สวัสดีครับ หลังจากที่ผมเคยเขียนกระทู้การลดต้นทุนการผลิตแบตเกี่ยวกับ Volkswagen : Power Day กันไปแล้วนั้น มาวันนี้ผมจะมาเขียนข้อมูลต่อจากวันที่แล้วตรงนี้นะครับ อย่างไรก็ตามก่อนจะเข้าไปอ่านข้อมูลกระทู้นี้ ผมขอเอาบทความสรุปมาให้อ่านตรงนี้นะครับ
สรุปงาน Power Day
- ใช้เทคโนโลยี unified cell เพื่อลดต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่ลงไปถึง 50 %
- Hydrometallurgy (โลหวิทยาการละลาย)ในการรีไซเคิลแบต : Volkswagen ออกมากล่าวว่าสามารถรีไซเคิลได้ถึง 95 % แล้ว และก่อนถึงขั้นตอนรีไซเคิลนั้น แบตจะถูกนำมาใช้เป็น second life battery สำหรับสำรองไฟฟ้าภายในบ้าน
- Volkswagen เตรียมสร้างโรงงานผลิตแบตที่มีกำลังผลิตแบตอยู่ที่ 240 GWh ภายในปี 2030 นี้
- Volkswagen เตรียมใช้แบต solid state ในปี 2025
- รถยนต์ไฟฟ้าในเครือ Volkswagen ทุกคันจะมีฟังชั่น V2G หรือ Vehicle to Grid ซึ่งสามารถจ่ายไฟจากรถกลับไปยังบ้านช่วงไฟดับ, peak hour, และการใช้งานไฟฟ้าด้านอื่นๆครับ
- Charging Network – Volkswagen เตรียมจับมือกับปั้มน้ำมันทั่วยุโรปให้หันมาสร้างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในปั้มของตน ตอนนี้ได้ BP ซึ่งเป็นปั้มน้ำมันรายใหญ่ของทวีปมาช่วยสร้าง
- หุ่นยนต์ charging robot – หุ่นยนต์ที่จะสามารถเดินเข้าไปชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของคุณได้เหมือนการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าปกติ เหมาะสำหรับที่จอดรถที่ไม่มีที่ชาร์จไฟและพอชาร์จเสร็จ หุ่นยนต์ก็จะเดินไปชาร์จรถคันอื่นต่อ
Second life Battery (นำแบตมาใช้อีกครั้งหลังปลดประจำการ)
การนำแบตกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งนั้นเรียกว่า Second life battery ครับ ซึ่งเป็นการนำแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพ(เก็บประจุไฟต่ำกว่า SoH (State of Health) 70-80%) ออกมาจากรถยนต์ไฟฟ้าจากนั้นทำการแยก module แบตที่เสื่อมหนักๆ ออกเพื่อนำไปรีไซเคิล ส่วน module ไหนที่ยังไม่เสื่อมมากก็จะเอามาใช้เป็น Second life battery คือนำกลับมาใช้ใหม่กับพวกแบตสำรองไฟในบ้านหรืออาคารพาณิชย์ หรือจะเอามาทำเป็นแบตเตอรี่สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าก็ได้ครับ
ส่วนเซลแบตที่เสื่อมแล้วนั้นจะถูกส่งไปโรงงานรีไซเคิลของ Volkswagen ถัดไปครับ
โรงงานรีไซเคิลแบต : Salzgitter
