เจมส์ เมย์เป็นใคร
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักอดีตพิธีกรลาลีท่าทีกวนๆ กันก่อนนะครับ
เจมส์ เมย์หรือ เจมส์ แดเนียล เมย์ เป็นพิธีกรและนักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษ ซึ่งทุกคนต่างรู้จักเค้าในตำแหน่งพิธีกร ท๊อปเกียร์(รายการรีวิวรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษและทวีปยุโรป) ซึ่งแก๊งค์ของเค้าจะประกอบไปด้วย เจเรมี้ คาร์คสันและริชาร์ด แฮมมอนด์
โดยพวกเค้าได้ทำงานในรายการ ท๊อปเกียร์ ตั้งแต่ปี 2003 จนถึงปี 2015 ซึ่งเป็นปีที่ท๊อปเกียร์ตัดสินใจไม่ต่อสัญญาให้กับเจเรมี้ เพราะว่า เจเรมี้พูดจาเหยียดผิวคนดำโดยคำว่า N (เป็นคำด่าฝรั่งนะครับ) พอหัวออก หางก็ออกตามครับ นายเจมส์ก็เลยถูกโละออกไปพร้อมๆกับนายเจเรมี้ด้วยเลย
ในช่วงปี 2003 – 2015 นั้น ถือว่า พวกเค้าสามคนนั้นเป็นตำนานของรายการรถยนต์ชั้นนำของโลกเลยนะครับ เพราะว่าพวกเค้านั้นมีสไตล์(รูปแบบ)การรีวิวรถได้ถึงพริก ถึงขิงอยู่มากๆ จึงเป็นสาเหตุให้บริษัทรถยนต์ต่างๆ ทั่วโลกให้เกียรติและเกรงใจพิธีกรกลุ่มนี้มากๆครับ
ณ ปัจจุบัน เจมส์หันมาเปิดรายการรถยนต์ของตนเองชื่อว่า “DRIVE TRIBE” ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเลงรถอย่างมากมายไม่แพ้กันครับ
ที่มา : wikipedia
แล้วทำไมเปลี่ยนใจมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า?
เจมส์บอกตั้งแต่ต้นรายการเลยว่า “ผู้ชมอาจจะผิดหวังในตัวผมเพราะว่า ผมนี่รีวิวรถยนต์น้ำมัน (ICE : internal combustial Engine) มาทั้งชีวิต แล้วจู่ๆ ทำไมถึงหันหลังให้กับรถยนต์น้ำมันซะงั้น(พูดด้วยโทนเสียงช้าๆ และกวนตีน) ทั้งๆ ที่คุณเป็นแฟนตัวยงรถยนต์น้ำมันมาโดยตลอด”
เจมส์เล่าว่า “ผมสนใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ แล้วอย่างที่พวกคุณเห็นกันคือ รถยนต์น้ำมันนั้นมันไปต่อไม่ได้แล้ว (แรงกว่านี้ไม่ไหวแล้ว, ประหยัดกว่านี้ไม่ได้แล้ว, ค่าซ่อมบำรุงก็ถูกกว่านี้ไม่ได้แล้ว)” จากนั้นเจมส์ก็ได้หันหลังไปบอกกันผู้ชมในรายการว่า “ผมก็ไม่ได้ทิ้งรถยนต์น้ำมันไปไหนซะหน่อย ผมก็ยังมีของสะสมด้านหลังผมนี้ที่เป็นรถยนต์น้ำมัน(พร้อมกับชี้ไปยัง BMW i3 และ รถมอเตอร์ไซค์มากมาย)”
เจมส์ทำการสรุปว่า “ผมไม่รู้หรอกว่า อนาคตนั้นรถยนต์จะพัฒนาไปทางไหน แต่ที่ผมรู้แน่นอนคือ อนาคตนี้ รถยนต์ทุกคันจะขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า แต่พลังงานที่เอามาใช้นั้น อาจจะเปลี่ยนเป็น ไฮโดรเจน, แบตที่มีขนาดเล็กลง หรือ เป็น anti-matter(อันนี้ค่อนข้าง sci-fi นิดๆนะครับ ปฏิสสาร นั้นเป็นสสารที่ตรงกันข้ามกับสสารครับ เช่น Hydrogen ที่ตรงข้ามคือ anti-Hydrogen แล้วเมื่อนำ สสารกับปฏิสสารมารวมกัน จะเกิดพลังงานมหาสารมากครับ ยิ่งกว่าปรมณูอีก ราคาเลยแพง ที่มา pantip)
“ดังนั้น ระหว่างที่พวกเรารอหาแหล่งพลังงานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าผมก็ไปหารถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตมาขับเป็นการชั่วคราวก่อนล่ะกัน” เจมส์กล่าวปิดท้าย
ภายในรถยนต์ไฟฟ้าเป็นไง?
