Site icon Blink Drive

เจาะลึกสเปครถยนต์ไฟฟ้า Neta V ราคา 549,000 บาท* ยอดจองทะลุ 3,000 คันไปแล้ว

สวัสดีครับ วันนี้ผมได้ข้อมูลแบบเจาะลึกเกี่ยวกับสเปค Neta V ทั้งภายในและภายนอกก่อนเปิดตัวอย่างเป็นทางการมานะครับ ก็เลยอยากนำมาเผยแพร่พร้อมบทวิเคราะห์ต่างๆ ให้ทุกท่านได้อ่านกันนะครับ

หมายเหตุ : โพสนี้เหมาะกับคนที่วางแผนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ราคาแถวๆ 500,000 บาทในปีนี้จริงๆ แหละครับเพราะผมเขียนแบบอัดแน่นทุกอย่างเพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจจริงๆครับ

สเปค Neta V

ผมจะขอเจาะลึกสเปคต่างๆ ของ Neta V เป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ

มิติตัวถัง

Powertrain ขุมพลัง

มอเตอร์ไฟฟ้า Permanent Magnet Synchronous พละกำลัง 95 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 160 นิวตันเมตร ขับเคลื่อนล้อหน้า

แบตเตอรี่ 38.54 kWh

หมายเหตุ : เรื่องการรับประกันแบต SoH(State of Health) ที่เท่าไหร่นั้นทางบริษัทไม่ได้บอกรายละเอียดมาครับ เนื่องจากรถเพิ่งเปิดขายเดือนนี้เดือนแรก ยังไงก่อนซื้อก็ลองถามเรื่องนี้ให้ชัดเจนอีกครั้งนะครับ

ตัวเลข Range ที่เคลมจากโรงงาน

คุณต้น(จาก Neta)ได้เอาตารางเปรียบเทียบอัตราเร่ง 0-120 km/h มาไว้ตรงนี้ให้ดูกันนะครับ

Models
0-100km/h
(วินาที)
80-120km/h
(วินาที)
Toyota Vios 1.5E 5MT(2013)
10.10
8.13
Honda City 1.0 Turbo RS CVT
10.44
7.41
Ford Fiesta 1.0 Ecoboost 6 AT
10.55
8.26
Honda Jazz 1.5s 5MT (2014)
10.56
7.16
Honda Jazz 1.5 SV + (2014)
11.1
8.14
Nissan Almera 1.0 Turbo VL CVT
11.32
8.32
Mazda2 Sedan 1.5 Skyactiv
11.44
8.30
Toyota Vios 1.5S CVT (2016)
11.62
8.45
MG5 1.5 Turbo 6AT
11.65
8.13
Mitsubishi Mirage 1.2 GLX 5MT
11.85
8.85
Honda Brio 1.2 V 5MT
12.23
9.79
Nissan March 1.2E 5MT
12.43
9.73
Suzuki Swift 1.2 GLX CVT
12.96
10.41
Toyota Yaris 1.2 (2020)
14.24
10.56
Nissan Note 1.2 VL
16.34
12.52
Neta V ( 2022 )
10.17
0-124km = 13.7

Charging การชาร์จไฟ

Exterior ภายนอก

Interior ภายในห้องโดยสาร

Entertainment ระบบความบันเทิง

Safety ระบบความปลอดภัย

*รถเข้ามาพร้อมกันวันที่ 24 สิงหาคม 2565 พร้อมส่งทันที

สำหรับ NETA V เวอร์ชั่นไทย สีตัวถังภายนอก จะมีให้เลือกด้วยกัน 5 สี ดังนี้

Neta ไม่ได้ขายรถที่ไทยอย่างเดียว

Neta นั้นเริ่มขายรถยนต์มาตั้งแต่ปี 2020 (เมื่อ 2 ปีที่แล้ว) ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ากราฟยอดขายของ Neta นั้นจะเติบโตขึ้นทุกเดือนครับ โดยมาปี 2022 นี้ Neta ก้าวกระโดดไปไวมากๆ กับยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าของเค้าทั้ง 3 รุ่นได้แก่ Neta V, Neta U, และ Neta S ครับ

