Blink Blink
BenzBMWEuropeMercedes Benzvolk swagen

ศึกสามก๊ก : Benz หักหลัง BMW และ Volkswagen โดยการฟ้อง EU ให้ปรับ 1 พันล้านเหรียญข้อหาร่วมกันฉ้อโกงค่าไอเสีย

ก่อนอื่นเลยนะครับ ข่าวนี้มีการแปลในไทยแล้ว แต่ยังไม่มีใครแปลแบบเจาะลึกกันแบบข่าวต่างประเทศอย่าง Reuters, the verge หรือ CNN เลยครับ จริงๆ แล้วผมแชร์ข่าวนี้จากเพจอื่นๆ ที่ทำการแปลเอาไว้แล้วนะครับ

แต่เผอิญพี่เวลแห่ง Welldone Gaurantee มาสอบถามผมเรื่องนี้ ผมก็ต้องไปอ่านจากสำนักพิมพ์ของไทยและต่างประเทศเพื่อทำการบ้านก่อนอัดวิดีโอกับแกนะครับ แต่พออ่านข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศเสร็จก็อุทานว่า เห้ย นี่มันเหมือนหนังเรื่องเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหดเลยครับ ร่วมหัวจมท้ายช่วยกันโกงกันมาดีๆ จู่ๆ กระโดดออกจากวงแล้วไปฟ้อง EU เพื่อชิ่งหนีความผิดซะงั้น

3 ก๊กในอุตสาหกรรมรถยนต์(ยุโรป)

การโกงครั้งนี้เป็นการโกงที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกเลยครับ เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังแบบถึงพริกถึงขิงกันเลยทีเดียวครับ

ก่อนอื่นผมขอทำความเข้าใจกับผู้อ่านทุกท่านก่อนว่า ยุโรปนั้นเป็นทวีปที่ใหญ่และมีการตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมาตลอดเวลาและค่ายใหญ่ในยุโรปนั้นแบ่งกันเป็นก๊กๆ ทั้งหมด 3 ก๊กด้วยกันครับ คือ Diamler, BMW Group และ Volkswagen Group ซึ่ง 3 ก๊กนี้เป็นมาเฟียควบอุตสาหกรรมยานยนต์ในยุโรปมาอย่างช้านานแต่ปรากฏว่า ก๊ก Diamler ทำการหักหลังเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมด้วยกันโดยเอาเรื่องราวที่พวกเค้าต่างหมกเม็ดชาวยุโรปมาเป็น 10 ปีมาแฉต่อหน้าสาธารณะชนครับ

เรื่องมันเป็นยังไงไหนเล่ามาให้ฟังสิ

เรื่องราวมีอยู่ว่า สื่อต่างประเทศอย่าง the verge นั้นเปิดเผยข้อมูลมาว่า Volkswagen, Audi, Porsche, BMW, และ Mercedes-Benz ซึ่งเป็นค่ายลูกของ Diamler พวกเค้าเหล่านั้นรวมหัวสมคบคิด “เตะถ่วง” ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาด, โกงค่า Adblue(เดี๋ยวเล่าให้ฟังด้านล่างครับ), แล้วก็เรื่องนัดกันกดค่ามาตราฐานไอเสียให้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นครับ

โดย European Commission สั่งปรับเครือ Volkswagen เป็นจำนวนเงิน 502 ล้านยูโร (1.9 หมื่นล้านบาท) และสั่งปรับเครือ BMW เป็นจำนวนเงิน 373 ล้านยูโร (1.4 หมื่นล้านบาท)

แหกกฏ Antitrust Law ของยุโรป

กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Anti-Trust Law) หรือ กฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม (Competition Law) มันคือกฏหมายที่กำหนดรูปแบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ป้องกันมิให้กลุ่มทุนใดสะสมความมั่งคั่งมากเกินจนผูกขาดตลาดเบียดขับผู้ประกอบการอื่นออกไป และมีอำนาจบิดเบือนตลาด มีอำนาจต่อรองเหนือผู้บริโภคมากเกินไป – ที่มา : ประชาไท

