Blink Blink
News

ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ปธน. 2563 พรรคเดโมแครต (สหรัฐ) ต่างชูจุดยืนสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า

วันนี้ผมจะพามาดูความคิดของคนอเมริกากันบ้างว่า เค้าคิดอย่างไรกับรถยนต์ไฟฟ้า จนตกผลึกเป็นนโยบายที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในปีหน้านี้อีกด้วยนะครับ

โจ ไบเดิน : ไม่เพียงแต่สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าแต่ยังสนับสนุนการพัฒนา Biofuels

โจเซฟ โรบิเนตต์ ไบเดิน จูเนียร์ (อังกฤษ: Joseph Robinette Biden, Jr.) หรือเรียกอย่างง่ายว่า โจ ไบเดิน เป็นนักการเมืองชาวอเมริกัน ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 47 ระหว่าง พ.ศ. 2552 ถึง 2560

ด้านรถยนต์ไฟฟ้า : อ้างอิงจากข้อมูล campaign ของเว็บไซต์ไบเดินนั้น เค้าได้บอกว่า จะเอา tax incentive (การให้สิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆทางภาษี)กลับมาให้เหมือนเดิม แถมบอกว่า จะสั่งการลงไปถึง mayor(เจ้าเมือง) และหน่วยงานข้าราชการทุกแผนกเพื่อดำเนินแผนการขยายสถานีชาร์จไฟให้มากถึง 500,000 หัวชาร์จภายในปี 2030

ด้าน Biofuels : พัฒนาการผลิต Biofuel ให้มากยิ่งขึ้นเพราะ Biofuel นั้นทำมาจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร(agriculture) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการลดการนำเข้าน้ำมันทางเรือหรือเครื่องบินซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโลกร้อน การพัฒนา Biofuels นั้นจะสร้างงานให้แก่ชาวอเมริกามากยิ่งขึ้น

พีท บุดดิเจช : เพิ่ม Tax Incentive $10,000 ต่อคัน

พีท บุดดิเจช (Pete Buttigieg) นายกรัฐเทศมนตรีแห่งเมืองเซาท์เบน วัย 37 ปี ตัดสินใจลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2563 ซึ่งมาพร้อมกับนโยบายคว่ำบาตรรถยนต์น้ำมันแบบจริงจังคือ ภายในปี 2035(พ.ศ. 2578) รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (passenger car) ทุกคันบนท้องถนนอเมริกาต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด และภายในปี 2040 รถบรรทุกหนักทุกคันบนท้องถนนนั้นต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดเช่นกัน (ซึ่งนโยบายนี้ดูจะล่าช้ากว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งแซนดร้า, วอร์เรน, และหยาง ไปถึง 5-10 ปี)

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ จะเพิ่ม incentive ( การให้สิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆทางภาษี ) มากถึง 10,000 เหรียญสหรัฐหรือ 300,000 บาทต่อคัน ซึ่งจะให้สิทธินี้เป็นกรณีพิเศษต่อจำนวนเปอร์เซ็นต์รถยนต์ไฟฟ้าที่ขายออกได้ต่อปี ทำให้ประชาชนชั้นล่างและชั้นกลางสามารถเข้าถึงรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างแน่นอน

หมายเหตุ : incentive คือ เป็นการลดหย่อน ยกเว้น หรือการให้สิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆทางภาษีแก่ประชาชนหรือกลุ่มธุรกิจ เพื่อจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ มักปรากฏอยู่ในรูปของการลดอัตราภาษี ลดขนาดของฐานภาษี งดเว้นการจัดเก็บชั่วคราว ยกเลิกการจัดเก็บเป็นการถาวรหรือขยายระยะเวลาในการใช้มาตรการนี้ออกไป ฯลฯ

ที่มา : สถาบันพระปกเกล้า

เบอร์นี แซนเดอร์ส : คว่ำบาตรรถยนต์น้ำมัน,สร้างความเสมอภาคให้แก่รถยนต์ไฟฟ้าในสังคม, และสนับสนุนการขนส่งไร้มลพิษ

