ผมขอเล่าเรื่องราวต่างๆ ออกเป็นหัวข้อดังนี้นะครับ
- -นาซ่าคำนวณเอาไว้ว่าทุกๆ การปล่อยจรวด 60 ครั้งจะมี 1 ครั้งที่มีโอกาส Fail (ล้มเหลว)
- -ดังนั้นถ้ามัน Fail ขึ้นมาทางบริษัทหรือรัฐต้องหาทาง save (รักษา)ชีวิตนักบินให้จงได้จึงเป็นที่มาของระบบ Emergency Escape
- -ระบบ Emergency escape ของ SpaceX ได้ถูกทดสอบครั้งในปี 2015 ซึ่งตอนนั้นเค้าเรียกมันว่า Pad Abort Test
- -แต่ได้พัฒนาขึ้นไปอีกในปี 2020 เพื่อใช้ในการรักษาชีวิตรักบินอวกาศในกรณีจรวด Falcon 9 เกิดระเบิดระหว่างทางที่ขึ้นไปบนอวกาศครับ
- -ระบบ Emergency Escape ของ Dragon2 นั้นทำงานเหมือนการดีดตัวของเก้าอี้นักบินในเครื่องบินรบครับ โดยจะมีไอพ่นทั้งหมด 12 ตัวในนั้นแต่จะทำงานมากสุดเพียง 8 ตัวครับ (ด้านล่ะ 2 ตัว, มีทั้งหมด 4 ด้าน)
ที่มา : businessinsider
BLINK DRIVE TAKE
ผมคิดว่า อเมริกามองว่าต้นทุนที่แพงที่สุดขององค์กรคือคนนะครับ อุปกรณ์นั้นเสียหรือแตกหักไปก็สร้างขึ้นมาใหม่ได้ แต่คนนั้นสร้างขึ้นมาใหม่ยากครับ โดยเฉพาะนักบินอวกาศแบบบ๊อบและดั๊ก ดังนั้นเค้าต้องทำระบบให้ปลอดภัยมากที่สุดเพื่อปกป้องชีวิตของนักบินอวกาศทั้งคู่นี้เอาไว้ครับ เพราะมันคือชื่อเสียงของอเมริกาเลยครับ
ผมเชื่อว่าระบบ Emergency Escape(ทางออกฉุกเฉิน)นี้จะถูกนำมาใช้กับ Space Commercial Crew (การบินอวกาศพลเรือน)ในอนาคตอันใกล้นี้ด้วยครับ มันจะกลายเป็นมาตราฐานโลกไปเลยว่า กระสวยอวกาศทุกลำต้องมีไอพ่นในการดีดตัวออกจากจรวดในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นนะครับ อย่างเช่น จรวดระเบิดกลางอากาศ เป็นต้น