โรงงานแห่งนี้สร้างเสร็จ ณ วันที่ 29 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ณ ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้ได้เริ่มทดสอบการรีไซเคิลแบตอย่างเต็มตัวแล้วครับ ทาง Volkswagen ได้ย้ำว่าโรงงานแห่งนี้สามารถรีไซเคิลแบตได้มากถึง 1,500 ตันต่อปีหรือ 3,600 แพ๊ค(ต่อคัน)ต่อปี สาเหตุที่ตัวเลขการรีไซเคิลแบตยังน้อยแบบนี้เพราะแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามันยังไม่เสื่อมภายใน 8-10 ปีนี้แน่นอน ดังนั้นโรงงานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมาเป็น pilot factory หรือเอาเป็นตัวโชว์ให้กับสาธารณชนได้เข้าใจกันได้แล้วว่า แบตเตอรี่นั้นรีไซเคิลได้นะ(เฟ้ย)
Volkswagen ยังบอกอีกว่า กว่าจะได้ใช้โรงงานแห่งนี้จริงๆ ก็อีก 10 ปีข้างหน้าเพราะหลังจากแบตรถยนต์ไฟฟ้าเสื่อมแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องเอามารีไซเคิลทันทีเพราะถ้าแบตมันเสื่อมแค่ 20-30 % เค้าก็แค่นำไปใช้เป็น second life ต่อครับ
Battery Recycle ได้แล้วถึง 95 %
ใช่ครับ ทุกท่านอ่านไม่ผิดจริงๆ ตอนนี้ Volkswagen สามารถรีไซเคิลแบตเตอรี่ได้มากถึง 95 % ซึ่งการรีไวเคิลของ Volkswagen นั้นมีหน้าตาแบบด้านล่างนี้ครับ
ส่วนองค์ประกอบแบตของ Volkswagen นั้นจะมีองค์ประกอบตามข้อมูลด้านล่างนี้ครับ
จะเห็นได้ว่าแบตเตอรี่ของ Volkswagen นั้นมีสสารประกอบส่วนใหญ่เป็นอลูมิเนียม, รองลงมาคือกราไฟท์, ถัดมาก่อนเป็นนิกเกอร์ อย่างไรก็ตามเดี๋ยวผมจะมาเจาะลึกข้อมูลเรื่องการรีไซเคิลของ Volkswagen กันนะครับ
โลหวิทยาสารละลาย (Hydrometallurgy)
โลหวิทยาสารละลาย (Hydrometallurgy) เป็นวิชาเกี่ยวกับกระบวนการแยกสกัดและการผลิตโลหะ โดยการใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมชะละลายสินแร่หรือสารประกอบที่ได้จากการประกอบโลหกรรมอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างจากโลหวิทยาความร้อนสูง (Pyrometallurgy) โลหวิทยาสารละลายแบ่งเป็น 2 กระบวนการที่แตกต่างกัน
(1) ชะละลายโลหะหรือสารประกอบที่ต้องการจากสินแร่ลงในสารละลาย
(2) ชะละลายมลทินออกจากสินแร่ ส่วนโลหะหรือสารประกอบที่ต้องการยังอยู่ในรูปของแข็งแล้วแยกออกจากสารละลายในภายหลัง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพแร่ให้สูงขึ้น เช่น การใช้กรดเกลือชะละลายแคลไซด์ จากหัวแร่ทังสเตนที่ได้จากการลอยแร่
การเลือกกระบวนการหนึ่งกระบวนการใดขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการละลายสิ่งที่ต้องการหรือสิ่งที่ไม่ต้องการออกมาโดยคำนึงถึงด้านค่าใช้จ่ายและกรรมวิธีเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้วโลหวิทยาสารละลายใช้วิธีการแรกดำเนินการเป็นส่วนใหญ่
ที่มา : wikipedia
Volkswagen นั้นเลือกใช้ขั้นตอนการรีไซเคิลแบตแบบโลหวิทยาสารละลาย (Hydrometallurgy)ซึ่งจะสามารถเพิ่มอัตราการกู้ซากสสารต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการสร้างแบตใหม่ได้มากถึง 95 % โดยการรีไซเคิลแบบเก่านั้นไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถเอาสสารต่างๆ เช่น (ลิเธียม, และโคบอล์ท)ที่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมและยากต่อการขุดขึ้นมาเพื่อเอากลับมาใช้ใหม่ได้นะครับ
