Site icon Blink Drive

Tesla เรียกคืนรถ Model X จำนวน “1 คัน” จากลูกค้า หลังส่งมอบรถไร้ตัวยึดเบาะหลัง

Tesla เรียกรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model X 2022 กลับมาที่โรงงาน Tesla เนื่องจากทางโรงงาน Tesla ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model X รุ่น Pre-production ให้ลูกค้าซึ่งรุ่นนั้นเป็นรุ่นที่ยังไม่ถูกพัฒนาให้ได้มาตราฐานความปลอดภัยตามที่ NHTSA (องค์กรบริหารความปลอดภัยบนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา)

สาเหตุหลักคือ รุ่น pre-production คือรุ่นที่ไม่มี Bracket(ตัวยึด)ระหว่างโครงรถกับเบาะหลังรถ เนื่องจากเป็นรุ่นทดสอบผลิตการขายจริงนะครับ

เดี๋ยวผมจะเล่ารายละเอียดแบบเจาะลึกให้อ่านในโพสนี้นะครับ เพราะมีสมาชิกเพจส่งโพสแปลไทยจากที่อื่นมาซึ่งข้อมูลค่อนข้างออกทะเลไปไกลมากครับ ผมมองว่าต้องเขียนโพสนี้ขึ้นมาใหม่เลย

ปล. ผมเพียงอยากจะสร้างฐานข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ชาวไทยนะครับ

เอกสารรถหลุด QC จาก Tesla

อย่างไรก็ตาม Tesla ได้นำเอกสาร Tesla Chronology ออกชี้แจง Timeline(ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลา) ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model X คันนี้ ดังนี้ว่า

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 : มีรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model X แบบ 5 ที่นั่งจำนวน 1 คันหลุด QC ซึ่งการออกแบบรถคันนี้เป็นแบบ pre-production car ส่วนที่ defect(ผิดมาตราฐาน)จากรุ่น Production คือไม่มี bracket (ตัวยึด)ระหว่างตัวถังกับที่นั่งแถวสองของรถเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของห้องโดยสาร

วันที่ 3 มีนาคม 2565 : ก่อนจะมี schedule(ตาราง)ในการส่งมอบรถนั้น current-design(รถรุ่นที่ออกแบบปัจจุบัน)หรือรุ่น pre-production นั้นสอบตกมาตรฐานในการรับน้ำหนักตามข้อกำหนด FMVSS 207 และ FMVSS 210 อ้างอิงจากการหารถรุ่นดังกล่าวแล้ว Tesla ได้ทำการหยิบรถเหล่านั้นออกจากไลน์การส่งมอบและนำรถเหล่านั้นมาจัดเก็บเอาไว้เพื่อกันรถเหล่านั้นไม่ให้ออกจากโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ณ Fremont

หมายเหตุ : ข้อกำหนดการรับน้ำหนักของ FMVSS 207 และ FMVSS 210 การทดสอบเก้าอี้ผู้โดยสารโดยมีการทดสอบตามจุดต่างๆ ดังนี้

ซึ่ง Tesla Model X ดังกล่าวนั้นสอบตกเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นรุ่น Pre-production ทำให้เก้าอี้นั่งแถว 2 ของ Tesla Model X คันดังกล่าวสอบตกมาตราฐานตัวนี้ครับ

วันที่ 4 มีนาคม 2565 : Tesla ได้เพิ่มการทดสอบเกี่ยวกับ Body reinforcement (ความแข็งแรงของตัวถัง) และพบว่ารุ่น Pre-production ที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับมาตรฐานในการรับน้ำหนักตามข้อกำหนด FMVSS 207 และ FMVSS 210 นั้นได้รับการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทาง Tesla ได้สร้าง Bracket (ตัวยึด) เพิ่มขึ้นมา

วันที่ 10 มีนาคม 2565 : หลังจากที่มีการอัพเดทการออกแบบใหม่ครั้งนี้ให้ผ่านมาตราฐานของ NHTSA แล้ว ทาง Tesla ก็นำการออกแบบตัวนี้ใส่เข้าไปในพิมพ์เขียวหลักในการออกแบบรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model X รุ่นใหม่ซึ่งส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ Bracket (ตัวยึด)ที่นั่งของแถวสองให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

วันที่ 21 มีนาคม 2565 : เนื่องจากงานที่ล้นมือของเจ้าหน้าที่ส่งมอบรถในโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla นั้นทำให้มีรถ pre-production คันนึงหลุด QC ออกจากโรงงานไปจนถึงมือลูกค้า

วันที่ 21-31 มีนาคม 2565 : รถคันดังกล่าวก็ถูกจัดส่งตามลำดับขั้นตอนต่างๆ ของ Tesla จนมีรายงานเข้ามาในระบบว่า ลูกค้าได้รับรถในวันที่ 31 มีนาคม 2565

วันที่ 6 เมษายน 2565 : ทางทีม Audit(ตรวจสอบ)ได้เข้ามาตรวจเชคข้อมูลบันทึกย้อนหลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla รุ่นต่างๆ แล้วปรากฏว่า พบเจอใน record(รายงาน)ว่ามีรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model X รุ่น pre-production หรือรุ่นทดสอบผลิตถูกส่งให้ลูกค้า

วันที่ 7 เมษายน 2565 : ทีมงานฝ่ายขายของ Tesla พยายามติดต่อลูกค้าคนดังกล่าวเพื่อขอให้เค้านำรถกลับมาที่โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla อย่างไรก็ตามปัญหานี้ดังไปถึงหูผู้บริหารสูงสุดแผนก Production ของ Tesla ทันที

