Blink Blink
TeslaUSA

อีลอนกำลังวิจัยถุงลมนิรภัยอัจฉริยะที่อาจจะทำให้เราไม่ต้องใส่เข็มขัดรถยนต์อีกต่อไป

ในช่วงกลางของบทสนทนาของโจ โรแกน และ อีลอน มัสค์ ประจำสัปดาห์นี้ ราฟ เนเดอร์ ลูกน้องคนสนิทของมัสค์ไดัมาร่วมแจมด้วย (ถ้าจะฟังมันคือช่วงต้นชั่วโมงที่ 2 – 2.03-2.05)

โจ โรแกนได้จุดประกายว่าเรื่องปัญญาประดิษฐ์ว่ามันเป็นเรื่องน่ากังวล โดยได้กล่าวว่าเค้ากังวลว่าทางหน่วยงานรัฐบาลจะไม่สามารถเอาอยู่ได้ ก็อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่า การทำงานของรัฐบาลไม่ว่าชาติไหนก็น่าจะคล้ายๆกัน

มัสค์พูดชัดเลยว่าตัวเขานั้นไม่ชอบที่รัฐบาลจะเข้ามาก้าวก่ายการทำงานของพวกเรามากมายขนาดนี้ เขาจะชอบมากถ้ารัฐบาลจะเป็นแค่ผู้ตัดสินที่คอยนั่งดูอยู่ห่างๆ

ณ 2:03:55 ของรายการนั้น อีลอนได้พูดว่า หน่วยงานรัฐมักจะชอบเห็นข้อเสียมากกว่าข้อดี not weigh the good as much as weigh the bad เพราะ หน่วยงานพวกนี้มักจะโดนประนามจากสังคมถ้าออกหน้ามาพิสูจน์อะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน แต่ถ้าทำเป็นเฉยๆส่วนใหญ่จะโดนจี้จุดน้อยกว่านี่รือสาเหตุว่าทำไมการมีหน่วยงานพวกนี้เข้ามามีเอี่ยวด้วยมักจะได้ไม่คุ้มเสีย risk reward not worth

เหมือนกับเลขทะเบียน อย ในบ้านเรายังไงยังงั้นเลย คือเวลาจะซื้อยาถ้าพลิกดูข้างขวดแล้วไม่มีเลข อย ก็จะรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจที่จะกินยานั้นแต่ถามว่ามีแล้วมันแก้ต้นตอของโรคได้จริงมั้ยก็ไม่เสมอไป

ณ ตอนนี้ ที่ยังไม่มีก็คือองค์กรกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ และนี่คือการคุกคามความเป็นอยู่ของมนุษย์เราในช่วงทศวรรษต่อจากนี้ไป

โรแกนโต้กลับว่า เขากังวลว่ามันอาจจะสายเกินไปมั้ยรอจนการพัฒนาเอไอมันล้ำไปถึงขั้นที่ว่าสามารถมีความรู้สึกได้ใกล้เคียงมนุษย์ และอาจจะจนถึงจุดที่จะสามารถวิเคราะห์และทำหน้าที่ได้แทนคนเราได้…

มัสค์ตอบกลับว่า เขาไม่คิดว่าหน่วยงานรัฐจะเข้ามาแก้สารพัดปัญหาได้ แต่ยังไงก็ควรจะต้องมีเพราะจะได้มีกฎระเบียบอยู่บ้าง มีไว้ไงก็ดีกว่าไม่มี เหมือนในอดีตใช้เวลาตั้งหลายปีกว่าจะมีการจัดตั้งองค์การการบินของรัฐบาลกลางหรือองค์การยาของรัฐบาลกลาง ในระหว่างช่องว่างที่ไม่มีองค์กรพวกนี้บริษัทเอกชนก็ตักตวงผลประโยชน์เข้าตัวเอง ความสูญเสียก็เกิดขึ้นมากมาย

