Blink Blink
Latest news
BenzEuropeMercedes Benz

Mercedes Benz EQS ในเยอรมันมา พร้อม ระบบสมาชิกรายปี[ปีล่ะ 19,000 บาท] เพื่ออนุญาตให้ล้อหลังหมุนได้ 10 องศา

อย่างที่ทราบกันว่า รถยนต์ไฟฟ้านั้นเป็นกระแสที่มาแรงที่สุดในปี 2021 นี้ ไม่มีค่ายรถยนต์ไหนบนโลกไม่พูดถึงเรื่องนี้กันนะครับ ทุกค่ายรถยนต์บนโลกต่างเปลี่ยนเป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้มากกว่า 50% ของยอดขายบริษัทภายใน 9 ปีหลังจากนี้กันเป็นส่วนใหญ่ เช่น GM, Ford, Volkswagen, Audi, Lamborghini, BMW, Benz, Jeep, Dodge, Fiat, Chrysler, Chevrolet, Cadillac, และค่ายรถยนต์น้ำมันอื่นๆ อีกมากมาย

คราวนี้ปัญหาที่ตามมาคือ รายได้จากการขายอะไหล่ใช้แล้วทิ้ง(disposal parts) จะหายไปกับตา อะไหล่เหล่านั้นได้แก่ ไส้กรองน้ำมันเครื่อง, น้ำมันเครื่อง, ไส้กรองอากาศ, น้ำมันเบรค(รถยนต์ไฟฟ้าในต่างประเทศส่วนใหญ่จะเริ่มเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรคช่วง 160,000 km เป็นต้นไปครับ), บ่าวาล์ว, หัวเทียน, ไส้กรองอากาศ, ฯลฯ ทำให้ค่ายรถยนต์น้ำมันที่กำลังเปลี่ยนถ่ายเป็นค่ายรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตต้องหา product ใหม่ๆ ออกมาเพื่อดึงเงินในกระเป๋าลูกค้ามาเป็นของตนเองครับ

ความจำเป็น Vs. ความต้องการ

อย่างที่ทราบกันมาคือ สมัยก่อนนั้นการใช้งานรถยนต์น้ำมันนั้นเรา “จำเป็น” ต้องซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนเพราะถ้าไม่เปลี่ยนเครื่องยนต์มีโอกาสสึกหรอเร็วกว่ากำหนดหรือพังครับซึ่งเป็นการ force purchase (บังคับซื้อของ) จากค่ายรถยนต์ทั้งๆ ที่เราไม่เต็มใจจะซื้อก็ตาม ดังนั้นการจะเปลี่ยนอะไหล่อะไรก็ตามภายในรถตามระยะเวลาจึงเปรียบเสมือนปัจจัยนึงมากกว่าความ “ต้องการ”

แต่รถยนต์ไฟฟ้าในท้องตลาด(อย่างเจ้าใหญ่แบบเทสล่า)ต่างออกแบบเหมือนกันไปหมดแล้ว คือ รถยนต์ไฟฟ้าออกแบบมาให้ใช้งานได้ทนทานแบบว่า 8 ปีหรือ 300,000 km ไม่ต้องเข้าศูนย์เพื่อเปลี่ยนถ่ายอะไรทั้งนั้น

ดังนั้น สมัยนี้ธุรกิจรถยนต์เปลี่ยนไปมากเลยนะครับ จริงๆ แล้วมันก็เลียนแบบธุรกิจมือถือ smartphone ยังไงล่ะครับ สมัยก่อน ธุรกิจ nokia หากินกับการขายเคสมือถือหรือการออกมือถือรุ่นใหม่ที่มีหน้าตาเฟี้ยวฟ้าวกว่าเดิมเท่านั้นเอง แต่ฟังชั่นยังเหมือนเดิมเป๊ะคือโทรเข้า โทรออกได้เหมือนเดิมหรือไม่ได้โทรเร็วกว่าเดิมหรือโทรได้ดีกว่าเดิม ซึ่งนั่นจะเรียกว่าทางตันของยุคมือถือก่อนเปลี่ยนเป็น smart phone ก็ได้ครับ

ทำให้ผู้ให้บริการต่างๆ เล็งเก็บเงินแค่ค่าโทรศัพท์(นาทีล่ะ 0.5 – 2.5 บาทก็ว่ากันไปครับ) SMS, MMS, หรือค่าโทรต่างประเทศกันมาตลอดครับ

แต่พอมายุค Smart Phone ก็ disrupt อะไรหลายอย่างเช่นกัน เช่น การโทรต่างประเทศโดยใช้เบอร์มือถือแทบจะเป็นหมัน(อย่าง พ่อแม่โทรหาลูกที่เรียนต่างประเทศ) เพราะคนใช้งาน smart phone หันไปใช้ VoIP หรือ voice over ip กันหมด เช่น SKYPE, LINE, Facetime, และอื่นๆ แต่ปรากฏว่าผู้ผลิตและผู้ให้บริการกลับมีช่องทางการหาเงินมากขึ้นกว่าเดิมซะงั้น เช่น เปิดให้ซื้อ package internet(4G, 5G) ลูกค้าสามารถเลือกความเร็วได้ตามต้องการ, ขาย internet TV เช่น hulu, HBO, Netflix, Disney, และ streaming ช่องอื่นๆ หรือจะเป็นการทำ subscription รายเดือน เช่น เล่นเกมส์รายเดือน, ใช้งาน

