อีลอน มัสค์ได้ไปให้สัมภาษณ์เป็นครั้งที่ 3 ในรายการพอตแคสท์ภายใต้สัญญามูลค่ามหาศาลของโจ โรแกนบนสปอทิฟาย(spotify)
จริงๆ แล้ว อีลอนได้ให้สัมภาษณ์มาแล้ว 2 ครั้งก่อนหน้า โดยครั้งแรกในเดือนกันยายน 2561 ได้มีผู้เข้าไปฟังมากถึง 40 ล้าน 7 แสนครั้งนับเป็นสถิติที่มากที่สุดของรายการพอตแคสท์ของโจ โรแกน
ส่วนครั้งที่ 2 ไปในเดือนพฤษภาคม 2563 นั้นก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กันโดยทำยอดจำนวนครั้งของการฟังไปมากถึง 20 ล้าน 5 แสนครั้งครองสถิติเป็นอันดับที่ 4
เรื่องที่เป็นสปอตไลท์(เรื่องเด่น)ของการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ก็คือเรื่องที่ว่าเทสล่ากำลังพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเทสล่า โร้ดสเตอร์(Tesla Roadster) หรือรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นเปิดประทุน โดยมัสค์บอกกับทางพิธีกรว่าเทสล่าวางแผนจะจบเรื่องการวางโครงสร้างทางวิศวกรรมของรถเปิดประทุนและเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เทสล่า โร้ดเตอร์ภายในปี 64 นี้ เพื่อให้พร้อมส่งมอบปีหน้า
รถบินได้
เรามีแผนจะนำแก๊สเย็น(cold gas)จากโครงการอวกาศสเปซเอ็กซ์มาใส่ในเจ้ารถเปิดประทุนตัวใหม่นี้เพื่อเพิ่มกำลังเร่งเพื่อให้รถสามารถวิ่งแบบลอยตัวเหนือพื้นดินได้ (หรือเพื่อให้ตอนออกตัวออกได้ไวขึ้นพุ่งลอยเหนือพื้นดิน) กลายเป็นรถบินได้
“I want it to hover. I’m trying to figure out how to make this thing hover, without, you know, killing people. I thought, maybe we could make it hover, but not too high. So maybe it could hover, like, a meter above the ground, or something. So, if you plummet, you blow out the suspension, but you’re not going to die. Maybe, I don’t know, six feet. If we put a height limit on it, it will probably be fine.”
แปล – อีลอน มัสค์กล่าวว่า ผมต้องการทำให้รถคันตัวนี้บินได้ โดยไม่ลอยสูงเกินไปจากพื้น เพื่อจะได้ไม่เกิดอันตรายร้ายแรงจนเกินไปต่อผู้ใช้งานและคนรอบข้าง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นมา สิ่งที่เสียหายที่สุดที่เราประเมินนั้นก็คือช่วงล่างของรถยังไงก็แค่ช่วงล่างรถเสียหายบางส่วน แต่ไม่มีทางถึงกับชีวิต เพราะเราอาจจะจำกัดความสูงจากพื้นไว้ที่ซักไม่เกิน 2 เมตร (6 ฟุต =. 1.82 เมตร)
อีลอน มัคส์
โรแกนก็ยิงคำถามต่อเลยว่าเจ้ารถ Tesla Roadster เปิดประทุนคันนี้จะสามารถรับน้ำหนักขนาดนั้นไหวตอนลอยเหนือพื้นมั้ยมัสค์ตอบว่า ได้สิ แต่จะลอยตัวได้นานแค่ไหนมันก็ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดหลายอย่าง
เช่น ถ้าลูกค้าต้องการออพชั่นสเปซเอ็กซ์ทางเราก็จะถอดเบาะที่นั่งผู้โดยสารด้านหลังออก พูดง่ายๆก็คือรถจะนั่งได้แค่ 2 คน คนขับและผู้โดยสารด้านหน้า และจะติดตั้งตัวผลักที่มีแรงดันประมาณ 10,000 psi เอาจริงๆ ยางรถยนต์ของรถนั้นมีแรงดันอยู่ที่ 30-35 psi ถังแก๊ส LPG จะมีแรงดันอยู่ที่ 100- 130 psi ส่วนถัง NGV จะมีแรงดันอยู่ที่ 2,200 – 2,800 psi เรียกได้ว่าถังบรรจุแก๊สเย็นของ Tesla Roadster คันนี้จะสามารถเก็บแรงดันได้มากกว่า NGV เกือบถึง 5 เท่าตัวเลย
high-pressure carbon overwrap pressure vessel, which would be “around 10,000 PSI,”
Elon Musk
โดยขั้นต่ำมัสค์กล่าวอย่างมั่นใจว่าจะสามารถฟิตตัวขับเคลื่อนที่มีกำลังผลัก 3,000 กิโลกรัม เข้าไปด้านหลังแผ่นป้ายกอทอ