อย่างคาโธดนั้นประกอบไปด้วยแม๊คนิเซียม 12 kg , โคบอล์ท 9 kg, และลิเธียม 8 kg ดังนั้นที่ผ่านมานั้นโรงงานรีไซเคิลรุ่นเก่าไม่สามารถกู้แร่พวกนี้กลับมาได้เลย เรียกได้ว่ารีไซเคิลกลับมาใช้ได้เพียง 50 % ของปริมาณแบตทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่สิ่งที่รีไซเคิลได้คือพวกโลหะอย่างอลูมิเนียม, นิกเกอร์, และทองแดง
แต่การรีไซเคิลแบบโลหวิทยาสารละลาย (Hydrometallurgy) นั้นจะเป็นการใช้สารเคมีและการอบแห้งเพื่อให้สสารในโคโบล์ทเหล่านั้นกลายเป็น Black Power(ผงดำ)ตามภาพด้านล่าง
จากนั้นเค้าจะเอา Black Power นั้นไปทำการแยกสสารด้วยกรรมวิธีทางเคมีอีกทีเพื่อสกัดเอาแร่โคโบล์ท, ลิเธียม, และแม๊กนิเซียมออกจากกัน
Volkswagen เล็งเห็นประโยชน์การรีไซเคิลแบบละเอียดว่า 1 กรัมที่รีไซเคิลได้ก็เป็น 1 กรัมที่มีค่าในการนำกลับมาใช้ใหม่เพราะการไปขุดแร่เหล่านี้จากเหมืองนั้นมีต้นทุนแพงกว่าการรีไซเคิลเกือบเท่าตัว ผมได้ทำการแนบวิดีโอการรีไซเคิลแบตของจริงเอาไว้ด้านล่างนี้ด้วยนะครับ สำหรับท่านที่สนใจก็สามารถรับชมกันได้ครับ
ลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 1.3 ตันต่อ Battery Pack
อย่างที่รู้ๆกันว่า การผลิตแบตนั้นต้องไปหาแร่ต่างๆ (เช่น โคบอล์ท, ลิเธียม, และแร่อื่นๆ)มาใช้ในการผลิตแบต จะดีกว่าไหมถ้าเราไม่จำเป็นต้องสร้างเหมืองขุดแร่เหล่านี้แต่เราสามารถเอาแร่เหล่านี้กลับมาใช้ใหม่ได้เกือบทั้งหมด(95 %) Volkswagen ก็เลยเอาสูตรออกมาคำนวณดังนี้ครับ
ยกตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้า Volkswagen ID.3 มีแบตประมาณ 62 kWh(โดน software lock สเปคให้ใช้ได้จริงเพียง 58 kWh) ทาง Volkswagen Group ได้บอกว่า เค้าสามารถลดการปล่อย CO2 จากการผลิตแบตก้อนนี้ไปได้ถึง 1.3 ตันต่อแพ๊คเลยทีเดียว ด้วยกรรมวิธีการรีไซเคิลนี่แหละครับ แทนที่จะออกไปขุดแร่เหล่านี้ Volkswagen หาหนทางเอาแร่เหล่านี้ออกจากแบตมาใช้ต่อได้แบบหมดจดแล้ว
นอกจากนี้ Volkswagen ยังประกาศอีกว่า เราไม่คิดจะรีไซเคิลแค่แบตรถยนต์ไฟฟ้าในเครือของเราเท่านั้น แต่เรายังยินดีรับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าค่ายอื่นมารีไซเคิลอย่างแน่นอน (ก็แน่นอนแหละครับ การรีไซเคิลแบตมันทำเงินให้บริษัทได้มากกว่าการขุดแร่แบตจากเหมืองมาทำแบตลูกใหม่ซะอีก)
ที่มา : volkswagen new room
BLINK DRIVE TAKE
แบตเตอรี่รีไซเคิลได้แล้วครับ
ฝากบอกสั้น ๆ แค่นี้
และคิดว่าจะเก็บโพสนี้เอาไว้ copy & paste ให้คนที่เข้ามาถามเรื่องรีไซเคิลแบตใน Blink Drive อีกด้วยครับ
ฝากพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ แชร์กันหน่อยนะครับ แชร์ไปให้คนที่ถามนี่แหละครับ 55+