เบอร์นาร์ด “เบอร์นี” แซนเดอร์ส (อังกฤษ: Bernard “Bernie” Sanders, เกิด 8 ธันวาคม 1941) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกันผู้ได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐด้อยอาวุโสจากรัฐเวอร์มอนต์ตั้งแต่ปี 2007 แซนเดอรส์เป็นสมาชิกสภาอิสระที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์รัฐสภาสหรัฐ นับแต่เขาได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรในปี 1991 เขาเข้าร่วมประชุมลับกับพรรคเดโมแครต ซึ่งได้มอบหมายภาระงานคณะกรรมาธิการของรัฐสภาแก่เขา และบางครั้งให้พรรคเดโมแครตได้รับฝ่ายข้างมาก

ที่มา : wikipedia

วุฒิสมาชิกเบอร์นี่นั้นเป็นคนสุดโต่งเรื่องนโยบายรถยนต์ไฟฟ้าจริงๆ เค้าบอกว่า ถ้าเค้าขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี เค้าจะคว่ำบาตรการขุดเจาะน้ำมันบ่อใหม่ๆ ทั้งหมด

อีกทั้งยังจะคว่ำบาตรการนำเข้าและส่งออกรถยนต์น้ำมันทั้งหมดอีกด้วย และก็จะยุติการสนับสนุนเงิน subsidies ให้แก่บริษัทน้ำมันต่างๆในอเมริกาทั้งหมด โดยคิดเป็นเงินมากกว่า 15,000 ล้านเหรียญหรือตีเป็นเงินไทยประมาณ 4.5 แสนล้านบาท

เบอร์นี่จะทำการเรียกบริษัทผลิตรถยนต์ทั้งหมดในประเทศมาคุยแล้วบอกว่า ให้หยุดผลิตรถยนต์น้ำมันภายในปี 2030(พ.ศ. 2573) อีกด้วย อีกทั้งยังสัญญาว่า จะทำการขจัดมลพิษออกจากประเทศอเมริกา(decarbonization) ภายในปี 2050(พ.ศ. 2593)

เรามาดูแผน decarbonization (ลดคาร์บอน) ของเบอร์นี่ที่ประกาศออกมา ณ เดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมากันหน่อยนะครับ โดยแผนนี้จะใช้เงินประมาณ 16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 480 ล้านล้านบาทไทยครับ

  • 2.09 ล้านล้านเหรียญ(62.7 ล้านล้านบาท) เตรียมสำรองเอาไว้ให้กับโปรแกรม trade-in ของครอบครัวชนชั้นกลางและชนชั้นล่างของอเมริการวมไปถึงบริษัทขนาดเล็กอีกด้วย คือ ประชาชนเหล่านี้สามารถนำรถยนต์น้ำมัน (ICE car) มาแลกเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้ากันนะครับ โดยแผนการณนี้จะจำกัดเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศอเมริกาเท่านั้น (รถยนต์ไฟฟ้านำเข้าจากยุโรปหมดสิทธิ์เข้าร่วมโปรแกรม trade-in อันนี้ครับ)
  • 8.56 หมื่นล้านเหรียญ( 2.56 ล้านล้านบาท) กันงบประมาณเอาไว้สำหรับก่อสร้างระบบชาร์จไฟฟ้าทั้งประเทศ(nationwide electric-vehicle-charging infrastructure)
  • 4.07 แสนล้านเหรียญ(12.21 ล้านล้านบาท) สำรองเอาไว้เพื่อเปลี่ยนรถบัสนักเรียน(school bus) ให้กลายเป็นรถบัสไฟฟ้าทั้งหมด
  • 2.18 แสนล้านเหรียญ(6.54 ล้านล้านบาท) สำรองเอาไว้เพื่อเปลี่ยนรถบรรทุกหนัก(freight trucks) ให้เปลี่ยนไปเป็นรถบรรทุกหนักไฟฟ้า
รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S ของเบอร์นี่ที่ใช้ในการหาเสียงปี 2016

ส่วนระบบคมนาคมนั้น เบอร์นี่นั้นสนับสนุนการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่จะเชื่อมต่อระหว่างเมืองหลวงต่างๆ โดยจะเน้นสร้างให้แก่ฝั่งตะวันออกของอเมริกาก่อน(florida, newyork, texas เป็นต้น)

แต่สิ่งที่ชาวอเมริกาแปลกใจคือ เบอร์นี่นั้นขับซูบารุกับโฟคสวาเกนเก่าๆ ครับ ซึ่งน่าจะเริ่มต้นขับรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อเป็นตัวอย่างให้ประชาชนเห็นได้แล้ว

