Blink Blink
Latest news
TeslaUSA

Tesla โชว์สิทธิบัตร “โครงรถดูดซับแรงกระแทก” จากเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด(การหล่อโครงรถเป็น “ชิ้นเดียว”)

อย่างที่เราทราบกันว่า Tesla เป็นบริษัทแรกของโลกที่หันมาใช้ Gigapress เพื่อสร้างโครงรถแบบ Unicast หรือการสร้างโครงรถจากโลหะเพียงชิ้นเดียวจากเดิมที่ใช้มากถึง 70 ชิ้นในการสร้างรถนะครับ แต่ใครจะไปรู้ครับว่า การที่ Tesla หล่อโครงรถแบบ Unicast นั้นไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อให้ต้นทุนการผลิตราคาถูกลงอย่างเดียว แต่กลับกลายเป็นว่า โครงสร้างรถตัวนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับแรงกระแทกเวลาเกิดอุบัติเหตุและทำการกระจายแรงกระแทกเหล่านั้นไปยังทุกชิ้นส่วนในรถ ทำให้เรียกได้ว่า Tesla Model Y ที่จะใช้โครงสร้างแบบ Unicast นั้นจะเป็นรถยนต์ที่ปลอดภัยที่สุดในโลก ปลอดภัยมากกว่า Volvo ที่เป็นที่หนึ่งในเรื่องความปลอดภัยเวลาเกิดอุบัติเหตุอีกด้วยครับ แต่จริงๆ แล้วอีลอนเคยขิงบอกว่า

“The Model S is faster than any Porsche, safer than any Volvo”

อีลอน มัคส์

ส่วน Tesla Model Y นี่ไม่ต้องพูดถึงเลยครับเพราะได้วิทยาการการผลิตตัวถังที่ดีเทียบเท่าหรือดีกว่า Tesla Model S รุ่นปัจจุบันไปเรียบร้อยแล้วครับ

ภาพจาก 70 ชิ้นเหลือ 1 ชิ้น

ภาพทางด้านซ้ายคือโครงรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ที่ใช้ชิ้นส่วน 70 ชิ้นในการประกอบขึ้นมาครับ ส่วนภาพทางด้านขวาคือภาพโครงรถ Tesla Model Y ที่ใช้การประกอบแบบ Giga Press คือรวบเป็น 1 ชิ้นครับ

ถ้าดูจากภาพด้านบนดีๆ การผลิต 1 ชิ้นจะให้ความแข็งแกร่งมากกว่าเพราะเครื่องจักรสามารถสร้างโครงสร้างเสริมเข้าไปอย่างเห็นได้ชัดเลยนะครับ

รูปภาพ : Mold + DIE รุ่นใหม่ จบที่ station เดียว

เทคโนโลยี Integrated energy absorbing castings

เทคโนโลยี Integrated energy absorbing castings หรือแปลเป็นไทยว่า การใช้โครงสร้างรถในการดูดซับแรงกระแทกนั่นเองครับ จริงๆก็ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ Tesla เพราะ Tesla ได้ทำการจดทะเบียนสิทธิบัตรตัวนี้ไปเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 แล้วครับ แต่ที่เป็นเรื่องใหม่สำหรับชาวโลกเพราะจู่ๆ Tesla กลับมาเปิดเผยสิทธิบัตรตัวนี้ต่อสาธารณะชนณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 โดย Tesla ได้อธิบายลงไปในสิทธิบัตรว่า single-piece casting (การหล่อโครงสร้างรถแบบชิ้นเดียว)จะเป็นมาตราฐานใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ทุกรุ่นในอนาคต โดยปัจจุบันนั้นจะเริ่มใช้งานกับ Tesla Model Y ก่อนครับ

ทำไมถึงเพิ่งเอาสิทธิบัตรมาโชว์ตอนนี้?

