โฟคสวาเกนได้ทำการเปิดตัวโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ID.3 ณ วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2562 ที่เมืองซฟิคเคา ประเทศเยอรมันที่ผ่านมา นี่ถือเป็นการขยับตัวครั้งใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ของโลกเลยก็ว่าได้
อย่างที่เคยบอกไปในกระทู้ [ข่าวแปล : รอยเตอร์] โฟค สวาเกนเร่งสร้างรถยนต์ไฟฟ้าในจีน ตั้งเป้าขายครบ 1 ล้านคันภายในปี 2565(2022) แล้วว่า บริษัทที่ผลิตรถยนต์ได้เยอะที่สุดในโลกมาตลอดเวลาคือ โฟค สวาเกนนะครับ ทุกคนอาจจะคิดว่า โตโยต้านี่แหละที่เป็นเจ้ายักษ์ใหญ่ของตลาด โหะๆ บอกเลยว่า คิดผิดครับ นอกประเทศไทยนั้น โฟค สวาเกนนั้นใหญ่เอามากๆ เครือของเค้านั้นประกอบไปด้วย
- โฟค สวาเกน
- อาวดี้
- ซีท
- สโกด้า
- เบนท์เล่ย์
- บูกาติ
- แลมโบกินี่
- ปอร์เช่
- ดูกาติ
- สกาเนีย
- MAN
งานนี้ นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี ออกโรงเองเลยครับ มาเป็นประธานเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าโฟคสวาเกนเองกับมือเลย บอกได้เลยครับว่า มันส์แน่นอนเพราะประเทศที่มีเทคโนโลยียานยนต์อันดับหนึ่งของโลก(เยอรมัน)เปลี่ยนทิศทางกันแบบนี้ ค่ายอื่นๆ คงตามมาในอีกไม่ช้าแน่นอนครับ
ส่วน CEO คนล่าสุดของโฟคสวาเกน Herbert Diess ได้ออกมากล่าวอีกว่า “เป้าหมายหลักของบริษัทเรานั้นคือพัฒนาเทคโนโลยีและความก้าวหน้าของ e-mobility(ยานยนต์อัจฉริยะ)ให้แก่คนเป็นล้านๆคนภายในปี 2050 เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ลูกหลานของเราในอนาคต”
ราคา 1 ล้านบาทต่อคัน เริ่มขายต้นปีหน้า
ราคาเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า I.D. 3 นั้นอยู่ที่ 30,000 ยูโร หรือ 1 ล้านบาท(ราคานี้ยังไม่รวมภาษีแบตหน้าเลือดของประเทศกำลังพัฒนา) โดยเป้าหมายของโฟคสวาเกนนั้นชัดเจนมากๆ คือ จะเปลี่ยนโรงงานผลิตรถยนต์น้ำมัน(พวกรถ ICE) ในเมืองซฟิคเคา ให้กลายเป็นโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 100 % ภายในปี 2021 แน่นอน โดยบริษัทได้สำรองเงินลงทุนเอาไว้ที่ 40,000 ล้านบาท(1,200 ล้านยูโร)สำหรับโปรเจคนี้
ณ ปัจจุบัน โรงงานแห่งนี้ได้เริ่มสายการผลิตซึ่งจะสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้เพียง 80 คันต่อวัน และจะเพิ่มเป็น 300 คันต่อวัน ณ เดือนมกราคม 2563 นี้ จากนั้นภายในปี 2021(อีก 2 ปีจากนี้) โรงงานแห่งนี้จะมีกำลังผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ที่ 330,000 ต่อปี เหลือเทียบเท่ากำลังผลิตรถยนต์น้ำมันของไทยประมาณ 15 % (นี่ยังไม่รวมของอัตราการผลิต เทสล่า [550,000 คันต่อปี], ฮุนได, ทาท่า, ฮอนด้ายุโรป, โตโยต้าอินโดนีเซีย, BYD และค่ายรถยนต์จีนอีก 30 ค่ายนะครับ แค่คิดก็บรรเทิงแล้วครับ)
เงินลงทุน 1 ล้านล้านบาท(30,000 ล้านยูโร) กับรถยนต์ไฟฟ้า 70 รุ่น ภายใน ปี 2028
