Site icon Blink Drive

โฟคสวาเกนเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ณ ประเทศจีน ตั้งเป้าผลิต 300,000 คันต่อปี

โฟคสวาเกนไปต่อ ไม่รอเพื่อน, ประธานซีอีโอ Herbert Diess บินไปตัดริบบิ้นเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าโฟคสวาเกนแห่งที่ 2 ของโลก ณ ประเทศจีน ตั้งเป้าผลิต 300,000 คันต่อปี

แห่งแรกนั้นผมได้กล่าวกันไปกระทู้ที่แล้ว คือ ม้ามืดโฟคสวาเกน ตัดริบบิ้นเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า( 4 หมื่นล้านบาท)- กำลังผลิต 330,000 คันต่อปี ซึ่งโรงงานแห่งแรกนั้นตั้งเป้าการผลิตอยู่ที่ 330,000 คันต่อปีนะครับ

ส่วนโรงงานนี้เล็กลงมาหน่อย เลยขอตั้งเป้าแค่ 300,000 คันต่อปีเท่านั้น ถ้าสังเกตุจากป้ายเปิดงาน จะเห็น คำว่า MEB หรือ ย่อมาจาก Modularer E-Antriebs-Baukasten หรือโครงสร้างรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะของโฟคสวาเกนยังไงละครับ

รูปภาพ โรงงานโฟคสวาเกนสำหรับผลิตรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ณ เมือง Anting(เซี่ยงไฮ้) ประเทศจีน ดูเล็กดีไหมครับ

การสร้างโรงงานแห่งนี้เป็นการร่วมมือ(join venture) กันระหว่าง SAIC และโฟคสวาเกน ซึ่งโรงงานแห่งนี้จะผลิตเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าภายในการพัฒนา MEB (Modular Electric Drive Matrix) platform เท่านั้น วันนี้ก็ถือเป็นฤกษ์งามยามดีของทั้งสองบริษัทที่ได้มาร่วมมือกันในการสร้างรถยนต์ไฟฟ้า Volkswagen ID. Model ซึ่งการสร้างครั้งนี้จะเป็นรอบ Pre-production ซึ่งเป้าหมายระยะยาวของโฟคสวาเกนคือทำการเปลี่ยนไลน์การผลิตรถยนต์น้ำมันทั้งหมดในเครือเป็นไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งแผนการณ์แรกของเราคือ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายใน MEB แพลทฟอร์มส่งตรงถึงลูกค้าในประเทศจีนภายในเดือนตุลาคม ปี 2563 (2020) นี้

บริษัท โฟคสวาเกนกล่าวเอาไว้ตอนเปิดงาน
ภาพถ่าย ภายในโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า(อย่างเดียว) ณ SAIC-Volkswagen

ผลิตได้มากถึง 6 รุ่นในเวลาเดียวกัน

ก่อนอื่นเลย กำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ณ โรงงาน SAIC-VOLKSWAGEN แห่งนี้ไม่สามารถทำได้ถึง 300,000 คันแน่นอน ดังนั้น โฟคสวาเกนจึงจับมือ(เพิ่ม)กับค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่อีกค่ายในจีนคือ FAW-Volkswagen เพื่อเตรียมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้กำลังผลิตทั้งหมด 300,000 คันต่อปี ซึ่งตั้งอยู่เมือง ฝอซาน ประเทศจีน งานนี้บอกได้เลยว่า มันส์ครับ

Volkswagen ID. ROOMZZ Showcar

พร้อมกันนี้ โฟคสวาเกนยังบอกอีกว่า โรงงานที่จีนทั้งสองแห่งนี้จะได้รับสิทธิ์ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Volkswagen ID 4 ซึ่งเป็นรถยนต์ wagen แบบ 5 ประตูอีกด้วย

เฟสแรกในรอบ pre-production ณ โรงงาน Anting ประเทศจีนนั้น เราจะเน้นเพียงรถยนต์ไฟฟ้า รุ่น ID ทั้งหลายก่อน และในอนาคตอันใกล้นี้ โรงงานแห่งนี้จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้ออื่นๆ ภายใน MEB แพลทฟอร์ม(โครงสร้างรถยนต์ไฟฟ้าของvolkswagen) ซึ่งรวมๆกันแล้ว บริษัทเราตั้งใจจะปล่อยขายรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 15 รุ่น(15 MEB Models) ซึ่งจะอยู่กันในแบรนด์ลูกของเราทั้งหมด ภายในปี 2025 นี้

โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โฟคสวาเกนแห่งนี้เป็นการสร้างโรงงานแบบใหม่หมดจดโดยอิงการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โรงงานแห่งนี้จะใช้พื้นที่น้อยกว่าโรงงานผลิตรถยนต์ที่เราเคยสร้างมาทั้งหมด แต่กำลังผลิตนั้นจะไม่น้อยหน้าโรงงานใหญ่ๆในประเทศเยอรมันเลย แถมเรายังเปลี่ยนสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงทำให้โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะแห่งนี้สามารถผลิตรถยนต์ได้มากกว่า 6 รุ่นในพร้อมๆ กัน

โฟคสวาเกน

ตั้งเป้าขายรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 22 ล้านคันภายใน 8 ปีต่อจากนี้

เครือ โฟคสวาเกน ตั้งเป้าว่าจะขายรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 22 ล้านคันภายในปี 2028 โดยผมเชื่ออย่างยิ่งว่ามากกว่า 50 % ของยอดขายนั้นจะมาจากประเทศจีน ประเทศจีนเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าของโลกเลยก็ว่าได้ ซึ่งจะเข้ากับเป้าหมายของโฟคสวาเกนที่จะทำให้บริษัทสามารถบรรลุจุดประสงค์ Carbon-neutral(การไม่ปล่อยคาร์บอน)ภายในปี 2050
อาวุธเด็ดของเราในเกมส์นี้คือการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ MEB ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าตระกูล ID ทั้งหมดนั้นจะใช้รูปแบบการผลิตแบบนี้ พวกเราจะก้าวสู่ยุคใหม่ไปพร้อมๆกัน ยุคที่รถยนต์ไฟฟ้าจะกลายเป็นเหมือนอุปกรณ์เชื่อมต่อชิ้นหนึ่ง(เหมือน smart phone)

ประธานบริษัท โฟคสวาเกน นาย Herbert Diess
รูปภาพ : ประธานบริษัท โฟคสวาเกน ดอกเตอร์ Herbert Diess
MEB platform ของโฟคสวาเกน

สร้างเสร็จภายใน 12 เดือน

โรงงานแห่งนี้ใช้ระยะเวลาในการสร้างทั้งหมด 12 เดือนเต็มๆ นี่เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาว Anting(เซี่ยงไฮ้) และบริษัทโฟคสวาเกนที่สามารถสร้างโรงงานรถยนต์ไฟฟ้าแห่งแรกของโลกได้ในต่างประเทศ(โรงแรกจริงๆ อยู่ในประเทศบ้านเกิดเยอรมัน) หลังจากนี้เป็นคืองานใหญ่ของเราแล้วล่ะ เราต้องรีบทำการผลิตตระกูลรถยนต์ไฟฟ้า Volkswagen ID ออกมาสู่ตลาดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะพวกเรามองว่า ตลาดรถยนต์ในอนาคตนั้นจะหนีไปตลาดรถยนต์ไฟฟ้า(further e-mobility market growth)เกือบทั้งหมด

ซีอีโอเครือโฟคสวาเกน ประจำประเทศจีน , ดอกเตอร์ Stephan Wöllenstein
โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า(อย่างเดียว)ในเมือง Anting (แถวเซี่ยงไฮ้) ประเทศจีน
รถโฟคสวาเกน ตระกูล ID ทั้งหมด

ที่มา : insideev

BLINK DRIVE TAKE

รถยนต์ไฟฟ้านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวเอามากๆแหละครับ

การสร้างโรงงานใหญ่ขนาดนี้ในต่างประเทศนั้นถือว่า โฟคสวาเกนเอาจริงนะครับ

สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนต่างประเทศรู้ดีเลยว่า การลงทุนในจีนนั้น ไม่เพียงนำเทคโนโลยีมาให้เค้า copy อย่างเดียวเท่านั้น แต่อีก 5 ปีข้างหน้า จีนจะสามารถสร้างรถยนต์ไฟฟ้าได้ดีกว่าบริษัทฝรั่งเหล่านี้ด้วยซ้ำครับ(และผมเชื่อว่า ฝรั่งเหล่านี้เค้าทำใจมานานแล้ว) และผมมั่นใจเลยว่า รถยนต์ไฟฟ้าแบร์นด์จีนอย่าง SAIC และ FAW นั้นจะมีราคาถูกกว่าและประสิทธิภาพเหนือกว่ารถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อโฟคสวาเกนได้อย่างแน่นอน เพราะอย่างที่ Apple เคยจ้าง Foxconn ผลิต iphone ยังไงล่ะครับ แล้วตอนที่ผลิต iphone 5 นั้นเกิดเรื่องทะเลาะกันขึ้นมา ทำให้ apple ขู่ว่า จะเลิกจ้าง Foxconn ผลิต

