Blink Blink
Latest news
EV CarsinterviewTeslaUncategorized

รีวิวรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 อายุ 18 เดือนกับเลขไมล์ 58,000 km, ซ่อมอะไรไปกันแล้วบ้าง?

วันนี้ผมได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์คนไทย(เป็นสมาชิกท่านนึงที่อยู่ในเพจผม) ที่สั่งซื้อรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 มาใช้นะครับ เบื้องต้นคือ เค้าใช้งานไป 18 เดือนหรือเรียกว่า 1 ปีครึ่ง ส่วนระยะทางที่ขับไปนั้นคือ 58,000 km ถือว่า เยอะมากนะครับกับรถอายุเพียง 1 ปีครึ่งเอง ถ้างั้นเดี๋ยวเรามาดูกันว่า เค้าซื้อไปใช้คุ้มไหม, ซ่อมอะไรไปบ้างแล้ว และจะเปลี่ยนใจกลับไปใช้รถยนต์น้ำมันไหมน้าาา

ไมล์รถ ณ เดือนธันวาคม : 36,045ไมล์ (58,008 km)

จองรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้ ณ Day1

ของขวัญ Diecast จากเทสล่า สำหรับคนที่จอง Day 1 หรือวันแรก

พี่ท่านนี้ได้แจ้งผมว่า แกเป็นผู้จองรถ Day 1 หรือเรียกว่า วันแรกที่เปิดให้จองนะครับ เรียกได้ว่า พีท่านนี้เป็นแฟนพันธ์แท้เลยนะครับ

ผมขอเสริมนิดนึงว่า คนที่จองรถนั้นต้องวางเงินมัดจำ $1,000 หรือ 30,000 บาทครับ ไม่ได้จองกันเล่นครับ ดังนั้น บริษัทเทสล่าก็เลยตอบแทนคนที่จองรถล๊อตแรกๆ ด้วยการให้รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 จำลอง (Diecast) ขนาด 1 ต่อ 43

Tesla model3 LR RWD low VIN คืออะไร

เดี๋ยวผมจะแจกแจงข้อมูลรถยนต์ไฟฟ้า Tesla model3 คันนี้ทีละอย่างเลยนะครับ

  • LR = Long range หรือรุ่นแบตใหญ่ (ขับได้ไกล)
  • RWD = ขับหลัง
  • low VIN = รุ่นที่ผลิตแรกๆ , ซึ่งรุ่นพวกนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ , ข้อดีคือ รุ่นเหล่านี้จะเป็นรุ่น early bird (ในตำนาน) , ส่วนข้อเสียนั้นคือ เรื่องสีรถ (painting) และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ในรถ เพราะเป็นรุ่นแรกๆ การผลิตนั้นยังมีปัญหาอยู่บ้าง ดังนั้น เวลาใครบอกว่า low VIN ก็จะรู้กันว่า เป็นรุ่นที่ผลิตล๊อคแรกๆ (โดยผู้ใช้งานท่านนี้ได้รถมาแถวๆ 8,xxx หรือคันที่ 8,000 กว่าๆ ยังไงละครับ)

หมายเหตุ : low VIN นั้นเป็นช่วงที่เทสล่าประสบปัญหา production bottle neck (คอขวด) ผลิตไม่ทันขาย ซึ่งช่วงนั้นกำลังการผลิตต่ำมาก (อยู่ที่ 500คัน ต่อสัปดาห์) ต่างจากตอนนี้มากๆ ที่สามารถผลิตออกมาได้มากถึง 5,900 คันต่อสัปดาห์ ทำให้ผู้ใช้งานท่านนี้บอกผมว่า “งานประกอบเลยน่าจะละเอียดกว่าปัจจุบัน”)

ประสบการณ์ตรงจากผู้ใช้งาน

รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model3 LR RWD low VIN

พี่เค้าใช้มา 18 เดือน เอาจริงๆเสียค่าไฟไปแค่ช่วงแรกที่ซื้อมา ส่วนช่วงหลังนั้น Tesla ทำการปลดล๊อค ให้ใช้งานสถานีชาร์จไฟ supercharger ให้ฟรี (unlimited supercharge)

ทำไม tesla ถึง unlock (ปลดล๊อค)ให้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าฟรีผ่าน supercharger?