เบอร์นี แซนเดอร์ส

Blink Drive จะพยายามไม่ยุ่งการเมืองให้มากที่สุดนะครับ ฮ่าๆ แต่มารอบนี้อดใจไม่ได้จริงๆ เพราะนักการเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาเล่นชูจุดยืนเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าแบบทุ่มหมดตัวแบบนี้ Blink Drive จะพลาดการแปลบทความประเภทนี้ได้อย่างไร

อลิซาเบธ วอร์เรน : ห้ามจำหน่ายรถยนต์น้ำมันในปี 2578 (2030), รถหลวงไฟฟ้าล้วนภายในปี 2567(2024) พร้อมกับสร้างงานให้แก่คนอเมริกาในอุตสาหกรรม EV มากกว่า 2.6 ล้านตำแหน่ง

อดีตอาจารย์นิติศาสตร์ อายุ 69 ปี ผู้มีพื้นเพจากโอกลาโฮมาซิตี้ รัฐโอกลาโฮมาผู้นี้ เป็นนักการเมืองฝ่ายก้าวหน้าคนสำคัญของพรรคเดโมแครต ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากการวิพากษ์วิจารณ์ธนาคาร บริษัทขนาดใหญ่ และตลาดหุ้นวอล์สตรีท หลังเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี พ.ศ. 2551 วอร์เรนยังเคยเสนอกฎหมายเพื่อลดอำนาจของบริษัทนายทุน โดยเพิ่มอำนาจรัฐบาลในการควบคุมดูแลบริษัทเพื่อขยายผลประโยชน์จากเดิมที่จำกัดอยู่เพียงผู้ถือหุ้นไปสู่สาธารณชน นอกจากนี้ ยังสนับสนุนนโยบายลดความเหลื่อมล้ำที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของชนชั้นกลางอเมริกันด้วย

ที่มา : ประชาไท

อลิซาเบธ วอร์เรนชูนโยบายรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล, รถกระบะ, และรถเมลทุกคันต้องเป็นไฟฟ้าทั้งหมดในปีพ.ศ. 2578(2030) โดยเธอจะอัดฉีดเม็ดเงิน 1.5 ล้านล้านเหรียญ(45 ล้านล้านบาท)เข้าสู่ธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า(Green Manufacturing)

ดิชั้นจะสร้างกฏหมายบีบรถยนต์น้ำมันมากยิ่งขึ้นโดยการเพิ่มค่ามาตราฐานการปล่อยไอเสียอย่างไม่เคยมีมาก่อนและจะเพิ่มค่าเหล่านี้ขึ้นทุกๆ ปีจนให้กลายเป็น 100 % zero-emission หรือห้ามปล่อยไอเสียไปเลย โดยจะมีผลเริ่มบังคับใช้ทันทีในปีแรกที่ชั้นเข้ารับตำแหน่ง และในปี 2578 (2030) รถทุกคันบนท้องถนนจะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า(zero emission)

อลิซาเบธ วอร์เรน

โดยนโยบายของอลิซาเบธ วอร์เรนนั้นจะมีผลบังคับใช้กับรถยนต์ของหน่วยงานราชการก่อนเลย คือรถยนต์ของหน่วยงานราชการหลังจากนี้ไปต้องซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาใช้เท่านั้น ส่วนรถที่ยังใช้งานได้อยู่ก็จะปล่อยผ่านไปก่อน ส่วนสำคัญในการปล่อยไอเสียคือ รถบัสนักเรียนที่เป็นเครื่องดีเซลซึ่งเราจะทำการเปลี่ยนเป็นรถบัสไฟฟ้าทั้งหมด

คราวนี้มาดูการสนับสนุนด้านการลงทุนของอลิซาเบธ วอร์เรนกันหน่อยนะครับ

ดิชั้นจะสำรองงบประมาณก้อนนึงเพื่อสนับสนุนนักลงุทนหรือผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าต่างๆ โดยรัฐจะช่วยเหลือด้านเงินทุน(ให้กู้ดอกเบี้ยต่ำ), จัดหาที่สร้างโรงงานให้, เสริมกำลังในไลน์การผลิต, และสนับสนุนให้สร้างโรงงานผลิตแบตเตอร์รี่ให้จงได้ รัฐบาลยังจะลงทุนในระบบสถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศอย่างแน่นอน เราจะทำให้ประชาชนทุกเมืองมั่นใจว่า ถนนทุกสายในประเทศอเมริกาจะเต็มไปด้วยสถานีชาร์จไฟเร็ว(fast-charging station)ให้เยอะเหมือนกับปั้มน้ำมันที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งงานเหล่านี้จะต้องเสร็จภายใน 4 ปีแรกที่ดิชั้นดำรงตำแหน่ง

