Blink Blink
Uncategorized

กลยุทธ์จัดการกับมลพิษทางอากาศ ของจีน

จริงๆ เพจผมเป็นเพจรถยนต์ไฟฟ้านะครับ แต่ช่วงนี้ที่ไทยนั้นมีปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 เยอะมากมายจริงๆ ตอนแรกผมก็เพียงแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับ PM 2.5 ในไทย

แต่ก็มีสมาชิกในเพจผมสงสัยว่า ปักกิ่งหรือประเทศจีนนั้นเค้าบริหารจัดการกับฝุ่น PM 2.5 ยังไงกันบ้าง ผมก็เลยขอโอกาสนำโพสนี้มาเผยแพร่ข้อมูลจากฝั่งจีนให้ทุกท่านได้รับชมกันนะครับ

แน่นอนครับว่า ฝุ่น PM 2.5 ในจีนนั้นยังคงมีอยู่ครับ แต่ที่ผมมั่นใจคือ ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในจีนตอนนี้นั้นน้อยกว่า 10 ปีที่แล้วเป็นอย่างมาก ดังนั้นผมมองว่าอยากให้แชร์กระทู้นี้ไปให้ผู้ดูแลประเทศได้อ่านด้วยครับ เผื่อโพสของผมนั้นอาจจะตกผลึกและช่วยเหลือสังคมไทยทางอ้อมได้บ้างนะครับ

ผมจะแจกแจงข้อมูลจากฝั่งจีนเป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ

ประชาชนจีนถ่ายรูปตึกแห่งหนึ่ง ณ เมืองปักกิ่งเป็นระยะเวลา 6 ปีติดต่อกัน

นาย Zou Yi (ผมไม่ขอเปลี่ยนชื่อเค้าเป็นภาษาไทยน่ะ เพราะไม่มีพิงอิงมาให้ กลัว อ่านชื่อเค้าผิด) เค้าทำการถ่ายภาพตึกๆ นึงเป็นระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปี 2013 จนถึง ปี 2018 แล้วเค้าทำการเอาภาพตึกเดียวกันนี้ ทับซ้อนกับเป็นแบบที่เห็นในภาพนี่แหละครับ เพื่อให้ประชาชนคนอื่นได้เห็นถึงประสิทธิภาพของการกำจัดมลภาวะทางอากาศของเมืองว่า เป็นไปในแนวทางไหน แต่เท่าที่ผมดูก็คือ ภาพฝุ่นค่อยๆ จางหายไปในแต่ล่ะปีน่ะครับ

นาย Zou Yi ยังบอกอีกว่า สาเหตุที่มลภาวะทางอากาศของเมืองปักกิ่งดีขึ้นมาจาก การใช้พลังงานสะอาดเช่น แผงแสงอาทิตย์มากขึ้น และการควบคุมมลภาวะที่เกิดจากรถยนต์มากยิ่งขึ้น(controlling both the fuel quality and emissions)

ภาพถ่ายตึกเดียวกันในปี 2013 กับ ปี 2018
2013(2557) = 89.5 mg
2018(2562) = 50.45 mg
ถ่ายโดย นาย Zou Yi

นาย Zou Yi ยังบอกอีกว่า สาเหตุที่มลภาวะทางอากาศของเมืองปักกิ่งดีขึ้นมาจาก การใช้พลังงานสะอาดเช่น แผงแสงอาทิตย์มากขึ้น และการควบคุมมลภาวะที่เกิดจากรถยนต์มากยิ่งขึ้น(controlling both the fuel quality and emissions)
หรือแปลอีกความหมายคือ ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ากันมากยิ่งขึ้น

ผมได้นำภาพระหว่างปี 2013 กับปี 2018 เอามาให้เปรียบเทียบกันด้วยนะครับ

ที่มา : cgtn

ประเทศจีนวางแผนการผลิตพลังงานไฟฟ้าอีก 21 ปี

ผมขอสรุปบทความนี้ออกเป็นหัวข้อย่อยดังนี้

-ในปี 2583 (อีก 21 ปี) นั้น ครัวเรือนในจีนจะใช้พลังงานไฟฟ้าเป็น 2 เท่าจากการใช้งานในปัจจุบัน ดังนั้นจีนต้องหาทางรองรับปัญหานี้

-จีนวางแผนเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด(Switching to a cleaner source of power)

