Site icon Blink Drive

Tesla Cybertruck มี Range เกือบ 1,000 km และมาพร้อมฟีเจอร์ต่างๆ อีกมากมาย

Tesla ได้ทำการจดสิทธิบัตร Tesla Cybertruck กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาของอเมริกา (United States Patent and Trademark Office (USPTO)) โดยภายในสิทธิบัตรนั้นได้มีข้อมูลเกี่ยวกับฟีเจอร์และสเปคของ Tesla Cybertruck อย่างเป็นทางการอยู่ในนั้นด้วยครับ วันนี้ Blink Drive จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาตีแผ่ให้ทุกคนได้อ่านกันอย่างจุใจกันในโพสนี้นะครับ

UI ปรับตำแหน่งหน้าจอตามตำแหน่งผู้ใช้งาน

อันนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากๆ สำหรับวงการรถกระบะบนโลกนี้เลยครับ แต่ถ้าสำหรับวงการไอทีนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่มองเห็นเค้าโคลงความเป็นจริงอยู่ได้บ้างครับ

ก่อนอื่นเลย รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ทุกคันนั้นมาพร้อมกล้องภายในรถนะครับ แต่ที่ผ่านมานั้นยังไม่มีการเปิดให้ User ได้ใช้งาน

ซึ่ง Tesla ได้จดสิทธิบัตรที่จะใช้กล้องภายในห้องโดยสารในการตรวจจับสายตาของคนขับและคนนั่งข้างคนขับว่าหันมามองจอเมื่อไหร่เพื่อจะทำการเปลี่ยน UI (User Interface) หรือ เรียกสั้นๆ ว่าหน้าจอแสดงผลตรงการของรถให้ปรับเปลี่ยนไปตามคนที่ใช้งาน

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าคนขับหันมามองจอและกำลังยื่นมือเข้ามาสัมผัสจอแล้วล่ะก็ จอแสดงผลจะทำการเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลจากตรงกลางเป็นเน้นฝั่งซ้ายมากยิ่งขึ้น(ที่นั่งคนขับรถยนต์ในอเมริกาคือฝั่งซ้ายนะครับ) แต่ถ้าคนนั่งข้างต้องการจะใช้จอแสดงผลตรงกลางนั้น ระบบจอจะสับเปลี่ยนตำแหน่ง icon และการใช้งานต่างๆ ภายในจอให้เข้ากับคนนั่งข้างคนขับ(ฝั่งขวา)

ถ้ายังนึกไม่ออกว่าระบบจะออกมาเป็นอย่างไรก็ลองดูมือถือ iphone 11 (ขึ้นไป)ของคุณนะครับว่าเวลาเรากดเปิดจอแล้วก็จริงแต่หน้าจอจะไม่ปลดล๊อคให้จนกว่าเราจะทำการมองตรงไปที่จอของเราครับซึ่งเป็น security อันนึงของ Apple เลย Tesla จะใช้หลักการเหมือนกันคือวัดจากตำแหน่งของคนขับและคนนั่งว่าคนไหนกำลังมองจอหรือคนไหนมองจออยู่ก่อนแล้วเพื่อปรับรูปแบบการใช้งานหน้าจอของรถกระบะไฟฟ้า Tesla Cybertruck ตามตำแหน่งผู้ใช้งานบนรถครับ

ส่วน interface ในการย้ายตำแหน่งนั้นลองคิดตามผมนะครับ มันจะเหมือนพวก UI ของ Smart phone ในเวลาที่เราหมุนตัวมือถือและหน้าตา interface ของมือถือจะปรับเปลี่ยนเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนตามองศาที่เราหมุนตัวเครื่องครับ

หมายเหตุ : ผู้ใช้งานสามารถทำการปิด-เปิดฟีเจอร์การสลับ UI ภายในรถของพวกเค้าได้ด้วยตัวเค้าเองครับ

แอร์อัจฉริยะติดตามตัวผู้โดยสารในรถ(A/C tracking)

Tesla Cybertruck จะเป็นรถคันแรกของโลกที่ใช้ระบบ AI ในการติดตามตัวผู้โดยสารบนรถโดยอ้างอิงข้อมูลจากใบหน้าผู้โดยสารครับ

