Site icon Blink Drive

Suzuki จับมือกับ Toshiba, Denso ร่วมลงทุน 1.5 หมื่นล้านบาท สร้างโรงงานผลิตแบตรถยนต์ไฟฟ้า lithum-ion ณ ประเทศอินเดีย

ย้อนกลับไปในปี 2017 บริษัท Automotive Electronics Power Private Limited (AEPPL) ได้ก่อนตั้งขึ้นโดยมามีการร่วมลุงทนระหว่าง Suzuki, Toshiba, และ Denso

โรงงาน AEPPL แห่งนี้จะถูกสร้าง ณ เมือง Hansalpur รัฐคุชราต ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นที่ 20,000 ล้านเยน หรือ 5,450 ล้านบาทในปี 2018 นี้ โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนออกเป็น Suzuki 50 % , Toshiba 40 % และ Denso 10 % โดยบริษัทจะเริ่มส่งมอบแบตภายในปี 2020

รูปภาพ : การ Joint Venture(ร่วมทุนระหว่างยักษ์ใหญ่ของโลก) จาก economictime.indiatimes

อินเดียเตรียมขึ้นเป็นเบอร์ 3 ของโลก

การลงทุนครั้งนี้นั้นหวังผลเพื่อผลักให้ประเทศอินเดียก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอันดับ 3 ของโลกภายในปี 2021 นี้(รองลงมาจากจีนและอเมริกา) โดยอินเดียจะเน้นผลิตชุดขับเคลื่อนระบไฟฟ้าทั้งหมด(เช่น มอเตอร์, อินเวอร์เตอร์, และแบตเตอรี่) ให้แก่รถยนต์ compact car

ภาพ : mahindra จาก hindustantime

ที่มา : economictime.indiatimes

CO2 standard บังคับให้ suzuki ต้องปรับตัว

เนื่องจากประเทศอินเดียในตอนนี้นั้นเต็มไปด้วยฝุ่นและควันไอเสีย ทางประเทศอินเดียจึงตั้งกฏหมายเรื่อง CO2 standard(ค่ามาตราฐานการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์)ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นการบังคับบริษัทผลิตรถยนต์ทุกบริษัท(รวมไปถึง suzuki)ทางอ้อม โดยใครก็ตามที่ยังผลิตรถยนต์น้ำมันเหมือนเดิม อาจจะโดนค่าปรับภายในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย (แปลกใจจริงๆว่า ไทยไม่มีกำหนดกฏหมายตัวนี้ในการผลิตรถยนต์น้ำมันเลย)

ตลาดรถยนต์ในอินเดียนั้นเน้นรถยนต์ compact(รถยนต์นั่งขนาดเล็ก) เป็นหลัก ดังนั้น เราจึงอยากนำเสนอเทคโนโลยีรักษ์โลกโดยจับมาใส่ในรถยนต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ การลงทุนครั้งนี้เป็นการร่วมลงทุนระหว่าง 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกเพื่อผลิตแบตเตอรี่ lithium-ion ซึ่งเป็นแบตรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ บริษัทของเราภูมิใจอย่างยิ่งที่จะช่วยโปรโมทการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าและสนับสนุนการบุกเบิกรถยนต์ไฟฟ้าไปพร้อมๆกับรัฐบาลอินเดีย

Suzuki ได้กล่าวไว้
ภาพ : รถตู้ไฟฟ้าขนาดเล็กของ suzuki credit : ETPrime

เฟสสองมาพร้อมกับเงินลงทุน 1.5 หมื่นล้านบาท, เริ่มแล้ว!!

หลังจากการลงทุนในปี 2018 ไปแล้ว ตอนนี้ suzuki เริ่มเข้าสู่เฟสสองซึ่งจะเพิ่มเงินลงทุนทั้งหมด 3,715 โกฏิรูปีหรือประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท(1 โกฏิรูปี เท่ากับ 10 ล้านรูปี)

อ้างอิงจาก livemint บริษัทร่วมทุนนี้วางแผนเพิ่มทุนขึ้นไปอีกในปี 2021 ถึง 2025 โดยพวกเค้าตั้งเป้าเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกภายในปี 2025 นี้อีกด้วย(เดี๋ยวว่างๆ ผมจะเขียนเกี่ยวกับยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ให้อ่านนะครับ จะได้เข้าใจว่าทำไมอินเดียถึงสามารถไปถึงเป้าหมายนี้ได้)

จ้างงานเพิ่ม 1,000 ตำแหน่ง

ระหว่างที่เฟสหนึ่งที่สร้างเสร็จไปแล้วและกำลังจะเริ่มผลิตภายในปีนี้ (2020) โดยเฟสแรกนั้นมีไลน์การผลิตเพียงแค่ 1 ไลน์เท่านั้น ส่วนเฟสสองนั้นวางแผนจะเพิ่มไลน์การผลิตแบตเตอรี่เป็น 4 ไลน์การผลิต(assembly lines)