จริงๆ แล้ว EU (European Union) อยากให้ผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรปอย่าง Volkswagen, Audi, Porsche, BMW, และ Mercedes-Benz ออกมาแข่งขันกันสร้าง product ใหม่ๆ ให้กับชาวโลก แต่พวกเค้ากลับทำตรงกันข้ามโดยการที่พวกเค้าพยายามสมรู้ร่วมคิดในการสร้างค่ามาตราฐานของน้ำยา Adblue ให้เท่าๆ กันและยื่นต่อ EU ว่าทำได้เพียงเท่านี้

Adblue คืออะไร?

เนื่องจากรถยนต์น้ำมันดีเซลนั้นปล่อยไอเสียเกินค่าที่ EU กำหนดเอาไว้เสมอครับ ดังนั้นค่ายรถยนต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Volkswagen Group, BMW, และ Daimler(บริษัทแม่ของเบ็นซ์) ได้คิดค้นน้ำยาชนิดนึงขึ้นมาเพื่อลดค่าไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลโดยน้ำยานั้นมีชื่อว่า Adblue ครับ

หลักการทำงานของ Adblue ก็ไม่ได้สับซ้อนอะไรก็คือ ทางค่ายรถยนต์จะสร้างถัง AdBlue ขึ้นมาแยกในรถยนต์น้ำมันดีเซล โดยเจ้าถึงนี้จะปล่อยน้ำยาเคมีเข้าไปในท่อไอเสีย(ตามรูปด้านล่าง)จากนั้นไอเสียที่ปล่อยออกมานั้นจะเหลือเพียงไนโตรเจนกับน้ำ(H20)เกือบทั้งหมด ทำให้รถยนต์น้ำมันดีเซลสามารถใช้งานต่อในยุโรปได้โดยไม่ผิดค่ามาตราฐาน

แล้วมันเกี่ยวอะไรขึ้นกับค่าปรับครั้งนี้ล่ะ?

ปรากฏว่า Benz กลายเป็น Whistler Blower คือคนที่หักหลังเพื่อนร่วมงานมาทั้งหมดแล้วเอาข้อมูลที่ทำงานร่วมกันมาเป็นสิบๆปีมาแฉต่อหน้าสาธารณะและอ้างตัวเองเป็นพระเอก ซึ่งเคสนี้เคยเกิดขึ้นกับ Edward Snowden “เอ็ดเวิร์ด สโนว์เด้น” คนที่เป็นอดีตนักเทคนิคของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) ของสหรัฐ และอดีตลูกจ้างของสำนักข่าวกรองกลาง (CIA) แต่กลับหักหลังที่ทำงานของตนเองโดยบอกว่ายึดหลักความยุติธรรมและไม่อาจทานทนต่อการที่ NSA พยายามแอบดูข้อมูลของผู้คนผ่าน social media ได้นะครับ

เบ็นซ์ก็มาในแนวเดียวกันคือ เค้าไปบอก EU ว่า “ถ้าผมเอาข้อมูลให้คุณแล้วคุณต้องมีหลักประกันให้ผมนะ” EU ก็ชอบสิครับ เหมือนกับว่าเพื่อนๆเราตั้งวงไพ่แล้วเล่นกันมาตั้งนานแต่ปรากฏว่า เราไม่ยุ่งเกี่ยวเรื่อง illegal(ผิดกฏหมาย)นี้แล้วก็คาบข่าวไปบอกตำรวจให้จับวงไพ่ที่ตนเองและเพื่อนของตนเล่นมาเป็นสิบๆ ปีลงซะ

