จากแนวคิดของ ดร.ไมเคิล แบร์รี่ ผู้ที่ชนะตลาดในวิกฤตหนี้ครั้งใหญ่ปี 2008 จนกลายเป็นตำนานในภาพยนตร์ “THE BIG SHORT” ในปี 2015 โดย ดร.ไมเคิล แบร์รี่ได้ทำกำไรจากการทำสัญญาประกันหนี้เสียในกลุ่มอสังหา (Short housing bond)
เรื่องราวสั้นๆจากหนัง “THE BIG SHORT” (2015) ที่กล่าวถึงวิกฤตทางการเงินครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2008 นำแสดงโดย 4 นักแสดงชั้นนำ ซึ่งประกอบด้วย คริสเตียน เบล, สตีฟ คาเรลล์, ไรอัน กอสลิง และ แบรด พิตต์ ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริงซึ่งเป็นหนังสือระดับเบสเซลเลอร์โดย ไมเคิล ลูอิส (เจ้าของผลงาน The Blind Side, Moneyball) ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวของกลุ่มคนที่เห็นเค้าลางของวิกฤติเศรษฐกิจก่อนองค์กรอื่น ทั้งธนาคารขนาดใหญ่, สื่อมวลชน และรัฐบาลสหรัฐ พวกเขาจึงเกิดไอเดียในการลงทุนที่นำไปสู่ด้านมืดของระบบธนาคารสมัยใหม่ ที่ทำให้เขาต้องตั้งคำถามกับทุกคนและทุกสิ่ง
โดยสมัยนั้น สถาบันการเงินอเมริกามีหนี้เสียจำนวนมาก ซึ่งคนที่รู้เรื่องนี้คนแรกก็คือ ดร. แบร์รี่ ซึ่งเค้ารู้มาว่าระบบการกู้เงินเพื่อซื้อบ้านของประเทศอเมริกานั้นหละหลวมเอามากๆ เนื่องจากระบบนั้นแทบไม่ได้เช็ค background (ประวัติ)ของผู้กู้ยืมเลยซักคน เอาเป็นว่า เด็กนั่งdrink หรือเด็กรูดเสา(stripper) ก็สามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ถึง 5 หลังโดยเอาเงินจากการกู้นั้นมาจ่ายเพื่อหมุนดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ พอเค้าทราบเรื่องนี้ก็ได้ยื่นข้อเสนอกับทางธนาคารเพื่อขอออกตราสารทางการเงินเพื่อทำการ short หุ้นกู้ประเภท housing bond (หุ้นกู้อสังหาริมทรัพย์) ตั้งแต่ปี 2006 เพราะเค้ารู้ว่าอเมริกานั้นไม่สามารถไปต่อได้แน่นอน
ในปี 2008 ซึ่งเป็นปีที่สหรัฐอเมริกาขึ้นถึงวิกฤตทางการเงินครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เค้าได้เงินชดเชยจำนวนมหาศาลจากการ short ตลาดหุ้นกู้เหล่านั้น (มากกว่า 400% ของการลงทุน)
มาในปี 2020 นี้ เขาได้ลงทวิตเตอร์หลายครั้งเพื่อเตือนสติรัฐบาลไม่ให้ทำการ lock down เหตุผลที่ทำให้เค้าเชียร์ให้รัฐบาลเปิดประเทศต่อ
เอาการเสียชีวิต 0.2% มาแลกเศรษฐกิจของคนอเมริกา 99.8%
ดร. แบร์รี่ ได้ให้รัฐบาลปล่อยให้คน 0.2% (หรือเทียบเท่าจำนวนประชากร 600,000 คนของอเมริกา) ตายจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยแนะนำให้รัฐไม่ปิดเมือง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยพยุงเศษรฐกิจให้แก่ประเทศอเมริกาและจะทำให้ประชากรอเมริกาประมาณ 99.8% รอดตายจากพิษเศรษฐกิจ และนี่คือส่วนหนึ่งของทวิตเตอร์เค้า
ข้อความจากทวิสเตอร์ “หนี้เสียจากสินเชื่้อบ้าน 15 ล้านเหรียญ ตัวเลขจากตกงานเพิ่มขึ้น 10% ในอเมริกาแล้วมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 20% จากความไม่สงบ เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมาไวรัสเริ่มระบาดในอเมริการัฐบาลเริ่มคำสั่งทั้งๆมันฆ่าคนไม่ถึง 0.2%”
