Site icon Blink Drive

โฟคสวาเกนเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า Wagon คันที่ 7 ในตระกูล ID มีนามว่า Vizzion วิ่งได้ไกล 482 km

หลังจากโฟคสวาเกนประกาศตัวอย่างแรงว่า จะเร่งสร้างรถยนต์ไฟฟ้าในจีน ตั้งเป้าขายครบ 1 ล้านคันภายในปี 2565 ไปแล้วเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พี่แกป็นคนพูดจริงทำจริงนะครับ เพราะหลังจากการประกาศครั้งนั้นเสร็จปุ๊บ เฮีย Herbert Diess ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานบริษัทโฟคสวาเกนก็ทำการ  ตัดริบบิ้นเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า( 4 หมื่นล้านบาท)- กำลังผลิต 330,000 คันต่อปี ณ ประเทศเยอรมันเลยครับ

ทุกคนคิดว่า โฟคสวาเกนตั้งใจจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพียงแค่ 330,000 คันต่อปีเท่านั้นกลายเป็นว่าเจอเซอร์ไพร์ซอีกต่อคือ เฮีย Herbert Diess ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานบริษัทโฟคสวาเกนบินไปจีนเพื่อทำการเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ณ ประเทศจีน ตั้งเป้าผลิต 300,000 คันต่อปี เรียกว่าหลังจากที่โดนข่าวฉาวเรื่อง โกงค่า emission test (ตรวจสอบควันดำ) ของรถยนต์ดีเซลไป เฮียเฮอร์เบิร์ทเร่งสร้างรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อพยายามนำภาพลักษณ์ของบริษัทตัวเองกลับมาให้ได้ดีกว่าเดิมเลยนะครับ

มางาน LA Auto Show (แอลเอ ออโต้ โชว์)ครั้งนี้ พี่โฟคสวาเกนก็ขอเอาน้องใหม่คนที่ 7 ในตระกูล ไอดี(I.D.) หรือรถยนต์ไฟฟ้าแพลทฟอร์ม MEB มาเปิดตัวในงานซะเลยนะครับ

Volkswagen ID Space Vizzion

นี่ไม่ใช่ครั้งแรงที่โฟคสวาเกนได้นำรถยนต์ไฟฟ้า ไอดี สเปซ วิชั่นมาเปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์นะครับ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2018 ณ งานเจนีวา มอเตอร์โชว์ โฟคสวาเกนได้นำวิชั่น(ผมขอเรียกสั้นๆแบบนี้ล่ะกัน)มาเปิดตัวในงานแล้ว แต่ตอนนั้นเป็นคอนเซ็ปคาร์(concept car)จ๋าเอามากๆ เช่น ล้อแม๊ก 22 นิ้ว, ประตูเปิดออกคล้ายกับปิกอัพสไตล์ Smart Cab คล้ายกับเปิดบานประตูของตู้กับข้าว ตัวรถมีความยาว 195.2 นิ้วหรือ 4.95 เมตรนั่นเอง

รถยนต์ไฟฟ้า ไอดี สเปซ วิชั่น ณ งานเจนีวา มอเตอร์โชว์ ปี 2018

มาปีนี้ทุกอย่างเริ่มพัฒนาขึ้นไปอีกครั้งคือ โฟคสวาเกนได้บอกสเปค(รายละเอียด)ของรถยนต์ไฟฟ้า ไอดี สเปซ วิชั่นได้อย่างเจาะลึกและชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้สามารถวิ่งได้ไกลถึง 300 ไมล์หรือ 482 กิโลเมตร มาพร้อมแบตขนาด 82 kWh ซึ่งแม้ว่าบริษัทยังไม่ได้ทดลองนำรถคันนี้ออกมาวิ่งจริงเพื่อหาทดสอบค่ามาตรฐาน (EPA Fuel Economy Standards)

รถยนต์ไฟฟ้า ไอดี สเปซ วิชั่น โฉมใหม่ (เปลี่ยนประตูเป็นแบบรถเก๋งธรรมดาเพื่อเตรียมวางขายในปี 2022) ณ งานแอเอ มอเตอร์โชว์ ปี 2019

7 พี่น้อง รถยนต์ไฟฟ้าตระกูล I.D.

