Site icon Blink Drive

CATL เปิดตัวแบตฯ เกลือ(Sodium-ion)เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแร่ลิเธียมในอนาคต

CATL [ Contemporary Amperex Technology Co., Ltd. ] ได้ทำการเปิดตัวแบตเตอรี่รุ่นใหม่ในงาน “Tech Zone” ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา โดย Dr. Robin Zeng ผู้ก่อตั้งบริษัท CATL ได้ออกมาเปิดตัวแบตเตอรี่รุ่นแรกที่ทำจากเกลือ(Sodium) ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่หาได้ตามทั่วไปในตลาด พร้อมกับเปิดตัว AB Battery pack solution ซึ่งก็คือการผสมผสานระหว่างแบตเตอรี่เกลือ(Sodium-ion)กับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพื่อให้ได้ค่า Energy Density (การกักเก็บพลังงานต่อพื้นที่)ได้มากยิ่งขึ้น

แบตเกลือ(โซเดียม)คืออะไร?

แบตเตอรี่เกลือหรือ Sodium-ion นั้นไม่มีสารประกอบราคาแพงอย่าง ลิเธียม, โคบอล์ทหรือนิกเกอร์ ซึ่งสสารทั้งสามตัวนี้เป็นสสารสำคัญและมีราคาแพงที่ใช้ในการผลิตแบตที่เป็นที่นิยมบนท้องตลาดทั้งสามชนิดซึ่งได้แก่

  1. นิกเกอร์ โคบอล์ท อลูมิเนียม nickel-cobalt-aluminium (NCA)
  2. นิกเกอร์ โคบอล์ท แมกนิเซียม nickel-cobalt-manganese (NCM)
  3. ลิเธียม ไอรอน ฟอสเฟรส lithium iron phosphate (LFP)

ข้อดีของแบตเกลือนั้นคือ

  1. ชาร์จเร็ว – แบตเกลือนี้สามารถชาร์จเต็ม 80 % SoC ภายใน 15 นาที(ในอุณหภูมิห้องปกติ)
  2. ถึกทน – แบตเกลือสามารถอยู่ภายใต้อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียสพร้อมกับ retention รักษา SoC ของแบตได้มากถึง 90 % ในสภาพอากาศติดลบแบบนั้น แถมตัวแบตสามารถทนความเร็วได้มากกว่ามาตราฐานแบตทั่วไปในท้องตลาด
  3. ใช้งานได้เท่ากับ LFP – แบต sodium นั้นมี life cycle ที่เท่ากับ LFP (ลิเธียม ไอรอน ฟอสเฟรส)
  4. ราคาถูก – เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการผลิตนั้นคือ sodium หรือเกลือซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีมากเป็นอันดับหกของโลก ถ้าเอามาใช้ในการผลิตรถได้จริง ผู้ผลิตจะสามารถกดราคาต้นทุนรถยนต์ไฟฟ้าลงได้มากกว่าเดิมถึง 2.5 เท่าครับ

ข้อเสียของแบตเกลือ คือ

  1. Energy Density ต่ำกว่าแบตทั่วไป – แบตเกลือนั้นมี Energy Density เพียง 160 Wh/kg ในขณะที่แบต LFP ของ CATL ที่ผลิตให้กับ Tesla Model 3 นั้นสามารถให้ Energy Density ได้มากถึง 200 Wh/kg ส่วน Tesla Model 3 รุ่น Long Range ที่ใช้แบต NMC นั้นมี Energy Density อยู่ที่ 260 Wh/kg ดังนั้นแบตเกลือของ CATL แพ๊คนี้ยังต้องนำมาพัฒนาอีกหน่อยเพื่อให้สามารถเก็บไฟได้เท่าลิเธียม อย่างไรก็ตาม CATL บอกว่า แบตเกลือที่จะวางขายในปี 2023 นั้นจะมี Energy Density อยู่ที่ 200 Wh/kg

ทำไม CATL ถึงหันมาพัฒนาแบตฯ เกลือ?

อ้างอิงข้อมูลจากS&P Global Platts และ รอยเตอร์ ราคา lithium spodumene นั้นกระโดดขึ้น 3 เท่าในปีนี้(2021) เพราะโลกเรามีความต้องการรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นแบบทวีคูณ

CATL จึงพยายามฉีกแนวทางการพัฒนาและผลิตแบตให้ออกจากกฎเกณฑ์เดิมๆ ที่เคยทำมาก็เพราะว่า CATL เล็งเห็นว่าตอนนี้ค่ายรถยนต์ต่างๆ หันแห่มาสร้างรถยนต์ไฟฟ้ากันทุกค่าย ดังนั้นถ้าตัวเองไม่เริ่มที่จะพัฒนาหาแร่อื่นมาทดแทนแร่ลิเธียมแล้วล่ะก็ ภายในปี 2023 นี้ CATL อาจจะไม่มีวัตถุดิบเหลือให้ผลิตแบตเตอรี่ให้กับบริษัทรถยนต์ต่างๆ เป็นแน่แท้ครับ

AB battery system รวมแบตเกลือกับลิเธียมเข้าด้วยกัน

AB battery system solution คือการผสมผสานแบตเกลือ(sodium-ion) เข้ากับแบตลิเธียม(lithium-ion) ในสัดส่วนที่พอเหมาะให้เกิดเป็นแบตลูกหใม่ขึ้นมา โดยทาง CATL จะสร้าง BMS(Battery Management System หรือแผงวงจรควบคุมแบต)ให้สามารถใช้งานแบตทั้งสองประเภทภายในระยะเวลาเดียวกัน

ข้อดีของการใช้งานแบตแบบ AB battery system solution นั้นคือจะได้ Energy density ที่สูงเกือบเท่าแบตลิเธียม แต่จะได้เรื่องความถึกทนต่อสภาพอากาศหนาวจัด/ร้อนจัด พร้อมกับการชาร์จไฟด้วยกระแสไฟแรงสูงอีกด้วย

ที่มา : CATL

BLINK DRIVE TAKE

เหมือนสมาชิกเพจจะส่งกระทู้นี้มาให้แปลเมื่ออาทิตย์ที่แล้วนะครับ

ยังไงก็ขออภัยที่แปลช้าไปนิดนึงนะครับ ผมมีงาน youtube เข้ามาพัวพันเยอะหน่อยนะครับช่วงนี้เลยหลงลืมที่จะแปลบทความบทนี้ลงไปใน Blink Drive ครับ

ยังไงก็อย่าลืมกด subscribe youtube channel ผมเพื่อเป็นกำลังใจให้ผมสร้างสรรค์ผลงานเขียนและงานวิดีโอดีๆ แบบนี้ออกมาอีกนะครับ อิๆ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Exit mobile version