เราจะเห็นใน report ด้านบนได้ว่า ยอดขายเดือนกรกฎาคม 2565 นั้นสูงกว่าทุกๆ เดือนซึ่งเนื่องมาจากการส่งมอบรถมายังประเทศไทยเพื่อให้ได้วางจำหน่ายภายในเดือนสิงหาคม 2565 นี้ด้วยนะครับ ด้วยตัวเลขส่งออกด้านบนที่แจ้งมาคือ 1,382 คัน (เชื่อว่าจะเข้าไทยประมาณ 1,300 คันและกระจายไปตั้งโชว์ที่ประเทศอื่นๆ 1-2 คันต่อประเทศครับ)

มองจากยอดขายด้านบนแล้ว เราจะรู้ได้เลยว่า Neta มีประสบการณ์ในการขายรถยนต์ไฟฟ้ามา 2 ปีกว่าๆ แล้วก่อนจะเข้ามาทำตลาดในไทย แถมยังจับมือกับ Arun+ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. ในการซื้อที่สร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของตนเองอีกด้วย ทำให้ผมมองว่า ความแกร่งของแบรนด์นี้ก็ไม่ต่างอะไรจาก SAIC Motor(ค่ายแม่ MG) หรือ GWM(ค่ายแม่ ORA) เลยครับ

ที่มา : PPTV

ในปัจจุบันนั้น Neta Thailand ได้ทำการนำ Neta V รุ่น Entry Level (รุ่นเริ่มต้น) มาขายเพียงเท่านั้น แต่ในอนาคตนั้น Neta Thailand วางแผนที่จะนำ Neta U และ Neta S เข้ามาวางขายภายในปลายปีนี้อีกด้วยครับ ถ้าใครสนใจ Neta U ก็สามารถชมรถตัวอย่างจากช่อง TiY by TiNG ไปก่อนกันเลยนะครับ

ราคาเข้าไทยเริ่มต้นที่ 549,000 บาท*(สะเทือนทั้งวงการ)

ราคา 549,000 บาทนี่คือ ราคารวมส่วนลดจากรัฐบาลนะครับ (ราคาจริงอยู่ที่ 760,000 บาท) โดยตัวรถจะเริ่มส่งมอบภายในวันที่ 24 สิงหาคมนี้(วันนี้)สำหรับคนที่จองเข้ามาก่อน และทยอยส่วนไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2565ครับ

ราคา 549,000 บาทนี้เป็นราคาสำหรับคนจองก่อนวันที่ 30 ธันวาคม 2565 นี้เท่านั้นนะครับ

อ้างอิงข้อมูลจากคุณต้น Neta Thailand นั้น ปัจจุบัน Neta V มียอดจองรวมกันอยู่ที่ 3,000 คันไปแล้วครับ ถ้าสั่งวันนี้ก็คงต้องรอกันไปถึง 30 ธันวาคมเลยเพราะว่า ยอดนำเข้าในปีนี้ค่อนข้างจำกัดนะครับ

อย่างไรก็ตาม ผมเคยได้ราคาคาดการณ์ในสำหรับการจ่าย Finance รถคันนี้มาที่ 570,000 บาทนะครับ(ซึ่งแพงกว่าวันเปิดตัวอยู่ที่ 20,000 บาท) เบื้องต้นนั้นจะต้องทิ้งเงินดาวน์ประมาณ 171,000 บาทในวันรับรถพร้อมกับค่าป้ายแดง 3,000 บาทซึ่งรวมๆ แล้วจะตกประมาณ 174,000 บาท

ความประหยัดคือไพ่ตายรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้

คราวนี้มาถึงการผ่อนรถที่ทุกคนสงสัยกันบ้างนะครับ ลองคิดเล่นๆ ว่า อาทิตย์นึงคุณขับรถยนต์น้ำมันเป็นระยะทาง 600 km (ในเมือง) วันนึงคุณขับรถไม่เกิน 200 km ผมมองว่ารถคันนี้ตอบโจทย์การใช้งานเลย ดังนั้น เดี๋ยวผมจะเอาค่าน้ำมันของรถยนต์น้ำมัน eco car รายสัปดาห์มาทำการคำนวณเล่นๆ ให้ตรงนี้นะครับ

