Blink Blink
EV CarsTesla

หมัดต่อหมัดรถยนต์ไฟฟ้า : TESLA ROADSTER 2 (10 ล้านบาท) Vs. FERRARI’S SF90 STRADALE (40 ล้านบาท)

มาถึงวันที่ผมจะได้เขียนรีวิวรถยนต์ไฟฟ้า Super Car ระดับโลกอย่าง Ferrari แล้วสินะ นี่เป็น PHEV Super Car คันแรก ของ Ferrari เลยนะครับ ก่อนหน้านี้ Ferrari เคยสร้าง LaFerrari ซึ่งเป็น Hybrid super car มาแล้ว มารอบนี้ขอสร้าง Plug-in Super Car ซักหน่อยเนอะ บอกได้เลยว่า ประหยัดน้ำมันแน่นอนเพราะมากับเครื่องยนต์เพียง 4.0 ลิตรเท่านั้น

รถยนต์น้ำมัน Hybrid : Ferrari Laferrari ใช้แบตขนาด 2.3 kWh

บอกได้เลยว่า Ferrari คงต้านข้อตกลงของยุโรปไม่ไหวจริงๆ แหละครับว่า บางโซนในยุโรปเช่น เมืองหลวงประเทศอังกฤษนั้นติด ULEZ — Ultra Low Emission Zone หรือเขตปลอดรถยนต์น้ำมันครับ ดังนั้นการที่ซื้อ Ferrari มาขับแล้วไม่สามารถเข้าเขตเหล่านี้ได้ก็เปรียบเสมือนขี่ช้างจับตั๊กแตนแหละครับ เพราะซื้อมาแล้วไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เอ้าเรามาดูกันหน่อยไหมว่า London ULEZ นั้นหน้าตาเป็นอย่างไร

London ULEZ

เขตปล่อยมลภาวะต่ำสุด (Ultra-Low Emissions Zone หรือเขต ULEZ) 

ultra-low emission zone (ULEZ) คือ เขตแดนในใจกลางเมืองหลวงของอังกฤษ(ลอนดอน) ที่อนุญาตให้รถที่มา emission(มลพิษ) ต่ำกว่ามาตราฐานเข้ามาได้ หรือแปลอีกความหมายนึงคือ อนุญาตเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถสาธารณะที่ปล่อยควันต่ำมากๆ

ส่วนใครมีรถยนต์น้ำมันที่ผ่านมาตราฐานยูโร 3 ขึ้นไปแล้วอยากคมนาคมผ่านโซนนี้ก็ต้องจ่ายเงิน 12.5 ปอน์ดหรือ 520 บาท เพื่อขออนุญาตขับรถสัญจรผ่านเขตแดนนี้ครับ

แม้กระทั่งม้าแดงแรงริดเจ้าตลาดก็ยังต้องปรับตัว

เป็นที่รู้กันว่า Ferrari นั้นเป็นเป็นรถที่มีราคาแพง และมีคนใฝ่ฝันอยากจะได้กันแทบทุกคน ก็เพราะเขาใช้ฝีมือมนุษย์ในการประกอบกันนะครับ และอีกหนึ่งในความรู้สึกที่ทำให้ทุกคนอยากขับก็เพราะว่า Ferrari นั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งความเร็วและแรงครับ

แต่สัญลักษณ์ความแรงจะสู้แรงมวลชนได้ครับ เพราะโลกเรากำลังเปลี่ยนเข้ายุคใหม่ ยุคที่ประชาชนใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น Ferrari ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย เช่น แต่ก่อนประกาศแข็งกร้าวว่า จะไม่มีทางสร้างรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอันขาด แต่มาตอนนี้ก็ต้องยอมแล้วทำการสร้าง รถยนต์ไฟฟ้า PHEV : FERRARI’S SF90 STRADALE ขึ้นมาแบบจำใจครับ

คราวนี้ Ferrari กระเถิบขึ้นมาทำ PHEV หรือ รถยนต์ไฟฟ้ากึ่งน้ำมัน Hybrid แบบเสียบลั๊ก ที่ให้แบตมาถึง 7.9 kWh ถือว่า ให้มากว่าเดิมครับ แต่ถ้ามองในหลักของรถยนต์ไฟฟ้า PHEV แล้วถือว่า น้อยไปหน่อยนะครับ เพราะ BMW 530e ที่จะเข้าไทยนั้นใช้แบตขนาด 9.2 kWh ซะแล้ว หรือไม่ก็ Toyota Prius Prime ก็ใช้แบตถึง 8.8 kWh ถ้า Ferrari ให้แบตน้อยแบบนี้มา กลัวว่าจะเสื่อมเร็วไปหน่อยเนอะ แต่ยังไงก็หวังลึกๆ ในใจว่า Ferrari จะทำ PHEV ออกมาได้ดีกว่าพวก BMW นะครับ

