Blink Blink
EV CarsMG

บทสรุปข้อมูลรถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV จากเว็บต่างๆ รวบรวมโดย Blink Drive

ผมได้ไล่อ่านข้อมูลในเว็บต่างๆ มากมาย เช่น sanook, headlightmag, และรวมไปถึง เพจ MG ด้วย
จึงได้บทสรุปเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV มาตามหัวข้อด้านล่างนี้ ผมคัดข้อมูลมาเฉพาะในส่วนที่จำเป็นจริงๆ เพื่อให้ผู้อ่านประหยัดเวลาในการวิเคราะห์รถยนต์ลงไปนะครับ

ภาพจาก : Brand Inside

ขอบคุณเพจต่างๆ ที่ได้เขียนข้อมูลให้ผมได้นำมารวมรวบและทำการสรุปในสไตล์ Blink Drive ครับ

ที่มา : Brand Inside
ที่มา : MG Facebook Fan Page
ที่มา : ประชาชาติ
ที่มา : Sanook
ที่มา : Headlightmag

Welcome Package ให้กับลูกค้าทั่วไป

1. รับประกันคุณภาพนาน 4 ปี หรือ 120,000 กิโลเมตร
2. รับประกันแบตเตอรีนาน 8 ปี หรือ 180,000 กิโลเมตร

Special Package : ให้เฉพาะลูกค้า 1,000 คนแรกที่สั่งจอง

1. ฟรี MG Home Charger มูลค่า 45,000 บาท
2. รับประกันคุณภาพนาน 4 ปี หรือ 120,000 กิโลเมตร
3. รับประกันแบตเตอรีนาน 8 ปี ไม่จำกัดระยะทาง
4. ฟรี ค่าติดตั้ง MG Home Charger มูลค่า 20,000 บาท
5. ฟรี ประกันภัยชั้น 1 เป็นเวลา 1 ปี มูลค่า 20,000 บาท

Blink Drive Take : ลองคิดเล่นๆ มูลค่ารวมของแถมทั้งหมดนี้ก็เกิน 1 แสนบาทแล้วครับ โดยเฉพาะข้อ 3 คือ ประกันแบตและมอเตอร์ 8 ปีไม่จำกัดระยะทาง แค่คุณเอารถคันนี้มาเป็นรถส่งคนข้ามจังหวัดระยะทางไม่เกิน 150 km ก็คุ้มแล้ว หรือเอามาขับ grab ก็คืนทุนภายใน 2 ปีแล้วครับ

Performance (ประสิทธิภาพ)

Range(ระยะทางที่วิ่งได้) : 253 km
อัตราเร่ง 0 – 50 กม./ชม. ที่ 3.1 วินาที 
อัตนาเร่ง 0 – 100 กม./ชม. ที่ 8.2 วินาที

Blink Drive Take : 0-100 กม./ชม. ภายใน 8.2 วินาที นี่ตบหน้า Toyota C-HR ไปเลยครับ เพราะ 0-100 กม./ชม. ของ C-HR ทำได้แค่ 9.2 วินาทีเอง… GG(Good Game) ไปเลยครับ

Charging (การชาร์จไฟ)

ชาร์จเต็ม 1 ครั้ง วิ่งได้ระยะทางประมาณ : 235 กิโลเมตร (70% ของตัวเลขเคลมโรงงาน เป็นการประมาณการ จากการหักลบสภาวะใช้งานจริงในกรุงเทพฯ ประเทศไทย)

ค่าใช้จ่ายต่อการเดินทางโดยประมาณ 0.5 – 1.09 บาท/กิโลเมตร* (*ขึ้นอยู่กับประเภท และ อัตราค่าไฟฟ้าของแต่ละบ้าน)

กำลังไฟของเครื่องชาร์จ MG Home Charger (ไฟบ้าน)7.2 kW แบตเตอรี่ขนาด 44.5 kWh
ส่วนการชาร์จไฟแบบ Quick Charge หรือ CCS Type 2 นั้นสามารถทำเวลาอยู่ที่ 30 นาที(จาก 0-80%) ถือว่าเป็นมาตราฐานของรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป

รูปภาพสายชาร์จขนาด 7.2 kWh ของ MG ZS EV
ภาพจาก : headlightmag

การชาร์จไฟบ้าน 220 โวลท์ 1 ครั้ง จาก 0-100% ใช้เวลา 6.5 ชั่วโมง ถือว่า ค่อนข้างเร็วเลยล่ะครับ เอาจริงๆ เวลาเราใช้งานรถยนต์ไฟฟ้านั้น เรากลับบ้านมาก็เสียบชาร์จทุกคืนดังนั้นระยะเวลาการชาร์จไม่ใช่ 6.5 ชั่วโมงแน่นอน
ตีไปเลยครับว่าวันนึงคุณวิ่งรถ 150 km กลับมาบ้านก็ชาร์จ 3-4 ชั่วโมงก็เต็มแล้ว

รูปภาพสายชาร์จขนาด 7.2 kWh ของ MG ZS EV
ภาพจาก : headlightmag

Blink Drive Take : อยากจะบอกว่า charger ของ MG ZS EV นั้นกินไฟประมาณ 7.2 kWh หรือ(7,200 watt) เทียบเท่ากับการใช้งานเครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่องถ้าบ้านคุณมีเครื่องทำน้ำอุ่นอยู่แล้ว มันคงไม่ยากเลยที่จะเรียกช่างมาติดตั้งเครื่องชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้ เปลี่ยนมิเตอร์เป็นไฟ 3 เฟส เพราะหลังจากคุณมีรถยนต์ไฟฟ้าแล้วค่าไฟของคุณก็จะเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ถึงเพิ่มยังไงก็ถูกกว่าการใช้รถยนต์น้ำมันแน่นอน


คำนวณเล่นๆ : รถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV กินไฟ 44.5 kWh วิ่งได้ 235 km คิดเล่นๆ ว่า คุณใช้รถเดือนล่ะ 3,000 km หรือเทียบเท่ากับการใช้ไฟ
(3,000 / 235) x 44.5 = 568 หน่วย
คุณใช้ไฟ 568 หน่วยกับระยะทาง 3,000 km ต่อเดือนเท่ากับว่าคุณต้องเสียเงินค่าไฟ(ผมตีค่าไฟให้แพงที่สุดเลยล่ะกัน 4 บาท)
568 x 4 = 2,272 บาท เห้ย ค่าไฟถูกกว่าค่าน้ำมันเติมมอเตอร์ไซค์ซะอีก

ขับทางไกล 7-11 กับ PEA เอาอยู่?

เอาจริงๆ ไหมครับ มีใครในประเทศไทยบ้างที่ขับรถยนต์มากกว่า 230 km โดยไม่พักข้างทางเลย ณ ปัจจุบัน สถานีชาร์จเริ่มผุดเป็นดอกเห็ดแล้ว ยิ่ง MG นั้นเป็นค่ายลูกของ CP มีหรือ 7-11 ต่างจังหวัดที่มีที่จอดรถจะไม่ติดตั้งที่ชาร์จเร็วเอาไว้บริการลูกค้า.. ฮ่า ๆ ดังนั้นแล้วอนาคตทุกอย่างเป็นของ CP จริงๆ รถไฟหมดก็แวะเข้า 7-11 , ซื้อของกิน, พอครบ 15 นาทีก็ได้ไฟมามากกว่า 50 % แล้ววิ่งไปต่ออีก 100 km ก็แวะเข้าห้องน้ำในปั้มหน้า 7-11 อีกชาร์จอีก , กินอีก เอาไป เอามา ค่าใช้จ่ายในการกินน่าจะเยอะกว่าค่าน้ำมันแหละครับ ฮ่า ๆ

กฟภ.และนิสสัน เดินหน้าประกาศความร่วมมือ สร้างความมั่นใจเตรียมความพร้อมรองรับการชาร์จพลังงานสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าภาคครัวเรือน เพื่อลูกค้า นิสสัน ลีฟ ในพื้นที่ต่างจังหวัด ทั่วไทย
ที่มา : autospin

