Blink Blink
TeslaUSA

รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ลงสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต, ทำสถิติ 2:01.74 แบบนี้ก็น้องๆ Hypercar ไปเลย

สวัสดีครับ วันนี้ผมได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์พี่แถม แห่งสำนักแต่งรถ TKF Racing ซึ่งเป็นสำนักแต่งรถสำนักแรกๆในไทยที่จับ Tesla Model 3 มาแต่งองค์ทรงเครื่องนะครับ มาคราวนี้ แกจับรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 Performance ไปลงสนามสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต พร้อมทำกับสถิติ(lap record) ที่เรียกได้ว่ายืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับ Supercar ที่ไปแข่งวันนั้นได้เลยนะครับ

อย่างไรก็ตามเดี๋ยวผมจะขอเล่าประวัติสนามช้างและความไปมาก่อนที่พี่แถมจะได้ไปแข่งในสนามนี้กันก่อนนะครับ

ทำไมต้องสนามช้าง?

สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ได้รับการรับรองจาก FIA ให้ใช้เป็นสนามจัดการแข่งขันรถยนต์ ฟอร์มูล่า 1 หรือรถสูตร 1 ได้ ในขณะเดียวกัน ก็ได้รับการรับรองจาก FIM ให้ใช้เป็นสนามจัดการแข่งขันรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก รายการ MOTO GP ได้อีกด้วย – ที่มา : Thailand Tourism Directory

สนามบุรีรัมย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิตหรือสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิตถูกจัดอันดับให้เป็นสนามแขี่งรถมาตราฐานระดับโลกและในทุกๆ ปีนั้นจะการจัดรายการแข่งขันระดับโลกต่างๆ แวะเวียนมาที่สนามแข่งรถแห่งนี้ ล่าสุดก็เป็นการแข่งขัน OR BRIC Superbike ณ ปี 2020 – ที่มา : bric.co.th

หรือจะเป็นศึกรถยนต์ทางเรียบเอ็นดูรานซ์ระดับโลก รายการ เอเชียน เลอมังส์ ซีรีส์ 2019/2020 ซึ่งถูกจัด ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2020 ที่ผ่านมา

ทำให้สนามแข่งรถแห่งนี้นั้นเต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ มากมายและเป็นสนามที่นักแข่งทุกชาติอยากมาสร้างสถิติเก็บกันเอาไว้นะครับ

รายละเอียดสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต

  • จุผู้ชมได้มากถึง 130,000 คน(เดือนตุลาคม 2557)
  • ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 1,200 ไร่
  • มีระยะทางต่อรอบยาวถึง 4.554 กิโลเมตร
  • มีโค้งทั้งสิ้น 12 โค้งประกอบไปด้วยโค้งขวา 7 โค้งและโค้งซ้าย 5 โค้ง
    • โค้งที่ยากที่สุดในสนามคือ โค้ง 12 โค้งแฮร์พิน หรือโค้งยูเทิร์นหักศอกขวา 126 องศา
  • มีพิตระดับมาตรฐานถึง 40 พิต

ที่มา : Wikipedia

เข้าไปวิ่งแข่งในสนามนี้ได้ยังไง?

พี่แถมเล่าว่าแกเป็นสมาชิก SuperCar ของไทยคือ LMFP ย่อมาจาก Lamborghini, Mclaren, Ferrari, และ Porsche นะครับ ซึ่งจริงๆ แล้วแกกะจะเอาแค่ Nissan GTR R-35 มาลงสนามเท่านั้นแต่ไหนๆ ก็ได้รับคำเชิญมาแล้วเค้าก็เลยเอา Tesla Model 3 มาลองวิ่งดูด้วยเลยล่ะกันครับ

อย่างไรก็ตาม แกมาสนามนี้หลายครั้งแล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกครับที่แกเอารถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 Performance มาเหยียบสนามและตามประวัติศาสตร์ของสนามช้างฯ แห่งนี้แล้ว พี่แถมเป็นคนแรกที่เอารถยนต์ไฟฟ้ามาวิ่งทำสถิติในสนามแห่งนี้ครับ

คันนี้แต่งอะไรมาบ้าง?