“หลายคนบอกผมว่า รถยนต์ไฟฟ้านั้นมันเรียบเกินไปนะ เฟอร์นิเจอร์ในรถนั้นแทบไม่มีอะไรมาให้เลย ดูสิเข้ามาในรถมีจอเพียง 2 จอเท่านั้น” เจมส์กล่าวต่อว่า “บางคนเอารถคันนี้ไปเทียบกับ Benz S-class ซะด้วย ผมก็บอกเลยว่า คนเราชอบไม่เหมือนกัน อย่าเอารสนิยมของคุณมาผลักดันให้ผมไปชอบเหมือนคุณ (เอาจริง) ผมไม่ชอบอะไรที่มัน liberace [อ่านว่า “ลิเบอราชี” นั้นคือ นักเปียโนชาวอเมริกาที่ชอบแต่งตัวไฮโซ เวอร์วังอลังการตลอดเวลา ดังนั้นคำพูด ลิเบอราชีนั้นหมายความว่า “เวอร์วัง อลังการ(เป็นคำประชดมากกว่าคำชม)” อารมณ์เหมือน MV ลองรวยของ โน้สอุดมยังไงละครับ]
สรุปง่ายๆ คือ ความเรียบง่ายนั้นคือความสมบูรณ์แบบที่สุดแล้วยังไงละครับ การออกแบบรถยนต์ไฟฟ้าของเทสล่านั้น คล้ายๆ การออกแบบ Macbook ของ apple ที่เน้น minimalist แต่แผงไปด้วยลูกเล่นการใช้งานที่เหนือกว่าค่ายอื่นๆ ครับ
ผมชอบ frunk นะ 55+
Frunk (อ่านว่า ฟรังค์) ย่อมาจากคำว่า Front trunk หรือภายใต้ฝากระโปรงหน้ารถ ซึ่งรถยนต์น้ำมันส่วนใหญ่เกือบ 90 %ของตลาดรถยนต์จะไม่มีพื้นที่ตรงนี้ให้ใส่ของเลย แต่รถยนต์ไฟฟ้านั้นแตกต่างออกไป
การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของรถยนต์ไฟฟ้าโดยเอามอเตอร์ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนของรถยนต์ไฟฟ้าไปวางไว้ที่ตำแหน่งล้อรถเลย และก็เอาแบตวางไว้ใต้ห้องโดยสาร ทำให้เหลือพื้นที่ด้านหน้ารถ(frunk) เอาไว้ใส่ของได้อีกเยอะเลย
ด้านหลังรถก็ให้มาใหญ่กว่ารถ sedan ทั่วไป
ลุงเจมส์บอกว่า “ด้านหลังรถยนต์ไฟฟ้าก็ให้ที่ใส่ของมาใหญ่มากๆ ใหญ่กว่ารถ sedan(4 ประตู)ตามท้องตลาดทั้งหมดซะอีก ซึ่งบอกตามตรงผมใส่ของไม่หมดแน่นอน”
อนาคตจะเหลือเพียง รถยนต์ไฟฟ้า(BEV) กับรถยนต์ไฮโดรเจน(Fuel-cell) เท่านั้น
เจมส์บอกว่า “ผมไม่รู้หรอกว่า การอนุรักษ์โลกนั้นทำยังไง แต่ที่แน่ๆ คือ รถยนต์คันนี้ไม่ได้ปล่อยมลพิษหน้าบ้านคุณ หรือ บนท้องถนนแน่นอน ผมไม่เถียงนะครับ ว่า ไฟฟ้าที่นำมาชาร์จไฟนั้นมาจากโรงงานผลิตไฟฟ้าสกปรก(อย่างโรงไฟฟ้าถ่านหิน) แต่ที่แน่ๆ นั้น มลพิษไม่ได้กระจายทั่วตัวเมืองเหมือนเมื่อก่อนแน่นอน แถมการกำจัดมลพิษที่โรงผลิตไฟฟ้านั้นง่ายกว่าการติดตั้ง เซนเซอร์แพงๆ ในรถแถมท่อไอเสียสูตรพิเศษจากโรงงานซะอีก”
