อย่างที่เราทราบกันว่า Tesla เป็นบริษัทแรกของโลกที่หันมาใช้ Gigapress เพื่อสร้างโครงรถแบบ Unicast หรือการสร้างโครงรถจากโลหะเพียงชิ้นเดียวจากเดิมที่ใช้มากถึง 70 ชิ้นในการสร้างรถนะครับ แต่ใครจะไปรู้ครับว่า การที่ Tesla หล่อโครงรถแบบ Unicast นั้นไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อให้ต้นทุนการผลิตราคาถูกลงอย่างเดียว แต่กลับกลายเป็นว่า โครงสร้างรถตัวนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับแรงกระแทกเวลาเกิดอุบัติเหตุและทำการกระจายแรงกระแทกเหล่านั้นไปยังทุกชิ้นส่วนในรถ ทำให้เรียกได้ว่า Tesla Model Y ที่จะใช้โครงสร้างแบบ Unicast นั้นจะเป็นรถยนต์ที่ปลอดภัยที่สุดในโลก ปลอดภัยมากกว่า Volvo ที่เป็นที่หนึ่งในเรื่องความปลอดภัยเวลาเกิดอุบัติเหตุอีกด้วยครับ แต่จริงๆ แล้วอีลอนเคยขิงบอกว่า
“The Model S is faster than any Porsche, safer than any Volvo”
อีลอน มัคส์
ส่วน Tesla Model Y นี่ไม่ต้องพูดถึงเลยครับเพราะได้วิทยาการการผลิตตัวถังที่ดีเทียบเท่าหรือดีกว่า Tesla Model S รุ่นปัจจุบันไปเรียบร้อยแล้วครับ
ภาพจาก 70 ชิ้นเหลือ 1 ชิ้น
ภาพทางด้านซ้ายคือโครงรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ที่ใช้ชิ้นส่วน 70 ชิ้นในการประกอบขึ้นมาครับ ส่วนภาพทางด้านขวาคือภาพโครงรถ Tesla Model Y ที่ใช้การประกอบแบบ Giga Press คือรวบเป็น 1 ชิ้นครับ
ถ้าดูจากภาพด้านบนดีๆ การผลิต 1 ชิ้นจะให้ความแข็งแกร่งมากกว่าเพราะเครื่องจักรสามารถสร้างโครงสร้างเสริมเข้าไปอย่างเห็นได้ชัดเลยนะครับ
รูปภาพ : Mold + DIE รุ่นใหม่ จบที่ station เดียว
เทคโนโลยี Integrated energy absorbing castings
เทคโนโลยี Integrated energy absorbing castings หรือแปลเป็นไทยว่า การใช้โครงสร้างรถในการดูดซับแรงกระแทกนั่นเองครับ จริงๆก็ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ Tesla เพราะ Tesla ได้ทำการจดทะเบียนสิทธิบัตรตัวนี้ไปเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 แล้วครับ แต่ที่เป็นเรื่องใหม่สำหรับชาวโลกเพราะจู่ๆ Tesla กลับมาเปิดเผยสิทธิบัตรตัวนี้ต่อสาธารณะชนณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 โดย Tesla ได้อธิบายลงไปในสิทธิบัตรว่า single-piece casting (การหล่อโครงสร้างรถแบบชิ้นเดียว)จะเป็นมาตราฐานใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ทุกรุ่นในอนาคต โดยปัจจุบันนั้นจะเริ่มใช้งานกับ Tesla Model Y ก่อนครับ
ทำไมถึงเพิ่งเอาสิทธิบัตรมาโชว์ตอนนี้?
สาเหตุที่ Tesla จู่ๆ ก็เปิดเผยสิทธิบัตรเทคโนโลยี Integrated energy absorbing cast เดือนนี้ก็เพราะว่าเค้าจะเริ่มส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model Y จากโรงงานผลิตรถยนต์ Giga Texas และโรงงานผลิตรถยนต์ Giga Berlin แล้วนะครับ เท่าที่ทราบกันจากภาพถ่าย Drone ที่โรงงานผลิตรถยนต์ Giga Texas นั้นใช้โครงสร้าง unicast แบบใหม่ที่มาพร้อมกับแบต 4680 แล้วครับผม
โครงสร้าง “ชิ้นเดียว” ดีกว่า “หลายชิ้น” ยังไง
อ้างอิงจากภาพด้านบนที่ผมเพิ่งโพสไปนั้น จะเห็นได้ว่า โครงสร้างด้านซ้ายมือของภาพเป็นแบบ 70 ชิ้นประกอบเข้าด้วยกันแล้วเราจะเห็นได้ว่า การประกอบ 70 ชิ้นเข้าด้วยกันนั้นจะใช้ข้อต่อ, น๊อต, และการเชื่อมเยอะเกินความจำเป็น นั่นก็หมายถึงต้นทุนการผลิตที่เยอะขึ้นมาก
แต่ถ้ามองลึกลงไปอีกจะเห็นได้ว่า การประกอบแบบ 70 ชิ้นนั้นจะไม่สามารถทำโครงสร้างรถแบบรังผึ้งได้แบบการขึ้นรูป(หล่อรถ)แบบโครงสร้างชิ้นเดียวซึ่งการฉีดเหล็กให้เป็นโครงสร้างแบบรังผึ้งนั้นจะทำให้โครงรถมีความยืดหยุ่นได้มากกว่าและดูดซับแรงกระแทกได้มากกว่าการเอาชิ้นส่วนเหล็กหลายๆ ชิ้นมาประกอบเข้าหากันนะครับ