เหตุเกิดจากไฟป่า ที่รัฐ แคลิฟอร์เนียในปี2018 หลังจากที่เกิดไฟป่าขึ้น Tesla ได้ทำการปล่อยให้ลูกค้าบริเวณใกล้เคียงไปชาร์จได้ฟรีประมาณเดือนนึง แต่เจ้าของบอกว่า ตอนนี้ปีนึงผ่านไปยังได้ฟรีอยู่ครับ

ข้อความแจ้งบอกผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า tesla ทุกคนผ่าน internet 4G LTE ของรถว่า “เปิด supercharger ให้ใช้งานฟรีๆกันไปเลย เพราะว่า ไฟป่าอาจจะทำให้บ้านบางหลังแถวนั้นไม่มีไฟฟ้าใช้”
ที่มา : cleantechnica
เหตุการณ์ไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ที่รัฐแคลิฟอร์เนียในปี 2561 (2018)

เจอปัญหาอะไรบ้าง?

นี่เป็นสิ่งที่ทุกคนอยากรู้กันสุดๆ นะครับว่า ซื้อมาแล้ว เจอปัญหาอะไรกันบ้างเนอะ

ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าท่านนี้ได้บอกผมว่า ตั้งแต่ซื้อมานั้นซ่อมแรงไปแค่ครั้งเดียวคือ

โดน defective parking brake lock ซึ่งอาการก็คือ รถยนต์ไฟฟ้าจะขยับไปไหนไม่ได้

โดยตอนนั้นพี่เค้าได้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ไปประมาณ 9 เดือน หรือประมาณ 15,000 ไมล์(24,140 km) หลังจากที่บริษัทรับรถไปซ่อมที่ศูนย์แล้ว ศูนย์ก็เอารถไปจอดแช่ทิ้งเอาไว้ 3 อาทิตย์กว่าจะได้ซ่อม ซึ่งศูนย์แจ้งมาว่า ช่วงนั้นยุ่งมาก แต่ไม่เป็นไรครับ เพราะศูนย์ได้เอา Tesla model S 75 (รุ่นขับหลังอย่างเดียว)มาใช้แทนก่อน

การซ่อมในครั้งนั้น เค้าเปลี่ยนสายไฟภายในของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ให้ใหม่ทั้งคัน แต่หลังจากรับรถกลับมาใช้งานอีกเพียง 1 อาทิตย์เท่านั้นอาการกลับมาเป็นอีกรอบ รอบนี้ไม่ถึงอาทิตย์เสร็จ คราวนี้เจออาการ parking brake sensor เสีย ช่วงนั้นได้75D (ขับ 4 ล้อ) มาใช้

หลังจากแจ้งเทสล่าไปแล้ว บริษัทได้ส่งรถมายกถึงบ้าน และทำการนำรถยนต์ไฟฟ้า tesla Model S 75D มาให้ขับเป็นการชั่วคราวเสียด้วย

(คำอธิบายภาพที่เห็นด้านบนนี้) ตอนทีมงานรถลากมาลากรถออกไปนั้น พี่เค้าบอกว่าลำบากมากครับ เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้า tesla model 3 คันนี้ติดอาการ parking brake lock ทำให้เปลี่ยนเกียร์ไปยังตำแหน่ง D ไม่ได้ ต้องอาศัยจังหวะขยับคันเกียร์ ไปDช่วงเสี้ยววินาทีและต้องทำการเหยียบคันเร่งทันทีเลยแล้วมันจะขยับไปทีละฟุต(30 cm) เพราะรถถอยจอดในการาจ(โรงจอดรถ) ต้องเอารถออกมาก่อนแล้วค่อนยกใส่ล้อเลื่อนที่ล้อหลังไม่งั้นรถจะไม่สามารถขยับได้เลย อันนี้คือข้อเสียของระบบdigital ทั้งคัน