“สิ่งนึงที่ผมเห็นด้วยกับ เจย์ เรโนว์(พิธีกร ซึ่งเป็นกูรูรีวิวรถยนต์ที่มีชื่อที่สุดในประเทศอเมริกา) คือ รถยนต์ไฟฟ้านั้นจะมาแน่นอนและมันจะมาทับรถยนต์น้ำมันเร็วๆ นี้อีกด้วย ส่วนการจะมาเมื่อไหร่นั้นผมตอบไม่ได้ แต่ที่ตอบได้คือ อนาคตจะมีแค่รถยนต์ไฟฟ้ากับรถยนต์ไฮโดรเจนบนท้องถนนเท่านั้น”
เจมส์กล่าวต่ออีกว่า “ถ้าคุณเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ ในตอนนี้(รถยนต์ไฟฟ้า) ผมรับรองได้เลยว่า งานอดิเรก(your hobby ผมคิดว่า เค้าหมายถึงการแต่งรถ)ของคุณนั้นจะอยู่กับคุณไปได้นานกว่านี้แน่นอน
อย่างที่รู้กันว่า ในยุโรปนั้น รัฐบาลแต่ละประเทศเริ่มสร้างกฏหมายกีดกันรถยนต์น้ำมัน(ICE car)ขึ้นมา โดยกีดกันรถยนต์น้ำมันเข้าไปวิ่งเล่นในถนนต่างๆ เช่น ถนนในเมืองหลวงประเทศอังกฤษ(ใครอยากเอารถยนต์น้ำมันวิ่งผ่านต้องเสียค่าผ่านทางเหมือนค่าทางด่วน) เป็นต้น ดังนั้นการซื้อรถยนต์น้ำมันมาใช้ในปี 2020 นั้นอาจจะเป็นเรื่องปวดหัวเพราะรถของคุณจะไม่สามารถเดินทางได้อย่างอิสระในทวีปยุโรปแน่นอน
ทำไม tesla ไม่ทำสีเหลืองออกมาขาย
อันนี้เป็นเรื่องตลกนะครับ ลุงเจมส์แกบอกว่า ถึงผมจะชอบสีน้ำเงินก็เถอะ (ดูได้จากรถยนต์ไฟฟ้า tesla model S ก็สีน้ำเงิน, เวสป้าก็สีน้ำเงิน, รถยนต์ BMW i3 ก็สีน้ำเงิน, รถยนต์น้ำมัน โลตัสก็สีน้ำเงิน) แต่ลุงเจมส์ก็บอกว่า เค้าน่าจะให้ option แปลกๆเหมือน BMW นะ อย่างสีเหลือง(austin yelllow) ของ BMW ที่เป็นสีเฉพาะนั้นสวยเป็นบ้าเลย
Tesla Model S ราคา 3.2 ล้านบาท
รถยนต์ไฟฟ้าของลุงเจมส์นั้นเป็นรุ่น 100D (ไม่ใช่ performance) ราคาสุทธิอยู่ที่ £77,000 (3 ล้านบาท) แต่รถคันนี้สีน้ำเงินต้องเพิ่มเงินเข้าไปอีก £ 1,450 (56,000 บาท) นะครับ รวมๆแล้ว ผมคาดว่า จะอยู่ที่ 3.2 ล้านบาทเนอะ
ผมไม่แน่ใจว่า ที่ไทยใช้หลักการอะไรในการคำนวณภาษีแบตถึงทำให้รถยนต์ไฟฟ้าหน้าตาแบบนี้พุ่งไปถึง 6-7 ล้านบาท(ใครมีราคาที่ถูกกว่านั้น รบกวนแจ้งมาเลยนะครับ ผมจะนำมาแก้ไขราคาในไทยให้)
เขตปล่อยมลภาวะต่ำสุด (Ultra-Low Emissions Zone หรือเขต ULEZ)
ultra-low emission zone (ULEZ) คือ เขตแดนในใจกลางเมืองหลวงของอังกฤษ(ลอนดอน) ที่อนุญาตให้รถที่มา emission(มลพิษ) ต่ำกว่ามาตราฐานเข้ามาได้ หรือแปลอีกความหมายนึงคือ อนุญาตเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถสาธารณะที่ปล่อยควันต่ำมากๆ