– ณ ปัจจุบัน (ตามภาพด้านล่างนี้ พาย์กราฟ 2016 vs 2040) ประเทศจีนใช้พลังงงานไฟฟ้าจากถ่านหินเป็นหลักที่ 58 % แต่ด้วยเหตุนี้ จีนต้องการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของประเทศจีนให้สะอาดยิ่งขึ้น จึงเปลี่ยนนโยบายของการผลิตพลังงานไฟฟ้าใหม่ตั้งแต่ปี 2020 (พ.ศ. 2563) นี้ ประเทศจีนจะติดตั้งแผน solar cell (แสงอาทิตย์) มากยิ่งขึ้น และคาดการว่า ภายในปี 2030 (2573) พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงแสงอาทิตย์นั้นจะมีราคาที่ถูกกว่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหิน

-ภายในปี 2583 ประเทศจีนจะประกาศตัวเป็นประเทศที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเยอะที่สุดในโลก โดย 1 ใน 4 ของรถที่วิ่งตามท้องถนนต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

ประเทศจีนตั้งเป้าให้ยอดขายภายในปี 2583 นั้นมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้า 75 % ของยอดขายรถยนต์ทั้งประเทศ
ภาพจาก yahoo

สรุปบทความนี้ว่า ประเทศจีนจะหันหน้าสู้กับเรื่อง climate change(โลกร้อน)อย่างเต็มที่ โดยจะงัดอาวุธต่างๆ ออกมาเข้าแก้ไขปัญหา เช่น รถยนต์ไฟฟ้า, โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเครียร์ ฟิวชั่น(เป็นโรงงานไฟฟ้านิวเครียร์แบบใหม่ที่ไม่เกิดมลพิษออกมา), โรงงานผลิตไฟฟ้าแผงแสงอาทิตย์, สร้างแบตเตอร์รี่, และ Carbon capture(ผมแปลว่า จะสร้างโรงงานขึ้นมาเพื่อไล่เก็บ carbon ในอากาศซึ่งประเทศแถบยุโรปทดลองทำบ้างแล้ว) ,เป็นต้น

ที่มา : iea

จีนสร้างโรงไฟฟ้านิวเครียร์ฟิวชั่น

  • โรงไฟฟ้าแห่งนี้ต้องใช้ไฟฟ้าประมาณ 50 Megawatt เพื่อที่จะทำการผลิตไฟฟ้าออกมาในปริมาณถึง 500 Megawatt หรือ 10 เท่าตัว คาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จในปี 2035 หรือ พ.ศ. 2578

ที่มา : cen

  • โครงการนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ ITER ซึ่งเป็นการจับมือกันระหว่าง 35 ประเทศทั่วโลก หลักๆ ก็มี จีน, อเมริกา, รัสเซีย, เกาหลีใต้, สวิสเซอร์แลนด์, และทวีปยุโรปทั้งหมด โดยประเทศไทยส่งเข้าประกวดด้วยในนามของ Thailand Institute of Nuclear Technology (TINT) หรือ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
  • โรงไฟฟ้าแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดแทนการผลิตพลังไฟฟ้าจากการใช้น้ำมัน
  • ต้องแยกให้ออกว่า โรงงานนิวเครียร์ฟิวชั่น(fusion) นั้นไม่ให้กากของเสียที่เป็นกันมาตภาพรังสีออกมาเหมือนโรงงานนิวเครียร์ฟิกชั่น(fission) ที่ใช้กันในปัจจุบัน
  • โรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ไงที่เป็นข่าวดังเมื่อปีที่แล้วว่า สามารถสร้างความร้อนได้มากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 6 เท่าตัว ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านองศาเซลเซียส
วิดีโอ : อธิบายการทำงานและประโยชน์ของโรงไฟฟ้าจากพลังงานนิวเครียร์ฟิวชัน่น
  • สรุปสั้นๆ คือ ถ้าโรงงานผลิตไฟฟ้าแห่งนี้สามารถทำสำเร็จได้แล้วล่ะก็ ประเทศจีนอาจจะปล่อยก๊าซ carbon น้อยลงไปมากเลยครับ เพราะแนวทางพลังงานไฟฟ้าแบบ renewable energy จะดำเนินไปในทางที่ชัดเจนกว่านี้แน่นอนครับ
    ที่มา : businessinsider

รถยนต์ไฟฟ้าช่วยลดมลภาวะ(emission) ในอากาศ

about 30,000 buses and 66,000 taxis — is responsible for nearly 20 percent of total NOX emissions, equivalent to the contribution from 8.2 million private vehicles

Electrifying the fleet of buses and taxis in Beijing would significantly reduce total NOX emissions and increase air quality.