ค่าใช้จ่ายต้นทุนเชื้อเพลิงต่อ 1 km

อันนี้ผมนำรถยนต์น้ำมันใน segment ใกล้เคียงกันมาเปรียบเทียบนะครับ

ความประหยัด
(เรียงจากน้อยไปหามาก)
อัตราความประหยัด
(km/l)
บาท / Km
Gasohol95
( 37.45 Baht )
Neta V ( 2022 ) 100 km/12 kWh 0.45
Mazda2 Sedan 1.5 Skyactiv 22.48 1.66
Nissan Almera 1.0 Turbo VL CVT 21.99 1.7
Honda City 1.0 Turbo RS CVT 19.66 1.9
Suzuki Swift 1.2 GLX CVT 19 1.97
Mitsubishi Mirage 1.2 GLX 5MT 18.85 1.98
Nissan March 1.2E 5MT 18.05 2.07
Ford Fiesta 1.0 Ecoboost 6 AT 17.9 2.09
Toyota Yaris 1.2 (2020) 17.61 2.12
Nissan Note 1.2 VL 17.63 2.12
Toyota Vios 1.5S CVT (2016) 16.43 2.27
Honda Brio 1.2 V 5MT 16.03 2.33
Honda Jazz 1.5 SV + (2014) 15.96 2.34
Honda Jazz 1.5s 5MT (2014) 15.81 2.36
Toyota Vios 1.5E 5MT(2013) 15.48 2.42
MG5 1.5 Turbo 6AT 14.03 2.66

ขับรถ 1 เดือน(ประมาณ 2,400 km)มีค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงเท่าไหร่?

ความประหยัด(เรียงจากน้อยไปหามาก)ขับ 200 kmต่อวัน
(บาท)
ขับ 600 kmต่อสัปดาห์
(บาท)
ขับ 2,400 kmต่อเดือน
(บาท)
Neta V ( 2022 )902701080
Mazda2 Sedan 1.5 Skyactiv3329963984
Nissan Almera 1.0 Turbo VL CVT34010204080
Honda City 1.0 Turbo RS CVT38011404560
Suzuki Swift 1.2 GLX CVT39411824728
Mitsubishi Mirage 1.2 GLX 5MT39611884752
Nissan March 1.2E 5MT41412424968
Ford Fiesta 1.0 Ecoboost 6 AT41812545016
Toyota Yaris 1.2 (2020)42412725088
Nissan Note 1.2 VL42412725088
Toyota Vios 1.5S CVT (2016)45413625448
Honda Brio 1.2 V 5MT46613985592
Honda Jazz 1.5 SV + (2014)46814045616
Honda Jazz 1.5s 5MT (2014)47214165664
Toyota Vios 1.5E 5MT(2013)48414525808
MG5 1.5 Turbo 6AT53215966384

จากตารางด้านบนนี้เราจะเห็นได้เลยว่าถ้าเราขับรถเดือนล่ะ 2,400 km แล้ว ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงของรถยนต์น้ำมันจะตกประมาณ 4,000 – 6,000 บาทเลย ส่วนในรถยนต์ไฟฟ้า Neta V หรือรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป ถ้าชาร์จไฟบ้านก็จะมีค่าใช้จ่ายตกประมาณ 1,000 บาท ถ้าคิดหลวมๆคือชาร์จ DC ลูกเดียวก็ 2,000 บาทต่อเดือนครับ

คราวนี้ส่วนต่างค่าใช้จ่ายรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์น้ำมันจะอยู่ที่…

4,000 บาทต่อเดือน(ในกรณีขับไม่เกิน 2,400 km ถ้าขับเกินก็ถูกลงไปอีก)