รถยนต์ไฟฟ้าของค่ายโฟคสวาเกนนั้นถูกสร้างไลน์การผลิตใหม่เข้ามาหมด ไม่เหมือนฟอร์ดนะครับที่เอารถยนต์น้ำมันมัสแตงในตำนานของบริษัทมาทำเป็นรถยนต์ไฟฟ้าและเติมชื่อ Mach-E เข้าไป ผมได้ข่าวมาจากฝั่งอเมริกาเหมือนกันว่า คนอเมริกาไม่เห็นด้วยกับการกระทำนี้เพราะว่า รถยนต์น้ำมันมัสแตงนั้นเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของฟอร์ดเลย มีหลายคนในอินเตอร์เน็ตลงความเห็นว่า ทำไมไม่สร้างรุ่นของรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นมาใหม่เลย เพื่อไม่ให้ฐานลูกค้าเก่าสับสน ซึ่งโฟคสวาเกนเข้าใจหลักจิตวิทยาตรงจุดนี้ จึงทำการสร้างไลน์การผลิตและรุ่นของรถยนต์ไฟฟ้าออกมาใหม่ทั้งหมดจนกลายมาเป็นตระกูล I.D. ที่เห็นอยู่นี่แหละครับ แถมถ้าไม่อยากสร้างรถรุ่นนั้นแล้ว ยกตัวอย่างคือ โฟคสวาเกนบีเทิล เค้าก็เพียงหยุดการผลิตลงไปแต่จะไม่สร้างโฟคสวาเกนบีเทิลไฟฟ้าขึ้นมาเพราะต้องการให้ทุกคนจดจำภาพความรู้สึกดีๆ เกี่ยวกับบีเทิลในร่างน้ำมันทิ้งเอาไว้นะครับ อันนี้แล้วแต่จะคิดกันแหละครับ หรือเรียกอีกอย่างว่า นานาจิตตังครับ

วิดีโอ : ตระกูล โฟคสวาเกนไอดี

พี่ใหญ่คนแรกของตระกูลได้แก่ ID R racecar ซึ่งคันนี้ได้ไปวิ่งที่สนามสุดโหดระดับโลกอย่างนูเบอร์ริง(Nürburgring) มาแล้วและทำเวลาได้โหดซะด้วย(6:05.336)

พี่รองคือ ID 3 ซึ่งได้ทำการเปิดตัวไปแล้ว ณ กระทู้ ม้ามืดโฟคสวาเกนตัดริบบิ้นเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า( 4 หมื่นล้านบาท)- กำลังผลิต 330,000 คันต่อปี

ID 3

พี่คนที่สามคือ ID ROOMZZ ซึ่งหน้าตาจะเหมือนรถตู้หน่อยๆ ครับ แต่ประตูแปลกพิศดารไม่เหมือนรถค่ายไหนจริงๆ

พี่คนที่สี่คือ I.D. Crozz เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแนว SUV ยังเป็น concept car อยู่

พี่คนที่ห้าคือ ID Buggy ซึ่งเป็นรถยนต์แนว บักกี้ ของแท้เลยครับ ไม่มีหลังคา ไม่มีประตู เน้น ออฟโรดลูกเดียว เหมาะแก่การซื้อมาขับลุยทะเลทรายหรือป่าที่สุดเลย

พี่คนที่หกคือ ID Buzz ซึ่งก็คือร่างสองของรถตู้โฟคสวาเกนหน้าวี (รถตู้คลาสสิค)ของคนไทยยังไงละครับ

ส่วนน้องคนสุดท้องก็คือ ID Space Vizzion ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแนววากอน(wagon) 5 ประตูหรูๆ แบบ Volvo V60 แหละครับ