ใช้ยาแก้ COVID-19 แทนการ lock down
ดร. แบร์รี่ นั้นเป็นห่วงเศรษฐกิจเป็นอย่างมากจึงไม่เห็นด้วยกับการปิดเมืองที่ส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจ แต่ถ้าไม่ปิดเมืองและรักษาด้วยยาโดยให้รัฐบาลจ่ายเงินสนับสนุนให้ทุกคนสามารถเข้าถึงกลุ่มยา Hydroxychloroquine-Azithromycin และ Chloroquine ได้ คนจะตายอย่างต่ำจะอยู่ที่ 0.2% หรือ 654,400 คน ซึ่งเป็นตัวเลขขั้นต่ำในกรณีที่ทุกคนมียา แต่ความเป็นจริงแล้วไม่สามารถผลิตยาเพียงพอต่อประชากร 327 ล้านคนในอเมริกาได้ โดยปัจจุบันยา Chloroquine มีราคา $337 ต่อกล่อง
ซึ่งทุคนไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะ วันแรกต้องทาน 1000 mg แล้วเว้นไป 6 – 8 ชั่วโมงอีก 500 mg เว้นไป 2 วันทานอีก 500 mg หลังจากนั้นทาน 500 mg ทุกวันต่อเนื่องเป็นเวลา 3 วัน รวม 8,000 mg หรือ 32 เม็ด ประมาณ 6,990.75 บาท ไม่รวมภาษีกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลกรทางการแพทย์ และ ยา Hydroxychloroquine-Azithromycin
คำแนะนำจาก ดร. แบร์รี่
ซึ่ง ดร.แบร์รี่แนะนำให้รัฐบาลพยายามลดราคายาดังกล่าวให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และ เน้นที่การเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพยท์ของประชาชนมากยิ่งขึ้น
โดยปัจจุบันอเมริกาได้ประกาศปิดเมืองบ้างเมืองแล้วแต่มีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น ทำให้การคาดการล่าสุด อเมริกานั้นจะขาดแคลนเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด โดยความต้องการเตียงสำหรับผู้ป่วยอยู่ที่ 140,823 เตียงแต่ปัจจุบันขาดเตียงไป 36,654 เตียง (นี่หมายถึงเตียงผู้ป่วยที่มีเงินรักษา) ส่วนห้องฉุกเฉินมีความต้องการ 29,210 เตียง ขาดแคลน 16,323 เตียง
ปัญหาเศรษฐกิจของอเมริกาในปัจจุบันยังคงมีต่อเนื่องจากตัวเลขการว่างงานที่มากขึ้นและหนี้สินของคนอเมริกา และ การจะทำงานอยู่กับบ้านนั้นมีแค่ไม่กี่คนที่สามารถทำได้ โดยดร.แบร์รี่ได้กล่าวว่ามีเพียง 30 เปอร์เซนต์ของคนขาวและคนเอเชียที่ทำงานที่บ้านได้ นั้นแปลว่า 70% ของคนผิวขาวและคนเอชียจะตกงานแต่คนลาตินอเมริกาและคนผิวดำแถบจะไม่สามารถทำงานได้เลย
ที่น่าแปลกใจคือตลาดหุ้นอเมริกานั้นกลับขึ้นในสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษา 2020 สวนทางกับสถานกาลที่เป็นอยู่ แต่ทางการยังไม่มีการรายงานการล้มละลายของบริษัทใหญ่ทั้งๆหนี้เสียเพิ่มขึ้นทุกวัน
หนี้เสียเกี่ยวกับการล้มละลายของสถานบันการเงินได้อย่างไร
สถานบันการเงิน หรือ ธนาคาร หรือ บริษัทสินเชื่อนั้นจะรับฝากเงินจากลูกค้าที่ไปเปิดบัญชีออมทรัพย์ แล้วนำเงินที่ลูกค้ามาฝากไปปล่อยกู้โดยทางธนาคารจะได้ดอกเบี้ยจากการปล่อยกู้ แล้วแบ่งดอกเบี้ยบางส่วนให้ผู้ฝาก ซึ่งธนาคารจะได้ส่วนต่างจากการปล่อยกู้และฝากเงิน ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่มีเงินจ่ายธนาคารจะประเมินเป็นหนี้เสีย (Non Profit Loan : NPL) ภายใน 1 ปีแล้วทำการขายหนี้เสียให้บริษัททวงหนี้ในราคาถูก ซึ่งธนาคารจะยอมขายขาดทุนและบันทึกเป็นตัวเลขขาดทุน ถ้าธนาคารขาดทุนจากการโดนเบี้ยวหนี้มากๆ จะทำให้ธนาคารไม่มีเงินให้ลูกค้าถอนและล้มละลายในที่สุด