ผมขอย้อนกลับไปดูตารางด้านบนหน่อยนะครับ จริงๆ เอาตารางด้านบนมาวางตรงนี้ก็ได้ครับ

เราจะเห็นว่า โปรผ่อนรถ 84 งวดนั้นอยู่ที่ 5,777 บาทหรือเกือบเทียบเท่าส่วนต่างการขับขี่ 2,400 km ต่อเดือนไปแล้วครับ ผมมองว่า ถ้าใครขับรถต่ำกว่า 2,400 km ต่อเดือนแล้วนั้นอาจจะไม่คุ้มค่าที่เปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า Neta V ครับ แต่ถ้าใครขับเดือนล่ะ 4,800 km (ประหยัดกว่าเดิม 2 เท่าหรือเทียบเท่ากับการประหยัดเงินไปอีก 8,000 บาทต่อเดือน) ก็เท่ากับว่า คุณจะมีเงินเหลือจากการเติมน้ำมันเดือนล่ะ 3,000 บาท(คิดแบบหลวมๆ)นะครับ

การคำนวณนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายฝั่งรถยนต์น้ำมัน เช่น น้ำมันเครื่อง, ไส้กรองอากาศ, ไส้กรองน้ำมัน, และอื่นๆ ที่จะมีค่าใช้จ่ายหลวมๆอยู่ที่ 2,000 – 3,000 บาทต่อ 5,000 km ครับ

ประสบการณ์กับความประหยัดของรถยนต์ไฟฟ้า Chevrolet Bolt (Blink Drive)

ผมขับรถยนต์ไฟฟ้า(มือสอง) Chevrolet Bolt ที่อเมริกานั้นราคา $15,697 หรือ 580,000 บาทมา 3 ปีแล้วครับ ขับมาตั้งแต่ปี 2019 โดยผมวางเงินดาวน์ประมาณ 200,000 บาท($6,000) และก็ผ่อนจ่ายเดือนล่ะ $205 (7,585 บาท) ที่มา youtube

ตรงที่ผมรู้สึกว่าเสียเปรียบมาตั้งนานคือ ผมก็จ่ายค่าน้ำมันให้กับรถยนต์น้ำมัน Toyota Prius เดือนล่ะ $250 หรือ 9,250 บาทอยู่ทุกเดือนอยู่แล้ว ซึ่งผมขับรถเดือนล่ะ 3,500 ไมล์(5,600 km) อ้าวแล้วทำไมไม่เอาเงินค่าน้ำมันมาผ่อนรถฟ่ะ(ตอนนั้นเพิ่งคิดได้) เพราะแถวบ้านผมมีที่ชาร์จรถฟรีทั้งหมด 3 แห่งด้วยกัน(ปล. ผมไม่ได้จ่ายค่าน้ำมันหรือค่าชาร์จไฟรถมาประมาณ 3 ปีแล้วครับ จะจ่ายก็ 2-3 ครั้งตอนไป roadtrip เท่านั้นที่ใช้ DC Fastcharge ที่เหลือก็ใช้ไฟฟรีมาโดยตลอดครับ)

หมายเหตุ : ค่า maintenance รถคันนี้มีแค่ค่าเปลี่ยนยางรถเท่านั้นครับ (วิ่งไป 108,893 km แล้วครับ)

รูปภาพ : ไมล์รถ Chevrolet Bolt EV

ดราม่าประเด็นเรื่อง แท่นชาร์จ

เนื่องจากใน internet ตอนนี้มีคนถกเถียงเรื่องประเด็นแท่นชาร์จมูลค่า 49,000 บาทที่​ Neta ตั้งใจจะแถมให้ทุกคนฟรีๆ นะครับ มีหลายคนมาบอกในเพจผมว่า เค้าไม่แถมแท่นชาร์จรถแล้วนะ

ผมลองเชคข้อมูลกับพนักงานฝ่ายขายของบริษัท Neta ดูแล้วได้ข้อมูลสรุปดังนี้ครับ

  1. แท่นชาร์จที่แถมฟรีพร้อมติดตั้งจะเป็นแท่นชาร์จขนาด 7 kW (ใช้ไฟ 1 เฟส) มูลค่า 49,000 บาท
  2. ตั้งวางเงินมัดจำ 40,000 บาทตอนจองถึงจะได้สิทธิ์แถมแท่นชาร์จ
  3. ต้องทำการจองรถพร้อมวางเงินมัดจำตามจำนวนด้านบนก่อนวันส่งมอบ(24 สิงหาคมนี้)
ทำไมถึงไม่ติดตั้งและแถมให้กับคนที่วางเงินจอง 5,000 บาทเลย?

