Site icon Blink Drive

Tesla Model 3 เป็นแผลแบบนี้, ค่าซ่อม(จากศูนย์บริการ)เท่าไหร่?

บทความนี้มาจาก cleantechnica

เรื่องราวมีอยู่ว่า ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 คันนี้ได้ทำการถอยรถเข้าไปจอดโดยไม่ระวังจึงทำให้ฝั่งซ้ายของด้านหน้ารถนั้นไปกระทบกับเสา “parking sign”(ป้ายจอดรถ)เข้าให้แบบเบาๆ

หลังจากที่รถชนกับเสานี้แล้ว เจ้าของรถก็ได้เดินลงมาดูบาดแผลนั้นแล้วก็พูดกับตัวเองแบบชิวๆ ว่า “no big deal” (แปล- ไม่น่าใช่เรื่องใหญ่อะไร) เพราะแผลนั้นยาวแค่ 4 นิ้วเท่านั้น

รูปภาพ แผลบุบที่อยู่บนตัวรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3

แต่ความบรรเทิงก็เกิดขึ้นเมื่อเค้าได้นำรถเข้าร้านซ่อมตัวถังPrecision Autoworks เพื่อให้ทางช่างซ่อมตัวถังตีราคาค่าซ่อม เรียกได้ว่า “ล้มทั้งยืน” โดยเจ้าของร้าน(ผู้หญิง)ชื่อ Chef ได้ออกมาเชครถและบอกว่า เท่าที่ดูจากบาดแผลนี้ก็น่าจะประมาณ $2,000 หรือ 62,000 บาทน่ะ เท่านั้นยังไม่พอ เจ๊แกบอกว่าเดี๋ยวก่อนยังไม่รวมค่าแรงหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆเลย

หมายเหตุ : ร้านซ่อมตัวถังPrecision Autoworks นั้นเป็นร้านซ่อมตัวถังที่ได้รับการรับรองจากบริษัท Tesla ครับ(Authorized repair shops ในเมือง New York )

เจ้าของรถก็บอกว่า เดี๋ยวก่อนนะ ขอผมเชคกับบริษัทประกัน(liberty insurance)ของผมก่อนนะว่าเค้าจะจ่ายค่าซ่อมส่วนนี้ให้ผมได้ไหม

หลังจากที่บริษัทประกันได้คุยกับร้านซ่อมตัวถังแล้วก็โทรกลับมาหาเจ้าของรถแล้วบอกว่า “ร้านเรียกราคาสูงมากๆ” โดยสรุปแล้วคือ “ทั้งหมด $7,000 หรือ 217,000 บาทซึ่งแบ่งออกเป็นค่าของ $2,000 หรือ 62,000 บาท และค่าแรงอีก $5,000 หรือ 155,000 บาท” ส่วนนี่ก็คือบิลค่าซ่อมของรถคันนี้

อ้างอิงจากบิลด้านบนแล้ว จะเห็นว่าค่าของ(หรืออะไหล่)นั้นราคาเพียง $250 หรือ 7,500 บาทเอง ส่วนค่าแรงนั้นผมจะแบ่งออกเป็นส่วนๆ ดังนี้

ระบบประกันภัยชั้น 1 ของอเมริกา

ผมขออธิบายแบบคร่าวๆ นะครับ เพื่อให้เข้าใจภาพรวมว่า ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้แทบไม่ได้จ่ายค่าเสียหายครั้งนี้เลย เค้าทำได้ยังไง? (เอาล่ะเรามาดูกันด้านล่างนี้เลยครับ)

โดยที่อเมริกานั้นการทำประกันชั้นหนึ่งนั้นจะครอบคลุมเยอะมากๆ เช่น รถหาย, รถโดนชนแล้วหนี, ลูกเห็บตกใส่, กวางวิ่งชนรถ, รถวิ่งชนควายหรือกวาง, รถน้ำท่วม, รถระเบิดเอง, และสารพัดรูปแบบหายนะ ซึ่งเค้าจะเรียกประกันตัวนี้ว่า Full coverage (ประกันชั้น 1 บ้านเรา)

