Blink Blink
Latest news
AsiaEV CarsMG

MG เปิดราคาอะไหล่รถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV หลังหมดประกัน 8 ปี

สวัสดีครับ กลับมาพบกันกับ Blink Drive อีกแล้วนะครับ หลังจากที่ผมเคยโพสข้อความไปสอบถาม MG Thailand ผ่านโพส ทำไมแบตเตอร์รี่ MG ZS EV ถึงเสื่อมยาก? ไปแล้ว ปรากฏว่าเค้าติดต่อผมกลับมาแล้วนะครับ วันนี้ผมจะนำข้อมูลที่ทาง MG Thailand ส่งกลับมามาชี้แจงให้อ่านเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ

1. Battery Management System (BMS) ราคา ราคา 10,406 บาท

Battery Management System (BMS) คือ ระบบจัดการแบตเตอรี่ ซึ่งทําหน้าที่ในการควบคุมป้องกันไม่ให้แบตเตอรี่ทำงานในลักษณะที่เป็นอันตราย เช่น เกิดการชาร์จไฟมากเกินไปหรือจ่ายไฟออกมากเกินไป รวมทั้งการ balance cell battery เพื่อประจุไฟให้เต็มมากที่สุด (Maximize battery capacity) และยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่

ที่มา : somkiet.com

ตัวนี้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเสียกันนะครับ Chevrolet Volt[PHEV] , Nissan Leaf หรือ Tesla ทุกรุ่นก็ไม่ค่อยมีปัญหาตัวนี้เท่าไหร่ แต่ถึงอย่างไรก็ตามผมมองว่า ราคา 10,406 บาทก็เป็นราคาที่ยอมรับได้จากราคารถยนต์คันล่ะ 1.2 ล้านบาทแหละครับ

2. Traction Motor ราคา 59,385 บาท

อันนี้เป็นอะไหล่ที่แปลกใจมากๆ ที่เอาราคามาลงครับ เพราะชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าที่ทนทานที่สุดในโลกนั้นก็คือ มอเตอร์ครับ ทนกว่าเครื่องยนต์หรือเกียร์รถยนต์แน่นอนครับ ผมเห็นพวกผู้ใช้งาน Nissan Leaf หรือ Tesla รุ่นต่างๆ ขับทะลุ 200,000 km โดยใช้มอเตอร์เดิมทั้งนั้นครับ ดังนั้นผมมองว่าอะไหล่ตัวนี้แทบจะไม่ได้เปลี่ยนตลอดอายุของรถยนต์ 10-15 ปีเลยครับ บางท่านขับทะลุ 500,000 km ไปนานมากแล้วครับ ( ที่มา Tesla Model S)

อ้างอิงบทความ : รีวิวรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว 100,000 km!!!, รีวิวรถยนต์ไฟฟ้า Plug-in : Chevy Volt ปี 2017 ซื้อมา 2 ปี วิ่งไป 160,000 km , ซ่อมไรไปบ้าง?,

ดังนั้นผมมองว่า ระยะ 200,000 km แรกนั้นชิ้นส่วนนี้ไม่มีทางจะถูกนำมาซ่อมหรือเปลี่ยนได้ง่ายๆ ยกเว้นแต่จะประสบอุบัติเหตุนั่นก็เป็นอีกเรื่องนึงนะครับ

3. Battery Module โมดูลล่ะ 39,000-41,000 บาท

เรื่องแบตเตอร์รี่นั้น ผมอยากจะบอกว่า แบตรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นไม่สามารถรับประกันได้นานเพราะว่ายังไม่มีรถคันไหนมีระบบ liquid cooling หรือระบบระบายความร้อนของแบตหรือเพิ่มความร้อนให้แก่แบต(สำหรับประเทศที่มีอากาศหนาวจัด) แต่ MG ZS EV นั้นแถมมาให้ครับ ดังนั้นแบตของเค้านั้นเสื่อมยากกว่า Nissan Leaf หรือพวก Hybrid แน่นอนครับ