AEPPL ตั้งเป้าให้โรงงานแห่งนี้ผลิตแบตออกมาได้มากกว่า 1 GWh ภายใน 2025 ระหว่างนี้การจ้างงานจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 1,000 คนพร้อมๆ กัน

Suzuki เป็นเจ้าใหญ่ที่สุดในอินเดีย

สิ่งที่อยากให้จับตามองก็คือ Maruti Maruti Suzuki India Ltd. นั้นขายรถยนต์ได้อันดับต้นๆ ของประเทศอินเดีย(บางปีก็แซง hyundai และ tata จนขึ้นมาเป็นที่หนึ่ง) ดังนั้นการที่เจ้าใหญ่ระดับประเทศหันหน้ามาเล่นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าตรงๆ แบบนี้ (วางแผนจะขายรถยนต์ไฟฟ้าภายในสิ้นปีนี้ด้วย) คาดว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของตลาดทั้งในและต่างประเทศของอินเดียตามมาเช่นกัน

รูปภาพ : ยอดขายรถยนต์ต่างๆในประเทศอินเดียในเดือนธันวาคม 2562

ที่มา : newmobility

BLINK DRIVE TAKE

โปรเจคนี้ Suzuki ได้เก็บเอาไว้เป็นโปรเจคลับมาซักพัก ถึงมีการเปิดเผยในอินเดียแต่ก็ไม่ได้โด่งดังอะไรในปี 2018 เพราะการลงทุนนั้นน้อยมากๆ แต่พอมาปี 2020 นั้น Suzuki ดันเปิดไพ่ที่ซ่อนมาตั้งนานโดยการบุกลุยสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในอินเดีย แถมยังตั้งใจให้โรงงานของตนเองเป็นโรงงานที่สามารถผลิตแบตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้เยอะที่สุดในโลกภายใน 5 ปีหลังจากนี้อีกด้วย

ผมมองว่า อินเดียกับจีนนั้นทำได้เพราะค่าแรงถูกเหมือนไทยครับ จริงๆ ไทยก็ทำได้ แต่ไม่แน่ใจว่า ทำไมไม่ทำ หรือไม่มีนโยบายเหล่านี้เลย ใครมีข้อมูลว่า ไทยกำลังเริ่มต้นสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (ผมย้ำว่า ไฟฟ้านะครับไม่ใช่แบตของรถยนต์น้ำมัน hybrid ที่ไม่มีรูเสียบปลั๊กครับ) แจ้งมาที่เพจ blink drive ได้เลยครับ ผมจะนำมาเผยแพร่ให้ฟรีๆครับ

ถ้าไทยยังไม่เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2020 นี้แล้วล่ะก็ ผมมองว่า อีก 4 ปีข้างหน้า(2024) เราอาจจะต้องนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดียและจีนอย่างแน่นอนครับเพราะฝุ่น PM 2.5 นั้นเพิ่มขึ้นทุกวัน

ผมไม่เชื่อหรอกว่า รถยนต์เป็นปัจจัยหลักในการสร้างฝุ่น PM 2.5 แต่ผมเชื่อว่า รถยนต์น้ำมันมีส่วนในการสร้างฝุ่นเหล่านี้แน่นอน ถ้าประเทศใหญ่ๆ บนโลกแบนการใช้งานรถยนต์น้ำมันในเมืองหลวงภายในปี 2025 แล้ว(ตอนนี้ อังกฤษตั้งโซน ULEV ซึ่งเป็นโซนที่ปล่อยให้รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งผ่านฟรีๆ แต่ถ้ารถยนต์น้ำมันอยากวิ่งผ่านต้องเสียเงินครับ) เชื่อว่า ไทยก็ต้องทำตาม มาถึงวันนั้น หันกลับไปมองตลาดรถยนต์ไทยมีแต่รถยนต์น้ำมันให้เลือกซื้อ สุดท้าย รัฐบาลไทยก็คงต้องทำใจและเปิดให้มีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าอย่างเสรี สิ่งที่ตามมาคือ แรงงานไทยก็ตกงานกันหมดนะครับ

ปล. อย่าเพิ่งเชื่อผมครับ แต่เอายอดขายรถยนต์ปลายปีนี้ของต่างประเทศเป็นเครื่องพิสูจน์คำพูดเหล่านี้ครับ ถ้าตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามันเติบโตมากกว่านี้เพียง 50% แล้วล่ะก็ เชื่อว่า ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์น้ำมันในต่างประเทศแห่กันเปลี่ยนอาชีพกันเป็นแถวแน่นอนครับเพราะอะไหล่ในรถยนต์ไฟฟ้ามันน้อยมากๆ ดังนั้น โรงงานอะไหล่ก็คงต้องปิดตัวลงแหละครับ

Stay tune, Stay with BLINK DRIVE

Exit mobile version