BLINK DRIVE TAKE
ผมไม่เห็นด้วยกับดร.แบร์รี่ เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า การเปิดเมืองจะสามารถควบคุมการติดเชื้อให้อยู่เพียง 0.2 %ได้หรือไม่ แต่ผมสนับสนุนการที่รัฐบาลควรเข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแลราคายา เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงยาได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการเลือกว่าคนรวยเท่านั้นที่รอด แต่การใช้ยานั้นก็ไม่ได้แปลว่าจะรอดทุกคนเนื่องจากยาเหล่านี้มีผลข้างเคียง มากไปกว่านั้นยามาลาเรียเป็นยาที่แรงอาจจะเป็นอัตรายต่อผู้ป่วยได้หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และ ผมร่วง
ชุดตรวจและยารักษาโควิดในอเมริกาปัจจุบันนั้นยังคงไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยเพราะฉนั้นการตรวจและการรักษาจึงมีราคาที่สูง จึงเป็นปัญหาของคนขอทาน และ แรงงานต่างด้าวที่ไม่มีเงินที่จะสามารถรักษานำไปสู่การแพร่เชื้อที่รวดเร็วและบาดปลาย
มุมมองตลาด
ถ้าอ้างอิงจากเทคนิคคอล นั้นคือการเชื่อว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยวิกฤตรอบนี้จะคล้ายๆรอบที่ผ่านมาวิหลายๆวิกฤต
จุดที่ 1 คือจุดสูงสุดของดัชนี DOW JONES ประมาณ หนึ่งหมื่นสี่พันกว่าจุด ในช่วง 2006-2009 วิกฤตซับพราม 2008 ดัชนีมีการลงไปที่จุด 2 ที่ 11,649 หรือประมาณ 15% ก่อนแล้วดีดกลับมาที่จุด 3 บวกประมาณ 12% หลังจากนั้นก็ sideways down จนเดือนกันยายน 2008 บริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเงินอย่าง Lemenh Brother ประกาศล้มละลายแล้วนำไปสู่การล้มของตลาดหุ้นที่ทำให้ดัชนีดาวน์โจนจากหมื่นสี่พันจุดเหลือไม่ถึงครึ่งภายในเวลา 1 ปี
ถ้าสนใจจะศึกษาเกี่ยกับการล้มของ Lehman brother ขอแนะนำหนังเรื่อง The last days of Lehman brother หนังเรื่องนี้สร้างโดยบีบีซี โดยสร้างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสามวันสุดท้ายของ Lehman Brothers โดยฉากสุดท้ายของบริษัทนี้เริ่มต้นขึ้นในวันศุกร์ที่บริษัทขาดสภาพคล่อง และพยายามให้รัฐมาอุ้ม หรือไม่ก็หาคนมาซื้อต่อ และเมื่อหมดหนทาง ก็ทำให้ฝ่ายกฏหมายของบริษัทต้องเตรียมเอกสารให้เสร็จภายในคืนวันอาทิตย์ เพื่อยื่นล้มละลายในวันจันทร์
หลังจากการล้มของตลาดหุ้น ตลาดหุ้นใช้เวลาประมาณ 5 ปีที่จะฟื้นฟููราคาให้กลับมาเหมือนเดิม ปัจจุบันบริษัทใหญ่ในอเมริกายังไม่มีรายงานการล้มละลายตลาดหุ้นย่อจาก 29551 (จุดสูงสุด หรือ 1 )ไปสู่ 18,591 (จุดต่ำสุดในรอบแรก หรือ จุดที่ 2) หรือประมาณ 37.09% แล้วดีดกลับมาที่ 22,653.86 หรือ 21.85% แต่จุดที่ 3 ควรจะขึ้นในเปอร์เซนต์ที่ใกล้เคียงกับตอนลงมาที่ประมาณ 35% บวกลบ 5% หรือ ระหว่าง 24,168 กับ 25,097 ปัจจุบันยังสามารถขึ้นไปได้อีกนิดหน่อยก่อนจะลง แต่ก็ต้องฟังข่าวการล้มละลายของบริษัทใหญ่ประกอบด้วย