สวัสดีครับ ชาว Blink Drive โพสนี้ผมจะพาทุกท่านมารู้จักรถยนต์ไฟฟ้า MG EP Plus (ราคา 771,000 บาท) คันนี้ครับ ก่อนจะเริ่มโพสกัน ผมอยากเอาสเปคคร่าวๆของ MG EP มากางตรงนี้เพื่อให้คนที่สนใจดูกันก่อนนะครับ
รุ่น | MG EP Plus |
---|---|
กำลังสูงสุด (แรงม้า (กิโลวัตต์)) | 163 (120) |
แรงบิดสูงสุด (นิวตัน – เมตร) | 260 |
ความจุแบตเตอรี่ (กิโลวัตต์ – ชั่วโมง) | 50.3 |
ระยะทางวิ่งสูงสุด (NEDC Mode) (กม.) | 380 |
ความยาว (มม.) | 4,544 |
ความกว้าง (มม.) | 1,818 |
ความสูง (มม.) | 1,543 |
ระยะช่วงล้อ (มม.) | 2,665 |
ระยะห่างระหว่างล้อคู่หน้า / หลัง (มม.) | 1,560 / 1,566 |
จริงๆ ประกันแบตที่ให้ติดรถมา(8 ปี หรือ 180,000 กม. ) ก็เพียงพอต่อการใช้งานระยะ 8 ปีสบายๆ แล้วครับ แต่ช่างเงิน(เจ้าของรถ MG EP คันนี้) สามารถนำประสิทธิภาพของรถคันนี้มาใช้อย่างคุ้มค่าจริงๆ ครับ
เข้าเรื่องกันเลยนะครับ เจ้าของรถ MG EP มีนามว่าช่างเงินเป็นช่างซ่อมเครื่องอัดฟางก้อนและทำเครื่องอัดฟางก้อน(รับจ้างส่งและซ่อม)ครับ เครื่องที่คุณเห็นกันอยู่ในรูปนี้แหละครับ ช่างเงินบอกผมว่าวันนึงวิ่งรถประมาณ 500 km นะครับ และก็วิ่งแบบไม่มีวันหยุดหรือชาร์จไฟบ้านเลย เรียกว่ารถคันนี้ใช้แต่ไฟ DC Fast Charge ครับ น่าจะเป็นคันแรกของไทยเลยที่ใช้งานสมบุกสมบันแบบนี้ (บริษัท MG น่าจะแวะมาสัมภาษณ์เฮียแกหน่อยนะครับ ฮ่าๆ)
ก่อนขับรถ MG EP, ขับรถอะไรมาก่อน?
ช่างเงินบอกว่า สาเหตุที่เปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็เหมือนทุกคนคืออยากประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะแต่ก่อนนั้นใช้ไทยรุ่งแอดเวนเจอร์(เครื่อง 3000 cc) โดยช่างเงินใช้รถปีนึงประมาณ 150,000 km เฉลี่ยค่าน้ำมัน km ละ 3 บาท คิดเล่นๆคือค่าน้ำมันปีนึงอยู่ที่ 450,000 – 500,000 บาท
ส่วนอีกสาเหตุคือรถคันนี้ขับมา 300,000 km แล้วครับ เครื่องเริ่มหลวมแล้ว
พอเปลี่ยนมาใช้ MG EP โดยชาร์จแต่ไฟปั้ม(DC Fast charge) นั้นตก km ละ 0.78 – 1 บาทนะครับ ถ้าถามทำไมไม่ใช้ไฟบ้านก็เพราะช่างเงินแกอยู่บนรถทั้งวันทั้งคืนครับ ส่วนของเสร็จก็ไปรับของมาส่งต่อ วันๆ ใช้ชีวิตอยู่แต่บนรถนะครับ ถือว่าเป็นการใช้รถแทบทั้งวันเลยครับ
ปล. ถ้าเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็ตกค่าไฟ DC ประมาณ 150,000 บาท/ปี หรือประหยัดไปประมาณ 300,000 – 400,000 บาทต่อปี
ลักษณะการขับขี่
เนื่องจากช่างเงินต้องลากของหนักหน่อยและใหญ่ครับ ดังนั้นการขับขี่จะช้าหน่อยคือรักษาความเร็วอยู่ที่ 40-50 km/h ส่วน Range ที่ขับได้นั้นจะลดหลั่นตามของที่ลากครับ ถ้าลากของ 2 ตัวแบบนี้ก็จะเหลือเพียง 200 km ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ส่วนถ้าลากแต่เทรลเลอร์อย่างเดียวจะวิ่งได้ 250 km ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง
ช่างเงินแจ้งว่าต้องลางพ่วงสองคันแบบนี้เพราะรถยนต์ไฟฟ้าแบก Trailer เครื่องอัดฟางตรงๆไม่ได้ เนื่องจากตัวรถเตี้ยกว่ารถกระบะทั่วไปครับ
วิ่งมา 80,000 km ภายใน 9 เดือน
ช่างเงินรับรถคันนี้มาวันที่ 1 มีนาคม 2566 แล้วจากนั้นก็ทำการติดตั้ง Tow hitch(ตัวลากของ) แล้วก็ลากของตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันนี้ 10 ธันวาคม 2566 นั้น ช่างเงินใช้รถไปแล้ว 80,000 km ถือว่าโหดมากครับ ขับรถเดือนละเกือบ 10,000 km
ถ้าคิดเล่นๆ คือ ประหยัดเงินค่าเติมน้ำมันไปแล้วประมาณ 160,000 บาทครับ
ซ่อมอะไรไปแล้วบ้าง?
ยังครับ
ช่างเงิน
ลักษณะการใช้งาน คือ ช่างเงินใช้รถแทบไม่ได้พัก, เวลาชาร์จก็เปิดแอร์, เวลานอนก็เปิดแอร์, รถแทบจะติดตลอด 24 ชั่วโมงเลยครับ ปล. คอมพ์แอร์ยังไม่พังนะครับ
คันต่อไปจะซื้อรถน้ำมันขับไหม?
อันนี้เป็นคำถามยอดฮิตของผู้ที่หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้านะครับ ส่วนด้านล่างนี้คือคำตอบของช่างเงินครับ
ผมไม่เคยทิ้งรถสักคันนะครับ สักวันน้ำมันก็ต้องลง, อย่ามั่นใจในอะไรมากเกินไปจังหวะชีวิตต้องมีสิ่งคอยช่วยเหลือเราใช้ทรัพยากรทุกอย่างที่เรามีให้คุ้มค่าที่สุด
แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมตัดสินใจใช้รถไฟฟ้าคือปั้มน้ำมันโกงลิตร (ซึ่งช่วงหลังเจอกันบ่อยมาก จนไม่อยากปวดหัวเรื่องนี้แล้ว)
ผมจะเติมน้ำมันทีล่ะ900บาทเพราะได้น้ำ1ขวดจะวิ่งได้300กิโลโดยประมาณแต่บางปั้มได้250กิโลบ้าง200กิโลบ้างทึแรกนึกว่ารถเราเก่าแต่ความเป็นจริงคือมันปล่อยลมให้เราไม่ปล่อยน้ำมัน
ช่างเงิน
BLINK DRIVE TAKE
เป็นรถยนต์ไฟฟ้าในไทยอีกคันที่ใช้งานสมบุกสมบันอย่างมากครับ ในอนาคตถ้ามีรถคันไหนสามารถขับโหดแบบนี้อีกจะนำมาโชว์ให้ทุกท่านได้ศึกษากันนะครับ