ภาพจาก The verge :
ภาพจาก The verge :
ภาพจาก The verge :
ภาพจาก The verge :

ที่มา : The verge

ภายในรถยนต์ไฟฟ้าไอดี สเปซ วิชั่น

ภาพจาก The verge :

อย่างแรกเลยก็คือจอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้วแบบสัมผัส(touch screen) และยังมีจอขนาดแสดงผลขนาดเล็กซึ่งฝังอยู่ใต้คอนโซลรถซึ่งอยู่ด้านหลังพวงมาลัย แถมโฟคสวาเกนยังแถมระบบแสดงผล AR(Augmented reality) ซึ่งจะสามารถแสดงผลได้ที่กระจกหน้ารถอีกด้วย

ภาพจาก The verge : จอขนาดแสดงผลขนาดเล็กหลังพวงมาลัย
ระบบแสดงผล AR(Augmented reality) บนกระจกหน้ารถ

ต้องบอกเลยว่า การสร้างรถยนต์ไฟฟ้านั้นจะเน้นไปทางเทคโนโลยีแบบหนักหน่วงมากๆ ครับ ส่วนเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ในรถนั้น ผู้ผลิตจะพยายามทำให้เป็นรูปแบบ มินิมอลลิส(minimalist) [เรียบง่ายที่สุด] ซึ่งถ้าใครเป็นแฟนรถยนต์ไฟฟ้าอยู่แล้วพอจะเดาไม่ยากเลยใช่ไหมครับว่ารถคันนี้ copy คันไหนมาน้าาาาาาา อิๆ (จอแนวนอนขนาด 15.6 นิ้วนี่ก็ไม่ต้องบอกใบ้แล้วเนอะ อิๆ)

ภาพจาก The verge : ภายในห้องโดยสาร

ด้านบนภายในห้องโดยสารก็ตามสไตล์รถยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่คือหลังคาเป็น panoramic glass roof(หรือกระจกทั้งบาน) แต่ที่แตกต่างจาก เทสล่า โมเดล 3 ไปก็คือรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้สามารถสั่งเปิดหลังคาได้ครึ่งบาน(slide and tilts)เหมือน sun roof ในรถยนต์ทั่วไปนั่นเองครับ

ภาพจาก The verge : สวิทช์สั่งการเปิด-ปิด sun roof

สั่งการเปิดประตูผ่านหน้าจอ

ถ้าต้องการเปิดประตูบานต่างๆ ในรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้ต้องสั่งการผ่านหน้าจอตรงกลางของรถซึ่งพอเรากดปุ่มลงไปปุ๊บจอก็จะสั่นและกระพริบนิดๆเพื่อยืนยันคำสั่งเปิดประตู (เจ๋งสุดๆไปเลย)

ภาพจาก The verge : จอแสดงผล 15.6 นิ้ว

ระบบชาร์จไฟมากสุด 150 kW

ที่ชาร์จไฟของโฟคสวาเกนนั้นมาเป็นมาตราฐานไปเสียแล้วคือใช้งานระบบ DC CCS2 Combo ซึ่งเป็นปลั๊กเดียวกันกับปอร์เช่ ไทคาน(porsche Taycan) ก็แน่อยู่แล้วละครับ บริษัทเดียวกันเนอะ ทำที่ชาร์จออกมาก็เหมือนกันเป๊ะ อิๆ

ความแรง!!! 0-100 km/h ภายใน 5 วินาที

รถยนต์ไฟฟ้าคันนี้มาพร้อมมอเตอร์ขับเคลื่อนล้อหลังขนาด 275 แรงม้าและ 406 pound-feet ส่วนมอเตอร์ด้านหน้าให้มามากถึง 101 แรงม้าพร้อมกับแรงบิดขนาด 111 pound-feet รวมกันเป็น 386 แรงม้า ส่วนอัตราเร่ง 0-100 km/h วิ่งภายใน 5 วินาที ส่วน Top speed(ความเร็วสูงสุด)ให้มา 109 mph หรือ 175 km/h