ที่มา : Tesla Oracle
BLINK DRIVE TAKE
ณ ปัจจุบันนั้น Tesla หันมาใช้ Unicast กับ Tesla Model Y โดยจะแบ่งโครงสร้างรถออกเป็นสองส่วนคือ ด้านหน้าและด้านหลัง นะครับ ซึ่งตรงกลางนั้นจะใช้ Battery Structural หรือใช้รังแบตเป็นโครงสร้างรถไปด้วยเลย(ลดต้นทุนการผลิตสุดๆ ) ซึ่งโครงสร้างแบต 4680 ของ Tesla นั้นเป็นแบบ Honeycomb หรือรังผึ้งครับ เค้าบอกว่า เวลารถยนต์เจออุบัติเหตุหนักๆ ตัวรังแบตจะทำการดูดซับแรงกระแทกให้กับรถทำให้ผู้โดยสารในรถได้รับความเสียหายน้อยกว่ารถทั่วไปครับ
แต่ข้อเสียก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีนะครับ ด้วยความที่ว่า ตัวรถออกแบบให้ทุกชิ้นส่วนรับ-ส่งแรงกระแทกทั้งคันดังนั้นถ้าเกิดมีการชนที่ไม่ได้อันตรายถึงชีวิต เช่น ชนรถด้วยความเร็ว 40 km/h โครงรถอาจจะได้รับความเสียหายทั้งด้านหน้า ถ้าจะเปลี่ยนก็คือต้องเปลี่ยน unicast ทั้งชิ้นครับ ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในต่างประเทศเค้าตีรถเสียทั้งคันอยู่แล้วเพราะถ้ารถชนมาแล้วถึงโครงรถนิดหน่อยเค้ามองว่าซ่อมยากมาก ตีเสียไปเลย แต่ถ้าประเทศไทยที่แม้ว่าจะชนมาหนักแค่ไหนก็รื้อมาซ่อมได้ ก็อาจจะไม่เหมาะกับโครงสร้างชนิดนี้ครับเพราะเวลาจะทำการซ่อมตัวถังอาจจะต้องสั่งอะไหล่ทั้งชิ้นแบบด้านบนมาประกอบใหม่เลยครับ ซึ่งปัจจุบันยังผลิตที่อเมริกาเท่านั้นเค้าต้องมารอดูกันว่าจีนจะได้ใช้โครงสร้าง unicast แบบนี้ไหม ถ้าได้ใช้จริงๆ อาจจะมีอะไหล่ถูกหลุดมาไทยบ้างนะครับ
แต่ข้อดีก็อย่างที่บอกไปด้านบนครับว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุจริงๆ จากหนักการกลายเป็นเบา จากที่ต้องขาหักก็แค่แผลถลอกที่ขา จากที่ต้องกระดูกซี่โครงหักก็เหลือที่รอยช้ำด้านนอก
ดังนั้นก็ต้องมาคิดกันว่า อะไหล่ชิ้นไหนแพงกว่ากันนะครับระหว่างตัวถังรถกับร่างกายคนครับ รถคันนี้ล่ะ 4 ล้านบาท(รวมภาษี 200% หน้าเลือดของกะลาแลนด์)นั้นถ้าเราเสียมันไปกลับการที่เราต้องแลกขาเรามาข้างนึงอะไรจะคุ้มกว่ากันนะครับ
ถ้าชนเล็กน้อยแล้วเสียรถไปก็ถือว่าดวงเราอาจจะไม่ดี แต่ถ้าเกิดเจอเหตุการณ์ชนหนักๆ แล้วชนก็ถือว่าคุ้มกับการใช้งานแหละครับ คงต้องมาชั่งน้ำหนักกันอีกทีว่า ราคาค่าตัวเราแพงกว่ารถไหมนะครับ
จริงๆ คำถามที่อยากจะถามวันนี้เลยว่า ถ้ามีคนเอาเงินมาให้คุณ 10 ล้านบาทเพื่อขอซื้อขาคุณข้างนึง คุณจะขายเค้าไหมครับ? (ลองคิดเอาเองเนอะ) อันนี้ผมทิ้งภาพรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ชนพร้อมกับเหตุการณ์ให้ดูนะครับ(อันนี้ใช้โครงสร้างแบบเก่าอยู่นะครับ แต่ความปลอดภัยของ Tesla นั้นอย่างที่เห็นว่า 5 star ไปแล้วครับ)
เมื่อเวลา 4 ทุ่ม 18 นาทีของเมือง corvallis รัฐออริกอน ประเทศอเมริกา(เวลาไทยประมาณ 6 โมงเช้าครับ) ของวันที่ 17 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ตำรวจรายงานว่ามีรถยนต์ขับเสียหลักที่ถนนเลขที่ 800 block NW Walnut Blvd อ้างอิงจากรายงานของตำรวจท้องที่ รถยนต์ Tesla Model 3 ปี 2019 นี้ขับมาด้วยความเร็วเกิน 100 mph หรือมากกว่า 170 km/h จากนั้นคนขับเสียการควบคุมและพุ่งเข้าข้างทาง
รายงานเบื้องต้นนั้นคนขับได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย(ไม่มีกระดูกหัก)จากอุบัติเหตุ แต่เพื่อความปลอดภัยของคนขับ รถพยาบาลได้นำส่งตัวไปยังโรงพยาบาล Good Samaritan Hospital
อีกเคสก็เป็น จอดเฉยๆแล้วโดนรถวิ่งมาชนจากด้านหลังรถครับ แล้วก็เจ้าของรถก็ออกจากรถอย่างปลอดภัย