ก่อนหน้านี้ ผมเคยทำคลิปเกี่ยวกับแบต 4680 Dry Process หรือ Dry Cathode ไปแล้วในคลิปด้านล่างนี้นะครับ
ในคลิปนั้นพูดถึงข้อมูลที่อีลอนนำมาเสนอในงาน Battery Day ในปี 2020 ซึ่งเค้าได้บอกปัญหาว่า Wet Process ที่ใช้งานอยู่ใน 2170, 4680, 18650 นั้นเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานและเพิ่มต้นทุนในการผลิตแบตอย่างมาก ทำให้บริษัทเทสล่าพยายามหาทางลดต้นทุนเหล่านี้โดยการสร้างแบตแบบ Dry Cathode มาซึ่งลดต้นทุนการผลิตแบตไปประมาณ 56% และลดพื้นที่ในการผลิตแบตไปถึง 10 เท่า พูดนะง่าย concept นะง่าย ใครๆ ก็คิดได้ครับ แต่กว่าจะเอามาเป็น production cell ได้นั้นใช้เวลาถึง 4-5 ปีเต็มๆ ครับ ซึ่งตอนนี้ Tesla ประสบความสำเร็จในการสร้างแบต 4680 Dry Process ได้แล้วนะครับ(แนะนำให้ชมคลิปนี้ก่อนอ่านบทความเพื่อทำให้เข้าใจเนื้อหาของบทความทั้งหมดได้กระจ่างขึ้นครับ)
อย่างไรก็ตาม ผมขอทบทวนเรื่องรูปลักษณ์ของแบต 4680 อีกรอบนะครับ แบต 4680 คือขนาดของแบตซึ่งก็คือ 46 x 80 มม. ครับ ในปัจจุบันนั้น แบต 4680 ของเทสล่าถูกนำมาใช้กับ Tesla Cybertruck และ Tesla Model Y บางรุ่นที่ผลิตในอเมริกา
อย่างที่อีลอนเคยบอกไปก่อนหน้านี้นะครับว่า Prototype are easy, production is hard. (โปโตทายนั้นง่าย(ใครๆ ก็ทำได้) แต่พอเป็น Production หรือทำเพื่อผลิตขายนั้นยากมาก) ในการทำแบต4680 dry process ก็ดูเหมือนจะเป็นแบบนั้นครับ มีราคาแจ้งมาจาก autoevolution ว่า แบต 4680 ตัวใหม่ที่เป็น Dry Cathode นั้นมี rejection rate สูงมากถึง 70-80% เรียกได้ว่าผลิตมา 100 ก้อนใช้งานได้จริงแค่ 20-30 ก้อนครับ โดยปกติแล้ว โรงงานผลิตแบตทั่วไปจะมี rejection rate อยู่ที่ 2 % หรือผลิตออกมา 100 ก้อน เสียหายหรือใช้การไม่ได้ไม่เกิน 2 ก้อนต่อการผลิต 100 ก้อนครับ อย่างไรก็ตาม Tesla ได้ให้ข้อมูลว่า จะลด rejection rate ให้ต่ำกว่า 10 % ภายในปลายปี 2024 นี้หรือเรียกได้ว่าผลิตแบต 100 ก้อนจะสามารถนำมาใส่รถได้ถึง 90 ก้อนครับ(ตีเสีย 10 ก้อน)
แม้ว่าจะมีการสูญเสียระหว่างผลิตอย่างตัวเลขที่กล่าวอ้างมาแล้วนั้น ภายในปีหน้า Tesla วางแผนผลิตแบต 4680 แบบ Dry Cathode มาใส่รถกระบะไฟฟ้า Tesla Cybertruck ได้มากถึง 2,000 – 3,000 คันต่อสัปดาห์ หรือมากกว่ากำลังการผลิต 4680 แบบเดิมถึง 2 เท่าครับ
หลังจากแผนการณ์สร้างแบต Dry Process เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว Tesla เตรียมเปิดตัวแบตใหม่ Dry Cathode 4680 ทั้งหมด 4 รุ่นภายในปี 2026 ได้แก่ NC05, NC20, NC30, and NC50.
- NC05 จะเป็นรหัสแบต 4680 ที่ใช้สารเคมีเหมือนกันกับ Lithium Iron Phosphate (LFP) และเอามาใส่ในรถที่ไม่ได้ต้องการ performance สูงๆ เช่น Cybertruck ตัวเริ่มต้น, Robotaxi และ Tesla model 3 ตัวเริ่มต้น
- NC20 จะเป็นรหัสแบต 4680 ที่ใช้สารเคมีเหมือนกันกับ Lithium Manganese Iron Phosphate (LMFP) เอามาใส่ใน Cybertruck ตัว dual motor และรถ SUV ต่างๆ ของ Tesla เช่น Tesla Model Y เป็นต้น
- NC30 และ NC50 จะใช้ silicon anodes ซึ่งตัวนี้เป็นตัวจิ๊ดของบริษัท Tesla โดยจะมี Energy Density สูงสุดทำให้สามารถลดน้ำหนักรถลงได้มากขึ้นในขณะที่ความจุของแบตเท่าเดิม แบตรหัสนี้จะมาพร้อมกับ Fastcharging (ค่า C สูงขึ้น) และค่า Discharge ที่สูง(เหมาะสำหรับรถ Performance) โดย NC30 จะถูกนำมาใส่ใน Cybertruck ตัว tri-motor ส่วน NC50 จะถูกนำมาใส่ใน Tesla Roadster Gen2 ครับ
BLINK DRIVE TAKE
Tesla เป็นบริษัทใกล้เคียงกับ Apple (ตอน Steve Jobs ยังมีชีวิตอยู่)ตรงที่ชอบเอาเงินไปรายได้ไปลงทุนต่อยอดในแผนก R&D ของบริษัทและแอบซุ่มพัฒนา Product เงียบๆ ครับ อย่างภาพด้านล่างนี้ก็คือ CAM (the activation of cathode materials) ซึ่งมีทั้งเตาอบ, dryer(เครื่องเป่าแห้ง) และอุปกรณ์อื่นๆ จาก Cleia SAS ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์การผลิตแบตและอุปกรณ์ต่างๆ จากประเทศฝรั่งเศสส่งตรงถึงโรงงานผลิตแบต Cathode ของ Tesla แล้ว
ปัจจุบันนั้น Tesla ผลิตแบต NMC 955 (90% Nickel (Ni)5% Manganese (Mn)5% Cobalt (Co)) แต่ถ้าได้อุปกรณ์เหล่านี้มาครอบครองแล้วล่ะก็ tesla จะสามารถผลิตแบตสูตร NMC 973 (90% Nickel (Ni)7% Manganese (Mn)3% Cobalt (Co)) ได้อย่างแน่นอน ซึ่งก็ไปตรงกับเป้าหมายของ Tesla ที่ต้องการเข้าสู่กระบวนการผลิตแบต Free cobalt หรือปราศ Cobalt ในที่สุดครับ