สาเหตุที่ Tesla จู่ๆ ก็เปิดเผยสิทธิบัตรเทคโนโลยี Integrated energy absorbing cast เดือนนี้ก็เพราะว่าเค้าจะเริ่มส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model Y จากโรงงานผลิตรถยนต์ Giga Texas และโรงงานผลิตรถยนต์ Giga Berlin แล้วนะครับ เท่าที่ทราบกันจากภาพถ่าย Drone ที่โรงงานผลิตรถยนต์ Giga Texas นั้นใช้โครงสร้าง unicast แบบใหม่ที่มาพร้อมกับแบต 4680 แล้วครับผม

ภาพ : Unicast ตัวทดสอบผลิต ซึ่งก่อนเรื่องผลิตจริงนั้นเค้าจะทำการผลิต pivot เพื่อวอร์มเครื่อง Gigapress ในการผลิตจริงนะครับ ตัว Unicast เหล่านี้จะมีหน้าตาเหมือน unicast ของจริงที่อยู่ด้านล่าง แต่จะเห็นได้ว่ามีร่องรอยการผลิตที่มีตำหนิเต็มไปหมดครับ

โครงสร้าง “ชิ้นเดียว” ดีกว่า “หลายชิ้น” ยังไง

อ้างอิงจากภาพด้านบนที่ผมเพิ่งโพสไปนั้น จะเห็นได้ว่า โครงสร้างด้านซ้ายมือของภาพเป็นแบบ 70 ชิ้นประกอบเข้าด้วยกันแล้วเราจะเห็นได้ว่า การประกอบ 70 ชิ้นเข้าด้วยกันนั้นจะใช้ข้อต่อ, น๊อต, และการเชื่อมเยอะเกินความจำเป็น นั่นก็หมายถึงต้นทุนการผลิตที่เยอะขึ้นมาก

แต่ถ้ามองลึกลงไปอีกจะเห็นได้ว่า การประกอบแบบ 70 ชิ้นนั้นจะไม่สามารถทำโครงสร้างรถแบบรังผึ้งได้แบบการขึ้นรูป(หล่อรถ)แบบโครงสร้างชิ้นเดียวซึ่งการฉีดเหล็กให้เป็นโครงสร้างแบบรังผึ้งนั้นจะทำให้โครงรถมีความยืดหยุ่นได้มากกว่าและดูดซับแรงกระแทกได้มากกว่าการเอาชิ้นส่วนเหล็กหลายๆ ชิ้นมาประกอบเข้าหากันนะครับ

ที่มา : Tesla Oracle

BLINK DRIVE TAKE

ณ ปัจจุบันนั้น Tesla หันมาใช้ Unicast กับ Tesla Model Y โดยจะแบ่งโครงสร้างรถออกเป็นสองส่วนคือ ด้านหน้าและด้านหลัง นะครับ ซึ่งตรงกลางนั้นจะใช้ Battery Structural หรือใช้รังแบตเป็นโครงสร้างรถไปด้วยเลย(ลดต้นทุนการผลิตสุดๆ ) ซึ่งโครงสร้างแบต 4680 ของ Tesla นั้นเป็นแบบ Honeycomb หรือรังผึ้งครับ เค้าบอกว่า เวลารถยนต์เจออุบัติเหตุหนักๆ ตัวรังแบตจะทำการดูดซับแรงกระแทกให้กับรถทำให้ผู้โดยสารในรถได้รับความเสียหายน้อยกว่ารถทั่วไปครับ