ที่เซอร์ไพร์ทไปกว่านั้น คือ คนขับ towtruck (รถยก) บอกว่า เค้าเจอเคสแบบนี้ใน รถยนต์ไฟฟ้า model S,และ model X แต่รถพวกนั้นสามารถเข้าเกียร์ Nได้ แต่พอมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า model 3 แล้วดันหมดสิทธิ์ซะงั้น และคนขับรถยกยังบอกอีกว่า คันนี้เป็นคันแรก แล้วรอบสองคนเดิมมา เค้าเลยทำแป็ปเดียว

อีกปัญหานึง คือ ไฟหรี่ดับ แล้วก็ charging port pin ข้างในหัก ( อาการของพวกรถชุดแรกๆ หรือเรียกว่า พวกรถ Low Vin) พวกนี้ in warranty (อยู่ในประกัน)

พี่เค้าได้แจ้งให้ผมอีกว่า การซ่อมรถครั้งล่าสุดนี้ บริษัทเปลี่ยน policy(นโยบาย) คือ ไม่ให้รถรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้แล้ว แต่ให้ Uber voucher $300 (9,000 บาท) มาใช้แทน

หลังจากนั้นก็ยังไม่ได้ซ่อมอะไรอีกเลย ซึ่งก็แปลว่า บริษัทดูแลค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด

แล้วเสียเงินอะไรไปแล้วบ้าง?

ค่าใช้จ่ายตั้งแต่ซื้อมา 18 เดือน หรือ 36,xxx ไมล์(58,000 km)นั้น เสียเพียงแค่ค่าสลับยางรถที่ห้าง costco แถวบ้าน($20 หรือ 600 บาท) 1 ครั้ง ก่อนหน้านั้นคือ เค้าได้ทำการสลับยางที่ศูนย์เทสล่าซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายอีกอันนึงคือ เปลี่ยน ไส้กรองอากาศภายในห้องโดยสาร(air cabin filter) ไป อันนี้เป็นกันเยอะ ไส้กรองนั้นไม่ค่อยดีกลิ่นแรงมาก ราคาไส้กรองก็ประมาณ $40 (1,200 บาท) ไม่รวมค่าแรง หรือถ้าให้ศูนย์ทำ ราคาจะโดดขึ้นไปถึง $80 เพราะค่าแรงประมาณ $40 เลย!!(แพงมากๆ)

ปัญหาไส้กรองของเทสล่านั้นส่งกลิ่นเหม็นออกมา

สรุปแล้ว พี่เค้าขับรถยนต์ไฟฟ้าไปถึง 58,000 km ได้จ่ายเงินไปเพียง 1,800 บาท(ค่าสลับยางรถ + ไส้กรองอากาศภายในห้องโดยสาร)

รถคันนี้ซื้อเท่าไหร่?

รถคันนี้เป็น First production นะครับ ราคาจึงออกมาแพงมากๆ
รุ่นของมันตรงตัวคือ LR RWD EAP ส่วนราคาก็ประมาณ 54,000 เหรียญ (ยังไม่รวมภาษี
+ ราคา FSD(Full Self-Driving) เข้าไปอีก 2,000 เหรียญ

เบ็ดเสร็จแล้วราคารถคันนี้จะตกประมาณ 60,000 เหรียญ หรือ 1.8 ล้านบาท ราคาที่อเมริกานั้นเรียกว่า แพงเลยนะครับ ถ้าคุณซื้อรถกันราคานี้ เพราะว่า toyota camry ของที่นี่ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 25,000 เหรียญ(ไม่รวมภาษี) หรือประมาณ 750,000 บาท

แต่ถ้าเทียบที่ไทยแล้ว ราคารถยนต์ไฟฟ้าที่ไทยนั้นสูงลิ่วจนคนชนชั้นกลางไม่สามารถจับต้องได้เลยครับ(คันนี้ในไทยก็ประมาณ 4 ล้านบาทครับ)