โดยฝรั่งเค้าเรื่องการฉ้อโกงแบบสมรู้ร่วมคิดครั้งนี้ว่า…

Emissions Cartel = ร่วมมือกันโกงค่าไอเสีย

คุณ Margrethe Vestager ซึ่งดำรงตำแหน่ง European Union antitrust chief หรือหัวหน้าองค์กรการต่อต้านการผูกขาดใน EU ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า “We have never had a cartel whose purpose was to restrict the use of novel technology.” แปล พวกเราไม่เคยเห็นการร่วมมือร่วมใจกันเตะถ่วงเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่กันแบบองค์กรเหล่านี้เลย

คุณ Vestager บอกว่า บริษัท VW(Volkswagen) , Audi และ Porsche ได้ครอบครองเทคโนโลยีลดมลพิษทางอากาศซึ่งพวกเค้าสามารถทำได้ต่ำกว่าค่าที่ EU กำหนดด้วยซ้ำแต่ปรากฏว่าพวกเค้าเลี่ยงที่จะนำมาใช้งานกับรถของพวกเค้าเพราะกลัวว่าจะเกิดการแข่งขันใน EU ซึ่งจะทำให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองในการติดตั้งระบบเหล่านั้นลงไปในรถของพวกเค้า

คุณ Vestager ได้กล่าวต่ออีกว่า “So today’s decision is about how legitimate technical cooperation went wrong. And we do not tolerate it when companies collude,” แปล – วันนี้จะเป็นวันตัดสินว่าการประนีประนอมทางกฏหมายนั้นมาถึงทางตัน พวกเราก็จะไม่ยอมให้บริษัทเหล่านั้นมาสมรู้ร่วมคิดทำร้ายประชาชนทางอ้อมแบบนี้อย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม Volkswagen ออกมากล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ(หรือแถวบ้านเรียกว่าหน้าซื่อตาใส)ว่า

The Commission is entering new judicial territory, because it is treating technical cooperation for the first time as an antitrust violation.

กรรมาธิการกำลังยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการชั้นศาลใหม่ เพราะว่านี่เป็นครั้งแรกที่พวกเราทำผิด(การร่วมมือกันเตะถ่วงเทคโนโลยีลดมลพิษ)

Volkswagen ออกมาตอบโต้และสวนกลับไปว่า นี่เป็นการกล่าวหาโดยไม่มีผู้โดนกระทำคือไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากการเตะถ่วงทางเทคโนโลยีครั้งนี้

คนที่ซวยคือประชาชน, ทำให้ EU ต้องออกมาปกป้อง

อย่างที่ผมกล่าวไปข้างบนว่า AdBlue นั้นมีข้อดีคือเอาไว้ลดค่าไอเสียต่างๆ เช่น NOx หรือ nitrogen oxide(ไนโตรเจน อ๊อกไซด์)

สิ่งที่คุณ Margrethe Vestager (หัวหน้าองค์กรการต่อต้านการผูกขาดใน EU)พบเจอในสัญญาผูกขาดระหว่าง 3 บริษัทยักษ์ใหญ่คือ พวกเราแอบตกลงกันว่าจะสร้างถัง AdBlue ให้มีขนาดเท่ากันทั้งหมดรวมไปถึงการบริโภคน้ำยา AdBlue ต่อการใช้งานก็สมรู้ร่วมคิดกันว่าจะใช้ปริมาณเท่าไหร่กันอีกด้วย

อีกทั้งพวกเค้าแอบรับ-ส่งข้อมูลทางการค้าเกี่ยวกับปริมาณ,ราคา, และระยะเวลาการใช้งานน้ำยา AdBlue เหล่านี้กันอีกด้วย คุณ Vestager พบเจอว่า พวกค่ายรถพยายามไม่พัฒนา(หรือเรียกว่า เตะถ่วง)เทคโนโลยียานยนต์ปลอดมลพิษหรือหมายกำหนดการที่จะเลิกใช้น้ำยา AdBlue ขึ้นมาซักที จนเหมือนกับว่าพวกเค้าจงใจวางแผนขายน้ำยา AdBlue ไปเรื่อยๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจพวกเค้าแทนที่จะพัฒนายานยนต์ไร้ควันพิษออกมาได้แล้ว