อลิซาเบธ วอร์เรน
อลิซาเบธ วอร์เรน

แอนดรูว์ หยาง : แบนการขายรถยนต์น้ำมันภายในปี 2030(พ.ศ. 2578)

หยางนั้นมีวิสัยทัศน์ที่ลึกล้ำและแหวกแนวกว่าผู้ลงแข่งขันทุกคน เค้าในเดือนกันยายน 2562 ว่า ถ้าเค้าได้เป็นประธานาธิบดีของอเมริกา รถยนต์ประจำตำแหน่งของเค้าต้องเป็นรถยนต์ลิมูซีนไฟฟ้า ซึ่งเค้าให้เหตุผลว่ามันคือหน้าตาของประเทศอเมริกาครับ ที่บ่งบอกว่า ประเทศอเมริกาจะแซงยุโรปและหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งประเทศ

If I’m president, the entire White House motor pool will be electric.

(แปล)ถ้าผมได้เป็นประธานาธิบดี รถยนต์ทุกคันในทำเนียบขาวจะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

แอนดรูว์ หยาง

CNN เคยสัมภาษณ์ แอนดรูว์ ว่า “นี่พวกเรากำลังจะเปลี่ยนไปขับรถยนต์ไฟฟ้ากันใช่ไหม?” แอนดรูว์ตอบกลับไปชิวๆ ว่า “ใช่ครับ, แล้วพวกเราจะหลงรักมันไปตลอดกาลด้วยล่ะ”

แอนดรูว์ หยางให้สัมภาษณ์กับ CNN ว่า พวกเราจะไม่บังคับให้ทุกคนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าในทันทีที่ผมเข้าไปดำรงตำแหน่ง แต่เราจะสร้างโปรแกรม buy-back(รับซื้อ)รถยนต์น้ำมันคืนเพื่อให้คนเอาเงินไปซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแทน

ถ้าคุณไปดูหน้าเว็บของแอนดรูว์ หยางแล้วล่ะก็จะมีคำว่า “net-zero for all transportation sectors 2040.” – “ยานพาหนะทุกชนิดต้องเป็นไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2040”

คุณหยางต้องการสร้างสถานีชาร์จไฟให้ทั่วทุกแห่งในประเทศอเมริกาครับ ดังนั้นแผนของเค้าคือ สร้างสถานีชาร์จไฟในแหล่งชนบทโดยมีงบประมาณกับโปรเจคนี้ประมาณ 5 หมื่นล้านเหรียญ( 1.5 ล้านล้านบาท) คาดการณ์ว่า สถานีชาร์จไฟเหล่านี้จะครอบคลุมทั้งประเทศแน่นอน

หยางยังสนับสนุนระบบ self-driving แม้ว่าตอนนี้ระบบนี้ยังมีปัญหาอยู่เยอะมาก แต่เค้าเชื่อว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ระบบ self-driving จะฉลาดกว่าปัจจุบันเป็นหลายร้อยเท่าและอนาคตนี้ มนุษย์จะไม่จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีขับรถอีกต่อไป

พวกเราอาจจะไม่จำเป็นต้องมีรถขับอีกแล้ว(ในปี 2050[พ.ศ. 2598]) เนื่องจากการเป็นเจ้าของรถนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายที่สุด

ลองคิดดูว่า ถ้าเรามียานพาหนะที่เคลื่อนที่ไป-มาบนท้องถนนตลอดเวลา(โดยไม่มีคนขับ) เพียงแค่คุณอยากไปที่ไหนก็กดให้รถมารับไปส่ง แบบนี้แล้วจะช่วยลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนนไปอีกมากเลย และสิ่งแวดล้อมของเราก็จะดีขึ้นไปอีกด้วย

แอนดรูว์ หยาง

หยางยังเชื่ออีกว่า เครื่องบินซึ่งเป็นยานพาหนะใช้เชื้อเพลิงเยอะกว่ายานพาหนะอื่นๆ ดังนั้นเค้าตั้งเป้าว่าภายในปี 2040(พ.ศ. 2588) เครื่องบินก็จะกลายเป็นระบบไฟฟ้าทั้งหมด แต่ว่า เทคโนโลยีเครื่องบินนั้นมีคนคาดการณ์ว่า ระบบมันซับซ้อนเกินไปและแบตก็มีขนาดใหญ่และหนัก ดังนั้นเครื่องบินไฟฟ้านั้นน่าจะมาในปี 2050 (2598)ต่างหาก