แผนการณ์ยิ่งใหญ่ของโฟคสวาเกน

โฟคสวาเกนย้ำอีกครั้งว่าจะวางแผนขายรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 20 รุ่นภายในปี 2025 (พ.ศ. 2568) ซึ่งวางแผนจะขายรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ปีล่ะ 1 ล้านคัน โดยตั้งเป้าให้ขายรถยนต์ไฟฟ้าได้มากกว่า 20 ล้านคันภายในปี 2029 (พ.ศ. 2572)

โฟคสวาเกน

ค่ายรถของเราไม่ว่าจะเป็นปอร์เช่, โฟคสวาเกน รวมไปถึงฟอร์ดซึ่งเป็นจับมือเป็นคู่ค้ากับเราในตอนนี้นั้นจะใช้รูปแบบในการผลิตเหมือนกันคือ MEB platform ซึ่งเป็นรูปแบบการผลิตที่ใช้ต้นทุนต่ำและเพิ่มพื้นที่ใช้สอยในรถได้มากกว่ารถยนต์น้ำมันแน่นอน

MEB platform นี่แหลจะเป็นอาวุธของพวกเราในการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูก ซึ่งรู้ไหมว่า เราได้ทำการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไปแล้วทั้งหมด 8 โรงงานทั่วโลก

โฟคสวาเกน
รูปภาพ : ตำแหน่งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 8 แห่งของโฟคสวาเกน
MEB Platform ของโฟคสวาเกน

โดยเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เราเพิ่งลงทุนไป 800 ล้านเหรียญสหรัฐ(24,000 ล้านบาท) ณ เมือง Chattanooga รัฐเทนเนสซี่ ประเทศอเมริกาไป และได้สร้างงานให้แก่ประชาชนในเมืองมากกว่า 1,000 คนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราไม่เพียงสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเดียวเท่านั้น แต่เรายังสร้างโรงงานประกอบแบตรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองนั้นอีกด้วย

โฟคสวาเกน
ที่มา : CNET
ที่มา : youtube

BLINK DRIVE TAKE

การออกแบบรถยนต์ไฟฟ้าสมัยนี้(ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นไป)นั้นแทบจะเรียกได้ว่าเหมือนกันอย่างกับแแกะไปแล้วคือ หลังคาแก้ว(panoramic roof top) และก็ติดตั้งจอใหญ่ๆ เอาไว้ในรถ (รถยนต์ไฟฟ้าทุกคันหลังปี 2018 นั้นออกแบบอย่างนี้ทั้งสิ้น) ส่วนเรื่องความแรงก็กลายเป็นบรรทัดฐานกันไปแล้วล่ะว่า 0-100 km/h ภายใน 6 วินาทีกันทุกค่าย เรื่องถัดมาก็คือเรื่องเทคโนโลยีซึ่งมี CPU ในการประมวลผลดีกว่ารถยนต์น้ำมัน 100 เท่า แถมระบบ software ที่นำมาใช้งานในรถก็เป็นแบบ OTA (update Over The Air) ทั้งหมด (เหมือนกันกับระบบ iphone และ android) ส่วนอีกระบบที่รถยนต์ไฟฟ้าทุกค่ายมีคือ A.I. ที่เชื่อมต่อกันกับระบบ Auto-pilot หรือ ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่ง ณ ปัจจุบันนั้นเป็นแค่ level 3 แต่อนาคตภายใน 1-2 ปีนี้จะเป็น level 4 แน่นอนครับ โดยระบบจะเรียนรู้จากพฤติกรรมการขับขี่และนำไปพัฒนาให้รถมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ที่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็น level 4 ได้เพราะระบบ auto pilot นั้นยังเก็บข้อมูลในการขับขี่ได้ไม่เพียงพอ

