6.8 วินาที

BMW iX3 มีอัตราเร่ง 0-100 km/h ภายใน 6.8 วินาที อันนี้ทำออกมาได้ดี แตช้ากว่า Tesla Model Y LR อยู่ 1-2 วินาที ส่วน Volvo XC40 นั้นไม่ต้องพูดถึงเลยครับ BMW iX3 ทำช้ากว่าอยู่ 2 วินาทีไปเลยครับ

  • Tesla Model Y SR+(RWD) – 5.6 วินาที
  • Tesla Model Y LR(AWD) – 5 วินาที
  • Volvo XC40 Recharge(AWD) – 4.3 วินาที
  • BMW iX3 – 6.8 วินาที

การชาร์จไฟเร็ว

ถ้าคนไม่คิดอะไรมากเรื่องการเดินทางไกลแล้วต้องรอนานขึ้นก็ข้ามหัวข้อตรงนี้ไปก็ได้ครับ

ใน datasheet บอกว่า 150 kW แต่เอาจริงๆ มันไม่ใช่ 150 kW ตลอดเวลาครับ เดี๋ยว Blink Drive จำแนกให้ดู

อ้างอิงข้อมูลจาก insideevs ตัว BMW iX3 นั้นมี DC Fast charge มาที่ความเร็ว 150 kW ช่วง(5-25 % เท่านั้น จากนั้นจะลดกำลังไฟลงไปทีละ 10-50 kW ไปเรื่อยๆ เอาจริงๆ Average Charging speed คันนี้อยู่ที่ 60-70 kW ครับ เพราะได้ 150 kW เพียงช่วงสั้นๆ

แตกต่างจาก Tesla Model Y หรือ Model 3 ที่ทำ Fast Charging ได้มากกว่า 30 % ก่อนแบตเริ่มลด charging speed (ความเร็วในการชาร์จ) สังเกตุจากกราฟด้านล่างดีๆ นะครับว่า Tesla Model 3 และ Model Y ที่ชาร์จไฟด้วยความแรง 150 kW (เส้นสีแดง)จะสามารถรับไฟ 150 kW เต็มๆ ตั้งแต่ 10 – 40 % โดยไม่ drop เลย จากนั้นจะทำการ drop ไปแถวๆ 80 kW แล้วก็แผ่วไปที่ 40 kW ตอน SoC ถึง 80 %

ในส่วนของ Volvo XC40 นั้นจะทำได้แบบเดียวกันกับ BMW iX3 คือการชาร์จไฟนั้นจะทำได้ 150 kW เพียง 5-18 % จากนั้นจะ drop กำลังไฟมาที่ 125 kW และจะลดลงเป็นขั้นบันไดไป

ถ้าจะให้สรุปเลยคงยากครับ เอาเป็นว่าผมเอากราฟการชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าของแต่ล่ะค่ายมาให้ดูตรงด้านล่างนี้นะครับ ให้ทุกท่านชมกันเองและวิเคราะห์กันเองว่าค่ายไหนทำออกมาได้ดีกว่ากัน

l

BMW iX3 ราคา 3.3 ล้านบาท

ถือว่าทำออกมาได้ดี แต่ถ้าเทียบขนาดแบต 80 kWh ที่ให้มา แต่ถ้า lock สเปคแบตให้ใช้งานได้ 74 kWh ถือว่าแพงไปนิดเพราะ Model Y ในท้องตลาดที่เป็นตัวเริ่มต้น SR+ ก้ได้แบตที่ใช้งานได้ถึง 74 kWh เหมือนกันครับ แต่สิ่งสำคัญที่ BMW มีแล้วค่ายรถ Grey ไม่มีคือเรื่องประกันรถ ซึ่ง BMW นั้นมีศูนย์ให้บริการอยู่ทั่วประเทศ

แต่ก็รู้ๆ กันว่า การให้บริการหลังการขายของ BMW นั้นค่อนข้างช้าและยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงอยู่เยอะมากๆ เช่น เวลา battery รถยนต์ไฟฟ้าเสีย, ทางศูนย์ไม่มีความรู้ในการซ่อมบำรุง
อ้างอิงจากโพสด้านล่างนี้

สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ BMW ต้องลงทุนให้คนในอู่ของเค้าศึกษาเพิ่มเติมนะครับ เพราะเท่าที่ผมทราบมาคือ รถยนต์ไฟฟ้านั้นจุกจิกน้อยกว่ารถยนต์น้ำมัน แต่เวลาซ่อมนั้นไม่เหมือนรถยนต์น้ำมันเลย ถ้าไม่ได้ศึกษาการซ่อมมา ต่อให้ BMW เอาช่างเทพๆของฝั่งรถยนต์น้ำมันพร้อมเอาอุปกรณ์(อะไหล่รถยนต์ไฟฟ้า)มาซ่อมรถยนต์ไฟฟ้าใช้เวลา 3 เดือนก็ซ่อมไม่ได้ครับเพราะแนวทางการซ่อมมันไม่เหมือนกัน(รถยนต์ไฟฟ้าเวลาซ่อมเสร็จมันต้องใช้คอมพิวเตอร์เชคอุปกรณ์และทำการ link อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งรถยนต์น้ำมันมันไม่จำเป็นต้องเพิ่งของพวกนี้)

ผมจึงคิดว่า BMW ควรจะจัด training session ให้กับช่าง BMW ทั่วประเทศไทยเพื่อให้ต่อยอดและเตรียมตัวสำหรับการมาของรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตครับ

ประกัน

การออกแบบภายใน

ถ้าพูดกันตามเนื้อผ้าจริงๆ รถยนต์น้ำมันที่ผมอยากขับที่สุดในชีวิตผม(ตอนผมยังไม่ได้ทำเพจรถยนต์ไฟฟ้า)ก็คือ BMW นะครับ เพราะตอนเด็กๆ เวลาเห็นคนขับ BMW ผ่านไป ผ่านมาหน้าบ้านแล้วมันดูเท่ห์ พอได้เห็นห้องโดยสารภายในแล้วก็บอกเลยว่า หรูหรา อลังการงานสร้างจริงๆ เรื่องความหรูในห้องโดยสารนั้นผมมองว่า Tesla เทียบไม่ติดจริงๆครับ

ช่องว่างนี้คือ อีหยั๋งว่ะ?

อ้างอิงจากคลิปคุณตาม Nyland Thai จะเห็นได้ว่า BMW รีบส่งงานมากๆ โดยการเอาตัวถังของ BMW X3 ที่เป็น PHEV มาสร้างรถยนต์ไฟฟ้า BMW iX3 แล้วก็รีบส่งงานเนอะ คือแบบว่า ช่องว่างตรงนี้ควรจะได้เอามาใช้ประโยชน์กว่านี้(เช่น สร้างเอาไว้เก็บของ) แต่กลับกลายเป็นว่าเค้าเอาโฟมมาใส่เพื่อปิดช่องว่างที่เคยเป็นที่วางแบตของ PHEV BMW X3 ซะงั้นนะครับ

ไม่มี Frunk มาให้?

frunk ย่อมาจาก Front Trunk

จริงๆ ผมทราบเรื่องนี้มานานแล้วครับ แต่สำหรับคนที่เพิ่งเคยเห็นภาพนี้อาจจะอุทานเป็นภาษาอังกฤษว่า Oh, Frunk เลยก็ได้ครับ เพราะค่ายรถยนต์ไฟฟ้าเกือบทุกค่ายใส่ใจเรื่องการให้ Frunk มาใช้งานอย่างมาก แต่กลับกลายเป็นคันนี้ไม่มี Frunk มาให้

คนที่ใช้งานรถยนต์น้ำมันมาทั้งชีวิตอาจจะมองว่า Frunk ไม่มีประโยชน์อะไรเท่าไหร่ แต่สำหรับผมและคนที่ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเป็นประจำจะรู้เลยว่า Frunk นี่โคตรจำเป็นเลยครับ คิดง่ายๆ นะครับ ถ้าคุณมี laptop หรือ macbook แล้วต้องการวางเอาไว้ในรถ ถ้าคุณวางในห้องโดยสารก็โดนทุบกระจกรถเล่นเป็นกระปุกออมสินเลยครับ(ในอเมริกามีการโจรกรรมแบบนี้เกิดขึ้นทุกวัน) ทำให้คนเริ่มเอาของมีค่าไปวางซ่อนในท้ายรถ แต่จะเห็นได้ว่า SUV มันไม่มีท้ายรถเฟ้ย ถ้ามันทุบกระจกเข้ามาได้ มันก็แค่เปิดเบาะออกแล้วก็เอาของเราไปเลย

แต่พอมี frunk นั้น ผมแทบไม่ต้องกังวลเรื่องการเก็บของเลย แถมได้ช่องเก็บของเพิ่มขึ้นเยอะมาก มากแค่ไหนหรอครับ มาดูกัน อันนี้เป็นช่องเก็บของหน้ารถของ tesla model y ที่ผมเคยเช่าไปขับครับ