ใกล้ตัวผมหน่อยก็คือเรื่องเข็มขัดนิรภัย ผู้ใช้รถมักไม่เห็นค่าของมัน แต่ผู้ผลิตรถยนต์ได้ต่อสู้มาอย่างยาวนานโดยการนำข้อมูลจากการทดลองต่างๆมายันว่าเข็มขัดนิรภัยลดการเกิดอุบัติเหตุที่จะนำไปสู่การเสียชีวิตได้มาก

แต่ก็นะผ่านมาหลายปี เดี๋ยวนี้ระบบถุงลมนิรภัยพัฒนาขึ้นมาก จะว่าไปผมว่ามันพัฒนาขึ้นจนถึงจุดที่เราอาจจะไม่ต้องการเข็มขัดนิรภัยแล้วก็เป็นได้

โรแกน ถามกลับแบบงงๆว่าแล้วถ้ารถพลิกคว่ำล่ะ
มัสค์ตอบว่า ถุงลมจะป้องกันคุณถุงลมจะออกมาจากทุกทิศทุกทางเลย อย่างทางเทสล่าของผมเราได้อัพเดทระบบซอฟท์แวร์ให้คำนวณความเหมาะสมของคนขับและผู้โดยสารว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ เด็กทารก เด็กเล็ก แต่ละคนนั่งตรงช่วงตำแหน่งไหนของเบาะโดยสาร
คำนวณตามน้ำหนักเหรอ โรแกนถาม

ไม่ครับนอกจากน้ำหนักแล้วยังคำนวณจากอัตราส่วนแรงกดที่เบาะด้วยว่าคุณนั่งในองศาไหนมุมใดของเบาะและคุณเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายเพราะทางเทสล่าจะคอยอัพเดทให้ถุงลมดีขึ้นให้ตอบสนองต่อผู้ใช้รถได้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ

โรแกนถามต่อไปว่า เด็กนั่งเบาะหน้าโอเคเหรอ

มัสค์ตอบกลับมาเป็นชุดเลยว่า ทำไมจะไม่ได้ ระบบของเทสล่าได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีที่สุดในประเทศ 5 ดาวในทุกหัวข้อ ถ้ามีที่ไหนให้มากกว่า 5 ดาวเรามั่นใจว่าดาวดวงที่ 6 ก็จะตกเป็นของเรา

แต่ลึกสุดใจผมไม่เชื่อหรอกในจำนวนดาวน่ะ มันแค่ไว้ทำการตลาด ไร้สาระ
ตัวอย่างนะถ้าคุณขับรถเล็กแล้วดันไปขับชนกับรถไฟไงไงรถเล็กก็เสียหายกว่ารถไฟ หรืออีกตัวอย่างถ้ารถใหญ่ชนกับรถเล็ก ถึงรถเล็กจะมีการันตี 5 ดาวแต่รถใหญ่มีดาวเดียวลองนึกดูว่าจำนวนดาวจะมาช่วยอะไรได้มั้ย ไงรถเล็กก็ปลอดภัยน้อยกว่า

โรแกนชวนคุยต่อไปว่ารถที่ว่าเล็กนี่คือรุ่นไหน

มัสค์รีบปัดเลยว่าโมเดล 3 ไม่ใข่รถเล็ก
แล้วเทสล่าเปิดประทุนล่ะ โรแกนะถามต่อ

มัสค์ปิดท้ายบทสนทนาชวนให้คิดว่า รถเปืดประทุนไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ปลอดภัยขนาดนั้น ด้วยธรรมชาติของรถสปอร์ตมันแลกมากับความปลอดภัยที่น้อยลงอยู่แล้ว
เฮียแกพูดอีกก็ถูกอีก คุณคิดว่ายังไง

AI Airbag ทำงานยังไง?