ตอนนี้ software developer สาขา auto pilot นั้นขาดอย่างมาก ในอเมริกาตอนนี้ ใครเรียนจบสาย A.I. มานั้นได้งานทำทันที ซึ่งสาย A.I. นั้นจะแบ่งออกเป็นหลายประเภทมากๆ แต่วันนี้ผมจะยกตัวอย่างเพียง 2 ประเภท คือ สาย voice command (อารมณ์เหมือน SIRI ในมือถือ หรือ google voice ใน android) ซึ่งสาขานี้ ก็คือ linguistic and computation หรือ ที่ไทยเรียกว่า ภาษาศาสตร์ แต่ที่อเมริกานั้นประยุกต์ไปไกลมากแล้ว ใครก็ตามที่จบสาขานี้ google หรือ facebook มาหิ้วตัวไปแน่นอนครับ

ภาพรวมคือ ระบบ A.I. จะนำความพูดของเรามาประมวลผลในแต่ละวันว่าต้องการสื่อสารอะไรกับ computer เช่น ประโยคว่า “เปิดเพลงหน่อย” จะเท่ากับประโยค “เปิดเพลงผ่าน App spotify ในเครื่องมือถือหน่อย” ยังไงละครับ ซึ่งคนที่จบสาขานี้คือต้องไปสอน computer เรียนภาษามนุษย์ยังไงละครับ ก่อนที่เราจะสอนคอมพิวเตอร์เรียนรู้ภาษามนุษย์เราก็ต้องเรียนรู้วิธีพูดภาษามนุษย์ผ่านวรรณยุคสากลของโลกที่เรียกว่า IPA แหละครับ

chart : IPA

ส่วนอีกสายก็คือ A.I. สาย machine learning สายนี้เป็นสายยอดฮิตและฮอตที่สุดในอเมริกาตอนนี้ หรือเรียกอีกอย่างว่า data science ถ้างัดเอาแค่วิชาที่มาใช้กับระบบ auto pilot ก็คือ การเขียนโปรแกรมให้รถยนต์สามารถเรียนรู้สัญญาไฟจราจรเอง, ให้รู้จักว่าคนข้ามถนนหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้ รถยนต์จะรู้เรียนว่า ทำไมเราต้องเหยียบเบรคเวลาคนทำท่ากำลังข้ามถนน หรือเราต้องจอดทุกครั้งที่เห็นไฟแดง ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะส่งสถานการณ์กลับไปยังศูนย์แม่ (HQ) จากนั้นศูนย์แม่จะทำการป้อนคำสั่งหรือสอนว่า ทำไมมนุษย์ถึงตอบสนองกับสถานการณ์บนท้องถนนอย่างนั้นครับ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อใดก็ตามที่แหล่งข้อมูลเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นมาเสร็จแล้ว รถยนต์ไฟฟ้าทุกคันก็ไม่จำเป็นต้องมีคนขับอีกต่อไปครับ รถยนต์ไฟฟ้าทุกคันจะสามารถขับจากจุด A ไปยังจุด B ได้โดยไม่ต้องมีคนมาป้อนคำสั่งครับ อีลอน มัคส์เคยบอกว่า ทำไมเวลาเรากดลิฟท์จากชั้น 1 ไปยังชั้น 10 ได้โดยเราไม่เห็นต้องป้อนคำสั่งเริ่มต้น, ไปต่อ, หรือหยุดเลย อนาคตรถยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้จะทำงานเปรียบเสมือนลิฟท์ตัวนึงเท่านั้นเองคือ นำคนหรือสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งแล้วถึงวันนั้นจริง เราก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของรถยนต์แล้วครับ เพราะว่ารถยนต์ทุกคันสามารถทำงานทุกอย่างด้วยตัวของมันเองยังไงผมจะทิ้ง วิดีโอ robo taxi ของเทสล่าเอาไว้ เค้าบอกว่า อีก 5 ปีข้างหน้า อเมริกาจะมีการใช้งาน robo taxi อย่างแน่นอนครับ

Exit mobile version