คราวนี้พอเอามาลงตลาดแข่งกับเจ้าถิ่นอย่างเทสล่าแล้ว ผมก็อดไม่ได้ที่จะเอาสเปคทั้ง 2 ตัวนี้มาเทียบเคียงกันแหละครับ

Tesla Roadster 2 รถยนต์ไฟฟ้า Sport ราคาไม่ถึง 10 ล้านบาท

ก่อนจะไปดูสเปคและความสามารถของ Tesla Roadster 2 นั้นผมขอย้อนเวลากลับไปตอนที่ Tesla กำลังก่อร่างสร้างตัวก่อนนะครับ

อีลอน กับ รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster รุ่นแรก ปี 2008

Elon Musk เคยบอกว่า จะสร้างรถ sport Tesla เพื่อมาล้มวงการ Supercar ตั้งแต่เริ่มทำบริษัทใหม่ๆ นะครับ ความรู้สึกของพวกคนในตอนนั้น ฟังแล้วหัวเราะกับความคิด Elon Musk แล้วบอกว่า สิ่งที่เค้าทำนั้นเพ้อเจ้อมากๆ ยังไงผมจะเอารูปรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster รุ่นแรกมาฝากให้ดูด้านล่างนี้นะครับ

ดูหน้าตาแล้วไม่แรงแน่นอนครับ แถมราคาเปิดตัวตอนนั้นก็แพงมาก $100,000 หรือ 3.2 ล้านบาท แถมแบตที่เอามาผลิตก็เป็นแบบเทคโนโลยีเดียวกันกับ Toyota Prius คือ เป็น lithium-ion ที่ยังไม่มีระบบระบายความร้อน ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงความแรงเลยครับ เรียกได้ว่า ซื้อมาซ่อมชัดๆ เพราะเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกแหละครับ แบตของรถคันนี้คือ 53 kWh น้อยกว่า Hyundai Kona EV ตัว Top ซะอีก(แบตโคน่าให้มา 64 kWh) ส่วน Top Speed ก็แค่ 208 km/h(130 mph) น้อยมากๆ กับรถ sport ราคา 3 ล้านบาทนะครับ ทำให้ยอดขายแย่มาก แถมพี่ Elon Musk ดันโม้ว่า จะสร้าง รถ sport ที่เอามาล้ม super car ตอนนั้นอย่าว่าแต่ล้ม super car เลยครับ เอาแค่ ชนะรถญี่ปุ่น แบบ Honda Civic Turbo ให้ได้ก็หอบจับแล้วครับ

ผู้ว่าการรัฐ แคลิฟอร์เนีย( อาโน ชวาสเนกเกอร์ )กล่าวสนับสนุนบริษัทเทสล่า

อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มี Roadster ในวันนั้น ก็ไม่มี Tesla Model 3, Model S, Model X, Model Y, Roadster และรวมไปถึง Tesla Semi-Truck ในวันนี้ครับ

เรียกได้ Tesla Roadster นั้นเป็นผู้ให้กำเนิดรถยนต์ไฟฟ้าเกือบทั่วโลกเลยก็ว่าได้ครับ

สเปคอย่างเป็นทางการของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster 2