จะสังเกตุได้ว่า ความต้องการการโทรออกจากเบอร์สู่เบอร์(เปลี่ยนอะไหล่รถ)น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ปรากฏว่าตลาด streaming service หรือ internet service อย่าง spotify, netflix, youtube, twitch, HBO และอื่นๆ เติบโตเยอะขึ้นมาก จากที่เราเคยจ่ายเงินค่ามือถือเดือนล่ะ 300 บาท(อย่างถูกสุด) พอมาเป็นยุค smart phone ครองเมืองบางคนจ่ายเพิ่มขึ้นไปถึง 600-900 บาท(รวมค่า spotify, netflix, HBO, True) ทั้งๆ ที่โทรน้อยลง แต่เสียเงินค่า subscription อื่นๆ แทนครับ

เอาจริงๆ นะครับ ผมไม่สามารถเดินออกจากบ้านได้ถ้ามือถือผมไม่มี internet 4G LTE แล้วครับ เพราะ google map เอย, spotify เอย, LINE เอย มันเชื่อมต่อกับ internet มือถือไปแล้วครับ ดังนั้นผมต้องซื้อ subscription internet package มาใช้ ทั้งๆ ที่แต่ก่อนตอนผมใช้โนเกีย ผมแค่เติมเงินให้มันรับสายได้เท่านั้นเองครับ

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับรถยนต์ไฟฟ้า?

ยุค Disruption นี้กำลังเข้ามาเยือนอุตสาหกรรมรถยนต์เช่นกันครับ ผู้ผลิตในต่างประเทศรู้แล้วว่าเค้าจะหน้าด้านขายอะไหล่รถยนต์เหมือนเมื่อก่อนไม่ได้อีกแล้วครับ เพราะถ้าเค้าพยายามสร้างรถยนต์ไฟฟ้าที่เสียบ่อยๆ หรือต้องเปลี่ยนอะไหล่เยอะๆเหมือนรถยนต์น้ำมัน ลูกค้าก็แค่เปลี่ยนใจไปใช้แบร์นดอื่นเท่านั้นเองครับ ยิ่งตอนนี้มี Tesla มาสร้าง standardize (มาตราฐาน) ความคงทนของรถยนต์ไฟฟ้าให้กับต่างประเทศ(ยกเว้นประเทศที่มีกำแพงภาษี 200%) ทำให้ชาวโลกเริ่มตระหนักเห็นแล้วว่า การใช้งานรถยนต์มันไม่จำเป็นต้องซ่อมเยอะขนาดนั้นนี่นา

ทำให้ผู้ผลิตต้องหันมาขายฟีเจอร์ของรถเพื่อทำกำไรให้กับบริษัทแทน ซึ่ง Service เหล่านั้นก็คือ package subscription (สมัครสมาชิกรายเดือนหรือปี) ถ้าไม่จ่ายเงินก็จะไม่สามารถใช้งานระบบต่างๆ นั้นได้ เช่น Premium Connectivity ของ Tesla ที่ลูกค้าสามารถใช้งาน youtube, spotify, disney, ฯลฯ ผ่าน e-sim ของรถ (ในกรณีเราใช้ wifi dongle หรือ wifi ทั่วไป เราก็สามารถใช้งาน package เหล่านี้ได้ตามปกติไปเลยครับ)

นี่ยังไม่รวมการใช้ software ในการล๊อคสเปครถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla Model 3 Long Range กับ Tesla Model 3 รุ่น Performance นั้นคือ hardware รุ่นเดียวกันทั้งหมดแต่ต่างกันตรงที่เค้าใช้ Software ในการล๊อคความแรง, ความเร็ว, หรือแม้กระทั่งการใช้งานลำโพงบนรถที่เสียงที่ให้มานั้นต่างกันอย่างชัดเจนมาอีกนะครับ

มาคราวนี้ Mercedes Benz ก็ลองหันมาทำอะไรแบบนั้นดูบ้าง โดยเค้าได้ทำการสร้างด้านหลังของรถยนต์ Benz EQS ให้สามารถหมุน(ล้อ)ได้ 10 องศาเพื่อการเข้าโค้งที่ดีขึ้นในทุกคัน แต่เดี๋ยวก่อน ในเยอรมันนั้นเค้าไม่เปิดให้ลูกค้าได้ใช้งานฟังชั่นนี้ครับโดยใครก็ตามที่อยากให้รถของตนเองเข้าโค้งได้ดียิ่งขึ้นก็ต้องเสียเงินเป็นจำนวน….