ส่วนเรื่องรถยนต์ในระบบราชการของอเมริกานั้น หยางบอกว่า ภายในปี 2040 ไม่ว่าจะเป็นรถของราชการ, รถเมลสาธารณะ, หรือ Taxi นั้น จะต้องเป็นระบบไฟฟ้าทั้งหมด

แอนดรูว์ หยาง ถ่ายคู่กับ อีลอน มัคส์

ที่มาบทความนี้ : electrek

BLINK DRIVE TAKE

หันกลับมาดูประเทศไทยกันหน่อยเนอะ ข่าวที่เห็นกันทุกวันคือ ปากบอกว่า สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า แต่พอเข้าไปอ่านนโยบายกลับเป็น hybrid ทั้งหมดซะงั้น

สังเกตุดีๆ ว่า ไม่มีใครมาลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่ว่าเค้าไม่มานะครับ แต่รัฐไม่อนุมัต ที่มา ประชาชาติ

พอตั้งคำถามถามรัฐว่า ทำไมไม่สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า คำตอบที่ได้กลับมาคือไม่มีใครมาลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ แต่พอผมไปหาข่าวมาอ่าน กลับกลายเป็นว่า ค่ายรถหรูดังอย่าง mercedes-benz บอกว่า รัฐไม่ยอมอนุมัต BOI ซักที

ที่มาเบนซ์ วอนรัฐ เร่งอนุมัติลงทุนEV : mgronline

มาเดือนนี้ พี่รัฐบาลแกยังไม่เข้าใจตลาดรถยนต์ของโลกใบนี้ซะอีก ทำการสร้างกำแพงรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นมาอีก 1อันคือ สรรพมิตเรียกเก็บเงินค่ามัดจำในการกำจัดแบตเตอรี่ที่ใช้สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มอีก โดยจะเก็บ ยูนิต (kWh) ละ ไม่เกิน 1,000 บาท

ตัวอย่างง่ายๆ : MG ZS EV มี 44.5 kWh ก็โดยไปซะ 44,000 บาท นี่ยังไม่ได้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเลยนะครับ โดยไปเสียแล้ว

ส่วนพวก tesla model X 100D ก็โดนค่ามัดจำแบตไปประมาณ 100,000 บาทแน่นอนครับ

ที่มา : ประชาชาติ

เห้ยนี่มันประเทศเกาหลีเหนือหรอครับ? ไทยน่าจะเป็นประเทศเดียวในโลกแล้วละ ที่ห่วงใยการรีไซเคิลแบตเตอร์รี่มากกว่าควันไอเสียรถยนต์บนท้องถนน นี่รถยนต์ไฟฟ้ายังขายได้ไม่ถึง 3,000 คันเลย พวกคุณห่วงเรื่องรีไซเคิลจนประชาชนจะสำลักฝุ่น PM 2.5 ตายคาเมืองกันอยู่แล้วครับ

ประเทศอื่นๆ บนโลกเค้าไม่ทำร้ายประชาชนกันแบบนี้ครับ

เค้าประโคม incentive ให้กันอย่างบ้าคลั่งแถมชูนโยบายรักษ์รถยนต์ไฟฟ้ากันแบบอุตลุดเลยครับ

อ่านนโยบายของอเมริกาแล้วเอามาเทียบกับไทยแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ?

นโยบายอเมริกานั้นพูดจริงทำจริงแน่นอน เพราะยุโรปเค้าสั่งแบนรถยนต์ไฟฟ้าแบบเป็นตัวเป็นตนแล้ว ณ ปัจจุบันนั้น ประชาชนอเมริกานั้นอยากให้แบนแบบยุโรปแต่ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน(ทรัมป์)นั้นบ้าคลั่งถ่านหินและน้ำมันอยู่ครับ ซึ่งมองว่า ถ้าปีหน้า ถ้าผู้ลงสมัครของเดโมแครตได้เก้าอี้ประธานาธิบดีไปแล้วล่ะก็

ดีไม่ดี อเมริกาจะกลับไปเซ็นสัญญาเข้าร่วมกับปารีสอีกรอบแน่นอนครับ

STAY TUNE, STAY WITH BLINK DRIVE

Follow by Email