ส่วนใครมีรถยนต์น้ำมันที่ผ่านมาตราฐานยูโร 3 ขึ้นไปแล้วอยากคมนาคมผ่านโซนนี้ก็ต้องจ่ายเงิน 12.5 ปอน์ดหรือ 520 บาท เพื่อขออนุญาตขับรถสัญจรผ่านเขตแดนนี้ครับ
BLINK DRIVE TAKE
มันเป็นเรื่องน่าตลกสิ้นดีครับที่ประเทศต่างๆ ในยุโรปกลับเดินสวนทางกับประเทศไทย ประเทศเหล่านั้นตั้งกำแพงภาษีใส่รถยนต์น้ำมันแถมสร้างเขตปลอดรถยนต์น้ำมันหรือรถยนต์ดีเซลแบบเฉพาะในเมืองหลวงของตนเองเพื่อส่งเสริม(ทางอ้อม)ให้ผู้คนหัวไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า
และอีกเรื่องคือ incentive (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า ปี 2019 นี้ มีหลายประเทศทำการลดเงิน incentive ไปเรียบร้อยแล้ว ยังไงผมจะขอ update เงินอุดหนุนของแต่ล่ะประเทศให้ดูโพสหน้าล่ะกันนะครับ เพราะเรื่อง incentive นี่เขียนได้อีกโพสนึงสบายๆ เลย แต่ขอบอกเอาไว้ก่อนเลยว่า ไม่ใช่ทุกประเทศในยุโรปที่สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าด้วยการสร้าง incentive ขึ้นมานะครับ อย่าง เยอรมันนั้นให้ incentive กับรถยนต์ไฟฟ้าเพียงคันล่ะ 4,000 ยูโรหรือ 1.34 แสนบาทต่อคัน แต่เดี๋ยวก่อนนะครับ ราคาขายรถยนต์ไฟฟ้า tesla model 3 ในเยอรมันนั้นมีราคาสูงถึง 44,390 ยูโร หรือ 1.49 ล้านบาท ดังนั้นส่วนลด 4,000 ยูโรนั้นคิดเป็น 10 % ของราคารถเองนะครับ อาจจะฟังดูเยอะ แต่จริงๆ แล้ว ลดราคาแค่นี้ไม่น่าจะจูงใจให้คนเทใจไปเทสล่าได้ครับ ดังนั้นผมมองว่า การที่รถยนต์ไฟฟ้าขายดีนั้นไม่ได้มาจาก incentive แน่นอน
ปล. ราคาขายที่เยอรมัน 1.49 ล้านบาท นี่สูงแล้วหรอครับ ? อย่าลืมนะครับ ประเทศเยอรมัน ผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกไปต่างประเทศทั่วโลก แต่ทำไมไม่สร้างกำแพงภาษีนำเข้ารถยนต์เหมือนไทยครับ? สงสัยกันไหมเน้อออออออ
ส่วนประเทศไทยนั้น สวนทางกับยุโรปตรงที่กำหนดให้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นรถยนต์ขนสารพิษขนาดที่สามารถทำลายประเทศได้ในพริบตา