19,000 บาทต่อปี เพื่อให้ล้อหลังหมุนได้ 10 องศา

อ้างอิงข้อมูลจาก German outlet Auto, Motor und Sport นั้น Benz จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Benz EQS ที่สามารถให้ล้อหลังหมุนได้ 4.5 องศา(ในกรณีใช้งานเปลี่ยนเลนบนถนน) และ 10 องศา(ในกรณีต้องการกลับรถซึ่งจะทำให้รถสามารถตีวงกลับรถได้แคบมากกว่าเดิม) โดยฟังชั่นเหล่านี้เป็น hardware ที่ติดตั้งมากับรถเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่เปิดให้ใช้งานในเยอรมัน(ส่วนประเทศอื่นๆ นั้นยังไม่มีการยืนยันจากฝั่ง Mercedes Benz) จริงๆ แล้วรถยนต์น้ำมัน S-Class ทุกคันหลังจากปี 2022 เป็นต้นไปก็จะได้ฟังชั่นนี้มาใช้งานนะครับ(ไม่ยืนยันว่าจะต้องเสียเงินเพิ่มหรือป่าว)

ถ้าใครในประเทศเยอรมันอยากใช้งานฟีเจอร์นี้(ล้อหลังหมุนได้)ต้องเสียเงิน 489 ยูโรหรือประมาณ 19,000 บาทต่อปีเพื่อใช้งานฟังชั่นนี้ แต่ช้าก่อน ถ้าคุณจ่ายล่วงหน้าถึง 3 ปีนั้น Benz มีส่วนลดให้คุณเหลือเพียง 1,169 ยูโรหรือประมาณ 46,000 บาทต่อการใช้งาน 3 ปีหรือเฉลี่ยปีล่ะ 15,500 บาท ราคาลดลงไปถึง 3,500 บาทเลยทีเดียว

ล้อหลังหมุนได้มันดียังไง?

โดย Benz ได้บอกว่าการที่ล้อหลังหมุนได้ 4.5 องศาและสูงสุดที่ 10 องศานั้นจะช่วยเพิ่มประสบการณ์การขับขี่ให้กับรถยนต์ของ Benz อย่างมากเลย

เรื่องแรกก็คือการจอดรถ โดย Benz ได้บอกว่า ต้องจอดรถขนานขอบทาง(Parallel parking) นั้นจะทำได้ง่ายกว่ารถทั่วไปแทนที่จะเอาท้ายเข้าแบบสุดใจก็สามารถเข้าแบบเฉียงๆ(แต่ไม่ทั้งหมด)ได้

ส่วนเรื่องอีกคือการแซงบนท้องถนน ถ้ารถวิ่งเร็วกว่า 60 km/h เมื่อไหร่ ตัวรถจะไม่อนุญาติให้ล้อหมุนเกิน 4.5 องศานะครับ แต่การที่รถได้องศาล้อหลังเพิ่มขึ้นมาถึง 4.5 องศานั้นจะให้การแซงรถคันข้างหน้าทำได้คล่องแคล่วกว่าเดิมหลายเท่าครับ

อีกเรื่องคือการกลับรถ, ถ้าเราหมุนล้อหน้าจนสุดเพื่อทำการกลับรถแล้วล่ะก็ ตัวรถจะทำการหมุนล้อหลังไปด้วยเพื่อให้รถสามารถตีโค้งได้แคบลงไปอย่างเห็นได้ชัดครับ

BLINK DRIVE TAKE

อย่างไรก็ตาม Benz ไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มในการใช้งาน rear wheel turn หรือการหมุนล้อหลังแบบนี้นะครับ

Nissan Skyline GTR บิดาแห่ง Rear Wheel Turn

ใช่ครับ Nissan R31 Skyline ที่ผลิตในปี 1985 นั้นเป็นรถยนต์รุ่นแรกของโลกที่มีความสามารถทำ rear wheel turn หรือการหมุนล้อหลังครับ และจากนั้นก็มีค่ายรถยนต์น้ำมันอื่นๆ เอาเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับรถของตนเหมือนที่ผ่านมา แต่สิ่งที่ Benz กำลังทำในวันนี้เหมือนกับประกาศให้ผู้บริโภคเห็นแล้วว่า ถ้าไม่มี Subscription คุณก็ไม่สามารถใช้งานรถยนต์ได้เต็มที่แบบนี้นะครับ

ผมเชื่อว่าอนาคตอันใกล้นี้ ค่ายอื่นๆ บนโลกที่กำลังวางแผนสร้างรถยนต์ไฟฟ้าก็คงมา copy สูตรสำเร็จของเบ็นซ์ที่กำลังให้ลูกค้ามาจ่ายเงินเพื่อ unlock performance ต่างๆ ของรถแบบนี้กันแหละครับ

อนาคตอันใกล้นี้ เวลาเราจะเปิดแอร์ในรถ พวกเราจำเป็นต้องซื้อ subscription กันไหมน้าาา?

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Follow by Email