Site icon Blink Drive

NTSB เปิดเผยข้อมูลการชน Tesla Model S ว่ามาจากคนขับเมาและขับเร็วเกินกว่ากฏจราจรถึง 2 เท่า, ไม่ได้เปิด autopilot

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน 2021 (สองปีที่แล้ว) มีผู้ใช้รถยนต์ 2 รายได้ประสบอุบัติเหตุระหว่างโดยสารรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S P100D (ปี 2019) เหตุการณ์ครั้งนั้นรถพุ่งชนต้นไม้และไฟไหม้ ส่งผลให้ผู้ใช้รถยนต์ทั้ง 2 รายเสียชีวิตทันที โดยตอนที่เกิดอุบัติเหตุนั้นแปลกมากๆ ที่สำนักข่าวต่างๆ รายงานว่าไม่มีคนนั่งอยู่เบาะหน้าเลย

They are 100 percent certain that no one was in the driver seat driving that vehicle at the time of impact. They are positive

ที่มา : khou

ทั้งคู่นั่งหน้ารถ

จนมาถึงในเดือนตุลาคม 2021 , NTSB (National Transportation Safety Board) หรือหน่วยงานดูแลรักษาความปลอดภัยบนท้องถนน มีการสรุปสำนวนเพิ่มเติมเพียงว่า มีคนนั่งมาด้วยทั้งฝั่งคนขับและคนนั่งข้างโดยมีวิดีโอกล้องวงจรปิดบ้านแถวนั้นถ่ายเอาไว้ได้ซึ่งทั้งสองคนได้ขึ้นไปนั่งเบาะหน้าทั้งคู่ก่อนเกิดจะขับออกไปยังสถานที่เกิดเหตุ

เมาแล้วขับ??

คนขับมีนามว่า วิลเลี่ยม วาร์เนอร์ เป็นหมอวิสัญญีแพทย์(หมอดมยา)อายุ 59 ปีส่วนคนที่นั่งมาด้วยนั้นอายุ 69 ปีซึ่งภายหลังมีการตรวจพบว่า ทั้งคู่มีแอลกอฮอลล์อยู่ในเลือดหรือเรียกว่าอยู่ในภาวะเมาทั้งคู่

ขับด้วยความประมาท

จากรายงานโดยละเอียดนั้นจะเห็นได้ว่า รถ Tesla วิ่งออกไหล่ทางถนนไปมากถึง 500 ฟุตหรือ 167 เมตรและพุ่งชนต้นไม้อย่างแรงทำให้กิ่งไม้หรือของแข็งบางอย่างทิ่มเข้าไปในรังแบตทำให้เกิดไฟลุกไหม้

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุคือเรื่องความเร็วในการขับขี่ ซึ่งถนนเส้นนั้นเป็นถนนในหมู่บ้านจำกัดความเร็วอยู่ที่ 30 mph [ 48 km/h ] ส่วนเฮียวิลเลี่ยมแกขับมาด้วยความ 107 km/h หรือมากกว่าความเร็วที่กำหนดถึง 2 เท่า

อีกสิ่งนึงที่เป็นที่ถกเถียงกันหลังจากเกิดอุบัติและหลายสำนักพยายามเชื่อมโยงไปยัง feature นั้นซึ่งก็คือระบบ autopilot

ซึ่ง NTSB ได้ทำการทดสอบเองและยืนยันว่า รถ Tesla Model S คันนั้นไม่ได้เปิดใช้งาน autopilot และรถ Tesla คันอื่นก็ไม่สามารถเปิดใช้งาน autopilot บนถนนเส้นนั้นได้เพราะว่าถนนเส้นนั้นไม่มีเส้นกั้นถนน ซึ่งตอนระบบจะไม่ยอมเปิดให้ใช้งานอยู่แล้วถ้าสภาพถนนไม่อยู่ในสภาพดี(lack of lane markings)

NTSB ยังแจ้งเพิ่มเติมว่า Tesla มีระบบช่วยรักษาความปลอดภัยในการขับขี่ที่เรียกว่า TACC (Traffic Aware Cruise Control) ซึ่งมันจะสามารถหยุดรถได้ทันทีถ้ามีอะไรอยู่ด้านหน้ารถ แต่ว่าตัวระบบนี้จะสามารถใช้งานในช่วงความเร็วไม่เกิน 30 mph หรือ 48 km/h หลังจากที่เกิดเหตุนี้แล้ว ทาง NTSB เชคดูว่า TACC ไม่ทำงานเนื่องจากตัวรถพุ่งชนต้นไม้ด้วยความเร็วเกินที่ TACC จะสามารถทำงานได้

ที่มา : รอยเตอร์

BLINK DRIVE TAKE

NTSB (National Transportation Safety Board) หรือหน่วยงานดูแลรักษาความปลอดภัยบนท้องถนนเป็นหน่วยงานของรัฐบาลมีหน้าที่ตรวจสอบรถทุกคันหลังเกิดอุบัติเหตุและทำการสรุปสำนวนให้กับชาวอเมริกาได้ทราบเพื่อรู้ถึงสาเหตุของอุบัติแต่ล่ะครั้งที่เกิดขึ้นในอเมริกานะครับ

หรือจะเรียกว่าเอาคนกลางมาตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดครับ ในอนาคตนั้น ถ้ามีอุบัติเหตุในไทยแล้ว พวกเราคงอยากเห็นคนกลางเข้าไปในสถานที่เกิดเหตุเพื่อตรวจสอบข้อมูลทุกอย่างแบบตรงไปตรงมาแหละครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Exit mobile version