Site icon Blink Drive

รถ Tesla ทุกคันจะฉลาดขึ้นทุกอาทิตย์ผ่าน Software OTA

คุณ David Lou ซึ่งเป็นวิศวกร software ของ Tesla ได้กล่าวเอาไว้ว่า รถยนต์ทั่วไปนั้นสามารถทำการ update software ได้เพียงแค่ระบบ infotainment(หน้าจอแสดงผล)ให้ดูสดใหม่ขึ้น แต่กับ Tesla นั้นเราทำการ integrate รถทุกคันให้สามารถ modify (ปรับแต่ง)ข้อมูลหลังบ้านทุกอย่างผ่าน Software Update ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการใช้งานแบต, แรงดันเบรค, ความหน่วงในการกระพริบของไฟเลี้ยวผ่านทาง OTA (Over The Air) Update ซึ่ง hardware ของรถถูกออกแบบมาให้ software update สามารถแก้ไขค่าใน CAN Bus ได้อย่างอิสระ

ดังนั้นเราจะสามารถพัฒนารถยนต์ของพวกคุณให้ฉลาดขึ้นทุกสัปดาห์อยู่เสมอ

ไม่เพียงแต่เราสามารถ update รถของคุณให้ฉลาดขึ้นทุกสัปดาห์แล้ว แต่เรายังเก็บเกี่ยวข้อมูลจากการใช้งานรถของคุณอีก

ตัวอย่างนึงเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวข้อมูลรถจาก user คือ หลังคากระจก เราจะเห็นได้ว่า Tesla Model S รุ่นแรกๆนั้นมีหลังคากระจกแบบ moon roof คือเลื่อนเปิด-ปิดได้

แต่พอเราเอา data ออกมาดูปรากฏว่ามีคนเพียงกลุ่มเล็กๆที่ใช้งานมันเกือบทุกวัน ที่เหลือนั้นไม่เคยแตะมันเลย พวกเราเลยตัดสินใจเอาฟังชั่นนั้นออกจากรถ Tesla ไป

Tesla เป็นรถที่มีข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุเยอะที่สุดในโลก

ทุกครั้งที่ Tesla เกิดอุบัติเหตุนั้น ตัวระบบของรถจะส่งข้อมูล (data log) ของการชนกลับไปยัง Tesla HQ (Head Quarter) เสมอ ดังนั้น Tesla เคลมตัวเองว่าเป็นบริษัทเดียวในโลกที่มีข้อมูลเกี่ยวกับ collision (การชนกัน)มากที่สุดในโลก และ Tesla ยังเอาข้อมูลนั้นมาทำการ simulator (จำลอง)สถานการณ์ในการเกิดอุบัติเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อพัฒนาตัวรถให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ยกตัวอย่างการ update software ให้รถปลอดภัยมากยิ่งขึ้นคือ มีการ complain(บ่นกล่าว)ว่า เวลาเกิดอุบัติเหตุนั้นสายรัดเข็มขัดของเทสล่าดึงแรงเกินไปจนตัวคนนั่งบาดเจ็บ วันถัดมา software engineer(วิศวกรซอฟแวร์)ได้ทำการ update การกระตุกของเข็มขัดนิรภัยในรถทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านคันทันที

ลองคิดเล่นๆ ว่า ถ้ารถน้ำมันของคุณประสบปัญหาแบบนี้ รับรองว่า recall (เรียกรถ)กลับไปซ่อมกันยาวๆ เลยครับ

Tesla เก็บข้อมูลได้มากถึง 196 ล้านkm ต่อวัน

ในปี 2014 นั้น Tesla สามารถเก็บข้อมูลได้เพียงน้อยนิด แต่พอมาปี 2023 นั้น Tesla เก็บข้อมูลได้มากถึง 123 ล้านไมล์ต่อวัน(เก็บพฤติกรรมการขับขี่ได้มากถึง 196 ล้านkmต่อวัน และสามารถเก็บพฤติกรรมการชาร์จได้มากถึง 1.9 ครั้งต่อวัน

อะไรคือสาเหตุที่รถ Tesla สามารถฉลาดขึ้นได้ทุกวัน?