ถ้าสังเกตุดีๆว่า สิ่งเดียวที่จะทำให้รถยนต์ปล่อยมลพิษต่ำกว่าค่ามาตราฐานที่ EU กำหนดเอาไว้ก็คือต้องเติมน้ำยา Adblue ไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนที่ซื้อรถมาใช้ ถ้าพวกเค้าไม่เติมน้ำยา AdBlue เข้าไป รถพวกเค้าก็จะไม่ผ่านเกณฑ์ที่ EU ตั้งเอาไว้ (ไม่ผ่าน inspection ปลายปี) ถ้าจะให้รถเค้าผ่านเกณฑ์ก็ต้องเติมน้ำยา AdBlue เข้าไป ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์กลายเป็นพ่อค้าผูกขาดการขายน้ำยา AdBlue ไปโดยปริยาย

ที่มา : Reuters, Europe Union

BLINK DRIVE TAKE

พูดง่ายๆ คือการใช้น้ำยา AdBlue เพื่อลดมลพิษทางอากาศจากการปล่อยไอเสียของรถนั้นเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุและผลักภาระค่าใช้จ่ายมายังลูกค้าที่ซื้อรถมาขับ ดังนั้น Antitrust (สมาคมป้องกันการผูกขาด)ของ EU ออกมาปรับค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมจากค่ายรถยนต์ทั้งหมด 2 ค่ายคือ BMW และ Volkswagen ส่วน Benz นั้นรอดไปเพราะเอาหลักฐานการสนทนาและข้อมูลทางการค้าที่ทำมาตั้งแต่ปี 2006 – 2014 มาเปิดเผยกับ EU ครับ ทำให้ EU ละเว้นโทษกับ Benz

แต่หลังจากนี้ไป EU มองว่าพวกเค้าสามารถสร้างรถยนต์ที่ไร้มลพิษหรือปล่อยมลพิษต่ำกว่าค่ามาตราฐานที่ EU กำหนดเอาไว้แล้ว ไม่มีทางที่ EU จะปล่อยให้พวกเค้ากลับไปหากินกับน้ำยา AdBlue อีกแล้วครับ

หรือเรียกได้ว่า ถ้ารถยนต์ที่จะวางขายหลังจากปีนี้เป็นต้นไป ถ้าเป็นดีเซลต้องห้ามใช้ AdBlue เป็นอันขาดซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะให้รถเครื่องยนต์ดีเซลปล่อยค่าไอเสียต่ำกว่ามาตราฐาน EU กำหนดโดยไม่ใช้ AdBlue ดังนั้นผมมองว่าค่ายรถต้องหันไปพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าหรือเอาระบบ Hybrid มาใส่เครื่องยนต์ดีเซลไปพลางๆ ระหว่างพัฒนาระบบขับเคลื่อนไฟฟ้ากันแหละครับ

ส่วนเครื่องยนต์เบนซินก็ใช่ว่าจะรอดครับ เพราะถ้าเครื่องยนต์ที่มีขนาดมากกว่า 2.5 ลิตรขึ้นไปถือว่าปล่อยค่าไอเสียเกินเกณฑ์ทั้งหมดครับ ถ้าพวกเค้าอยากจะขายรถต่อคงต้องเอา Hybrid มาพ่วงเพื่อลดค่าไอเสียครับ คงต้องมาดูกันว่าแนวโน้มในปีหน้านั้น ค่ายรถยนต์ต่างๆ จะเหลือรถยนต์น้ำมันล้วน(ไม่มีระบบไฟฟ้าช่วยขับ)กันกี่รุ่นครับเพราะ EU เอาจริงและปรับหนักอย่างมากครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

ส่งข้อมูลที่น่าสนใจและอยากให้แปลมาได้ที่ THE FORTRESS

Follow by Email