ยังไงผมขอนำข้อมูลแบตเตอรี่ที่เคยเขียนเอาไว้ออกมาให้ทบทวนเพื่อทำความเข้าใจก่อนนะครับว่าอะไหล่ส่วนนี้มันเสียหายยากเพียงใด

พวกรถยนต์ไฟฟ้าก่อนปี 2018 นั้นไม่มีระบบนี้กันเลย(ยกเว้น Tesla) ทำให้ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้ออื่นๆ ในท้องตลาดมันถึงออกมาได้ห่วยมากๆ เลยไงครับ

ระบบระบายความร้อนแบตนั้นเอามาเพื่อปรับอุณหภูมิแบตให้คงที่ ในกรณีที่ทำการชาร์จเร็ว(Rapid charge)ความร้อนจะเพิ่มขึ้นสูงมาก ลองคิดเล่นๆ ตอนคุณชาร์จมือถือผ่าน quick charge หรือชาร์จถ่านรถทามิย่าแบบ quick charge ดูครับ ตอนนั้น อุณหภูมิของแบตก็จะเพิ่มขึ้นแบบร้อนจี๋ไปเลย หรือในกรณีที่คุณขับในโซนร้อนจัด(มากกว่า 35 องศาเซลเซียส) ตัวแบตพอทำงานหนักก็จะเกิดความร้อนสะสม ซึ่งถ้าระบบระบายความร้อนทำงานไม่ดี(รถยนต์ไฟฟ้าบางรุ่นเล่นเอาพัดลมเป่าแบตแทนการเดินท่อน้ำหรือเจลความเย็น-ร้อน)ก็จะทำให้แบตเสื่อมก่อนอายุการใช้จริงยังไงล่ะครับ

รูป : ระบบ TMS ของ Tesla ซึ่งใช้ Glycol (แผ่นเจล) ในการทำหน้าที่ระบบความร้อนหรือเพิ่มความร้อนให้แก่แบต

อีกหนึ่งสาเหตุที่ต้องมีระบบ cooling liquid หรือจริงๆ เรียกอีกอย่างว่า TMS (Thermal management system) หรือระบบความคุมอุณหภูมิแบต คือ เวลาเอารถยนต์ไฟฟ้าไปใช้งานในแถบภูมิประเทศที่หนาวจัดอย่างฝั่งยุโรปที่เรียกได้ว่า หนาวติดลบ(-20 C ถึง -30 C) นั้น ระบบ TMS นี้ก็จะปล่อยความร้อนออกมาเพื่ออุ่นแบตให้อุณหภูมิมากกว่า 5 – 20 องศาเซลเซียสเอาไว้ เพราะแบต lithium-ion นั้นแพ้อากาศหนาวติดลบครับ รถยนต์ไฟฟ้าจะไม่สามารถนำไฟจากแบตมาใช้งานได้ถ้าแบตอยู่ในสภาวะต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส

รูป : แผนภูมิระบบ TMS ของรถยนต์ไฟฟ้า

ยังไงผมเอาตารางอุณหภูมิมาให้ดูกันว่า แบตแต่ล่ะประเภทนั้นควรจะใช้งานที่อุณหภูมิที่เท่าไหร่กันบ้าง

ประเภทแบตอุณหภูมิเหมาะสมในการชาร์จอุณหภูมิเหมาะสมในการคายประจุ(ใช้งานคำแนะนำ(ในส่วนนี้ผมแปะเพียงภาษาอังกฤษให้อ่านนะครับ ถ้าแปลเดี๋ยวจะขอเป็นกระทู้หน้าครับ)
Lead acid
(แบตกรด)
–20°C to 50°C
(–4°F to 122°F)
–20°C to 50°C
(–4°F to 122°F)
Charge at 0.3C or lessbelow freezing.
Lower V-threshold by 3mV/°C when hot.
NiCd, NiMH
(แบต toyota hybrid ทุกรุ่น)
0°C to 45°C
(32°F to 113°F)
 
–20°C to 65°C
(–4°F to 149°F)
 
Charge at 0.1C between –18°C and 0°C.Charge at 0.3C between 0°C and 5°C.
Charge acceptance at 45°C is 70%. Charge acceptance at 60°C is 45%.
Li-ion
(แบตรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป)
0°C to 45°C
(32°F to 113°F)
–20°C to 60°C
(–4°F to 140°F)
No charge permitted below freezing.
Good charge/discharge performance at higher temperature but shorter life.