ทางฝ่ายขายของ Neta แจ้งว่า “มีเคสที่จีนที่ว่า ทางเราไปติดตั้งเครื่องชาร์จให้ที่บ้านลูกค้า แล้วถึงวันรับรถแล้วลูกค้าเปลี่ยนใจปฎิเสธการรับรถ แต่เครื่องชาร์จติดตั้งไปแล้วมันมีค่าใช้จ่ายครับ”

กลายเป็นว่า Neta ต้องมาจ่ายชดเชยค่าติดตั้งแทนลูกค้าทั้งหมดเลย แถมต้องจ้างช่างอีกชุดไปรื้อชุดชาร์จไฟด้วยครับ ทำให้เค้าต้องออกเงื่อนไขการติดตั้งแท่นชาร์จฟรีว่า ต้องวางเงินมัดจำ 40,000 บาท ถ้าเปลี่ยนใจไม่เอารถ อย่างน้อย ทาง Neta ก็จะได้นำเงินส่วนนั้นมาจ่ายให้ชุดทีมช่างที่ไปรื้อการติดตั้งโดยไม่เข้าเนื้อนะครับ

อันนี้ผมมองว่าแฟร์กันทั้งสองฝ่ายนะ เพราะเงิน 40,000 บาทนี้จะรวมเป็นเงินต้นสำหรับการดาวน์รถไปด้วยเลย เช่น ถ้าเงินดาวน์อยู่ที่ 170,000 บาท ณ​วันที่รับรถ คนที่จ่ายเงิน 40,000 บาทไปแล้วก็จ่ายเพิ่มอีก 130,000 บาทเพื่อนำรถออกมาได้เลยครับ แต่ถ้าเปลี่ยนใจไม่รับรถ ก็ขาดทุน 40,000 บาทนั้นทันทีครับ

V2L หมัดเด็ดของรถคันนี้

V2L ย่อมาจาก Vehicle to Load แปลเป็นภาษาชาวบ้านคือการนำไฟจากรถออกมาใช้โดยการต่อปลั๊กต่อตรงเข้า port ชาร์จแบบนี้ครับ

สเปค V2L ของ Neta V นั้นสามารถจ่ายไฟมากสุดที่ 3,300 watt และจะตัดทุก 2 ชั่วโมง ซึ่งเพียงพอต่อการนำไฟมาใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ไมโครเวฟ(บางรุ่นที่กินไฟต่ำกว่า 3,000 วัตต์), กาต้มน้ำ, ชาร์จ Notebook, จ่ายไฟเข้าบ้านยามไฟดับให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้าน เช่น หลอดไฟ, router, wifi, หรือแม้กระทั่งเครื่องทำอ๊อกซิเจนตู้ปลา

ประสบการณ์ส่วนตัว บ้านผมเคยไฟดับช่วงหน้าหนาว(หนาวติดลบที่ 20 องศาเซลเซียส)ที่อเมริกามาแล้ว grid(การไฟฟ้าหลวง)ของ Texas ไม่แข็งแกร่งกับความหนาวเลยทำให้ไฟดับเกือบครึ่งเมือง

ตอนนั้นผมรู้สึกเลยว่า power bank 1-2 kWh ก็โคตรมีความหมายกับผมมากๆ ในตอนนั้นเพราะเอามาใช้ต่อชีวิตปลาในตู้ได้ดีเลยครับ