เอาจริงๆ คันนี้จะแต่งเป็นแบบ street legal หรือใช้งานถูกต้องตามกฏหมายทุกอย่าง ดังนั้นสิ่งที่พี่แถมแต่งมานั้นจะเป็นแค่ล้อ, เบรค, ยาง, ชุดแต่งรอบคันและช่วงล่าง(โช๊ค)เท่านั้นซึ่งแกบอกว่ารอบหน้าจะจัดให้สุดกว่านี้ครับ(เดี๋ยวเล่าให้ฟังท้ายโพส)

  1. เบรค – Alcon big brake.
  2. โช๊ค – DWD suspension.
  3. ถุงลมเสริมความสูง – Stancepart aircup
  4. ยาง ใช้รุ่น treadwear 300

อย่างไรก็ตาม ตอนขับจริงนั้น พี่แถมได้ตัดสินใจเชิญน้าแมนมาลองขับดูเพื่อทำสถิติในสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิตแห่งนี้ครับ ระหว่างขับนั้นน้าแมนถึงอุทานออกมาว่า “แรงมากๆ….เร็วนะเนี่ย ทำเป็นเล่นไปพี่” ซึ่งแกบอกว่า ช่วงล่างแน่นมาก แต่ถ้าได้เบาะรถแข่งมานี่ คันนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากรถสนามเลย

สถิติ 2 นาทีกับระยะทาง 4.5 กิโลเมตร

สรุปแล้ว น้าแมนเอา Tesla Model 3 Performance เข้าเส้นชัยด้วยเวลา 2:01.47 นาทีถือว่าแรงเป็นอันดับ 10 ของรถที่ไปแข่งในวันนั้นเลยนะครับ เท่าที่ทราบมานั้น พี่แถมแจ้งว่า คันนี้ทำสถิติแรงกว่า Lamborghini หลายรุ่นในสนามที่ไปแข่งวันนั้นเช่นกันครับ

เสียดายที่ทางสนามไม่ได้เปิดเผยข้อมูลการแข่งขันในวันนั้นทั้งหมดออกมานะครับ ไม่งั้นเราจะสามารถเห็นข้อมูลเชิงลึกได้มากกว่านี้แล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตามพี่แถมบอกมาว่าคันนี้ช้ากว่า McLaren 765LT ประมาณ 5 วินาที(Lap Time : 1:56 นาที)

อุปสรรคและการแก้ไขปัญหาในอนาคต

สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการวิ่งทำสถิติในครั้งนี้คือยางกับเบาะที่ยังไม่ได้จัดเต็มนะครับ

เรื่องยางนั้นพี่แถมบอกว่า แกใส่มาแค่ treadwear 300 ซึ่งการเกาะถนนนั้นก็ดีอยู่แล้วแต่จะสู้ยาง Treadwear 100 ไม่ได้ที่มีคุณสมบัติการเกาะถนนดีกว่า(เกือบจะหน้าโล้นเป็นยาง slick อยู่แล้วครับ) เนื่องจากสภาพถนนของสนามแข่งนั้นร้อนมากๆ พื้นสนามวันที่ไปทดสอบรถนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 50 องศาเซลเซียสซึ่งถ้ายางไม่ดีมีหลุดโค้งอย่างแน่นอนครับ ทำให้นักแข่งในวันนั้น(น้าแมน)ไม่กล้าอัดเต็มในทุกโค้งเพราะยางมีส่วนนะครับ

อีกเรื่องคือเรื่องเบาะ พี่แถมและน้าแมน(บอกในคลิป)ว่า เวลาเข้าโค้งนั้นเค้าไม่สามารถเข้าได้สุดเพราะว่าเบาะของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 คันนี้เป็นเบาะธรรมดาที่มาจากโรงงานไม่โอบรัดตัวคนขับทำให้เวลาเข้าโค้งแรงๆ ทีไร คนขับและคนนั่งมักจะกลิ้งไป-กลิ้งมา ในรถ ทำให้น้าแมนไม่สามารถอัดเข้าโค้งได้แบบ 100% แหละครับ

เบาะที่ Tesla Model 3 คันนี้นั้นต่างจากเบาะของรถ Supercar ในสนามแข่งวันนั้นที่เบาะเป็นเบาะแบบ Racing (สำหรับแข่ง)มาให้ตั้งแต่ซื้อรถกันแล้วครับ

แกบอกว่า รอบหน้าเจอกัน มันส์กว่านี้แน่นอน

BLINK DRIVE TAKE

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

ส่งข้อมูลที่น่าสนใจและอยากให้แปลมาได้ที่ THE FORTRESS

Follow by Email