ก่อนอื่นเลย ระบบ AI ของ Tesla จะจดจำใบหน้าผู้โดยสารภายในรถและจำค่าการตั้งอุณหภูมิห้องโดยสารของผู้โดยสารแต่ล่ะท่านเอาไว้และที่สำคัญไปกว่านั้นระบบแอร์ของรถ Tesla Cybertruck นั้นจะจดจำตำแหน่งแอร์ที่ผู้โดยสารท่านนั้นตั้งค่าเอาไว้อีกด้วย เช่น เป่าแขน, เป่าหน้า, เป่าขา, เป่าลำตัว เป็นต้น

ยกตัวอย่างง่ายๆ : วันนี้พ่อคุณซึ่งเป็นคนชอบเปิดแอร์เย็น(ประมาณ 21 C)และชอบให้แอร์เป่าหน้าขึ้นมานั่งตำแหน่งคนขับ ตัวรถก็จะทำการเปิดแอร์ 21C พร้อมเป่าลมแอร์ไปที่หน้าของตำแหน่งเก้าอี้คนขับให้ ส่วนน้องสาวคุณเป็นคนขี้หนาวมากๆ ชอบเปิดแอร์เบาๆ(ตั้งอุณหภูมิประมาณ 26-27 องศา)และไม่ชอบให้แอร์เป่าหน้าขึ้นมานั่งด้านหลังรถ ตัวรถก็จะทำการพ่นแอร์เบาๆที่อุณหภูมิ 26-27 องศาไปยังบริเวณลำตัวของน้องสาวคุณ คราวนี้จู่ๆ น้องสาวคุณกระโดดจากเก้าอี้หลังฝั่งซ้ายไปยังฝั่งขวาของรถ ตัวระบบแอร์ก็จะติดตามตัวน้องสาวของคุณไปยังเก้าฝั่งขวาของรถอีกด้วย

หรือถ้าจู่ๆ พ่อคุณเกิดเหนื่อยจากการขับรถและขอให้คุณมาขับรถต่อ จากนั้นพ่อคุณก็ยังไปนั่งฝั่งคนนั่งข้าง(passenger seat) ตัวรถก็จะปรับระบบแอร์ในเก้าอี้ฝั่งคนนั่งข้าง(passenger seat)ให้เป็นโปรไฟล์ของพ่อคุณครับ

หมายเหตุ : ก่อนใช้งานระบบนี้นั้น ผู้ใช้งานจะต้องตั้งค่าความเย็นของแอร์และตำแหน่งของแอร์รถกับใบหน้าของตนเองก่อนครับ

Camper Mode(โหมดตั้งแคมป์)

อ้างอิงจากภาพ UI (User Interface) ของรถกระบะไฟฟ้า Tesla Cybertruck คันนี้จะสามารถติดตั้งอุปกรณ์สำหรับตั้งแคมป์หรือ Camper Mode กับตัวรถได้ทันทีและระบบจะเรียนรู้ทันทีที่มีการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านั้นพร้อมกับผู้ใช้งานสามารถสั่งการอุปกรณ์ที่เพิ่งเข้ามาติดตั้งกับตัวรถผ่านมือถือหรือหน้าจอของรถได้เลย

มันจะเหมือนกับการใช้งาน Apple กับ Iphone เลยล่ะครับที่เราสามารถทำการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ 2 ตัวได้เหมือนกับเป็นอุปกรณ์ตัวเดียวกัน เช่น วัดคลื่นหัวใจจาก Apple Watch และส่งค่าไปยังมือถือทันที

คราวนี้พอเป็นรถกระบะไฟฟ้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ Camper ลงไปผู้ใช้งานสามารถสั่งยืดหลังคารถหรือหดหลังคารถได้ทันทีหรือจะตั้งเวลาเตาปิ้งบาร์บีคิวหลังรถจากมือถือหรือหน้าจอภายในรถได้ทันทีเช่นกัน เรียกว่าถ้าซื้อ Camper device มาติดที่รถแล้วมันจะกลายเป็นอวัยวะส่วนนึงของ Cybertruck ไปทันทีครับ

ลากของได้หนักถึง 9 ตัน

อ้างอิงจากมุมขวาของภาพด้านล่างด้านล่างนี้จะเห็นได้ว่ารถกระบะไฟฟ้า Tesla Cybertruck นั้นสามารถลากของได้หนักถึง 20,000 ปอนด์หรือ 9 ตันนะครับซึ่งโดยรวมแล้วสัมภาระที่รถกระบะไฟฟ้าคันนี้จะลากได้นั้นมีน้ำหนักที่หนักว่ารถกระบะไฟฟ้าคันนี้ถึง 2 เท่าตัวครับ