การใช้งาน

ถ่ายเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2019(2562) , ใช้งานไปได้ทั้งหมด 32,000 km (20,000 ไมล์)
ซึ่งใช้ไฟฟ้าไปทั้งหมด 4,758 kWh (หน่วย)

การใช้งานนั้น ผมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักคือ

  1. การพฤติกรรมการชาร์จไฟเข้า – 6เดือนแรกชาร์จตอนตี 1 (คืนเว้นคืน) แบต 100% หรือวิ่งได้ 310 ไมล์(500 km) เหมือนเดิม
  2. หลังจากได้ free supercharger แล้ว ยังไม่เคยชาร์จ100%เลย แต่ 90% จะได้ range กลับมาที่ 270-274 ไมล์(434 – 440 km)
    หมายเหตุ : ช่วงหลังหมดเมื่อไหร่แวะเลยไม่หมดขับผ่านก็แวะ

ค่าใช้จ่ายชาร์จไฟต่อครั้ง

ผู้ใช้งานท่านนี้ได้แจ้งผมว่า เค้าใช้ทำงานปกติเฉี่ยวันละ 40 ไมล์ (60 km) แต่มีบางวันวิ่งนอกเส้นทางเยอะครับ เช่นไป ห้างซื้อของ, หรือไปทำธุระไกลๆ
โดยการใช้งานส่วนใหญ่(ช่วงหลังนั้น) ชาร์จเต็ม90% เลขโชว์ 270ไมล์(434 km) ส่วนเวลานำไปใช้งานจริงๆ ก็รอจนกว่าระยะทางที่วิ่งได้จะเหลือต่ำกว่า150 ไมล์(241 km) ก็ชาร์จเพิ่มแล้ว โดยลักษณะการใช้งานแบบนี้นั้น เค้าจะต้องนำรถไปชาร์จฟรีที่สถานีชาร์จไฟเฉลี่ยที่ 2-3 วันแวะไปที แต่นี่ยังไม่รวมทริปนอกรอบที่วิ่งไกลๆ ทำให้บางทีต้องไปชาร์จทุกวันเลย

ส่วนราคาค่าไฟในการชาร์จ(ในกรณีที่ supercharger จะหันกลับมาคิดเงิน ซึ่งตอนนี้ยังเปิดให้ใช้ฟรีไปเรื่อยๆ อยู่เลย) จะมีวิธีคิดอย่างนี้ครับ

ถ้าชาร์จจาก 150 ไมล์ไปถึง 90%

คิดกลมๆ คือ แบตขนาด 75kw/2 =32.5 kWh แต่ไม่มีใครชาร์จถึง 100 % กันหรอก ดังนั้นชาร์จเอาแค่ให้แบตกลับไปอยู่ที่ 90% คือเท่ากับประจุไฟขนาด 67.5 kWh
โจทย์นี้ จะต้องทำการชาร์จไฟเข้าแบตประมาณ 35kWh (หน่วย) ซึ่งรัฐ California(แคลิฟอร์เนีย)นั้นมีเรทค่าใช้งาน supercharger อยู่ที่ $0.26 ต่อหน่วย(kWh) โดยการใช้แบตจาก 50 % ถึง 90 % จะเสียเงินประมาณ $9.1 (273 บาท) ตีกลมๆคือ$10 (300 บาท)

300 บาท แล้วได้ระยะทางวิ่งกลับมาถึง 120 ไมล์(193 km) เรียกได้ว่า คุ้มซะยิ่งกว่าคุ้มนะครับ (ตก km ล่ะ 1.5 บาท แต่ถ้าคำนวณจาก rate ไฟบ้านจะถุกกว่านี้ครับ)

แถมตอนนี้ชาร์จไฟฟรีซะอีก เรียกว่า ยิ่งใช้ยิ่งคุ้มครับเพราะตั้งแต่ซ่อมใหญ่ๆ (เรื่องเบรคหลัง)มาครั้งนั้น รถก็ไม่มีอะไรให้จัดการอีกเลย นอกจากเรื่องสลับยางกับเปลี่ยนไส้กรองอากาศภายในห้องโดยสาร