อ่านต่อ เจาะลึก SpaceX แพ๊กเกจใน Tesla Roadster
จากการทวีตของอีลอน มัสค์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 เขาวางแผนที่จะพัฒนาตัวมอเตอร์ 3 กำลัง (tri-motor) และแบตเตอรี่ตัวล่าสุดให้เสร็จสิ้นก่อน ต่อจากนั้นถึงจะเป็นขั้นตอนการปล่อยรถตัวจำลองที่พร้อมจะขับจริงช่วงปลายเดือนสิงหาคม 64 และ จะเริ่มขึ้นไลน์การผลิตจริงในปี 2565
Tesla Roadster Gen 1 Vs. Gen 2
ยังไงทางเราก็ได้ทำตารางเปรียบเทียบระหว่าง Tesla Roadster Gen 1 และ Gen 2 มาด้านล่างนี้แถมมาให้ด้วย
สิ่งที่ Tesla Roadster ทั้งสองรุ่นมีเหมือนกันคือ เป็นรถสปอร์ต 2 ประตู, มี 1 เกียร์และเป็นระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าทั้งหมด
ส่วนสิ่งที่แตกต่างกันก็คือ แบตเตอรี่ซึ่ง Gen 1 นั้นมีเพียง 53 kWh เป็นแบต lithium-ion ใน พ.ศ. 2551 ซึ่งสมัยนั้นข้อเสียของแบตตัวนี้คือห้ามปล่อยให้เหลือต่ำกว่า 5% เพราะจะทำให้ชาร์จไฟไม่เข้าอีกเลยนะครับหรือเรียกว่าถ้าปล่อยให้แบตหมดนั้น ต้องยกกลับไปซ่อมที่ศูนย์ Tesla เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจาก Tesla รุ่นอื่นๆ อย่างมาก เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ทั่วไปนั้นสามารถขับให้แบตหมดจนเหลือ 0 % ได้และสามารถชาร์จไฟกลับไปยังแบตได้
ส่วน Tesla Roadster ปีพ.ศ. 2565 หรือ Gen 2 นั้นจะเป็นแบตรุ่นใหม่(รหัส 4680) ที่มาพร้อมกับความจุ 200 kWh หรือมากกว่ารุ่นเดิมถึง 4 เท่า
อีกส่วนที่แตกต่างกันก็คือ ระบบอัดประจุไฟหรือเรียกกันติดปากว่า Charging Rate ซึ่ง Tesla Roadster Gen 1(ปีพ.ศ. 2551) นั้นมีแค่ระบบ AC Charging (ระบบชาร์จไฟกระแสสลับ)ที่ความแรงสูงสุด 16.8 kW และไม่มี DC Charging (ชาร์จไฟเร็วตามสถานี)มาให้ ถือว่าเก่ากึกมากๆ
Tesla Roadster Gen 2 (ปีพ.ศ. 2565) นั้นมาพร้อมกับระบบชาร์จไฟ AC Charging (อัดประจุไฟกระแสสลับ) ความแรงสูงสุดที่ 22 kW ส่วน DC Charging Rate (อัดประจุไฟกระแสตรงหรือการอัดประจุจากสถานีชาร์จไฟเร็ว) นั้นจะอยู่ที่ 250 kW หรือเรียกว่าเร็วกว่ารุ่นแรกถึง 10 เท่าเลยทีเดียว
ในเมื่อ Roadster Gen 2 แบตมีความจุเยอะกว่ากันถึง 4 เท่า แต่ Range หรือระยะทางที่วิ่งได้นั้นจะเพิ่มขึ้นมาเพียง 2 เท่ากว่าๆ
ถัดมาอีกอันก็คือระบบขับเคลื่อนของ Tesla Roadster Gen 1 Vs. Gen 2, โดย Tesla Roadster Gen 1 นั้นมีมอเตอร์เพียง 1 ตัวเท่านั้น
ส่วนของ Tesla Roadster 2 นั้นเป็นแบบ Tri-motor หรือมอเตอร์ 3 ตัว ส่วนการติดตั้งมอเตอร์และแบตนั้นเป็นแบบสเก็ตบอร์ดคืออยู่ด้านล่างของตัวรถทั้งหมด Tesla Roadster 2 นั้นยังเป็นขับเคลื่อนสี่ล้ออีกด้วย
อัตราเร่ง 0-100 km/h ของ Tesla Roadster Gen 1 นั้นก็ทำออกมาได้ที่ 3.7 วินาทีเท่านั้น ถือว่าเป็นตำนานของรถยนต์สปอร์ตไฟฟ้าในปี 2551 ได้เลยเพราะว่าเทคโนโลยีสมัยนั้นยังเป็นเด็กทารกอยู่นะ
พอมาปี 2563 นั้น อีลอนได้เอา Tesla Roadster Gen2 มาให้ทุกคนได้ลองนั่งและกดคันเร่งโชว์อัตราเร่ง 0-100 km/h ให้ลูกค้าที่สั่งจองได้ลิ้มรสสัมผัสกัน โดยอัตราเร่งของ Gen 2 นั้นอยู่ 1.9 วินาทีเท่านั้น
แต่ช้าก่อนนะ ถ้าคุณสนใจสั่งจอง Package SpaceX เข้าไปรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Roadster Gen 2 คันนี้จะมีอัตราเร่ง 0-100 km/h ภายใน 1.1 วินาที
Credit แปลบทความ : Ms. P
เรียงเรียบ : glassman555