ที่มา : battery university

ดังนั้นแล้ว รถยนต์ไฟฟ้าไม่ว่าจะใช้งานที่ไหนบนโลกควรจะติดตั้งระบบนี้มาด้วย ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายในไทย section ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทนั้นมีเพียง MG ZS EV และ Hyundai Kona EV นั้นที่แถมระบบนี้มาให้ครับผม ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าหรือน้ำมันที่มีแบตขนาดใหญ่ติดมากับรถแล้วไม่มีระบบนี้ก็อาจจะเสื่อมเร็วกว่าปกติครับ สาเหตุแรกที่จะทำให้แบตเสื่อมนั้นคืออุณหภูมิครับ ดังนั้นคุณจึงเห็นว่า รถยนต์ไฟฟ้าก่อนปี 2018 นั้นพังกันไวมากๆ หรือบ่อยมากๆ ครับ

ด้านล่างนี้จะเป็นรูปรังแบต MG ZS EV ครับ ซึ่งจะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

  • Coolant Hoses – ท่อน้ำยา Coolant หรือท่อน้ำสำหรับระบายความร้อนของแบต
  • Cold Plate – แผ่นเหล็กเงาๆ นั้นคือแผ่นสำหรับระบบความร้อนแบตในเวลาที่ถูกใช้งานหนักๆ เช่น ชาร์จไฟเร็ว, เหยียบคันเร่งจม, หรือ เบรค Kiers เพื่อชาร์จไฟกลับไปยังแบต หรือแม้กระทั่งการใช้งานในสภาวะแวดล้อมร้อนจัดในประเทศไทยเป็นต้น
  • Thermal Pad – ตัวนำความร้อนลงแผ่นอลูมิเนียมข้างล่างซึ่งเป็นเคสของแบตเตอรี่นี้(Credit การตรวจสอบข้อมูล : Sornram K, Jaiyai M.)
รูปภาพ : ทดสอบระบบ cooling system โดยการเดินน้ำยา coolant เข้าไป

หมายเหตุ : การทำความเย็นแบต(Cooling)นั้นกินไฟน้อยกว่าการทำความร้อน(Heating)ให้แก่แบตนะครับ ดังนั้นไม่ต้องห่วงว่า ระบบนี้จะมาดึงไฟจนทำให้ Range(ระยะทางที่วิ่งได้) น้อยลงครับ

ส่วน Tesla นั้นมีระบบ TMS มาให้ตั้งแต่ Model S แล้ว และเราก็เห็นเป็นประจักษ์แล้วว่า รถยนต์ไฟฟ้า Tesla ส่วนใหญ่นั้นจะค่อยแกะแบตมาเปลี่ยน module ผมย้ำว่า module นะครับไม่ใช่เปลี่ยนยกแพ๊คตอนประมาณระยะทาง 500,000 km ครับ

แบตรถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV มีกี่โมดูลล่ะ?

มีหลายคนมากมายในพันธ์ทิพย์และคนในเพจผมนั้นบอกผมมาว่า “แบตรถยนต์ไฟฟ้าแพงน่ะเว้ย เปลี่ยนทีนี่หมดตัวเลยนะ”

ผมก็เลยอยากใช้บทความนี้ทำความเข้าใจกับพี่ๆ ทุกท่านนะครับว่า แบตรถยนต์ไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นคันไหนบนโลกนั้นเค้าไม่ได้เปลี่ยนแบตทั้งแผงเวลาแบตมันเสื่อมครับ เค้าจะดึงโมดูลหรือก้อนที่มันเสื่อมออกมาแล้วนำแบตโมดูล(Module) ใหม่ใส่เข้าไปครับ