ที่มา : E&T

[แปล] ณ ปัจจุบัน รถบัส 30,000 คัน กับ รถ taxi 66,000 คัน (ผมว่านี่น่าจะเป็นตัวเลขของรถหลายๆ เมืองรวมกันน่ะครับ) ปล่อยก๊าช NOX (Nitrogen Oxide) ออกมาประมาณ 20 % ของก๊าส NOX ทั้งหมด ตีค่าเป็นการปล่อยแก๊สจากรถบ้านประมาณ 8.2 ล้านคัน
การแปลงรถเหล่านี้ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าจะลดมลพิษทางอากาศ(ก๊าซ NOX) ที่เมืองปักกิ่งและทำให้อากาศนั้นสะอาดยิ่งขึ้น

รถยนต์น้ำมันปล่อยสารพิษอะไรบ้าง

สารประกอบไนโตรเจนออกไซด์ ( NOx) ก๊าซไนตริกออกไซด์ ( N2O ) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO2 ) เกิดจากการสันดาปที่อุณหภูมิสูงและเป็นสารหลักในกลุ่มนี้ที่ก่อให้เกิดปัญหา มลภาวะทางอากาศ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์สามารถทำปฏิกิริยาในละอองน้ำเกิดเป็น กรดไนตริก ( HNO2 ) ที่สามารถกัดกร่อนโลหะได้ นอกจากนั้นสามารถทำปฎิกิริยาเคมีแสง ซึ่งจะลดความสามารถในการมองเห็นในบรรยากาศลง ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์มีความเป็นพิษ มากกว่าก๊าซไนตริกออกไซด์

การหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสะอาดจะช่วยลดมลภาวะด้านนี้ได้เยอะเลย ซึ่งจีนพยายามอย่างมากในการผลักดัน solar cell(พลังงานแสงอาทิตย์)และ wind energy (พลังงานลม)ให้เกิดในช่วงนี

ภาพ : ก๊าซต่างๆที่ออกมาจากรถยนต์น้ำมัน

ที่มา : sangchaiairquality

ฮาร์วาร์ดยืนยันว่า รถยนต์ไฟฟ้าลดฝุ่นและควันพิษได้จริง

“Electric vehicles play a key role in China’s plan to improve air quality and reduce CO2 emissions but, with the majority of China’s electricity still coming from coal-fired power plants, many question just how effective this strategy will be. Now, researchers have found that how electric vehicles are charged — whether in the low-energy slow mode or high-energy fast mode — plays a significant role in the reduction of CO2 and the integration of wind energy.”

บทความจากศาสตราจารย์ Michael B. McElroy
Professor of Environmental Studies ที่มา harvard

[แปล] รถยนต์ไฟฟ้าเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับแผนการพัฒนาคุณภาพของอากาศและการลดก๊าช คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ซึ่งเป็นมลภาวะตัวสำคัญของมนุษย์ แต่ ณ ปัจจุบันนั้น ต้องยอมรับว่า จีนยังใช้พลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินเป็นหลัก ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า พลังงานไฟฟ้าที่เอามาใช้กับรถยนต์ไฟฟ้านั้นสะอาดจริงหรือป่าว และงานวิจัยอันใหม่พิสูจน์แล้วว่า การชาร์จช้าและชาร์จเร็วของรถยนต์ไฟฟ้านั้น เป็นตัวแปรสำคัญในการลดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์และการรวบรวมพลังงานสะอาดจากลมมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าด้วย

รูปภาพ : ศาสตราจารย์ Michael B. McElroy

รัฐบาลออก กฏ cap and trade สนับสนุนการตั้งโรงงานขายรถยนต์ไฟฟ้าในจีน

แหล่งข่าวจาก BBC แจ้งว่า รัฐบาลจีนนั้น สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าแบบออกนอกหน้า โดย
National Reform and Development Commission หรือ NRDC ของจีน บอกว่า ถ้าโรงงานผลิตรถยนต์ไหนจะมาตั้งในจีน โดยตั้งใจสร้างขึ้นมาเพื่อผลิตรถยนต์ ICE หรือสันดาบกากๆ อย่างเดียว จีนจะไม่อนุมัติการสร้างให้
ถ้าอยากสร้างโรงงานรถยนต์ ICE ผู้ผลิตต้องสร้างรถ New Energy Vehicles (NEVs) หรือรถยนต์ไฟฟ้าด้วย จีนถึงจะอนุญาตให้ตั้งโรงงานผลิตในจีน

