อ้างอิงข้อมูลจาก Insideevs นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของโลกเลยที่คนขับรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ได้รับความผิดทางอาญาจากการขับขี่รถยนต์ Tesla บนท้องถนนนะครับ เดี๋ยว Blink Drive จะเล่าเรื่องราวให้ฟังว่าเป็นยังไงกันนะครับ
เรื่องมันเป็นยังไง?
เหตุการณ์เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม ปี 2019 นะครับ แต่คดีเพิ่งมาสรุปเสร็จเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาครับ
เรื่องมีอยู่ว่า คุณ Kevin George Aziz Riad อายุ 27 ปีซึ่งเป็นคนขับ Tesla Model S คันนี้ขับด้วยความประมาทโดยการเปิดระบบ autopilot ซึ่งเป็นระบบช่วยการขับขี่ไม่ใช่ขับให้เราเหมือน FSD(Full Self-Driving) นะครับ จากนั้นก็ปล่อยรถขับไปเรื่อยๆ จนมาถึงที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสี่แยกไฟแดงครับ โดย Honda Civic นั้นขับมาปกติแต่รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S คันนี้ก็ขับทะลุไฟแดงไปจนประสานงากับ Honda Civic ครับ
คนขับ Tesla Model S ที่ขับมานั้นไม่บาดเจ็บหนักแต่อย่างใดครับ
ส่วนรถ Honda Civic คู่กรณีนั้นยับเลยครับ คุณ Gilberto Alcazar Lopez (คนขับ) อายุ 40 ปี และ คุณ Maria Guadalupe Nieves-Lopez(คนนั่งข้าง)อายุ 39 ปีเสียชีวิตทันที ณ ที่เกิดเหตุ ถือว่านี่เป็นการชนประสานงาที่มีความเสียหายมากที่สุดของอุบัติเหตุที่เกิดจากรถยนต์ไฟฟ้า Tesla เลยครับ
อ้างอิงข้อมูลจาก The Washington Post
“The defendant appears to be the first person to be charged with a felony in the United States for a fatal crash involving a motorist who was using a partially automated driving system.”
[แปล]จำเลยในคดีนี้ถือว่าเป็นผู้ต้องหาคนแรกของอเมริกาที่ต้องคดีทางอาญาจากอุบัติเหตุรถยนต์ที่มาจากการใช้งานระบบช่วยขับกึ่งอัตโนมัติ( partially automated driving system)
The Washington Post
เรื่องที่น่าสนใจในเรื่องนี้มีอยู่ว่า NHTSA( National Highway Traffic Safety Administration ) หรือกองบริหารความปลอดภัยในจราจรบนทางหลวงแห่งชาติของอเมริกายืนยันว่า คุณ Kevin ซึ่งเป็นคนขับ Tesla Model S คันนี้เปิด Autopilot ระหว่างขับจนไปถึงจุดเกิดเหตุ แต่ปรากฏว่าอัยการไม่กล่าวถึง Autopilot ในคดีนี้เลย เพราะว่าทางศาลมองว่านี่เป็นความรับผิดชอบของคนขับทั้งหมดระหว่างที่อยู่บนรถยนต์ไฟฟ้า Tesla นะครับ
Tesla Autopilot คืออะไร?
Tesla ได้แจ้งในหนังสือคู่มือเอาไว้ตั้งแต่ก่อนรับรถแล้วว่า “ระบบ Autopilot นี้จะทำงานเพียง 3 อย่างเท่านั้น คือ ประคองรถอยู่ในเลน(autosteer) และประคองความเร็วในอยู่ใน limit ที่เราตั้งเอาไว้(Cruise Control และรักษาระยะห่างจากคันข้างหน้า(following distance) เท่านั้นครับ”
ที่มา : Tesla
แต่มีผู้ใช้งานบางท่านพยายามลดความเหนื่อยล้าในการขับขี่และก็พยายามให้รถขับให้เยอะที่สุดเท่าที่ทำได้หรือแปลอีกความหมายนึงคือ “ประมาท” ครับ
ส่วนข้างล่างนี้คือวิดีโอการคู่มือการใช้งาน Tesla Autopilot ซึ่งมันจะอยู่ในรถและคนขับรถจำเป็นต้องเปิดดูในวันแรกที่รับรถนะครับ
จริงๆ แล้วถ้าเคสนี้คนขับใช้งาน Tesla FSD แล้วล่ะก็ อาจจะลดการเกิดอุบัติเหตุได้บ้างแหละครับ ยังไงผมเอาคลิปรีวิว Tesla FSD มาให้ดูตรงด้านล่างนี้นะครับ
BLINK DRIVE TAKE
ตอนนี้เหมือนกับว่า NHTSA พยายามโยงให้คดีนี้เป็นความผิดของ Tesla Autopilot ซึ่งผิดสังเกตุอย่างมากเนื่องจาก Tesla ได้เขียนวิธีการใช้งานอย่างชัดเจนทั้งในเว็บและคู่มือของรถตนเอง ส่วนทางศาลนั้นพยายามทำให้รูปการณ์ของคดีไปเป็นตามความยุติธรรมคือคนขับรถยนต์ไม่ว่ารถคันนั้นจะมีระบบกึ่งอัตโนมัติหรือไม่มีก็ตามนั้น คนขับต้องเป็นคนรับผิดชอบทั้งหมด (ยกเว้นรถคันนั้นถูกออกแบบมาไม่ให้มีพวงมาลัยตั้งแต่แรก อันนั้นถึงจะเป็นความผิดของผู้ผลิตเพราะคนขับไม่สามารถใช้อุปกรณ์(พวงมาลัย)ในการควบคุมรถได้ครับ)
จริงๆ ก่อนหน้านี้ NHTSA ก็เคยพยายามออกมาสอบสวน กรณีปล่อยให้ผู้ขับสามารถเล่นเกมขณะรถวิ่งได้ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
Tesla ก็ตอกกลับทันทีโดยการปล่อย update มาภายใน 3 วันถัดมา
จริงๆ แล้ว ถ้าเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นต้อง recall รถกลับมาเพื่อทำการ update software แต่กลับกลายเป็นว่า Tesla เปลี่ยน firmware update ภายใน 3 วันจากนั้นทันทีครับ
เราต้องมาดูกันว่าเคสนี้ Tesla จะออกมาตราการอะไรมาให้คนขับได้ระมัดระวังเพิ่มเติมระหว่างใช้งาน Autopilot กันอีกนะครับ เท่าที่ผมทราบมาก็คือ ทุกครั้งที่มีการเกิดอุบัติเหตุจาก Autopilot หรือการใช้งาน Tesla นั้น อีกไม่กี่วันถัดมา Tesla จะปล่อย firmware update ให้ Autopilot ฉลาดขึ้นหรือมีกติกาในการใช้งานที่ยากขึ้นไปอีกครับ เช่น ต้องสัมผัสพวงมาลัยทุก 4-5 วินาที(ซึ่งตอนปี 2018 ผมจำได้ว่า ไม่มีฟีเจอร์แบบนี้เลย เรียกได้ว่าปล่อยพวงมาลัย 2-3 นาทีก็ไม่โดนแจ้งเตือนครับ)