Blink Blink
TeslaUSA

[Loki]เครื่องมือที่ช่างซ่อมรถ Tesla ควรมี

สวัสดีครับ วันนี้ Blink Drive จะพามาดูหลังบ้านของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla นั่นก็คือส่วนของการซ่อมบำรุงนะครับ อย่างที่พวกเราทราบกันดีคือ Tesla นั้นไม่มีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในไทย ดังนั้น รถยนต์ไฟฟ้า Tesla ทุกคันที่วิ่งบนถนนไทยนั้นเป็นรถยนต์นำเข้าทั้งหมดซึ่งการซ่อมบำรุงรักษานั้นก็ขึ้นอยู่กับการบริการหลังการขายจากบริษัทผู้นำเข้าอิสระ หรือเกรย์ มาร์เกตครับ

ถ้าท่านได้ซื้อผ่านบริษัทผู้นำเข้าอิสระที่มีความพร้อมในการซ่อม บำรุงรักษาก็ถือว่าท่านโชคดีไปครับ แต่ถ้าซื้อจากผู้นำเข้าที่ขายแต่รถอย่างเดียวแต่ไม่เคยดูแลรถยนต์ไฟฟ้าหลังการขายก็ถือว่าจะเหนื่อยหน่อยเวลารถมีปัญหานะครับ

อย่างที่เคยบอกกันว่ารถยนต์ไฟฟ้านั้นซื้อมาแทบไม่ต้องซ่อมแซมกันเลยครับไม่ว่าจะเป็นแบต, มอเตอร์ไฟฟ้า, หรือระบบต่างๆ ในรถ

บางคนใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 กัน 300,000 km แล้วก็ยังไม่ได้เปลี่ยนอะไรกันเลย แต่ว่าถ้าเกิดเราใช้งานเกิน 8 ปีล่ะหรือ 500,000 km แล้วมีปัญหาล่ะ

จะมีใครในไทยนั้นช่วยเหลือเราได้บ้าง?

ถ้าวันนั้นมาถึงจริง จะเอารถไปซ่อมที่ไหน?

ถ้าไม่รู้เอาไว้ก่อน วันที่มีปัญหาจริงๆ คุณจะปวดหัวกันเนอะ

จริงๆแล้วรถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้ซ่อมยากกว่ารถยนต์น้ำมันเลย เพียงแต่วิธีการซ่อมแซมในเวลาที่เกิดปัญหานั้นไม่ต่างอะไรกับการซ่อม computer เลยครับ เช่น เวลาเปลี่ยน hardware ก็ต้องใช้เครื่องนี้มาตั้งค่าระบบใหม่ครับ

ส่วนเรื่องการสั่งอะไหล่นั้น ผมมองว่าบริษัทผู้นำเข้าอิสระบางเจ้าในไทยนั้น stock อะไหล่ Tesla ได้ครบกว่า ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์อย่างเป็นทางการบางเจ้าซะอีก เพราะรถยนต์ไฟฟ้ามีอะไหล่ในการดูแลรักษาน้อยมากๆ เนื่องจากอะไหล่ที่ใช้ในการขับเคลื่อนมีเพียง 80 ชิ้นเท่านั้น ส่วนรถยนต์น้ำมันมีอะไหล่ที่ใช้ในการขับเคลื่อนถึง 3,000 ชิ้นหรือห่างกันประมาณ 30-40 เท่า ดังนั้นการ stock อะไหล่ถึงมีต้นทุนต่างกันราวฟ้ากับเหวเลยครับ

เอาล่ะครับเพื่อไม่เป็นการเสียเวลานั้นเรามาทำความรู้จักเครื่องมือซ่อมรถนามว่า Loki (อ่านว่า โลกิ)กันดีกว่าครับ

เครื่องมือครอบจักรวาล LOKI

Loki นั้นเป็นเครื่องมือที่ตรวจวินิจฉัยรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ที่ทำงานบน Linux ซึ่งตัว Module นี้จะสามารถแก้ไข (config) ข้อมูลต่างๆ ของรถผ่านสาย port แบบนี้นะครับ

ส่วนภาพด้านล่างนี้คือการต่อ Loki เข้ากับ MCU ของ Tesla Model 3 ครับ ซึ่งสายต่อนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 หัวคือ interface port(ต่อเข้ากับเครื่อง loki) , USB port(ต่อเข้ากับที่ชาร์จมือถือเพื่อเป็นไฟเลี้ยงเครื่อง), และ Cable LAN Tesla Model 3(ต่อเข้า MCU รถยนต์ไฟฟ้า Tesla model 3)

ส่วนการเชื่อมต่อกับ computer นั้นจะเชื่อมต่อผ่าน wifi นะครับ หลัังจากเชื่อมต่อเสร็จแล้วก็จะมีหน้าตา interface แบบด้านล่างน่ะครับ

Loki เอาไว้ทำไรบ้าง?