Battery


Battery ของรถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV นั้นเป็นแบตเตอรี่แบบลิเธียม-ไอออนความจุ 44.5 kWh เรียกได้ว่า ทำมาจุใจและเอาใจคนใช้งานมากๆ

ผมขอขยายความเรื่อง แบตหน่อยนะครับ ในชั่วโมงนี้ไม่มีใครขายรถยนต์ไฟฟ้าที่คุ้มค่าไปกว่า MG ZS EV อีกแล้วครับ
อย่าง nissan leaf แบต 40 kWh ขายที่ 2 ล้านบาท
hyundai kona EV รุ่นธรรมดา แบต 39.2 kWh ขายที่ 1.8 ล้านบาท
MINE แบต 30 kWh ขายที่ 1.2 ล้านบาท จบเกมส์ไปเลยครับ
ผมอยากจะบอกว่า ฝรั่งเวลาเค้าจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เค้าไม่ดูที่ยี่ห้อเป็นอันดับแรกครับ เค้าดูที่เทคโนโลยีแบต, การคายความร้อนของแบตและค่าประจุแบต ซึ่ง MG ZS EV นั้น ให้ kWh คุ้มค่าที่สุดแล้วในบรรดารถยนต์ไฟฟ้าในไทยตอนนี้

Function (การใช้งาน)

มาถึง function ที่ผมอยากจะบอกว่า รถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV นั้นแทบจะตามตัวรุ่นพี่ ZS มาเลย เรียกได้ว่า เอาฟังชั่นเหล่านี้มาสู้ได้สูสีกับรถยนต์ยุโรปหลายรุ่นในปัจจุบันอย่าง BMW, หรือ เบ็นซ์เลยครับ

1.ระบบ i-SMART สั่งงานด้วยเสียงภาษาไทย
-สั่งเปิด-ปิดระบบปรับอากาศ
-เครื่องเสียง
-โทรออก และ รับสาย
-ระบบนำทาง
-สั่งเปิด-ปิด Sunroof
-ระบบสั่งงานบนหน้าจอ
-ระบบนำทาง พร้อมรายงานจราจร Real Time
-เลขาส่วนตัว i-Call
-โทรออก-รับสายในกรณีฉุกเฉิน)

หน้าจอการใช้งานรถยนต์น้ำมัน MG ZS ผ่านมือถือ

2. ระบบสั่งงานบน Smart Phone
-ระบบสตาร์ทระบบขับเคลื่อน – สงสัยว่าจะ start ทำไม เพราะรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีเครื่องยนต์ครับ

ภาพจาก รถยนต์น้ำมัน MG ZS

-เปิดระบบปรับอากาศ – สำคัญมากๆ เลย เวลาเราจะจอดตากแดดเอาไว้แล้วต้องการใช้งานรถ ก็สั่งให้แอร์ทำงานก่อนขึ้นรถซัก 10 นาที

-ล็อค-ปลดล็อคประตู – โหมดนี้เหมาะสำหรับให้เพื่อนเข้ามาเอาของเราในรถ ในอเมริกาโหมดนี้มีไว้เวลาพนักงาน amazon มาส่งของที่บ้านก็กดปลดล๊อครถแล้วให้พนักงานส่งของวางของเอาไว้ในรถแหละครับ

-วางแผนการเดินทาง Travel Plan

-ระบบ Find My Car – เหมาะกับผมมากๆ เพราะว่า ผมเป็นคนขี้ลืมขั้นเทพ เวลาจอดรถแล้วลืมตลอดว่าจอดเอาไว้ตรงไหน ฮ๋า ๆ

-ระบบตรวจสอบสถานะรถยนต์ – เชคว่ามีแบตเหลือเท่าไหร่, เชคว่าอุณหภูมิในรถ, นอกรถเท่าไหร่ เป็นข้อมูลที่ดีสำหรับการจอดเอาไว้นานๆเลยครับ จะได้วางแผนถูกว่าควรเปิดแอร์ก่อนขึ้นรถไหม หรือ ควรเอารถไปชาร์จไฟเมื่อไหร่