มารอบนี้เจ้าของรถก็ได้กดสูตรให้ประกันจ่ายค่าซ่อมทั้งหมดโดยมี Deductable(เงินเริ่มต้นที่ผู้ใช้ประกันต้องออกก่อนโดยส่วนใหญ่จะตั้ง default กันที่ $500 ครับ [policy ของผมก็ตั้งเอาไว้ที่ $500 เช่นกันครับ])

อย่างเคสด้านล่างนี้ ค่าเสียหายทั้งหมดที่ร้านซ่อมตัวถังรถคำนวณออกมาได้ก็คือ $6,256 หรือ 193,936 บาท!!! (แม่เจ้าซื้อรถมือสองสภาพดีได้คันนึงเลย) โดยเค้าได้ใช้ deductible ของบริษัทประกันภัยของตนเอง(liberty insurance)ซึ่งหมายความว่า เจ้าของรถจ่ายเพียงง $500 แรกส่วนที่เหลือบริษัทประกันจะเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมด(อีก $5,756 หรือ 178,436 บาท)

หมายเหตุ : หลังจากเราใช้ deductible แล้ว ค่าประกันของเราในรอบ policy ถัดไป(ที่อเมริกานั้นจะคิด policy ทีล่ะ 6 เดือนนะครับ)ก็จะขึ้นมา แต่ก็ไม่ขึ้นมากหรอกครับ

ผมจะไม่ขอเจาะลึกมากนักเกี่ยวกับระบบประกันรถยนต์ของอเมริกานะครับ เดี๋ยวจะออกทะเลไปไกลกว่านี้ ฮ่าๆ ส่วนภาพด้านล่างนี้คือ ภาพที่ซ่อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว สวยเหมือนใหม่จริงๆครับ

BLINK DRIVE TAKE

ผมว่า เทสล่าเป็นบริษัทที่ชาญฉลาดเอามากๆ นะครับ เล่นจับยัดของเล่นแพงๆ เข้ามาในรถหรือทำ body (ตัวถัง)ให้ราคาแพงเวอร์ๆ ไปเลย จากนั้นก็ไปทำพวกแบตและมอเตอร์ให้ทนๆ ถึกๆ และบริการหลังการขายแข็งๆ

เพราะว่า body part (อะไหล่เกี่ยวกับตัวถัง)ทุกส่วนรอบรถนั้นเป็นความผิดของผู้ใช้งานยังไงล่ะครับ แน่นอนละครับว่า ถ้าคุณขับรถไปเสยกับฟุตบาต(ทางเท้า)แล้วรถเป็นรอย ยังไง 100 ทั้ง 100 ก็เป็นความผิดของผู้ใช้งานครับ(Human error) ดังนั้น คุณก็ต้องเลือกว่าจะซ่อมเองหรือไปซ่อมศูนย์ แล้วคราวนี้ระบบประกันภัยของอเมริกานั้นแข็งแกร่งมากๆ คือ เคลมได้หมดทุกอย่าง ทำให้ลูกค้าก็ไปเคลมประกัน ส่วนเคสไหนชนมาแบบยับนิดหน่อย เคลมไป เคลมมาเกินราคาตัวรถเค้าก็ไม่ซ่อมให้เลย

ข้อดีคือ ปลอดภัยครับเพราะรถบางคันชนมาแล้ว พอเอาไปซ่อมให้ตายยังไง เอาไปขับก็จะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว

ข้อเสียคือ เปลืองเงินเราครับ เพราะเราต้องไปซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่มาอีก

อย่างแผลด้านล่างนี้ราคาประมาณ $4,000 หรือ 124,000 บาทครับ

ที่มา : insideev

เอาละครับ ถ้าแผลแบบด้านบนนี้ที่ไทยคิดราคาเท่าไหร่ครับ? ที่อเมริกานั้นคิดราคาค่าแรงในการซ่อมแบบหน้าเลือดมากครับ

รถยนต์ไฟฟ้านั้นไม่มีอะไรให้ maintenance(บำรุงรักษา)หรือ repair(ซ่อมแซม)เหมือนรถ ICE (Internal Combustial Engine) ก็จริง แต่แผลที่เกิดจากการใช้งานนั้นราคาแพงแบบว่าซื้อรถคันใหม่ได้เลยนะครับ

Stay tune, stay with BLINK DRIVE

Exit mobile version