ขณะนี้ประเทศไทยกำลังส่งเสริมรถไฟฟ้า ทำให้ในอนาคตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์มีมากขึ้น ดังนั้นไม่อยากเห็นซากแบตเตอรี่กลายเป็นขยะสร้างปัญหาให้กับไทยในอนาคต จึงจัดตั้งเป็นกองทุนขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้ผู้ผลิตและนำเข้าแบตเตอรี่มีการนำแบตเตอรี่ใช้แล้วไปรีไซเคิล หรือไปกำจัด
ไทยรัฐ
คือผมอยากจะบอกอะไรตรงนี้นะครับ รัฐบาลประเทศพัฒนาแล้วทุกประเทศบนโลก เค้าเห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องตลกหรือป่าวครับ มันเป็นข้ออ้างสำหรับกีดกันรถยนต์ไฟฟ้า
เอาง่าย ๆนะครับ ทวีปยุโรปนั้นรักสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในโลก แถมเรื่องสารพิษจากแบตนั้น ถ้าเป็นอันตรายจริงและไม่สามารถรีไซเคิลได้ เค้าไม่ปล่อยให้รถยนต์ไฟฟ้ามาขายในประเทศของเค้าแน่นอนครับ
อย่างรถยนต์ที่ปล่อยควันไอเสียที่ไม่ทำร้ายคนมากนัก ยุโรปยังสั่งห้ามให้ใช้เลย ทำให้มาตราฐานรถยนต์ในยุโรปนั้นเข้มงวดที่สุดในโลก
ยกตัวอย่างถุงพลาสติกที่สามารถ รีไซเคิลแท้ๆ ใช้งานกันมาตั้งนานกลับโดนแบนในยุโรปซะงั้น แต่ประเทศไทยกลับทำเป็นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น?
รัฐสภายุโรปมีมติท่วมท้น 571 ต่อ 53 เสียงในการผ่านคำสั่งแบนพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เพื่อแก้ปัญหามลภาวะในทะเล ท้องทุ่ง และแหล่งน้ำต่างๆ โดยสิ่งของอย่างหลอดพลาสติก สำลีพันก้าน รวมถึงจาน มีด ช้อน และส้อมพลาสติกแบบใช้ได้ครั้งเดียวจะถูกแบนภายในปี 2021 และขวดน้ำพลาสติก 90% จะถูกนำมารีไซเคิลใช้ใหม่ภายในปี 2025
thestandard
ฝากให้คิดนะครับ ถ้าแบตรถยนต์ไฟฟ้าไม่สามารถรีไซเคิลได้จริง ยุโรปไม่กล้านำเข้าไปขายหรอกครับ
เรื่องรีไซเคิลแบตก็เป็นเรื่องที่ฝรั่งเค้าทำได้นานมากแล้วครับ อย่างคลิปด้านล่างนี้มีมาตั้งแต่ปี 2019 แล้ว แต่คนไทยหรือรัฐบาลไทยหน้าด้านบอกว่าแบตรถยนต์ไฟฟ้ารีไซเคิลไม่ได้ พูดสวนทางกับคนทั้งโลกจริงๆ
ผมองว่าเป็นเรื่องตลกสิ้นดีที่ไทยหน้าด้านมองแบตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ แต่การทิ้งน้ำมันเครื่องลงคลองกลับเป็นเรื่องที่ทุกคนปล่อยผ่านซะงั้น
จริงๆ ภาครัฐควรเข้ามาควบคุม(จัดการวางแผนหาแนวทาง สร้างกฏให้บริษัทต่างๆ ไม่เอาขยะแบตไม่ทิ้งครับ) และทำราคารถยนต์ไฟฟ้าให้เป็นกลางซะทีแหละครับ ไม่ใช่กีดกันไปวันๆ แบบนี้เนอะ อิๆ