วิ่งได้ไกลถึง 982 km ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

อ้างอิงจากข้อมูลบนหน้าจอของรถกระบะไฟฟ้า Tesla Cybertruck คันนี้แล้ว ในหน้าจอเขียนว่า 610 ไมล์หรือ 982 km ซึ่งนั่นก็คือ Range หรือระยะทางที่รถกระบะไฟฟ้าคันนี้จะวิ่งได้ต่อการชาร์จ 1 ครั้งนะครับ

แบบนี้ก็เอาชนะรถกระบะไฟฟ้า Ford F-150 ที่บอกว่าจะมี Range ประมาณ 400 ไมล์หรือ GMC Hummer EV ที่เคลมว่าจะวิ่งได้แถว 300-400 ไมล์เช่นกันครับ

อย่างที่รู้ๆ กันคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถกระบะไฟฟ้าวิ่งได้ไกลขึ้นจากการชาร์จไฟ 1 ครั้งนั่นก็คือแบตเตอรี่ครับซึ่ง Tesla มี secret sauce ของ 4680 เอาไว้ครอบครองแล้วครับ ไม่แปลกใจถ้า Tesla จะออกมาประกาศว่ารถกระบะไฟฟ้า Tesla Cybertruck ของตนนั้นวิ่งได้ไกลถึง 982 km ต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้งครับ

สำหรับใครที่สนใจเรื่องแบต 4680 แบบเจาะลึกก็สามารถเปิดวิดีโอด้านล่างนี้เพื่อรับชมข้อมูลต่างๆ ได้เลยนะครับ

กระจกมองข้างแบบอัจฉริยะ(ติดตามดวงตาของคนขับ)

กระจกมองข้างของรถกระบะไฟฟ้า Tesla Cybertruck ทุกคันจะเป็นแบบ Eye tracking หรือติดตามดวงตาของผู้ขับขี่นะครับ โดยตัวกระจกจะทำการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาที่คนขับหันไปมองที่กระจกมองข้างครับ AI ของรถจะทำการกะระยะและเปลี่ยนตำแหน่งของกระจกมองข้างให้ไปตามตำแหน่งของตาของเราทำการเพ่งไปที่กระจกมองข้างนั้นด้วยครับ

ซึ่งตัว hardware ในการ tracking ก็เหมือนเดิมครับ Tesla จะใช้กล้องที่อยู่ตรงกลางของรถในการ track(ติดตาม)ลูกตาของคนขับครับ

ส่วนภาพด้านล่างนี้คือภาพที่ AI (Artificial Intelligent) ของ Tesla ทำการจับตาดูคนขับและประเมินผลออกมาว่าคนขับนั้นมองถนนกี่เปอร์เซ็นต์ของการขับขี่(eye nominal), คนขับหยิบมือถือขึ้นมาเพื่อใช้งานกี่ครั้งระหว่างการขับขี่นั้น(Phone use), คนขับก้มหน้ากี่ครั้ง(Head down), มองลงกี่ครั้ง(eye down), มองไปทางขวากี่ครั้ง, หรือมองบนกี่ครั้ง(eye up) เป็นต้น

ภาพจาก Insideev

ดังนั้นถ้า Tesla ต้องการเอาระบบ AI มาจับการเคลื่อนไหวของลูกตาคนขับจริงๆ น่าจะไม่ใช่เรื่องยากครับ(ยกเว้นคนขับเผลอใส่แว่นกันแดดนะครับ อันนี้คงต้องมาดูกันอีกทีว่า Tesla จะแก้เกมส์ยังไงครับ)

ตัวรถเก็บข้อมูลภูมิประเทศ (Topographic Data)

“For example, the vehicle may be parked while off-roading. In this example, the autonomous visualization may include a graphical representation of a terrain surrounding the vehicle. For example, sensor information (e.g., images) may be obtained of the terrain. Map information may be used to inform the topographical information. For example, a topographical map may be accessed for location of the vehicle.

[แปล]ยกตัวอย่างว่า รถกระบะไฟฟ้าคันนี้จอดบนถนนออฟโร๊ดอยู่ ในตัวอย่างนี้ระบบ AI ของรถจะทำการแสดงผลภูมิทัศน์รอบๆ ตัวรถออกมาจากข้อมูลกล้องรอบคัน, ภูมิประเทศจากตำแหน่ง GPS เป็นต้น

“The user interface 500 may thus include a representation of the terrain based on the topographical map. Optionally, sensor information and the topographical map may be combined. As an example, the topographical map is used to determine a shape associated with the location of the vehicle.”