  • อัตราเร่ง 0-100 km/h ภายใน 1.9 วินาที
  • อัตราเร่ง 0-160 km/h ภายใน 4.2 วินาที
  • วิ่ง 1/4 mile ภายใน 8.8 sec
  • Top Speed มากกว่า 250 mph(400 km/h)
  • แรงบิด (Torque) 10,000 นิวตัน
  • Range (ระยะทางที่วิ่งได้) : 620 miles(1,000 km)
  • มี 4 ที่นั่ง
  • ขับเคลื่อน 4 ล้อ
  • ราคาเริ่มต้นที่ 6.4 ล้านบาท($200,000)
  • วางเงินจอง 1.5 ล้านบาท($50,000)
  • รุ่น Founders Series ราคา 8 ล้านบาท ($250,000)
  • รุ่น Founders Series ต้องวางเงินจอง 8 ล้านบาท ($250,000)
  • รุ่น Founders Series ผลิตแค่ 1,000 คันเท่านั้น
ด้านหลัง Tesla Roadster 2 : ไม่น่าเชื่อเลยว่า รถยนต์ไฟฟ้า sport : Tesla Roadster 2 ที่ดูร่างเล็กแบบนี้จะสามารถนั่งได้ถึง 4 คนซึ่ง Ferrari ใช้พื้นที่นี้ไปกับการวางเครื่องยนต์ V8 ของเค้าซะงั้น(เสียของหมดครับ)
ด้านหลังของ รถยนต์ PHEV : FERRARI’S SF90 STRADALE
เปรียบเทียบขนาด ระหว่าง Tesla Model S กับ tesla Roadster 2
รูปภาพ : เปรียบเทียบขนาดระหว่าง รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster 2 กับ รถยนต์ SuperCar : Lambohini Aventador

สเปครถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster 2 Vs. สเปครถยนต์ไฟฟ้า Plug-in Hybrid : FERRARI’S SF90 STRADALE

แถบสีเขียวคือ เด่นกว่า,ดีกว่า

ผมเอาสเปคมาทำเป็นตารางให้ดูโดยดัดแปลงมาจากเว็บ EVANEX สำหรับใครที่สนใจดูตัวต้นฉบับก็เปิดเว็บเข้าไปดูได้เลยครับ

คราวนี้มาฟังบทวิเคราะห์ของ Blink Drive กันหน่อยนะครับ

BLINK DRIVE TAKE

อ้างอิงจากภาพเปรียบเทียบด้านบน , ผมจะ highlight(ทาสีเขียว)ให้กับ spec รถที่เหนือกว่านะครับ เอาจริงๆ นะ ผมมองว่า รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster 2 เหนือกว่าทุกอย่าง ยกเว้นการเติมเชื้อเพลิงครับ ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าทำได้ช้ากว่ารถยนต์น้ำมันอยู่แล้ว ที่เหลือนั้นแทบจะเรียกได้ว่า ชนะขาดลอย

ยกตัวอย่างแรงบิดต่อของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster นั้นสูงถึง 10,000 นิวตัน แต่รถยนต์น้ำมันอย่าง FERRARI’S SF90 STRADALE นั้นทำได้แค่ 800 นิวตันเท่านั้นเอง น้อยนิดส์มากๆ แถมเป็นรถยนต์น้ำมัน super car ราคาเกือบ 40 ล้านบาทแต่ไม่ให้ระบบ auto-pilot, auto-parking หรือแม้กระทั่ง software Update มาให้ รู้หรือไม่ว่า ทุกวันนี้ Ferrari ทุกรุ่นนั้นต้องขับกลับไปที่ศูนย์เพื่อ upgrade firmware เช่น จูนรถ, หรือระยะเบรค ซึ่งเป็นการจูนขั้นพื้นฐานที่ควรจะมี OTA (Over The Air) รองรับได้ตั้งนานแล้ว แต่ไม่ยอมทำกันแหละครับ

มารู้จักกับ Torque Vectoring Control

เท่าที่เห็นคือ รถทั้งสองคันมีระบบ Torque Vectoring Control ซึ่งผมจะขอนำข้อมูลจากเว็บ มาลงในนี้เพื่อให้ทุกคนได้ศึกษานะครับ

Torque Vectoring Control เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขั้นสูงที่บรรจุอยู่ในรถสมรรถนะสูงหลายรุ่น ฟังก์ชันนี้ใช้ประโยชน์จากระบบเบรกเพื่อย้ำผลของระบบ torque vectoring differential system ตัวระบบ torque vectoring นั้นไม่แทรกแซงการเคลื่อนไหวในการขับหรือเบรกที่แบกตัวรถอยู่ในขณะใช้งาน (รวมถึงการเร่งและลดความเร็ว) เมื่อแรงบิดถูกใช้ในล้อหน้าของรถ ระบบควบคุมจะทำงานเพื่อเพิ่มแรงตอบสนองในพวงมาลัย