ที่มา : bbc

การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก

การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก (อังกฤษ: Emissions trading หรือ cap and trade) เป็นวิธีการอีกอย่างหนึ่งที่จะให้แรงจูงใจทางการเงินเพื่อให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก[1] โดยใช้การพัฒนาโครงการคาร์บอนขึ้นมาใช้ลดก๊าซเรือนกระจกและให้การตอบแทนเป็น คาร์บอนเครดิตซึ่งนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ พิธีสารเกียวโตได้ให้ช่องทางนี้ไว้เพื่อการลดคาร์บอนแล้วขาย (cap and trade) ในกลไกการพัฒนาที่สะอาด Clean Development Mechanism (CDM) รวมทั้งการทำ Joint Implementation เพื่อให้มีการยืดหยุ่นในการจัดการกับคาร์บอน

ในการซื้อขายนี้ เริ่มต้นจากผู้มีอำนาจหน้าที่ซึ่งโดยมากจะเป็นรัฐบาล จะกำหนดจุดสูงสุดที่อนุญาตให้ปล่อยคาร์บอนได้ (อาจเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นแต่เทียบสัดส่วนกับคาร์บอนไดออกไซด์) แต่ละโรงงานก็จะได้สิทธิที่จะสามารถปล่อยได้ในจำนวนหนึ่ง โรงงานที่ปล่อยคาร์บอนเกินจุดที่กำหนดจึงต้องไปซื้อสิทธิมาจากโรงงานที่ปล่อยไม่ถึงสิทธิของตนนั้น ถ้าปล่อยเกินโดยไม่ซื้อจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น โรงงานหนึ่งก่อนเริ่มโครงการเคยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 100,000 ตันต่อปี เมื่อเข้าโครงการโดยพันธะทางกฎหมายและสมัครใจ จะต้องลดการปล่อยลง 5% คือสามารถปล่อยได้ 95,000 ตันต่อปี ถ้าทำได้สามารถนำส่วนที่ลดได้ไปขายได้ แต่ถ้าลดไม่ได้ ต้องเสียเงินไปซื้อส่วนที่เกินไปจากผู้ที่ลดได้

อ้างอิง wikipedia

BLINK DRIVE TAKE

คราวนี้มันดียังไงล่ะครับ

การจะสร้างรถยนต์ ICE ในจีนนั้น รัฐบาลแก ออกกฏเอาฮามาก คือ ใครคิดจะสร้างรถยนต์ ICE ในจีนต้องจ่าย credit ครับ โดย การผลิตรถยนต์ ICE 30,000 คัน ต้องจ่าย credit ให้กับ รัฐบาลทั้งหมด 1,000 credit

แล้ว credit พวกนั้นหามาได้จากอะไรกันน่ะ??

Credit พวกนี้ได้มาจากการผลิตรถยนต์ EV ยังไงล่ะครับ โดยรัฐบาลจีนตั้งใจจะจ่าย 2-6 credit ต่อ รถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน

ดังนั้นใครก็ตามที่มาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในจีนตอนนี้ได้เปรียบสุดๆ ไปเลย ไม่เพียงคุณจะขายรถยนต์ไฟฟ้าปลอดภาษีและรัฐบาล subside (จ่ายส่วนต่าง)ให้แก่ประชาชน แต่คุณยังสามารถขาย credit (รางวัล ที่คุณได้มาจากรัฐบาล) ให้แก่บริษัท สร้างรถยนต์ ICE car อีกด้วย

จีนปล่อยกลยุทธ์แบบนี้ไป tesla รีบพุ่งเข้ามาเลยครับ

เรียกว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า tesla อาจจะเป็นบริษัทที่ถือ credit เหล่านี้เอาไว้เยอะที่สุดในจีนก็เป็นได้

อิจฉาประเทศจีนบ้างไหมครับ ^^

STAY TUNE, STAY WITH BLINK DRIVE

Follow by Email