ส่วนในไทยนั้น ถ้าบ้านไหนมีคนแก่อยู่ในบ้านแล้วต้องใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อดูแลคนป่วย เช่น ตู้ให้อ๊อกซิเจน, พัดลม, หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ผมมองว่าการลงทุน 570,000 บาทเพื่อให้ได้ power bank ขนาด 38 kWh มาติดบ้าน(แถมเอาไปวิ่งซื้อของใกล้ๆ แถวบ้านได้ด้วย) เป็นอะไรที่ตอบโจทย์มากๆ ครับ หรือบ้านใครทำ server ในบริษัทของตนเองแบบย่อมๆ แล้วแบบว่า ไฟดับ 1 ชั่วโมง down time ระดับนี้ users เกรี้ยวกราดกันแบบฆ่ากันตายได้เลย การได้ power bank ติดล้อแบบนี้ไปไว้ในบ้านก็เป็นเรื่องที่ดีและอุ่นใจขึ้นเยอะครับ เอาจริงๆ ประสบการณ์ส่วนตัวของผมที่ทำงานสายไอทีมา ไฟดับ 2 ชั่วโมงนั้นบริษัทเสียหายไปหลายแสนบาทกับพนักงาน 50-100 ชีวิตที่ไม่สามารถทำงานเพื่อทำการซื้อ-ขายหรือเก็บ stock ภายในโรงงานหรือบริษัทตรงนั้นได้เลยครับ(ปล. บริษัทผมไม่ได้เอางานไว้ที่ cloud server ทั้งหมดนะครับ) ดังนั้นการมี Back up power ก็เป็นเรื่องจำเป็นและผมรู้สึกว่า ถ้าจะซื้อ Back up power ทั้งทีก็น่าจะเริ่มมองหารถยนต์ไฟฟ้าที่ทำ V2L แบบนี้บ้างแล้วล่ะครับ

ในไทยตอนนี้มีรถเพียง 3 รุ่นเท่านั้นที่ทำ V2L ได้ก็คือ Mitsubishi Outlander PHEV(เป็นรถยนต์น้ำมัน Plug-in Hybrid), MG ZS EV (ตัวใหม่) และ Neta V รุ่นนี้นะครับ

ส่วนในต่างประเทศนั้นก็เริ่มมีรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถทำ V2L กันได้แล้ว เช่น

BLINK DRIVE TAKE

factor (ปัจจัย)ใหญ่ในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้านั้นจะมีทั้งหมด 3 อย่างด้วยกันหลัก ๆ คือ
  1. มอเตอร์ไฟฟ้า – ความแรงหรือพละกำลังในการใช้งานในชีวิตประจำวัน
  2. แบตเตอรี่ – ความจุแบตเตอรี่
  3. เทคโนโลยี – ไม่ว่าจะเป็นระบบนำทาง, กล้องมองรอบคัน, เซนเซอร์ต่างๆ ในการกะวัดระยะ, และระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ เป็นต้น

ส่วนเรื่องช่วงล่างย้อย, ความนุ่มของเบาะ, การเข้าโค้งได้ดีนั้น ผมมองว่า มันสามารถเอามาปรับแต่งภายหลังจากที่นำรถออกมาจากศูนย์นะครับ เพราะของพวกนี้มันแล้วแต่ taste ของแต่ล่ะคนและ Budget ในการซื้อรถของแต่ล่ะคนด้วยครับ เราคงไม่เอาช่วงล่าง Porsche Taycan มาเทียบกับรถ Tesla Model 3 ใช่ไหมครับ ? เพราะราคาตัวรถมันก็คนล่ะระดับอยุ่แล้ว แต่สิ่งที่ควรจะเปรียบเทียบในช่วง price range(ช่วงราคานั้นๆ ) ก็คือ 3 ปัจจัยที่ผมพูดมานะครับ

อย่างรถ Neta V คันล่ะ 570,000 บาท(ราคาคาดการณ์จากใน internet)นั้นถือว่าให้ค่อนข้างพอตัวในปัจจัยทั้งหมด 3 อย่างนี้ครับ แต่ก็มีบางส่วนที่คนที่กำลังเข้ามาอ่านโพสต้องรู้เอาไว้แหละครับ ผมขอแจกแจงเป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ

แบตเตอรี่ 38 kWh ในราคา 570,000 บาท

ถือว่า Neta นั้นใจปล้ำเรื่องแบตเป็นอย่างมากที่ให้แบตเตอรี่ขนาด 38 kWh มาให้รถยนต์ไฟฟ้า Neta V ซึ่งขนาดของแบตคันนี้เกือบจะเท่ากับแบตเตอรี่ของ Nissan Leaf (40 kWh – คันล่ะ 1.99 ล้านบาท)ไปแล้วครับ แต่แบตคันนี้ดีกว่า Nissan Leaf ตรงที่มี Liquid Cooling หรือระบบระบายความร้อนแบบน้ำมาให้นะครับ ทำให้แบตรถได้เปรียบกว่าในการ longevity(ความทนทาน)ในการใช้งาน

แต่ไม่ใช่ว่าคันนี้จะไม่มีข้อเสียเสียทีเดียวนะครับ ข้อเสียของรถคันนี้ที่คุณต้องทำใจรับให้ได้ก่อนซื้อคือ…

มอเตอร์ไฟฟ้า 95 แรงม้า

โดยมอเตอร์ไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้า Neta V คันนี้จะอยู่รุ่น entry level มีพละกำลัง 95 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 160 นิวตันเมตร ถ้าคิดจะซื้อคันนี้ไปขึ้นดอยแบบ ORA Good Cat นั้นก็ลืมไปเลยครับ เพราะรถคันนี้เป็นรถใช้งานในเมืองเน้นวิ่งทางราบสบายๆครับ แรงบิด 160 นิวตันเมตรนั้นขึ้นทางชันแบบในที่จอดรถในห้างได้สบายๆ แต่จะให้วิ่งทางด่วนซัดกับรถน้ำมัน 120 km/h ขึ้นไปคงยากครับ เนื่องจาก Top Speed ของรถคันนี้ถูกล๊อคมาที่ 120 km/h เท่านั้นครับ ซึ่งถ้ามองกับเรื่องการใช้งานในเมืองนั้นถือว่าเกินพอครับ โดย Range ที่ได้มานั้นก็สามารถวิ่งได้ 250 km ต่อการชาร์จ 1 ครั้งได้สบายๆ

อีกเรื่องที่จะพูดคือเรื่อง…

เทคโนโลยี

สิ่งที่ผมชอบจากรถคันนี้คือ ช่องเชื่อมต่อ USB สำหรับกล้องติดหน้ารถที่กระจกมองหลังที่คิดมาเผื่อให้คนที่วางแผนติดกล้องหน้ารถทันทีเลยครับ ส่วนเรื่องเทคโนโลยีภายในรถเช่น Android Auto หรือ Apple Car นั้น ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้เต็มที่นะครับ จะเห็นได้ว่า ตัวรถจะทำได้เพียง mirror ภาพจาก iPhone เข้าไปยังจอครับ อันนี้ต้องรอ software update ตัวถัดไปเพื่อดูความก้าวหน้าของเทคโนโลยีครับ

ภาพจาก TechHangout AUTO

ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณต้น Neta Thailand

ท้ายที่สุดนี้ ผมขอขอบคุณคุณธนัท(Tony)ซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายขายในบริษัท Neta Thailand ที่มาให้ข้อมูลต่างๆ ในโพสนี้ด้วยนะครับ

โพสนี้จะไม่มีข้อมูลอัดแน่นอย่างนี้เลยถ้าไม่ได้คนวงในมาให้ข้อมูลลึกๆ แบบนี้ครับ

ยังไงก็ไปติดตามหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Neta V คันนี้ได้ที่ NETA Rama2 by Tony

LINE LINK (Click ตรงนี้) [📲 Line id : 0807942651]

หมายเหตุ : โพสนี้ Blink Drive เขียนให้ด้วยใจครับ อยากให้ทุกคนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันเยอะ และ Neta V ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าลองใช้ครับ

ไปลองแล้ว ชอบไม่ชอบยังไง, ดีไม่ดียังไง, มาแชร์ประสบการณ์ใน Blink Drive Facebook กันนะครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Exit mobile version