แปล UI 500 อาจจะเอาข้อมูลบริเวณรอบๆตัวรถซึ่งจะอ้างอิงกับแผนที่ภูมิประเทศและตัวตรวจจับต่างๆ รอบรถมาในการบอกรถกระบะไฟฟ้าคันนี้ว่าตอนนี้รถกำลังวิ่งบนถนนแบบไหน

เปลี่ยนรูปแบบการขับขี่อัตโนมัติตามสภาพถนน

หลังจากที่ตัวรถเก็บเกี่ยวและเรียนรู้ข้อมูลเหล่านั้นจาก sensor รอบคันของรถแล้ว รถกระบะไฟฟ้า Tesla Cybertruck จะทำการปรับเปลี่ยนโหมดการใช้งานให้รองรับพื้นที่บริเวณนั้นเช่น ถนนดินลูกรัง, ถนนดินโคลน, ถนนที่เต็มไปด้วยกรวดหิน, หรือถนนออฟโร็ด เป็นต้น ซึ่งตัวรถจะปรับความสูงของลำตัวรถได้เอง, ปรับความนุ่มหรือหนืดของโช๊คได้เองทั้งหมดเพราะโช๊คที่ Tesla Cybertruck คันนี้ใช้เป็นระบบ Air suspension

เรียกได้ว่าคนธรรมดาทั่วไปก็สามารถขับอ๊อฟโร๊ดได้โดยไม่ต้องไปปรับแต่งช่วงล่างมาเลยครับ

เชื่อมต่อกับตัวรถพ่วงแบบไร้สาย

เทสล่าได้ทำการจดสิทธิบัตร “The information may also be presented based on a truck trailer providing wireless communications to the vehicle.” ซึ่งแปลว่ารถพ่วงท้าย(trailer)ของ Tesla Cybertruck จะเชื่อมต่อกับตัวรถกระบะไฟฟ้าคันนี้แบบ wireless ไร้สายตลอดเวลาเพื่อส่งข้อมูลไปมาหากัน โดยรวมนั้น cleantechnica คาดการณ์ว่า trailer (รถพ่วงท้าย)ของ Tesla Cybertruck จะมีเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุรอบคันและมีกล้องติดท้ายมาให้เพื่อให้คนขับได้ใช้งานกล้องมองหลัง หลังจากที่ติดตั้ง trailer เข้าไปแล้วนะครับ

หลังคาแผงโซลาร์ เซลล์

Tesla ได้ทำการจดสิทธิบัตรหลังคา solar cell (แผงรับแสงอาทิตย์)เอาไว้อีกด้วยครับ

ซึ่งตัวหลังคา Tesla Cybertruck อันนี้เท่ห์ไม่เหมือนใครเลยเพราะระบบการเปิด-ปิดหลังคานั้นจะเป็นแบบรูปด้านล่างนี้ครับ

โดยตัวหลังคาอัจฉริยะนี้สามารถม้วนเก็บเพื่อเปิดให้ใช้งานหรือใส่ของเยอะๆเหมือนรถกระบะไฟฟ้าทั่วไปเลยครับและที่สำคัญคือไม่เปลืองพื้นที่การจัดเก็บหลังคาด้วย

ในส่วนถัดมาคือ อีลอนเคยบอกเอาไว้ว่าหลังคา Tesla Cybertruck แบบพับเก็บได้อันนี้จะสามารถผลิตไฟให้กับรถกระบะไฟฟ้า Tesla Cybertruck วิ่งได้ถึง 30-40 ไมล์ (48-64 km) ต่อวันเลยทีเดียว

BLINK DRIVE TAKE

อ่อ ผมลืมบอกไปเลยครับว่ารถกระบะไฟฟ้า Tesla Cybertruck คันนี้มีราคาเริ่มต้นที่ 1.2 ล้านบาท($40,000) ครับ

ฟีเจอร์ประมาณนี้ พอจะ “พลิกโลก” ได้ไหมครับ?

แต่ที่แน่ๆ ยอดจองของกระบะไฟฟ้า Tesla Cybertruck นั้นเกิน 1 ล้านใบจองไปแล้วครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

ส่งข้อมูลที่น่าสนใจและอยากให้แปลมาได้ที่ THE FORTRESS

Exit mobile version