3.ระบบเล่นเพลงออนไลน์แบสตรีมมิ่ง – อารมณ์เหมือน tesla ไปซะแล้ว

ด้านความปลอดภัยของ MG ZS EV ถูกติดตั้งระบบ Advanced Synchronized Protection System ทั้งหมด 9 ระบบ และระบบ Advanced Driver-Assistant Systems ได้แก่

Intelligent High-Beam Control
ระบบไฟหน้าฉายเฉพาะบางโซนใน BMW

-ระบบเปิด-ปิดไฟสูงอัตโนมัติ IHC (Intelligent High-Beam Control) ระบบนี้จะอยู่ในพวกรถหรูอย่าง Benz หรือ BMW การทำงานของมันคือ ถ้ามีรถสวนมา รถจะ detect รถที่สวนมาแล้วทำการหรี่ไฟสูงเอง หรือดับไฟสูงเป็นการชั่วคราว หลังจากรถผ่านไปแล้ว ไฟสูงจะกลับมาทำงานเหมือนเดิม

Adaptive Cruise Control

-ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน ACC (Adaptive Cruise Control) – ระบบนี้จะเป็น level 2 ของ cruise control คือควบคุม maximum speed (ความเร็วที่เรากำหนดเอาไว้)ของรถ แต่ถ้ามีรถที่วิ่งช้ากว่าอยู่ด้านหน้า รถจะทำการชะลอความเร็วให้เท่ากับคันหน้าเอง เพื่อป้องกันการชน

Traffic Jam Assist

-ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติเมื่อความเร็วต่ำ TJA (Traffic Jam Assist) –
ระบบนี้จะเป็นที่นิยมในต่างประเทศมากๆ เพราะเวลารถติด รถจะทำการขับเองไปเรื่อยๆ และเบรคทำระยะเองด้วยครับ เรียกได้ว่า คนขับไม่ต้องเหยียบเบรคหรือคันเร่งระหว่างรถติดเลย

Forward Collision Warning

-ระบบช่วยเตือนเมื่อเสี่ยงต่อการชนรถยนต์คันหน้าขณะขับขี่ FCW (Forward Collision Warning) : ระบบนี้จะทำการแจ้งเตือนก่อน ในรถตัดหน้าหรือรถชะลอทันที ถ้าคนขับยังไม่สัมผัสเบรคหรือเหยียบเบรครถจะทำการเบรคให้ ถ้ายังไม่ยอมแตะเบรครถอีก รถจะทำการเบรคแบบหัวทิ่มให้เลย ฮ๋า ๆ

Lane Departure Warning

-ระบบช่วยเตือนเมื่อรถออกนอกเลน LDW (Lane Departure Warning) : ระบบนี้ก็จะแจ้งเตือนเป็นเสียงขึ้นมาว่า รถเราได้วิ่งไถลออกนอกเลนไป ระบบนี้จะแจ้งเตือนเฉยๆ แต่จะไม่ประคองพวงมาลัยกลับมาให้, รถที่มีระบบนี้แล้วก็พวก Toyota, Honda ทั่วไปแหละครับ

Lane Departure Prevention

-ระบบช่วยควบคุมรถเมื่อรถออกนอกเลน LDP (Lane Departure Prevention) :
ระบบนี้ก็จะทำการดึงพวงมาลัยกลับมายังเลนที่เราวิ่งในกรณี รถเราได้วิ่งไถลออกนอกเลนไป รถที่มีระบบนี้แล้วก็พวก Toyota, Honda ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปครับ

Lane Keep Assist

-ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน LKA (Lane Keep Assist) : ระบบนี้จะลดความเหนื่อยล้าของคนขับขี่ได้เยอะเลย เพราะระบบจะพยายามประคองรถยนต์ให้อยู่ในเลนนั้น รถยนต์ audi, Tesla, BMW, Ford, และหลากหลายยี่ห้อใช้งานระบบนี้ได้นานแล้ว

-ระบบช่วยเตือนเมื่อต้องการเปลี่ยนเลน LCA (Lane Change Assist) : ระบบนี้จะทำการเปลี่ยนเลนให้เราทันทีที่ตบไฟเลี้ยว จากนั้นรถจะทำการหยุดไฟเลี้ยวเองและประคองให้รถอยู่ในเลนนั้น ข้อดีของระบบนี้จะเชคว่ามีรถในมุมอับหรือด้านหลังเราก่อนจะทำการเปลี่ยนเลลนหรือป่าว

