แน่นอนแหละว่ามีการถกเถียงกันมาอย่างยาวนานว่า มลพิษในเมืองหลวงนั้นมาจากรถยนต์หรือการเผาป่ากันแน่
โดยไม่มีใครสามารถหาข้อมูลมาสรุปได้เลยเพราะที่ผ่านมานั้นไม่เคยมีการหยุดใช้รถยนต์เป็นระยะเวลายาวนานแบบนี้มาก่อน(หยุดการใช้งานมากกว่า 1 เดือนแล้วในยุโรป)
ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งสายรักโลกและสายจ้างเขียนนั้นถกเถียงกันมาตลอดว่า อะไรเป็นสาเหตุของมลพิษในเมืองไม่ว่าจะเป็นฝุ่นควัน PM 2.5 หรือแก๊สพิษต่างๆ เช่น
- คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) และคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2)
- ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon)
- ไนตริคออกไซด์ (NO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (NO4)
- พวกอัลดิไฮด์ (Aldehyde)
- ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfurdioxide)
หมายเหตุ : ควันดำเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมาจากรถยนต์และอุตสาหกรรมหนักซึ่งถ้าสูดดมเข้าไปเป็นระยะเวลานานๆ ติดต่อกันแล้ว จะส่งผลเสียให้กับระบบทางเดินหายใจ เช่น ภูมิแพ้, โรคหอบหืด, และโรคปอดบวม ผมได้แนบไฟล์งานวิจัยของความอันตรายเกี่ยวกับควันพิษเหล่านี้ให้ทุกท่านได้อ่านตรงนี้ด้วยนะครับ
ที่มา : link1, link2, link3, link4
ซึ่งควันพิษเหล่านี้สามารถพบเจอกันในเมืองได้อย่างปกติ แต่ด้วยเหตุผลหลายประการที่ทำให้ผลงานวิจัยเกี่ยวกับสาเหตุการก่อให้เกิดควันพิษในเมืองเหล่านี้ถูกบิดเบือนมาโดยตลอดจากกลุ่มนายทุนบางส่วน
ประเทศต่างๆ ในยุโรปเริ่ม lockdown
มาถึงวันนี้ ผมได้ข้อมูลจากฝั่งยุโรปมายืนยันโดยเป็นข้อมูลภาพถ่ายทางดาวเทียมเพื่อตรวจหาแก๊สพิษไนตริคออกไซด์ (NO2) แบบ timelapse( เป็นการถ่ายภาพในช่วงเวลาหนึ่งๆ ใช้เทคนิคเหมือนการถ่ายทำภาพยนตร์แบบเร่งความเร็ว สามารถย่นระยะเวลาจาก ปี เดือน วัน ชั่วโมง มาเหลือเพียงนาที หรือไม่กี่วินาทีเท่านั้น) ตั้งแต่เดือนมกราคม ไปจนถึง เดือนมีนาคม โดยเอาทั้งปี 2019 และปี 2020 มาเปรียบเทียบกันแบบวันต่อวัน
คุณจะเห็นด้วยว่า ปี 2019 นั้นไม่ว่าจะเป็นวันไหนของปีนั้น สภาพอากาศนั้นจะเต็มไปด้วยแก๊สไนตริคออกไซด์ (NO2) ลอยเต็มอากาศ แต่กลับกันในปี 2020 นั้นแทบจะไม่เห็นแก๊สไนตริคออกไซด์ (NO2)เหล่านั้นเลยยิ่งเดือนมีนาคม 2020 แล้วล่ะก็ คุณแทบจะเห็นมลพิษทางอากาศแถบทางยุโรปนั้นเป็นศูนย์คือไม่มีมลพิษกันเลย
หมายเหตุ : แก๊สไนตริคออกไซด์ (NO2)นั้นเกิดจากการเผาไหม้จากรถยนต์น้ำมันและอุตสาหกรรมหนักต่างๆ นะครับ
เห็นยอดเขาหิมาลายาในรอบใน 30 ปี
มีชาวอินเดียหลายคนได้ถ่ายภาพภูเขาหิมาลายาจากบ้านตัวเองที่อยู่ห่างออกไปจากภูเขาประมาณ 300-500 km ซึ่งเค้าบอกว่า ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยเห็นวิวนี้เลย โดยมีนักวิชาการหลายท่านเข้ามาคาดการณ์ว่า ฝุ่นละอองและควันดำเหล่านี้ได้บดบังทิวทัศน์ของยอดขายหิมาลายามาประมาณ 30 ปีได้แล้วครับ
ที่มา : insideevs
BLINK DRIVE TAKE
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลยืนยันได้ว่า ควันพิษในเมืองไทยนั้นมาจากรถยนต์น้ำมันหรืออุตสาหกรรมหนักต่างๆ แต่ถ้ามาจากอุตสาหกรรมจริงๆ ทำไมรัฐถึงปล่อยให้อุตสาหกรรมเหล่านี้เปิดกิจการอยู่ได้โดยไม่สร้าง ISO ต่างๆ เพื่อกำจัดควันพิษเหล่านั้น
แต่ที่แน่ๆ หลังจากที่ไวรัส COVID-19 ระบาดนั้นเราได้เห็นการเปลี่ยนทางธรรมชาติหลายอย่างบนโลกนี้อย่างเห็นได้ชัดนะครับ เพราะมนุษย์ใช้นโยบาย Stay In Place (กักตัวอยู่บ้าน) ทำให้รถยนต์น้ำมันก็ไม่ถูกนำมาใช้, โรงงานต่างๆก็หยุดพักชั่วคราว
ในขณะที่มนุษย์กำลังเผชิญกับวิกฤตครั้งใหญ่ในรอบร้อยปี อีกด้านหนึ่งดูเหมือนว่าธรรมชาติจะมีพื้นที่ให้หายใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศสะอาดจากปริมาณควันพิษที่น้อยลง หรือข่าวดีล่าสุดบนชายฝั่งของอินเดีย ที่ปรากฏเต่าทะเลนับแสนตัวกลับขึ้นมาวางไข่อีกครั้ง
ที่มา : flowerbeaties
หรือว่าพวกเราเป็นไวรัสของโลกใบนี้นะครับ โลกเพียงสร้างเชื้อไวรัส COVID-19 มาเป็นยารักษาสัตว์ต่างๆ บนโลกและโลกบนนี้ให้กลับมามีสมดุลอีกครั้งเองครับ
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผมภาวนาและหวังให้ทีมแพทย์และประชาชนคนไทยทุกคนปลอดภัยจากภัยอันตรายในครั้งนี้ด้วยนะครับ ขอให้ทีมงานวิจัยนั้นพัฒนาวัคซีนออกมาให้ได้โดยเร็วพลันด้วยเถอะครับ