คือแบบว่า ผมสามารถใส่ luggage สำหรับขึ้นเครื่องบินได้ 1 ใบแล้วก็มีที่ใส่ของอีกเพียบครับ แปลกใจที่ BMW ไม่ทำ frunk มาแต่อย่างที่คุณตามบอกคือ เค้าน่าจะรีบส่งงานทำให้ platform รถที่มาใช้งานนั้น copy paste มาจาก bmw x3 ทั้งดุ้นครับ

User Interface

การใช้งาน UI ของ BMW iX3 นั้นถือว่า ทำออกมาได้สวยงามดีกว่ารถยนต์น้ำมันหรูเจ้าอื่นเลย แถมการออกแบบภายในนั้นดูสวยหรูจริงๆครับ
แต่ถ้าเทียบ UI กับพวกรถยนต์ไฟฟ้าใน class เดียวกันอย่าง Tesla Model Y , Volvo XC40 หรือแม้กระทั่งรถจีนอย่าง Xpeng G3
ผมมองว่าเก่าไปมากๆ

Volvo XC40

Tesla Model 3/Y

ผมยังกลัวด้วยซ้ำว่า Software OTA (update over the air)ของ BMW นั้นจะทำได้บางส่วน(hybrid update)เหมือนพวก Porsche Taycan (เคสของ Porsche Taycan คือถ้าเป็นการ update infotainment ในรถจะสามารถ update ผ่าน OTA ได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องระบบขับเคลื่อน(แบตหรือมอเตอร์)ต้องเอารถกลับไปที่ศูนย์เพื่อทำการ update)


BLINK DRIVE TAKE

ผมเป็นสื่ออิสระออกแนว indy นิด ๆ คือ เขียนทุกอย่างตามที่เห็น หรือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในอเมริกาและบนโลก ถ้าค่ายรถค่ายไหนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาดีจริงๆ ผมเขียนคุณสมบัติแบบเน้นย้ำเต็มที่แน่นอน ถ้าค่ายไหนไม่ยอมบอกสเปคให้หมด ผมก็เอาข้อมูลมากางให้ดูชัดๆ ไปเลย เพราะผมไม่อยากให้คนที่มาอ่านเสียเวลาไปซื้อมาขับแล้วบอกว่าเจออะไรไม่ดีบ้างนะครับ

ในความคิดของผม ผมคิดว่า BMW Thailand นั้นถือว่าเอารถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาขายไทยช้าไปนิดส์นึงครับ ถือว่ามาตอนตลาดเริ่มวายแล้วคือค่ายรถนำเข้าอื่นๆ เอารถยนต์ไฟฟ้ามาจับจองพื้นที่กันเยอะแล้ว แต่ถ้าโดยรวมถือว่าเค้ายังให้ความสนใจตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอยู่บ้างครับ ถ้าเทียบกับค่ายอื่นๆ ในท้องตลาด(บางค่าย)ที่หันหลังให้รถยนต์ไฟฟ้าแบบไม่ย้อนกลับเลย ผมมองว่า BMW เป็นค่ายรถอันดับกลางในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศแหละครับ แต่ถ้าจะให้เป็นผู้นำคงต้องมาปรับเรื่องราคาและการบริการหลังการขายแบบจริงจังอีกทีครับ

ปล. ในต่างประเทศนั้น BMW ยังไม่เคยทำยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าติดอันดับ Top 10 ซักประเทศเลยครับ

มาดูกันว่ากลยุทธ์ฝั่งไทยนั้นจะเป็นอย่างไร แต่ที่รู้ๆกันคือตลาดรถหรูบ้านเรานั้น BMW ครองอันดับหนึ่งมาหลายปีแล้ว ถ้าปีนี้ BMW จะโหมโรงเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าจริงๆ อาจจะเป็นไปได้ว่า ลูกค้าหรือประชาชน(อาจจะ)หันมาสนใจก็เป็นได้นะครับ เป็นกำลังใจให้ครับ

หมายเหตุ : โพสนี้ผมเขียนข้อความขึ้นมาจากใจ ไม่ได้รับเงินสนับสนุนจาก BMW, Tesla, Volvo, หรือ MG มาเขียนทั้งนั้น บริษัทที่ผมกล่าวอ้างมานั้นใช้เป็น citation (อ้างอิง)สเปคไปมาเพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพเพียงเท่านั้น

เค้าไม่ได้มาจ่ายเงินผมครับ ทำโพสนี้ให้อ่านด้วยใจเพื่อไม่ให้คนที่วางแผนจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันต่อไปไม่ต้องเสียเวลาไป research(ทำวิจัย)หาข้อมูลเหล่านี้ครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Follow by Email