อุปกรณ์ชาร์จไฟที่บ้านผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้ (ซ้ายของ tesla, ขวาของ nissan leaf)
รูปภาพ : การคิดกำลังไฟที่ผลิตได้จากแผง solar cell ที่บ้าน โดยชุดนี้นั้นราคาประมาณ $14,000 หรือ 420,000 บาท ติดตั้งมาตั้งแต่ปี 2016
ผลิตไฟได้ทั้งหมด 19,662 หน่วย(ลองคิดเล่นๆ ว่า หน่วยล่ะ 4 บาทครับ แผง solar cell ชุดนี้ทำเงินให้บ้านหลังนี้ประมาณ 78,648 บาทแล้วครับ และแผงเหล่านี้ยังสามารถใช้งานได้อีก 5-10 ปีเป็นอย่างต่ำก่อนจะเสื่อมสภาพ)
ผมจะมาทำการเจาะลึกเรื่อง solar cell วันหลังนะครับ

ชอบและไม่ชอบอะไรที่สุดในรถคันนี้

รถยนต์ไฟฟ้าคันนี้ขับดีน่ะ แต่ผมว่ารถเตี้ยไปนิดเข้าออกลำบาก(ตอนนี้รอ model Y อยู่ คิดว่า ช่วงล่างของรถ model Y น่าจะเข้าออกง่ายกว่า model 3) กระจกมองหลังเล็กมาก
เป็นรถที่ไม่ต้องดูแลรักษาอะไรเลย

ระบบautopilot นี่มีการพัฒนาตลอดทุกครั้งที่มีการupdate ดูฉลาดขึ้นเรื่อยๆแต่ยังไม่100%ส่วนตัวให้แค่70%ยังไงขับเองดีกว่า แต่ถ้าง่วงมากๆ แอบงีบสักนิดสบายเลย
Smart summon ก็ดีแต่ไม่ถึงกับwow (ว้าว)ใช้เล่นตอนแรกตอนนี้ไม่เคยใช้เลย
Auto park พอกัน ดีแต่ไม่สุดต้องparkingว่างจริงๆถึงจะเล่นไม่งั้นกลัวมันไปชนชาวบ้าน

ความคิดเห็นจากผู้ใช้งานเทสล่า โมเดล 3 จริงๆ

จริงๆ พี่เค้าได้แอบกระซิบผมมาว่า เค้าได้ทำการติดตั้ง แผง solar cell เอาไว้ที่บ้านเค้าด้วย เพราะการไฟฟ้าของอเมริกานั้น เค้ารับซื้อไฟคืนจากประชาชนครับ แถมให้ rate (อัตรา) ผลตอบแทนที่ดีมากเสียด้วย

BLINK DRIVE TAKE

ผมขอฝากผลงานสัมภาษณ์ของผมมา ณ กระทู้นี้ด้วยนะครับ

เป็นครั้งแรกของผมเลยที่ สามารถยิงคำถามกับผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเทสล่าได้อย่างจุใจจริงๆครับ

ผู้ใช้งานท่านนี้เป็นคนไทยนะครับ ใจดีมากๆ ด้วยให้ผมสัมภาษณ์แบบเจาะลึกทุกมิติเลย แถมพี่แกดูเหมือนจะมีของเล่นให้ผมนำมาเผยแพร่ต่ออีกเยอะเลย ไม่ว่าจะเป็น nissan leaf และแผง solar cell ที่บ้าน เชื่อว่า คนไทยหลายท่านกระหายที่จะอยากรู้ว่า คนอเมริกา หรือคนไทยในอเมริกานั้นมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องรถยนต์ไฟฟ้ากันบ้างนะครับ

ดังนั้น เพจ blink drive จะขออาสาเป็นทัพหน้าลุยผ่าดงฝรั่งเข้าไปนำข้อมูลออกมาเปิดเผยออกมาเป็นภาษาไทยเพื่อให้ทุกท่านได้อ่านกันอย่างจุใจแน่นอนครับ

STAY TUNE, STAY WITH BLINK DRIVE

Follow by Email