Site icon Blink Drive

คาดิแลคเตรียมเปิดตัวรถSUVไฟฟ้า LYRIQ ณ เดือนสิงหาคมนี้

ผมขอสรุปใจความสำคัญของรถคันนี้เป็น Bullet Point ดังนี้เลยนะครับ

แบตรถยนต์ไฟฟ้าของ คาดิแลค ลีลิกค์(Cadillac’s Lyriq) นั้นจะมีตั้งแต่รุ่น 50 kWh ไปจนถึง 200 kWh เลยทีเดียว ต้องขอบคุณเทคโนโลยี Ultium ที่ทำให้แบตรถยนต์ไฟฟ้าของเครือ GM ทุกรุ่นนั้นจะมีน้ำหนักเบากกว่า Tesla รุ่นปัจจุบัน(ไม่นับรุ่นที่ Tesla จะผลิตหลังเดือนกันยายนนี้ ที่จะเป็นแบตรุ่นใหม่นะครับ)

ยังไงผมจะขอ Recap (เล่าให้ฟังอีกรอบ) ข้อมูลแบตรุ่นใหม่ของ GM หน่อยนะครับ

เทคโนโลยีแบตเตอรี่แบบใหม่ของ GM

ผมจะขอแจกแจงคุณสมบัตของแบตเตอรี่รุ่นใหม่ของ GM เป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ

1. ใช้แร่โคบอล์ทน้อยลงเพื่อทำให้ต้นทุนถูกลง

เนื่องจากแร่โคโบล์ทนั้นมีราคาแพงและเสาะหายาก ทำให้ GM ออกแบบแบตลูกใหม่ทั้งหมดที่ใช้โคโบล์ทในการผลิตน้อยลงและพวกเค้ายังได้วางแผนหาแร่อื่น เช่น นิกเกอร์มาทดแทนอีกด้วยครับ โดยวิศวกรของ GM ได้ออกมากล่าวว่า “เรากำลังจะหาสร้างแบตที่ไม่พึ่งพาการใช้งานแร่โคโบล์ท(cobolt)เลยเพื่อทำให้ราคาแบตต่ำลงไปกว่า $100 ต่อ kWh อย่างแน่นอน” และเมื่อใดก็ตามที่เราประสบความสำเร็จในการวิจัยเรื่องนี้ รถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาต้นทุนถูกกว่ารถยนต์น้ำมันอย่างแน่นอน

รูปภาพ : แร่โคโบล์ท

ลองคิดเล่นๆ นะครับ แบตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 รุ่น long range นั้นมีขนาด 75 kWh (วิ่งได้ไกลถึง 515 km) ถ้ามีใครซักคนที่สามารถคิดค้นแบตที่ไม่พึ่งพาสารประกอบอย่างโคโบล์ทได้แล้วต้นทุนแบตจะเหลือเพียง $7,500 หรือ 232,500 บาทเท่านั้น !! หรือถูกลงไปกว่าเท่าตัวเลยครับ

ส่วนการออกแบบแบตของ GM นั้นยังใช้รูปแบบเหมือนเดิมคือ pouch bag หรือเป็นถุงสี่เหลี่ยม

รูปภาพ : pouch bag(แบตทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบบางเฉียบ)ของ GM

2. เอาเธี่ยม(ultium)

เป็นชื่อเทคโนโลยีของแบตเตอรีรุ่นใหม่ของ GM ที่ได้พัฒนาร่วมกันกับ LG Chem ซึ่งเป็น vendor เจ้าเดียวกันกับที่ป้อนแบตให้แก่โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Gigafactory 3 ที่จีนนะครับ

โดยเทคโนโลยีเอาเธี่ยมตัวนี้จะถูกผลิตเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานลูกๆของ GM ทั้งหมด เช่น คาดิแล๊ค(Cadillac), เชฟโรเล็ต(Chevrolet), จีเอ็มซี(GMC), บูอิก(Buick), และค่ายอื่นๆในเครือตามประเทศต่างๆครับ

รูปภาพ : บริษัทภายในเครือ GM

3.ความจุตั้งแต่ 50-200 kWh

รถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่นของ GM หลังปี 2021 เป็นต้นไปจะมีความจุแบตต่ำสุดที่ 50 kWh และสูงสุดที่ 200 kWh(หรือมากกว่า Tesla Model S รุ่น performance[100 kWh] และ porsche Taycan [93.4 kWh] ถึง 2 เท่า)

รูปภาพ เซลแบตเตอรีรของถยนต์ไฟฟ้า โบล์ท(chevrolet bolt)

4. 400 ไมล์ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ของเครือ GM (หลังปี 2021 ไปแล้ว) นั้นจะสามารถวิ่งได้ไกลถึง 400 ไมล์(640 km) ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง หรือเรียกได้ว่าขับจาก กทม. ไปยังลำพูนภายในการชาร์จ 1 ครั้งแน่นอน และที่สำคัญรถนั้นรองรับระบบชาร์จเร็วที่ผมกำลังจะพูดถึงในหัวข้อถัดไป ซึ่ง GM แง้มมาแล้วว่าจะสามารถชาร์จได้เร็วถึง 100 ไมล์ต่อ 10 นาที หรือจะเรียกอีกอย่างว่า เสียบหัวชาร์จไฟเข้าไปเพียง 10 นาทีก็ได้ range (ระยะทาง)มาใช้ถึง 160 km ครับ แบบนี้ขับไปเชียงใหม่สบายๆ เลยนะครับ เพราะจอดเติมพลังงานเพียง 10 นาทีก็สามารถขับได้ไกลรวมกันถึง 800 km แล้วครับ