Foxconn หันหน้าไปคุยกับรัฐบาลจีน , จากนั้นรัฐบาลจีนบอกว่า “กล้าหือกับจีน เดี๋ยวก็รู้” รัฐบาลจีนเลยไปเรียกบริษัท startup แห่งหนึ่งขึ้นมาเจรจาให้มาผลิตมือถือที่ Foxconn เพื่อให้โรงงาน Foxconn ก้าวต่อไปได้ แต่ไม่คิดว่า บริษัทมือถือยี่ห้อ xiaomi จะพัฒนาระบบมือถือและกล้องถ่ายรูปได้ดีกว่า iphone ซะอีก จนกลายเป็นว่า xiaomi นั้นกินส่วนแบ่งทางตลาดของ iphone ไปหลายประเทศมากๆ หนึ่งในนั้นมีไทยรวมอยู่ด้วยครับ

ที่มา : youngchinabiz

ดังนั้นผมคิดว่า อีก 5 ปีข้างหน้านี้ บริษัทที่รับจ้างผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ให้กับรถยนต์ไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็น volvo, tesla, volkswagen, Mercedes-Benz , Chevrolet, Buick, Cadillac, และยี่ห้ออื่นๆอีกมากมาย จะหันหน้าหนีพวกบริษัทเหล่านี้และมาจับมือกันผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเหมือนกับที่ xiaomi และ huawei หันมา copy และพัฒนากันยังไงครับ

เฟื่องลดา พาทัวร์ออฟฟิศ  (สำนักงาน) Huawei ที่จีน

หลายคนบอกว่า เห้ย รถยนต์น้ำมันเข้าไปผลิตในจีนตั้งนานแล้ว ถ้าเค้าอยาก copy ก็เค้าทำตั้งนานแล้ว ทำไมต้องรอให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า(ว่ะ)

ผมตอบตรงนี้เลยนะครับ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์นั้นมีความซับซ้อนมากๆ การออกแบบเครื่องยนต์นั้นถ้าพลาดไปแค่ 1 mm เดียว เครื่องยนต์ใช้งานได้ไม่นาน เครื่องน๊อคทันที ดังนั้น ที่ผ่านมาจีนไม่สามารถ copy เทคโนโลยีเครื่องยนต์จากยุโรป, ญี่ปุ่นหรืออเมริกาได้เลย เพราะเครื่องยนต์มีอะไหล่มากกว่า 3,000 ชิ้น และการผลิตและออกแบบทั้งหมดนั้นได้ถูกควบคุม(หรือกั๊ก)จากบริษัทแม่ทั้งหมด

แต่รถยนต์ไฟฟ้านั้นใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เช่น มอเตอร์ก็เป็นมอเตอร์แบบเดียวที่ใช้งานในอุตสาหกรรมหนัก , แบตก็เป็นแบบเดียวกันกับที่ใช้งานในมือถือหรือ tablet ดังนั้นการ copy นั้นจะง่ายดายมาก จากอะไหล่ 3,000 ชิ้นในรถยนต์ ICE เหลือเพียง 80 ชิ้น(รถยนต์ไฟฟ้า)นั้น อยากให้คิดดูเอาเองล่ะกันครับว่า copy ง่ายแค่ไหน

ภายในระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า มีแค่นี้จริงๆ ( ขดลวดทองแดง, ลูกปืน, เสื้อมอเตอร์)
ภายในรถยนต์ไฟฟ้า Nissan

เปรียบเสมือนคุณลอกรายงานที่มี 3,000 หน้า กับ รายงานที่มีเพียง 80 หน้า ระดับความยากง่ายในการ copy ก็ต่างกันแล้วครับ ฮ่าๆ

STAY TUNE, STAY WITH BLINK DRIVE

Exit mobile version