ปัจจุบันนั้น Airbag นั้นมีแค่น้ำหนักเดียวในการปล่อยออกมาคือ เวลารถประสบอุบัติเหตุแล้วนั้น ถุงลมนิรภัย(airbag) จะทำหน้าที่พองตัวออกมาอย่างเดียว

แต่ AI Airbag หรือ ถุงลมนิรภัยอัจฉริยะนั้นทำงานแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงคือ เวลาผู้โดยสารเข้ามานั่งบนเบาะรถแล้ว ระบบ AI (สมองกล)ของรถจะทำการชั่งน้ำหนักผู้โดยสารคนนั้นและปรับระดับความแรงของลมใน Air Bag ให้ตามน้ำหนักของคนนั่ง

ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กมานั่งเบาะด้านหลังนั้น ถุงลมเบาะหลังจากปล่อยตัวออกมาเยอะกว่า ที่นั่งคนแถวหน้าที่เป็นผู้ใหญ่เพราะว่าเด็กมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่า ดังนั้นต้องปล่อยถุงลมนิรภัย(airbag) ออกมาให้ครอบคลุมลำตัวผู้โดยสาร(เด็ก)

ในทางกลับกัน ถ้าที่นั่งไหนในรถไม่มีคนนั่งอยู่ ระบบ AI Airbag ก็จะไม่สั่งให้ถุงลมนิรภัยพองตัวออกมาเพื่อไม่ให้เกิดการใช้งาน airbag พร่ำเพรื่ออีกต่อไป

อีกเรื่องคือเข็มขัดนิรภัย(seat belt) นั้น อีลอนบอกว่า มันทำร้ายร่างกายของคนอย่างมากเวลาประสบอุบัติเหตุ และบางเคสนั้นโดยเข็มขัดนิรภัยของรถรัดแรงๆ จนตายเลยก็มี ดังนั้นเค้าจะออกแบบถุงลมนิรภัยที่สามารถพุ่งออกมาให้ถูกทิศทางคนที่นั่งอยู่และปล่อยถุงลมออกมาในปริมาณที่มากเพียงพอที่จะ support คนนั่งให้ไม่ไปกระทบตัวรถหรือที่อื่นๆ ในรถ

อีลอนได้บอกว่า เก้าอี้นั่งของ Tesla ทุกคันหลังจากนี้จะติดตั้งเซนเซอร์วัดน้ำหนักของคนนั่งและตำแหน่งของคนที่นั่งนั่งอยู่อีกด้วย เช่น เด็กนั่งอยู่ขอบเบาะตัวและกำลังหันหน้าไปทางหน้าต่าง AI ก็จะปรับทิศทางถุงลมให้ยิงไปโอบรับเด็กที่นั่งอยู่ตรงขอบของเบาะและหันหน้าไปทางหน้าต่าง หรือผู้ใหญ่น้ำหนัก 70 kg นั่งอยู่อีกเบาะและกำลังหันไปหยิบของ AI ก็จะปรับทั้งทิศทางและความแรงของถุงลมให้ไม่แรงจนเกินไปและยิงถุงลมมาจากตำแหน่งด้านหลังสำหรับผู้ใหญ่ท่านนั้นอีกด้วย

หลังจากที่อุบัติเหตุจบลง ระบบ AI จะทำการยุบถุงลมลงทันทีเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารขาดอากาศหายใจจากการที่ถุงลมมาบังหน้าคน

BLINK DRIVE TAKE

by Ms. P

พ้อยหลักๆที่สะกิดต่อมความสนใจก็คือ เรื่องที่ว่า อีลอนเห็นว่าหน่วยงานรัฐที่จะเข้ามาควบคุมการพัฒนาแอไอนั้นดี แต่ไม่ควรให้ขั้นตอนมันยุ่งยากเกินไป เพราะไงขึ้นชื่อว่าเป็นรัฐบาลส่วนใหญ่มักจะไปโฟกัสกับการจับผิดมากกว่ามาข่วยส่งเสริมช่วยพัฒนา

ทางเทสล่าได้ทำการพัฒนาระบบเอไออย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตอบสนองต่อการคำนวณเพศ, น้ำหนัก, ตำแหน่งโดยสาร โดยจะสามารถคำนวณแรงกดลงที่เบาะตามองศาการนั่งเพื่อเตรียมปล่อยถุงลมจำนวนที่เหมาะสมออกมาป้องกันผู้โดยสารในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

และได้ตบท้ายอย่างมั่นใจด้วยว่าเข็มขัดนิรภัยก็จะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันที่ THE FORTRESS

Follow by Email