สวัสดีครับ วันนี้ Blink Drive จะพามาหาคำตอบสำหรับคำถามจากสมาชิกเพจหลายคนที่ถามคำถามนี้นะครับ โพสนี้อาจจะยาวและลึกมากๆ เพราะผมต้องการสร้างคู่มือในการสร้างสถานีชาร์จ DC Fast Charge ในไทยแบบละเอียด เรียกได้ว่า อ่านจบเปิดสถานีชาร์จได้เลยครับ
โพสนี้เหมาะสำหรับคนที่วางแผนเปิดสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า DC Fast charge นะครับ ผมสัญญาว่าจะทำให้อ่านแบบละเอียดแบบว่า เอาเป็นคัมภีร์ในการเปิดกิจการให้เลยครับ
โพสนี้ Credit กับบริษัท GPower ซึ่งเป็นบริษัทที่หันมาจับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2023 นี้และสร้างเฟรนไชน์ให้กับชาวไทยได้เป็นเจ้าของกันนะครับ
ทำไมถึงมาเขียนโพสนี้?
สาเหตุที่ผมต้องมาทำโพสนี้เพราะยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในไทยปีนี้(2023)มีมากกว่า 70,000 คันไปแล้วครับ แต่ปรากฏว่า ภาครัฐหรือหน่วยงานต่างๆ ไม่ได้ขยายสถานีชาร์จให้ทัน demand ที่กำลังจะถาโถมเข้ามากันเลย แถมในไทยนั้นไม่มีสถานี DC Fast Charge อย่างที่เห็นครับ พวกเราคนใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะรู้ดีว่าในไทยเรานั้นมีแต่แท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าคือมีแค่แท่นชาร์จ DC Fastcharge 2 หัวแบบ share station ตามปั้มน้ำมันต่างๆ และล่าสุดที่ผมกลับไปเที่ยวไทยมาช่วงมิถุนายน 2566 นั้น บอกเลยว่า นรกแตกมากกับหาสถานีชาร์จในไทย เช่น เวลาผมไปถึงสถานีชาร์จ ต่อให้หัวชาร์จว่างผมก็ชาร์จไม่ได้เพราะไม่ได้จองมา(ในอเมริกาไม่มีระบบจองครับ เจอครั้งแรกงงเลย ทำไมเราชาร์จไม่เข้า) หรือชาร์จๆ อยู่โดนตัดไฟทุกๆ 55 นาทีของชั่วโมงนั้นๆ แบบว่า เห้ย เราก็รีบอยู่แล้วนะ สถานีชาร์จก็ปล่อยไฟน้อยอยู่แล้วเช่นกัน ทำไมจะต้องมาโดนตัดไฟและทำการชาร์จใหม่อีก
ผมว่า ที่ผ่านมานั้นเอกชนไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุกันเลย ซึ่งเราก็รู้กันอยู่ว่ารถมันเพิ่มขึ้น คุณต้องเพิ่มสถานีชาร์จหรือเพิ่มหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้กับผู้ใช้บริการครับ ไม่ใช่ไปเพิ่มเงื่อนไขในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้กับผู้ใช้บริการเรียกได้ว่า ไปเพิ่มภาระให้กับพวกเค้าซะงั้น แทนที่พวกเค้าจะได้อุดหนุนพวกคุณเพิ่ม แต่กลับกลายเป็นว่า พวกเค้าจะถูกกดลงไปเรื่อยๆ และสุดท้ายก็ทะเลาะแย่งหัวชาร์จกันเอง
ส่วนบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าอีกค่ายก็ดันไปตั้งสถานีชาร์จแต่ชั้นบนของห้างฯ มันเลยกลายเป็นว่า คนไทยไม่สามารถทำ road trip จากเหนือจรดใต้เป็นกลุ่มกันเลยเพราะระบบเหล่านี้และการสร้างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการกันเลยครับ
มันเลยเป็นความอัดอั้นตันใจของผมมาตลอดว่า ถ้าวันใดวันนึงมีคนลุกขึ้นมาลุยสร้างระบบเฟรนไชน์และนำเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า DC Fast charge เข้ามาขายในบ้านเราแล้ว ผมจะเอาความโกรธเหล่านั้นมาสนับสนุนพวกเค้าให้สามารถสร้างธุรกิจให้ได้และในอีกส่วนคือการกระจายรายได้เข้าสู่ประชาชนคนไทยที่สนใจการสร้างสถานีชาร์จเหล่านี้ด้วยครับ
ในเมื่อเราไม่สามารถบอกพวกเค้า(ปั้มน้ำมัน)ให้เพิ่มหัวชาร์จให้กับพวกเราได้หรือทำให้เราสามารถใช้สถานีชาร์จดีๆ เหมือนต่างประเทศได้ พวกเราก็ต้องเริ่มด้วยตัวเราโดยการสร้าง eco system เหล่านี้กันขึ้นมาเองแหละครับ
ข้อแตกต่างระหว่างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากับปั้มน้ำมันหรือปั้มแก๊สคือเรื่องพนักงานบริการครับ สถานีชาร์จ 1 สถานีจะมีพนักงานเพียงแค่คนเดียวก็ได้(เพื่อเอาไว้แก้ไขเวลาหัวชาร์จมีปัญหา) แต่ถ้าเป็นปั้มน้ำมันหรือปั้มแก๊สนั้นต้องมีอย่างต่ำ 3 คนแหละครับเพราะมันมีหลายระบบต้องดูแล เช่น จ่ายแก๊สหรือน้ำมัน, เก็บเงิน, และดูแลระบบหลังบ้าน
เริ่มต้นยังไง?