แต่ข้อเสียก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีนะครับ ด้วยความที่ว่า ตัวรถออกแบบให้ทุกชิ้นส่วนรับ-ส่งแรงกระแทกทั้งคันดังนั้นถ้าเกิดมีการชนที่ไม่ได้อันตรายถึงชีวิต เช่น ชนรถด้วยความเร็ว 40 km/h โครงรถอาจจะได้รับความเสียหายทั้งด้านหน้า ถ้าจะเปลี่ยนก็คือต้องเปลี่ยน unicast ทั้งชิ้นครับ ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในต่างประเทศเค้าตีรถเสียทั้งคันอยู่แล้วเพราะถ้ารถชนมาแล้วถึงโครงรถนิดหน่อยเค้ามองว่าซ่อมยากมาก ตีเสียไปเลย แต่ถ้าประเทศไทยที่แม้ว่าจะชนมาหนักแค่ไหนก็รื้อมาซ่อมได้ ก็อาจจะไม่เหมาะกับโครงสร้างชนิดนี้ครับเพราะเวลาจะทำการซ่อมตัวถังอาจจะต้องสั่งอะไหล่ทั้งชิ้นแบบด้านบนมาประกอบใหม่เลยครับ ซึ่งปัจจุบันยังผลิตที่อเมริกาเท่านั้นเค้าต้องมารอดูกันว่าจีนจะได้ใช้โครงสร้าง unicast แบบนี้ไหม ถ้าได้ใช้จริงๆ อาจจะมีอะไหล่ถูกหลุดมาไทยบ้างนะครับ

แต่ข้อดีก็อย่างที่บอกไปด้านบนครับว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุจริงๆ จากหนักการกลายเป็นเบา จากที่ต้องขาหักก็แค่แผลถลอกที่ขา จากที่ต้องกระดูกซี่โครงหักก็เหลือที่รอยช้ำด้านนอก

ดังนั้นก็ต้องมาคิดกันว่า อะไหล่ชิ้นไหนแพงกว่ากันนะครับระหว่างตัวถังรถกับร่างกายคนครับ รถคันนี้ล่ะ 4 ล้านบาท(รวมภาษี 200% หน้าเลือดของกะลาแลนด์)นั้นถ้าเราเสียมันไปกลับการที่เราต้องแลกขาเรามาข้างนึงอะไรจะคุ้มกว่ากันนะครับ

ถ้าชนเล็กน้อยแล้วเสียรถไปก็ถือว่าดวงเราอาจจะไม่ดี แต่ถ้าเกิดเจอเหตุการณ์ชนหนักๆ แล้วชนก็ถือว่าคุ้มกับการใช้งานแหละครับ คงต้องมาชั่งน้ำหนักกันอีกทีว่า ราคาค่าตัวเราแพงกว่ารถไหมนะครับ

จริงๆ คำถามที่อยากจะถามวันนี้เลยว่า ถ้ามีคนเอาเงินมาให้คุณ 10 ล้านบาทเพื่อขอซื้อขาคุณข้างนึง คุณจะขายเค้าไหมครับ? (ลองคิดเอาเองเนอะ) อันนี้ผมทิ้งภาพรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ชนพร้อมกับเหตุการณ์ให้ดูนะครับ(อันนี้ใช้โครงสร้างแบบเก่าอยู่นะครับ แต่ความปลอดภัยของ Tesla นั้นอย่างที่เห็นว่า 5 star ไปแล้วครับ)

เมื่อเวลา 4 ทุ่ม 18 นาทีของเมือง corvallis รัฐออริกอน ประเทศอเมริกา(เวลาไทยประมาณ 6 โมงเช้าครับ) ของวันที่ 17 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ตำรวจรายงานว่ามีรถยนต์ขับเสียหลักที่ถนนเลขที่ 800 block NW Walnut Blvd อ้างอิงจากรายงานของตำรวจท้องที่ รถยนต์ Tesla Model 3 ปี 2019 นี้ขับมาด้วยความเร็วเกิน 100 mph หรือมากกว่า 170 km/h จากนั้นคนขับเสียการควบคุมและพุ่งเข้าข้างทาง

รายงานเบื้องต้นนั้นคนขับได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย(ไม่มีกระดูกหัก)จากอุบัติเหตุ แต่เพื่อความปลอดภัยของคนขับ รถพยาบาลได้นำส่งตัวไปยังโรงพยาบาล Good Samaritan Hospital

อีกเคสก็เป็น จอดเฉยๆแล้วโดนรถวิ่งมาชนจากด้านหลังรถครับ แล้วก็เจ้าของรถก็ออกจากรถอย่างปลอดภัย

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Follow by Email