มันคือเครื่องมือสามัญที่ช่างซ่อมเทสล่าควรจะมีติดเอาไว้เลยครับ เพราะเจ้าเครื่องนี้จะสามารถทะลุไปยัง back end (การทำงานด้านหลัง)ของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla และทำการซ่อมบำรุง/เปลี่ยนค่าต่างๆ จากตรงนั้นเลยครับ ผมจะขอแจกแจงความสามารถของ Loki เอาไว้ด้านล่างนี้เลยนะครับ

  • Reset valet – เป็นการรีเซทการตั้งค่าโหมดเด็กรับรถ(valet) ซึ่งเราสามารถเข้ามาดู PIN Number ที่เราเคยตั้งค่าสำหรับ Valet Mode เอาไว้
  • Reset PIN to drive – เทสล่าทุกคันมีระบบปลอดภัยในการขับขี่ 2 ชั้นด้วยกันคือ กุญแจรถ(มือถือหรือ keycard) และอีกอย่างคือ PIN 4 ตัว ซึ่งอย่างหลังนั้น เราจะใช้ต่อเมื่อจอดรถเอาไว้หน้าบ้านแล้วกลัวคนมาขโมยสัญญาณ remote รถเราเพื่อขับรถออกไป ตัว PIN 4 ตัวนี้จะเป็นระบบรักษาความปลอดภัยอีกขั้นเพื่อไม่ให้ขโมยนั้นสามารถขับรถเราออกไปได้เลยครับ แต่อย่างไรก็ตามถ้าเราตั้งค่า PIN เอาไว้แล้วเผลอลืมก็ต้องใช้เครื่อง Loki ตัวนี้ในการ reset ครับ โหมดนี้เหมาะสำหรับคนที่ลืม PIN Code นะครับ
  • Reset PIN speed limit – รถ Tesla มีโปรแกรมที่ล๊อคความเร็วปลายได้นะครับโดยสามารถใส่ PIN เอาไว้ เหมาะสำหรับเวลาให้เพื่อนเรายืมรถเราไปขับ(มันจะได้ไม่ไปเหยียบมิดไมล์นะครับ) แต่ถ้าเราลืม PIN ตัวนั้นก็สามารถใช้โหมดนี้ในการ reset ได้ครับ
  • Reset service alert – โหมดนี้เอาไว้สำหรับ reset การแจ้งเตือนสำหรับเอารถเข้าไป service กับศูนย์ให้บริการครับ ซึ่งตัวศูนย์ให้บริการน่าจะต้อง reset มาให้อยู่แล้วหลังจากเค้าซ่อมรถเราเสร็จ
  • Reboot CID – การ reboot ระบบใหม่ทั้งหมดครับ(เหมือนการกด restart ในคอมพิวเตอร์ครับ)
  • Redeploy – ทำการ update firmware อีกรอบ
  • Charge info – เชคสถานะการชาร์จรถ
  • Network APN (Access Point Name) – การตั้งค่ารถให้สามารถรับสัญญาณ LTE ( internet ) จากผู้ให้บริการ เช่น True, AIS
  • D Gear – สลับเป็นเกียร์ D(Drive)
  • Car info – เชคข้อมูลต่างๆ ของรถ

Factory Mode

โหมดนี้เป็นโหมดที่จะเห็นข้อมูลต่างๆ ในรถยนต์ไฟฟ้า Tesla เหมือนกันที่โรงงาน Tesla เห็นทั้งหมดเลยครับ โหมดนี้เอาไว้ใช้เพื่ออ่านค่าความผิดปกติของรถยนต์ พร้อมกับเราสามารถตั้งค่ารถให้แตกต่างจากรถเดิมที่มาจากโรงงานได้อย่างเต็มที่ครับ เช่น ปรับแต่งความแรงของรถ(กำหนดแรงม้า), กำหนดการจ่ายพลังงานไปที่มอเตอร์, ทดสอบการทำงานของไมค์และลำโพงรถ, หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนตัวหนังสือ(font)ของรถให้เป็นตัวหนังสือที่เราชอบ(ไม่ต่างอะไรจาก window ในคอมพ์เลย)ก็มาจบที่โหมดนี้ครับ

BLINK DRIVE TAKE

จริงๆแล้วอู่รถที่ไทยที่มีอุปกรณ์ตัวนี้ก็สามารถดูข้อมูลต่างๆ ในรถ เช่น อายุการใช้งานแบต, error code, และแก้ไขการใช้งานทั่วไป เรียกได้ว่าครบจักรวาลไปแล้วครับเพราะรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 นั้นมีหัวใจอยู่ที่ MCU การควบคุมทุกอย่างภายในรถนั้นไปรวมกันอยู่ที่บริเวณนั้นไปแล้วครับ

ผมหวังว่าโพสนี้จะช่วยทำให้คนไทยหลายคนที่เล็งซื้อรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 อยู่อุ่นใจขึ้นมานะครับ

และท้ายที่สุดนี้ขอขอบคุณชุดข้อมูลต่างๆ นี้จาก Highway Auto Thailand ที่ส่งข้อมูลการปรับแต่งต่างๆ ของรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 มาให้ผมนะครับ

เค้ามีเครื่องมือช่างที่สามารถเข้าถึงข้อมูล back end ของรถได้ขนาดนี้ ถ้าซ่อมกับศูนย์ที่มีความชำนาญมาตราฐานแบบ Highway Auto Thailand นั้นก็ถือว่าหายห่วงได้เลยแหละครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

ส่งข้อมูลที่น่าสนใจและอยากให้แปลมาได้ที่ THE FORTRESS

Follow by Email