ภาพ : วิศวกร GM กำลังทำการวิจัยแบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้าภายในห้อง Battery Lab ของ GM ณ เมือง วอร์เรน รัฐ มิชิกัน

ราคาลีลิกค์เริ่มต้นที่ 2.1 ล้านบาท

คาดิแลคเตรียมเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าลีลิกค์ ที่ราคาเริ่มต้นที่ 2.1 ล้านบาท($75,000) ครับและจะเป็นรถ SUV หรูไฟฟ้าคันแรกของเครือ GM อีกด้วยครับ

BLINK DRIVE TAKE

ผมคิดว่า ถึงเวลาที่อุตสาหกรรมไทยควรจะทำงานอย่างหนักเพื่อเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงของยานยนต์โลกได้แล้วนะครับ ที่ผ่านมานั้นไทยเกาะติดกับอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นมากจนเกินไป จนตอนนี้เค้าย้ายฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไปอินโดนีเซียแล้ว ไทยเรายังไม่สามารถดึงเค้าคนนั้นมาลงทุนได้เลย ผมหมายถึงพี่โตนะครับ

โตโยต้าขนเงินลงทุน 6.4 หมื่นล้านบาท(2 พันล้านเหรียญ) ไปเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าณ ประเทศอินโดนีเซีย

ถ้าเราไม่เริ่มขายรถยนต์ไฟฟ้าในวันนี้ ผมกลัวว่าอีก 2-3 ปีข้างหน้าเราจะไม่เหลือธุรกิจยานยนต์อะไรให้ลูกหลานเราได้ทำงานเหมือนต่างประเทศกันนะครับ นี่แบร์นดหรูระดับโลกยังลงมาเล่นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเลยครับ แล้วแบรนด์บ้านๆ เราอย่างพี่โตนั้นจะรับมือแบรนด์เหล่านี้ไหวหรอครับ? เพราะถ้าเลือกความคุ้มค่าในการใช้งานแล้ว(ค่าซ๋อมและค่าเชื่อเพลิง) เป็นผม ผมก็เพิ่มเงินอีก 5 – 6 แสนบาท กัดฟันผ่อนรถ โดยเอาเงินส่วนต่างค่าน้ำมันมาผ่อนรถนี่แหละครับ

80,000 km เสียเงินกี่บาท?

ผมจะลองจำลองการใช้งาน 80,000 km แรกว่า ต้องเสียน้ำมันไปเท่าไหร่น่ะครับ

รถ toyota camry กินน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 30 mpg(miles per gallon) , โดยคำนวณจากน้ำมันราคา $2.4 /gallon หรือ 20.84 บาทต่อลิตร
อัตราค่าใช้จ่ายต่อไมล์คือ $ 0.08 / miles หรือ 2.64 บาทต่อกิโลเมตร
ใช้งานไปทั้งหมด 50,000 ไมล์ หรือ 80,000 กิโลเมตร  = 50,000 x 0.08 = $4,000 หรือ 132,000 บาท

รถ honda civic กินน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 32 mpg(miles per gallon) , โดยคำนวณจากน้ำมันราคา $2.4 /gallon หรือ 20.84 บาทต่อลิตร
อัตราค่าใช้จ่ายต่อไมล์คือ $ 0.075 / miles หรือ 2.475 บาทต่อกิโลเมตร
ใช้งานไปทั้งหมด 50,000 ไมล์ หรือ 80,000 กิโลเมตร = 50,000 x 0.075 = $3,750 หรือ 132,750 บาท

tesla model 3 กินไฟอยู่ที่ 23,7 kWh/100 miles หรือ 160 km
ค่าไฟฟ้าที่บ้านผม(รัฐ texas) = $0.1 หรือ 10 cent หรือ 3.3 บาทต่อหน่วย 
อัตราค่าใช้จ่ายต่อไมล์คือ $0.0237 / miles หรือ 0.78 บาทต่อกิโลเมตร
ใช้งานไปทั้งหมด 50,000 ไมล์ หรือ 80,000 กิโลเมตร = 50,000 x 0.0237 = $1,185 หรือ 39,105 บาท

สรุปค่าเชื้อเพลิง

หมายเหตุ: คำนวณจากค่าน้ำมันลิตรล่ะ 20 บาทครับ

ที่มา : หมัดต่อหมัดระหว่าง “รถยนต์ไฟฟ้ากับรถยนต์น้ำมัน” [ICE Car Vs. EV Car]

คุณว่าเอาค่าส่วนต่าง 100,000 บาทมาผ่อนรถจะคุ้มกว่าไหมครับ? ลองคิดดูนะครับ สำหรับคนที่ใช้งานรถยนต์ 500 – 1,000 km ต่อสัปดาห์เนอะ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Exit mobile version