สิ่งที่คุณต้องมีถ้าอยากสร้างสถานีชาร์จคือ
- เงิน 1.5 – 2 ล้านบาท – ในโพสนี้จะเขียนข้อมูลอย่างละเอียดว่าคุณต้องเตรียมเงินเท่าไหร่สำหรับการสร้างสถานีชาร์จในแต่ะละประเภทและ scale ของสถานีชาร์จครับ
- ที่ดิน – ใช่ครับ, การสร้างสถานีชาร์จนั้นควรจะมีที่ดินสำหรับการสร้างซึ่งมี minimum requirement อยู่ที่ 6×8 ตารางเมตร
- ทำเล : ไม่ใช่แค่มีที่ดินอย่างเดียวก็จะสร้างได้นะครับ แต่ควรเป็นทำเลที่เข้าถึงง่าย เช่นอยู่ข้างถนนใหญ่, หรือมีสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณรอบๆ เช่น ร้านอาหาร, ห้องน้ำ, ร้านขายหวย, เป็นต้น เรียกได้ว่า ถ้าทำเลนั้นทำปั้มแก๊สหรือปั้มน้ำมันขึ้น ยังไงสถานีชาร์จก็ไปได้ครับเพราะว่าราคาค่าไฟ DC ยังไงก็ถูกกว่าใช้น้ำมันครับ
งบ : หัวชาร์จแต่ล่ะประเภท
ผมจะขอจัดการแบ่งประเภทหัวชาร์จตามธุรกิจต่างๆ ดังนี้
Type A : โรงแรม, ห้างฯ , หรือสำนักงาน
หัวชาร์จประเภทนี้คือแบบช้านะครับซึ่งจะเป็นการที่คนแวะมาชาร์จทีละ 5-8 ชั่วโมงครับ
- หัวชาร์จกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ 22 กิโลวัตต์
- ขนาดพื้นที่ 3×6 ตารางเมตร
- ราคาตู้ชาร์จ 65,000.-
- งบลงทุนประมาณ 150,000 บาท (รวมค่าเดินสายไฟและติดตั้งอุปกรณ์เท่านั้น, ไม่รวมค่าต่อเติมห้องน้ำหรือห้องบริการด้านอื่นๆ)
Type B : ร้านอาหาร, ร้านกาแฟ, ร้านขายหนังสือ, ร้านสะดวกซื้อ, ร้านขายหวย, ร้านนวด
หัวชาร์จประเภทนี้คือแบบเร็วนะครับ ซึ่งจะเป็นการที่คนแวะมาชาร์จทีละ 30-50 นาทีครับ แนะนำว่า ควรติดตั้งให้มากกว่า 4 หัวจ่ายโดย 1 ตู้นั้นจะมี 2 หัวจ่ายครับ
- หัวชาร์จกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ 60 กิโลวัตต์
- ขนาดพื้นที่ 6×8 ตารางเมตร
- ราคาตู้ชาร์จ 590,000 บาท
- งบลงทุนเริ่มต้น 1.55 ล้านบาท (รวมค่าเดินสายไฟและติดตั้งอุปกรณ์เท่านั้น, ไม่รวมค่าต่อเติมห้องน้ำหรือห้องบริการด้านอื่นๆ)
Type C : ร้านอาหาร, ร้านกาแฟ, ร้านขายหนังสือ, ร้านสะดวกซื้อ, ร้านขายหวย, ร้านนวด, ปั้มน้ำมัน
หัวชาร์จประเภทนี้คือแบบเร็วนะครับ ซึ่งจะเป็นการที่คนแวะมาชาร์จทีละ 15-30 นาทีครับ แนะนำว่า ควรติดตั้งให้มากกว่า 4 หัวจ่ายโดย 1 ตู้นั้นจะมี 2 หัวจ่ายครับ
- หัวชาร์จกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ 120 กิโลวัตต์
- ขนาดพื้นที่ 6×8 ตารางเมตร
- ราคาตู้ชาร์จ 1.2 ล้านบาท
- งบลงทุนเริ่มต้น 2 ล้านบาท (รวมค่าเดินสายไฟและติดตั้งอุปกรณ์เท่านั้น, ไม่รวมค่าต่อเติมห้องน้ำหรือห้องบริการด้านอื่นๆ)
หมายเหตุ : ทุก package จำเป็นต้องจ่ายค่า Platform fee (การใช้ platform หลังบ้าน) ให้กับ GPOWER ซึ่งดำเนินกิจการหลังบ้านให้ โดยสิ่งที่ได้กลับมาคือ การบริการลูกค้าที่มาชาร์จรถ 24 ชั่วโมง เช่น หัวชาร์จไม่ทำงาน(remote restart), ระบบไม่ตัดเงิน, หรือเครื่องชาร์จขัดข้อง(ช่างจะเข้ามาดูแลและแก้ไขเครื่องชาร์จ)
ค่า platform fee
- Type A : 500 บาทต่อเดือน
- Type B : 5,000 บาทต่อเดือน
- Type C : 5,000 บาทต่อเดือน