Blink Blink
TeslaUSA

ฟอร์ด จะขายเฉพาะรถพลังงานไฟฟ้าล้วนในยุโรป ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573)

ฟอร์ด ผู้ผลิตรถยนต์เจ้าใหญ่ ประกาศว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั้งหมดของบริษัท จะเป็นรถไฟฟ้าล้วน (BEV) ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573)

โดยระยะแรกในการปรับเปลี่ยน คือ กลางปี 2026 (พ.ศ.2569) ฟอร์ดจะขายเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า และ รถยนต์ระบบไฮบริด (ในที่นี้ หมายถึง ไฮบริด และ ปลั๊กอินไฮบริด)

ทำให้ฟอร์ดเป็นอีกผู้ผลิตรถอีกแบรนด์ที่เข้าร่วมการลด และยกเลิกการใช้รถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน และดีเซลในยุโรป ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีแบรนด์ใหญ่เช้าร่วมในโครงการนี้แล้ว เช่น จากัวร์ (แผนจะยกเลิกปี 2568) และ เบนท์ลีย์ (แผนจะยกเลิกปี 2573) รวมถึงวอลโว่ (ยังไม่กำหนดปี)

ข้อบังคับของยุโรปเรื่องการปล่อยมลพิษกำลังจำกัดการปล่อยมลพิษมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี
โดยประเทศในยุโรปรวมถึงสหราชอาณาจักรกำลังวางแผนการประกาศห้ามจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลงทั้งเบนซิน และ ดีเซล (หรือเครื่องยนต์สันดาบทุกรูปแบบ)

มาตรฐานยูโรปกำลังจะหายไป

คำที่เราคุ้นเคยสำหรับการคุมเรื่องมลพิษในยุโรป คือ มาตรฐานยูโรประเภทต่างๆ
ยูโร1 (ปี 2535), ยูโร2 (ปี 2539), ยูโร3 (ปี 2543), ยูโร4 (ปี 2548), ยูโร5 (ปี 2551),
ปัจจุบันคือ ยูโร6 (ปี 2557) ข้อกำหนดนี้ปัจจุบันจบที่ ยูโร7 ซึ่งเมื่อบังคับใช้จะทำให้รถยนต์เชื้อเพลิงเบนซิน และดีเซล รวมถึงเครื่องยนต์ไฮบริดทุกแบบ มีความลำบากมากๆในการขายในยุโรป

ทางค่ายรถยนต์จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแทน

กลับกัน หากมองมาที่ไทย แม้ว่าจะใช้มาตรฐานยูโรมาควบคุมมลพิษ ซึ่งปัจจุบันกำลังจะใช้ยูโร5 แต่หลายค่ายรถยนต์ในบ้านเรายังใช้เครื่องยนต์ยูโร4 เท่านั้น แสดงว่าเราช้ากว่ายุโรปถึง 20 ปี และคนไทยยังชอบอุด EGR ตัด cat ตัด dpf กันอยู่เลยโดยเฉพาะรถกระบะดีเซล อุปกรณ์ที่กล่าวถึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผ่านมาตฐานยูโร 2,3,4 ได้

การลดขนาดเครื่องยนต์ให้เล็ก แต่เพิ่มกำลังด้วยเทอร์โบที่เป็นเทรนด์ในเครื่องสันดาบตอนนี้ ก็มีผลจากการบังคับมาตรฐานยูโรที่เข้มข้นขึ้น

ฟอร์ดอัดฉีดงบสามหมื่นล้านบาทเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต


ฟอร์ด กล่าวว่า ต้องใช้งบประมาณราว หนึ่งพันล้านดอลล่าร์ (สามหมื่นล้านบาท) ในการปรับปรุงโรงงานในเมืองโคโลญจน์ (Ford Cologne)เพื่อที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าป้อนในตลาดระดับมหภาค (mass market)

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก Stuart Rowley ประธานฟอร์ดยุโรป ก็ยังประกาศจะปรับปรุงโรงงานในโคโลญจน์(Ford Cologne) ที่เปิดดำเนินการผลิตมาแล้วถึง 90 ปี
โรงงานนี้นับเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของฟอร์ดที่ส่งผ่านต่อกันมาหลายรุ่น หลายยุค

รูปภาพ : Stuart Rowley ประธานฟอร์ดยุโรป

Stuart กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่ฟอร์ดจะทำนี้เป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นที่มีต่อยุโรป และอนาคตที่ทันสมัย ซึ่งมียานยนต์ไฟฟ้าเป็นหัวใจหลักของแผนการสร้างความเติบโตในยุโรปของฟอร์ด

ฟอร์ดเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในยุโรปที่ประกาศการยกเลิกการขายเครื่องยนต์สันดาป และจะขายเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า

ปัจจุบัน ฟอร์ดมีส่วนแบ่งตลาดในยุโรปอยู่ 15%

ในปีนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรป จะต้องเจอกับค่าปรับมหาศาล หากไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการปล่อยมลพิษ

ขณะเดียวกันในสหราชอาณาจักร ก็มีแผนจะห้ามขายรถยนต์เบนซิน และ ดีเซล ตั้งแต่ปี 2030 (พ.ศ. 2573) และฝรั่งเศล จะห้ามขายในปี 2040 (พ.ศ. 2583)

มีข่าวว่า สนามบินโคเวนทรี อาจจะเป็นสถานที่ตั้งโรงงานขนาดยักษ์ (Giga Factory) เพื่อผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลของสหราชอาณาจักร ประกาศระดมทุนจำนวน 500 ล้านปอนด์ (21 ล้านบาท)

เพื่อใช้สำหรับแผน 10 ข้อเพื่อการดำเนินโครงการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และพัฒนาโรงงานขนาดใหญ่ในสหราชอาณาจักร

David Leggett นักวิเคราะห์ด้านยานยนต์ของ GlobalData กล่าวว่า การใช้พลังงานไฟฟ้าในรถยนต์ ยังเป็นการลงทุนที่แพงมากสำหรับผู้ผลิตรถยนต์

BLINK DRIVE TAKE

by veexeezee

แต่ถึงอย่างนั้น ผู้ผลิตรถยนต์ก็ยังจำเป็นต้องลงทุน เพราะเป็นสิ่งจำเป็นหากต้องยังการอยู่ในตลาดรถยนต์

เมื่อสิ้นสุดยุคของเครื่องยนต์สันดาป (ICE) ในปลายทศวรรษนี้แล้ว ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้นในทุกตลาด

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันที่ THE FORTRESS

Follow by Email