Blind Spot Detection

-ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตา BSD (Blind Spot Detection) : ระบบนี้ก็อยู่ในรถตัว Top ทั้งหลายแหละครับ คือ ถ้ามีรถอยู่ในมุมอับของรถที่เราขับ icon ตัวนี้ก็จะแสดงไฟเตือนขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้เราเปลี่ยนเลนทั้งๆที่ยังมีรถอยู่ข้างๆ เรา

-ระบบเตือนขณะถอยหลัง RCTA (Rear Cross Traffic Alert) – ระบบนี้ก็ช่วยเตือนให้เราทราบเวลาเราถอยรถแล้วเจอรถวิ่งเข้ามาพอ ส่วนใหญ่ระบบนี้จะทำงานตอนเกียร์ R (ถอย) แจ้งเตือนทันทีเพื่อไม่ให้เราถอยรถต่อ

Blink Drive Take

จากใจผมเลยนะครับ หลังจากที่ตื่นขึ้นมาตอนเช้าแล้วเห็นโพส MG ZS EV เต็ม Feed facebook ก็อดใจไม่ได้ที่ต้องเข้าไปอ่านหาข้อมูล MG ZS EV ซักหน่อย พอเห็นราคา 1.19 ล้านบาทเท่านั้นแหละ อึ้งไปเลย เพราะไม่มีใครหน้าไหนในไทยที่จะยอมทำรถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตมากถึัง 44 kWh มาขายในราคานี้เลย (ปีหน้าหรือปีถัดๆ ไปอาจจะมีแหละครับ) แถม option ที่แถมมาให้ ก็เยอะเกินราคาเงินที่จ่ายไปจริงๆ

แต่ก่อนไม่คิดจะเชียร์เจ้านี้เลยเพราะมีข่าวว่าราคาจะแตะ 1.5 ล้านบาท ซึ่งถ้าให้ซื้อราคา 1.5 ล้านบาทกับ brand นี้เขยิบไปเล่น hyundai kona EV ดีกว่า

แต่นี่เล่นเปิดตัวราคาต่ำ แถมเจอประกัน 8 ปี 140,000 km โอ้ ประกัน โหดแบบนี้จะปฏิเสธที่จะไม่เขียนรีวิวให้ได้อย่างไรครับ

เอาจริงๆ นะครับ รถยนต์ไฟฟ้า nissan leaf ที่เข้าไทยราคา 2 ล้านบาท แบต 40 kWh นั้น เทียบไม่ติดซักอย่างเลย ไม่แปลกใจว่า ทำไมยอดจองรถยนต์ไฟฟ้า nissan leaf ถึงน้อยนิดเดียว (42 คันเอง) ราคา 2 ล้านบาทผมกลั้นใจซื้อรถยนต์น้ำมันขับไปก่อนดีกว่า

สิ่งที่ผมกังวลคือ รถจะพอขายไหม เพราะเล่นตั้งราคาถูกมาก แถมเฟอร์นิเจอร์พร้อมของแถมเยอะมากๆ ถ้าเป็นผม ผมกำลังวางแผนจะออกรถยนต์ CUV ซักคัน พอเจอรถยนต์ไฟฟ้า CUV หน้าตาแบบนี้ ราคาแบบนี้ ผมคงต้องเปลี่ยนใจจาก พี่โต C-HR กับ พี่ฮอน H-RV ไปเลยครับ

บอกได้เลยครับ ว่า ถ้ารถยนต์น้ำมัน hybrid ที่รักนั้นยังตั้งราคามาแพงกว่า 1.2 ล้านบาท
รับรองขายยากแน่นอน เว้นแต่ MG ไม่มีของจะขายนะครับ

นี่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของ blink drive นะจ๊ะ

ยังไงก็ Stay tune กันว่า รถยนต์ไฟฟ้าคันนี้จะออกวางขายได้เมื่อไหร่นะครับ

สนทนาต่อได้ที่ : https://www.facebook.com/blinkdrive555/

Follow by Email