ค่ายรถทั่วไปนั้นจะซื้อ hardware มาใส่รถจากผู้ผลิต Tier 1 และใช้การพัฒนา Software จากผู้ผลิต Tier 2 พร้อมกับการใช้งาน Server ในการควบคุม Hardware จากผู้ผลิต Tier 3 ปัญหาคือเวลาพวกเค้าขายของไปแล้ว เค้าไม่มีบริการหลังการขายหรือพูดคุยกันระหว่าง Tier ครับ ดังนั้นถ้าค่ายรถอยากทำ software update ไฟหน้ารถให้สว่างน้อยลงหรือสว่างขึ้นก็ต้องไปคุยกับผู้ผลิตตั้งแต่ Tier 1 ให้ใส่ฟังชั่นนั้นเข้ามาเพิ่ม จากนั้นก็เอา requirement ไปให้ผู้ผลิต Tier 2 ทำการ implement เข้าไป และพอทำได้ก็บอกผู้ผลิต Tier 3 ให้ติดตั้ง software update ขึ้น server แต่ปัญหาที่ตามมาคือรถก่อนหน้านั้นก็จะใช้ software update ตัวนี้ไม่ได้ ทำให้ค่ายรถติดหงักอยู่กับเรื่องนี้มานานมากๆ

Tesla รู้ปัญหาเรื่องนี้ดีเลยสร้างผู้ผลิต Hardware และ Software จากทีมเดียวกันคือถ้า software engineer ไม่ approve ทาง Hardware Engieneer ก็ไม่สามารถสร้าง product ชิ้นนั้นมาติดรถได้ ในทางกลับกัน software engineer อยากสร้าง hardware ตัวใหม่ขึ้นมาให้กับรถก็ต้องได้รับการอนุญาติจากทีม hardware engineer

โดยใจกลางของรถ Tesla ไม่ได้อยู่ที่วิศวกรออกแบบรถแต่อยู่ที่แผนก software engineer ด้วยครับ เพราะทีม software engineer ต้องเอาแบบมาดูว่ามันสามารถเชื่อมต่อกับ server เราได้ไหม? หรือรองรับการ update รถในอนาคตไหม? ถ้าไม่ก็ให้ hardware engineer ไปออกแบบมาใหม่ ซึ่งมันจะเกิด feedback loop (การให้ความคิดเห็นกลับไปกลับมาเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด)

ดังนั้นการทำงานมันจะ balance power กันอย่างมากในบริษัท Tesla ต่างจากค่ายรถอื่นๆ ที่ดันเอาหัวใจการพัฒนารถไปอยู่กับเครื่องยนต์ซะเกือบหมดและใช้ third party ในการสร้าง hardware ต่างๆ ในรถแบบไม่ใส่ใจ ทำให้เวลาจะ update รถหรือแก้ไขปัญหารถอย่างเรื่อง seat-belt(เข็มขัดนิรภัย)ที่กล่าวมานั้น กลับโยนปัญหาให้ทีม service มาแก้ไขแทน ทำให้การพัฒนามันมาถึงทางตัน(ไม่สามารถทำการ update แบบ OTA ได้ครับ ลองไปดูรถยนต์ค่ายอื่นในท้องตลาดปี 2023 นะครับ ไม่มีค่ายไหนสามารถ update software ให้เซฟตี้เบลท์กระชากเบาลงได้เลย)

ใช้โช๊ครถในการเก็บข้อมูลพื้นผิวถนน

Tesla นั้นใช้โช๊คของ Tesla Model S และ Tesla Model X ที่เป็น Air suspension หรือโช๊คอัพแบบถุงลมในการเก็บค่าความขรุขระของถนนมาโดยตลอดนะครับ ซึ่ง Tesla จะเอาค่านี้มาเชื่อมต่อกับ GPS ของรถเพื่อ update software ในอนาคตให้รถฉลาดยิ่งขึ้น เช่น เวลารถวิ่งไปที่ถนนที่เป็นเส้นสีแดงในภาพ ตัวโช๊คอัพของรถก็จะปรับความหนืดให้สอดคล้องความความขรุขระของถนนครับ โดยมันจะอ่านค่าจาก GPS ซึ่งรถคันอื่นอาจจะเคยวิ่งถนนเส้นนั้นมาแล้วครับ

หมายเหตุ : software ตัวนี้ใช้งานกับ Tesla ทุกคันทั่วโลก ดังนั้นในอนาคตที่ไทยนั้น เราจะได้เห็นการทำงานของโช๊คถุงลมจาก Tesla Model S และ Tesla Model X ได้แม่นยำกว่ารถยุโรปก็เป็นได้ครับ

BLINK DRIVE TAKE

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Exit mobile version