Dynamic Torque Vectoring จะอยู่ในแพ็คคลัทช์ไฟฟ้าซึ่งอยู่ทางซ้ายและขวาของหน่วยการขับเคลื่อนล้อหลัง แพ็คคลัทช์มีหน้าที่จัดการแยกแรงบิดจากหน้าไปหลังและซ้ายไปขวาระหว่างเพลาหลัง เพื่อส่งผลต่อการควบคุมและความแข็งแรงเมื่อเข้าโค้ง ระบบนี้จะอ่านสภาพถนนและสถานการณ์ในการขับขี่เพื่อแบ่งแรงบิดรอบๆ ตัวรถ สอดส่องสถานะ (ประกอบด้วย มุมการเลี้ยว, YAW, ความเร็ว และการเร่งความเร็วเพื่อระบายอากาศ) วินาทีละ 100 ครั้งด้วยเซนเซอร์อัจฉริยะในรถ แรงบิดทั้งหมดจะถูกส่งไปที่เพลาหลัง และต่อจากนั้นจะถูกส่งไปแต่ละล้อ

ตัวระบบจะเริ่มทำงานเมื่อตัวรถเร่งความเร็วผ่านโค้ง และทำงานโดยใช้การเบรกบางส่วนเข้าไปที่ล้อหน้าใน ทำให้แรงบิดถูกส่งไปที่ล้อหลังนอกมากขึ้น โดยเฉพาะเพื่อสร้าง grip บนถนนที่สภาพนั้นๆ โดยเฉพาะ เทคโนโลยีทำให้แรงบิดเครื่องยนต์สามารถจัดสรรกำลังเบรกและกำลังในการขับสู่ล้อแต่ละล้อ อยู่ที่ว่าล้อนั้นต้องการมากเท่าไร นวัตกรรมนี้ทำให้ผู้ใช้รถเข้าโค้งได้อย่างปลอดภัย (โดยกำจัดอาการล้อหมุน) แต่นุ่มนวลและว่องไว

ว่ากันง่ายๆ ก็คือ ตัวรถและระบบสามารถคาดการณ์ได้ว่าล้อจะหมุนเมื่อไร และจะใช้เบรกในล้อนั้นเมื่อความเร็วคงที่ทุกล้อ ผู้ใช้สามารถเดินคันเร่งต่อไปได้เมื่อใช้ความเร็วสูง วิ่งบนถนนเปียกในสภาพอากาศย่ำแย่ และต้องเข้าโค้งอันตราย

ที่มา : chobrod

ในความเห็นส่วนตัวของผม(Blink Drive) มอเตอร์รถยนต์ไฟฟ้านั้นทำงานอิสระ ดังนั้นการทำ Torque Vectoring นั้นง่ายดั่งใจนึก จะทำออกมาดีหรือไม่ดีนั้นอยู่ที่ software ด้วยครับ แต่การใช้รถยนต์น้ำมัน ทำ torque vectoring นั้นทำยากกว่า

ส่วนเรื่องเครื่องยนต์ ผมไม่ขอ comment เนอะ ไม่ถนัดจริงๆ ยังไง ถ้าใครอยากได้ spec รถยนต์ super car FERRARI’S SF90 STRADALE ก็สามารถเข้าไปศึกษาตาม link ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

อ่าน spec ได้ที่ :
https://www.autospinn.com/2019/06/ferrari-sf90-stradale-56713

สิ่งที่จะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่าง Tesla Roadster 2 กับ FERRARI’S SF90 STRADALE นั้นก็คือ ราคาครับ อันนี้ผมไม่ขอ comment นะว่า รถยนต์ไฟฟ้านั้นแรงกว่า, วิ่งได้ไกลกว่า, Top speed สูงกว่า , ค่าซ่อมบำรุงถูกกว่า, ค่าเชื้อเพลิงถูกกว่า, มีที่นั่งเยอะกว่า, อัตราการเร่งดีกว่า, ระยะเบรคสั้นกว่า, จุของได้เยอะกว่า , เป็นต้น จะสามารถตั้งราคาออกมาได้ถูกกว่า FERRARI’S SF90 STRADALE ถึง 4 เท่านะครับ

ยังไงผมเชื่อว่า รถยนต์ super car นั้นยังมีคุณค่าทางจิตใจในใจคนหลายคนอยู่ ที่ตั้งราคานี้มา มีคนซื้อแน่นอนครับ ดังนั้นผมเชียร์ทั้งคู่ครับ

ถ้าคุณมีเงินซื้อ FERRARI’S SF90 STRADALE แล้ว คุณก็คงไม่ต้องคิดถึงเรื่อง ค่าซ่อมบำรุงและค่าเชื้อเพลิงแล้วเนอะ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Follow by Email