เครือโฟคสวาเกน(วางแผนเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 70 รุ่นภายในปี 2028 (อีก 9 ปี) โดยเค้าได้อนุมัติงบประมาณ 1 ล้านล้านบาทสำหรับการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2023(อีก 3 ปีจากนี้) เรียบร้อยแล้ว
เครือโฟคสวาเกนประกอบไปด้วย
- โฟค สวาเกน (Volkswagen)
- อาวดี้ (Audi)
- ซีท (SEAT)
- สโกด้า (Skoda)
- เบนท์เล่ย์ (Bentley)
- บูกาติ (Bugatti)
- แลมโบกินี่ (Lamborghini)
- ปอร์เช่ (Porches)
- ดูกาติ (Ducati)
- สกาเนีย (Skania)
- MEN
งานนี้โฟคสวาเกนเล่นใหญ่กะฆ่าเจ้าพ่อรถยนต์ไฟฟ้า(เทสล่า)คาเท้าไปเลยนะครับ ส่วน ฮุนไดนั้นก็ไม่ยอมน้อยหน้าครับ ประกาศศึกกับโฟคสวาเกนและเทสล่าเช่นกันว่า จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 23 รุ่นสู่ท้องตลาดภายใน 5 ปีหลังจากนี้ส่วน volvo(วอลโว่)ก็บอกว่า 50 %ของยอดขายในปี 2025 ต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น
ที่มา : CBNC
เน้นใช้หุ่นยนต์ในการประกอบมากขึ้น
ในไทยนั้น ผมไม่แน่ใจว่า พัฒนาแรงงานส่วนนี้ไปบ้างหรือยัง แต่สิ่งที่แน่ใจคือ robot arm จะมาแทนคนงานในโรงงานแน่นอนครับ เพราะพวกมันไม่ต้องหลับ ไม่ต้องนอน ไม่มีการลาพักร้อน
ดังนั้น แทนที่พวกเราจะต่อต้านเทคโนโลยี ดีสรับทีฟ(การมาของเทคโนโลยีใหม่ๆ) ให้เปลี่ยนมาเป็นสอนให้พวกแรงงานในประเทศมาเรียนรู้วิธีการซ่อมบำรุง robot arms กันดีไหมครับ? เพราะต่อให้ robot arm มันทำงานได้ดีกว่าคนแค่ไหนก็ตาม มันก็ต้องการคนมาซ่อมบำรุงมันแหละครับ
ดังนั้นผมมองว่า ผู้ใหญ่ในประเทศควรจะให้ความสำคัญแรงงานใหม่เนอะ คือจับมาเทรน(สอน)เรื่อง robot arm เหมือนที่ประเทศจีน, อเมริกา, เยอรมัน, เกาหลีใต้, เวียดนาม, มาเลเซีย,และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกกำลังปฏิวัติการผลิตรถยนต์อยู่ยังไงล่ะครับ
ส่วนวิดีโอด้านล่างจะอธิบายทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับการผลิตรถยนต์ในอนาคตได้เป็นอย่างดีเลยครับ ยังไงก็ลองกันดูนะครับ
BLINK DRIVE TAKE
แล้วคุณยังคิดว่า #รถยนต์ไฟฟ้าไม่บูม อีกหรอครับ?
คุณคิดว่า การปล่อยข่าวรถยนต์ไฟฟ้าในเพจของผมเป็นเรื่องแต่งขึ้นกันหรือป่าวน้า มันเลยทำให้พวกคุณมองว่า ไม่มีความหวังเลยที่รถยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้จะเข้าไทย อิๆ (แซวเล่นนะครับ)
ผมบอกเลยครับเวลาที่ทุกประเทศ(พัฒนา)ทั่วโลกเค้าเลิกใช้รถยนต์น้ำมันกันแล้ว สุดท้ายไทยต้องเลือกแหละครับว่าจะเดินตามประเทศพัฒนาเหล่านั้น หรือไปยืนเคียงข้างประเทศที่ไม่มีนโยบายรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเกาหลีเหนือครับ
ถ้าเปรียบเทียบ BOI หรือ นโยบายกีดกันรถยนต์ไฟฟ้า เป็น “เขื่อน” ล่ะก็ ข่าวการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้ารอบโลกก็เหมือน “น้ำ” แหละครับ ตอนนี้ดูเหมือนเขื่อนจะสามารถกักเก็บน้ำเพื่อไม่ให้ท่วมเมืองได้อยู่ แต่อย่าลืมนะครับว่า การลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าระดับนี้(1 ล้านล้านบาทแล้ว) ประเทศเล็กๆอย่างไทยก็ห้ามไม่อยู่หรอกครับ
ไทยลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ทีอย่างมากสุดก็ 5 หมื่นล้านบาท(ที่มา ฐานเศษรฐกิจ )ห่างกันประมาณ 20 เท่าครับ
ถ้าถึงเวลานั้น(น้ำท่วมเขื่อนจริงๆ) มันจะทะลักเข้าไทยเหมือนที่เหตุการณ์ iphone ทะลักเข้าไทยหรือป่าวครับ? เพราะคนทั่วโลกหันไปใช้มือถือ smart phone กันหมดแล้ว ต่อให้โนเกียมี แบ๊ค(คนหนุนหลัง)ดียังไงก็ตามก็สู้ประชาชนทั้งโลกไม่ได้หรอครับ
ยังไงก็อดทนรออีก 1 ปีหลังจากนี้หน่อยนะครับ เชื่อว่า หลังจากนี้อีก 1 ปีรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่สามารถเข้าไทยได้ทุกรุ่นแน่นอน แต่สิ่งที่ตามมาอย่างเห็นได้ชัดและผมกล้าฟันธงคือ พวกคุณสามารถซื้อรถยนต์ยุโรปในราคาล้านปลายๆ แน่นอนครับ เพราะยุโรปเค้าไม่ใช้รถยนต์น้ำมันกันแล้ว ดังนั้นก็ไม่แปลกที่เค้าจะโละของไม่ใช้มาขายถูกในประเทศพัฒนาอย่างบ้านเราครับ ส่วนรถยนต์ hybrid และ hybrid plug-in จะหั่นราคาลงมาต่ำกว่าล้านบาทแน่นอนครับ ดังนั้นถ้าคุณเป็นแฟนรถยนต์น้ำมันอย่างถึงพริก ถึงขิงจริงๆ ก็อดใจรออีก 1 ปีแล้วค่อยถอยรถนะครับ รับรองว่าได้รถที่ถูกใจในราคาที่ถูกกว่าปีนี้เป็น 2-3 แสนบาทแน่นอนครับ(ของไม่ใช้แล้วในต่างประเทศ เค้าก็โละมาประเทศไทยเป็นธรรมดาแหละครับ)
อ่อ ก่อนจากกันผมขอเอา comment ของลูกเพจ Blink Drive มาโพสตรงนี้หน่อยนะครับ
แนวโน้มทั่วโลกที่ส่งผลกระทบถึงไทย
1.supplyล้น:เครื่องยนต์ทั้งดีเซลและเบนซิน เนื่องจากทวีปยุโรปประกาศห้ามในระยะเวลาอันใกล้
2.เครื่องยนต์มีแนวโน้มความจุกระบอกสูบลดลงและใช้turboเพื่อช่วยให้คงประสิทธิภาพ และลดมลภาวะให้ตรงตามข้อกำหนดของประเทศที่พัฒนาแล้วในหลายๆประเทศ
ช่วงนี้ทุกค่ายรถยนต์จะปล่อยเครื่องยนต์ที่มีเทคโนโลยีต่างๆออกมาไม่มีกั๊กแล้ว เพราะเป็นไม้สุดท้ายถ้าไม่ผลิตมาขายก็จะไม่มีโอกาสนำเทคโนโลยีที่อุตส่าห์คิดมาได้ตั้งนานและเก็บเอาไว้เป็นไม้ตายมาใช้งานจริง เพราะกระแสโลกเบนมาทางEV
3.เราจะได้เห็นรถเครื่องยนต์ที่ราคาคุ้มค่าตามoptionที่ควรจะเป็นจริงๆเต็มท้องตลาด เพราะทุกค่ายยอมลดmargin(กำไรส่วนเกิน) เนื่องจากทางยุโรปและประเทศพัฒนาแล้วมีdemandของรถเครื่องยนต์ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง เลยต้องโยกvolumeส่วนเกินนี้มาที่ประเทศกำลังพัฒนา เช่นเราและในภูมิภาคนี้จากลูกเพจ Blink Drive
4.ภาครัฐ ยังคงตั้งกำแพงกีดกันรถEV เพื่อพยุงอุตสาหกรรม(เดิม)ภายในประเทศ แต่ไม่มองการณ์ไกลว่า ถ้าความต้องการทั่วโลกลดต่ำลงมากๆแล้วจะผลิตมาให้ใครซื้อ
ภาครัฐไม่ยอมเรียก, ชัดชวนให้ผู้ผลิตทุกๆราย ช่วยมาตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยด้วย เพื่อช่วยสานต่อการเป็นHubยานยนต์ของโลกนี้