วันที่ 9 เมษายน 2565 : อย่างไรก็ตามปัญหานี้ได้ถูกแชร์เป็นวงกว้างในบริษัทรวมไปถึงแผนกวิศกรการออกแบบรถคันดังกล่าวและทีมงาน Homologation (รับรองมาตราฐานการผลิตรถ) ซึ่งเป็นแผนกที่ดูแลเรื่องการตรวจสอบบันทึกผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในโรงงาน Tesla Fremont แห่งนี้ เพื่อตามหา root cause (ต้นเหตุ)ที่ทำให้รถรุ่นนี้หลุดออกจากโรงงาน(ไปได้ไงฟ่ะ?) ส่วนปัญหาหลักในเคสนี้ก็อย่างที่ทราบกันคือรถรุ่นนี้ไม่ผ่านการทดสอบกำหนดการรับน้ำหนักของ FMVSS 207 และ FMVSS 210 การทดสอบเก้าอี้ผู้โดยสาร

วันที่ 11 เมษายน 2565 : Tesla ได้ปิดเคสนี้ได้เสร็จสิ้นโดยเค้าสามารถติดต่อลูกค้าคนนั้นได้สำเร็จและทำการ recall สำเร็จ(เปลี่ยนรถคันใหม่ให้เลย)

ที่มา : NHTSA

จากที่รายงานทั้งหมดจาก NHTSA นั้นจะเห็นได้ว่า รถยนต์ Pre-production หรือรุ่นก่อนผลิตจริงนั้นถูกตรึงเอาไว้ในโรงงานเกือบทั้งหมด แต่กลายเป็นว่าวันส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model X ล๊อตนี้กลับมีรถ pre-production หลุดเข้าไปถึงมือลูกค้าซะงั้น

นี่เป็นความสับเพร่าของแผนก sale(ฝ่ายขาย)ของโรงงาน Tesla Fremont ที่ปล่อยรถ Tesla Model X รุ่น Pre-production (รุ่นก่อนผลิตจริง)หลุดไปไกลได้ขนาดนี้ ผมมองว่า เคสนี้น่าจะจบ(ภายใน)โรงงาน Tesla โดยต้องมีใครซักคนออกมารับผิดชอบ(อาจจะเป็นลดเงินเดือนหรือไล่ออกไปเลยนะครับ)

ส่วนนี่คือ รายงานของ NHTSA แบบ official(ทางการ)

BLINK DRIVE TAKE

เรื่องแรกที่ผมอยากจะทำความเข้าใจผู้อ่านทุกท่านคือ ที่ผมสละเวลามาโฟกัสนั่งแปลบทความนี้แบบตัวหนังสือต่อตัวหนังสือก็เพราะผมได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมาจากสมาชิกเพจที่เข้ามาสอบถามผม แถมว่าบอกว่ามีบางเพจนำข้อมูลจาก NHTSA ไปแปลแบบออกทะเลไปไกลมากครับประมาณว่า Tesla ลืมใส่คานเหล็กมาบ้าง หรือ NHTSA สั่งให้ Tesla ชดใช้ลูกค้าบ้าง

ข้อมูลที่ถูกต้อง คือ Tesla เจอปัญหาเอง –> แจ้ง NHTSA เอง –> เรียกลูกค้ากลับมาเปลี่ยนรถเอง –> เปลี่ยนรถคันใหม่ให้ลูกค้าทันทีเอง

เอาจริงๆ นะครับคำว่า

BRACKET แปลว่า ตัวยึด

ซึ่งหน้าตาตัวยึดระหว่างเบาะที่นั่งกับตัวถังมันจะคล้ายๆ แบบนี้ครับ

ขนาดยาวไม่เกิน 50 cm ครับ

ส่วนคำว่าคานเหล็กนั้นหน้าตาจะเป็นแบบนี้ครับ

ความยาวประมาณ 2.2 เมตร

ผมเข้าไปอ่านข้อความในต้นโพสที่แชร์มาให้ผมแล้ว ปรากฏว่า ไม่มี citation ซะด้วย ถ้าเป็นที่อเมริกานั้น บริษัทสื่อบริษัทนี้โดนฟ้องจาก Tesla แน่นอนครับ ข้อหาปล่อยข่าวเท็จโดยไม่มีที่มา (Misleading information)

จริงๆ แล้ว ถ้าแนบข้อมุลจาก NHTSA มาหน่อยเพื่อให้คนอื่นได้ตรวจสอบได้ก็จะเป็นการดีอย่างมากครับ

จุดประสงค์ของ Blink Drive มีแค่อย่างเดียวในสังคมรถยนต์ไฟฟ้าครับ ผมอยากสร้างฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงไปตรงมาและรวดเร็ว เพื่อให้คนไทยเข้าถึงข้อมูลได้ทันชาวต่างประเทศครับ

ผมอยากทำลายกำแพงภาษาที่กั้นข้อมูลระหว่างคนไทยกับข่าวสารเทคโนโลยีจากต่างประเทศเท่านั้นเอง

ผมขอบคุณสื่อต่างๆ ที่เข้ามาทำข่าวรถยนต์ไฟฟ้ากันมากยิ่งขึ้นนะครับ ทั้งข่าวดีและไม่ดีเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้านั้นผมเห็นด้วยทั้งสิ้น(ถ้ามันเป็นข้อมูลจริง)

แต่ผมไม่ขอยอมรับสื่อที่ออกมาเขียนข่าวแบบไม่มีที่มาของข่าว(Citation) และพยายามบิดข้อมูลต้นทางแบบนี้ครับ

ผมมองว่า มันเป็นการทำร้ายคนไทยทางอ้อมเพื่อไม่ให้คนไทยได้รู้ถึงข้อมูลจริงๆ จากต่างประเทศครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Exit mobile version