อย่าง MG ZS EV นั้นมีแบตเตอร์รี่ทั้งหมด 18 โมดูลครับ ดังนั้นถ้าคุณใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าไปมากกว่า 200,000 km แล้วต้องการเปลี่ยนแบตก็เพียงเปลี่ยนโมดูลที่มันเสื่อมครับ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนยกชุด

รูป : หน้าตาภายในแบตเตอร์รี่ MG ZS EV ซึ่งมองด้วยตาเปล่าก็เห็นว่าเป็นแบบ 3 x 6 = 18 โมดูลนะครับ
รูปภาพ : หน้าตาแบตเตอร์รี่โมดูลของ MG ZS EV

ส่วนราคาโมดูลก็อย่างที่ทุกท่านเห็นครับ ราคาโมดูลนึงจะตกอยุ่แถวๆ 40,000 บาท นี่เป็นราคาปัจจุบันนะครับ ซึ่งไม่มีทางได้เสียเงินเปลี่ยนเนื่องจาก MG ZS EV นั้นประกันยังเป็น 8 ปีไม่จำกัดระยะทางอยู่นะครับ เชื่อว่าหลัง 8 ปีนี้ไปราคาต้องลงไปถึงครึ่งนึงแน่นอน (อ้างอิงจากราคาแบต lithium-ion ของโลกครับ[ภาพด้านล่างนี้])

ที่มา : MG Thailand

ณ ปัจจุบันนั้นราคาแบต lithium-ion อยู่ที่ $200 (6,000 บาท) ต่อ 1 kWh ส่วนปี 2030 ราคาจะอยู่แถวๆ $62 (1,800 บาท)ต่อ 1 kWh หรือถูกกว่านี้ประมาณ 3.2 เท่าตัวครับ แต่ต่อให้เราต้องเปลี่ยนแบต 40,000 บาทต่อโมดูลในปีที่ 9 หรือ 10 นั้น ผมก็มองว่าคุ้มครับ ใช้รถยนต์มา 10 ปีแล้วเสียค่าเปลี่ยนแบต 40,000 บาทก็ถือว่าโออยู่นะครับ

BLINK DRIVE TAKE

ลูกผู้ชายตัวจริงต้องรักษาสัญญานะครับ ฮ่าๆ ผมเคยโพสคำถามเกี่ยวกับอะไหล่รถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV ไปหา MG Thailand จริงๆ ครับเมื่อปีที่แล้วและผมสัญญาว่าเมื่อใดก็ตามที่เค้าส่งข้อมูลกลับมา ผมจะนำข้อมูลเหล่านั้นกลับมารายงานให้ชาว Blink Drive ทุกท่านทราบนะครับ

ส่งไปถามวันที่ 28 ธันวาคม 2562

หมายเหตุ : ผมทำโพสนี้ขึ้นมาด้วยตัวเองครับ ไม่มีใครจ่ายเงิน(ค่าสปอนเซอร์)จ้างผมเขียนครับและไม่ต้องมาจ่ายเงินให้ผมด้วยครับ ถ้าสินค้าคุณดีจริง ผมเขียนโฆษณาสรรพคุณให้ฟรีๆ แน่นอนครับ

ผมก็ยังยืนยันจุดยืนของ Blink Drive เหมือนเดิมว่า ถ้าข้อมูลรถยนต์ไฟฟ้าคันไหนไม่ครบ ผมจะตามหาข้อมูลให้เจอจนได้และจะนำมาตีแผ่ความจริงให้จงได้ครับ ที่ทำไปนั้นเพื่อต้องการสร้างรากฐานข้อมูลที่ดี(ไม่ Bias เพื่อขายสินค้า)ให้แก่เยาวชนไทย อยากให้เยาวชนไทยเราเข้าใจพื้นฐานเทคโนโลยีชั้นนำของโลกอย่างรถยนต์ไฟฟ้าเหมือนที่เยาวชนประเทศอื่นๆ เค้าเข้าใจกันครับ

มาๆ มาช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมไทยกับผมนะ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Follow by Email