Blink Blink
News

Mcdonald ลงทุนสร้างสถานีชาร์จไฟทั่วประเทศสวีเดน (แล้วเสร็จปี 2020)

ณ ขณะนี้ต้องขอบอกเลยว่า รถยนต์ไฟฟ้าในแถบยุโรปนั้นมาแรงทุกประเทศจริงๆ รวมไปถึงประเทศสวีเดนที่มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเทสล่า โมเดล 3 มาเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศสวีเดน ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติยุโรปเลยที่รถยนต์อเมริกาไล่ตียอดขายรถยนต์ยุโรปแบบหืดจับขึ้นคอแบบนี้

ที่มา : cleantechnica

Mcdonald ไม่ได้ขายเบอร์เกอร์ แต่ทำธุรกิจอสังหา

หลายคนบอกว่า Mcdonald เป็นร้านอาหารเฟรนไชน์ที่มีสาขาเยอะที่สุดในโลก ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องจริงครับ แต่ธุรกิจหลักของ mcdonald นั้นไม่ได้ขาย เบอร์เกอร์นะครับ แต่เค้าทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่างหาก

จริงๆแล้วเราไม่ได้อยู่ในธุรกิจอาหาร แต่เราทำธุรกิจอสังหาอยู่ต่างหาก ซึ่งเหตุผลเดียวที่เราขายแฮมเบอเกอร์ ราคา 15 เซนต์ ก็เพราะมันคือสิ่งที่สร้างกำไรได้เยี่ยมที่สุดเพื่อให้ผู้เช่าสามารถจ่ายค่าเช่าให้เราได้ยังไงละ – อดีต CFO ของแมคโดนัล

Harry J. Sonneborn

ซึ่งเงินส่วนนี้ละครับที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โดยผมขอย้อนเวลากลับไปซักหน่อยนะครับ จุดเริ่มต้นของเรื่องมันเริ่มจากคุณ อดีต CFO ของแมคโดนัล Harry J. Sonneborn นี่ละครับที่เข้ามาช่วยเหลือ Ray Croc ของเราโดยการเปลี่ยนแมคโดนัลด์เป็น เครื่องจักรผลิตธนบัตรจากธุรกิจอสังหาและมีอำนาจเหนือสองพี่น้องกันเลยทีเดียว โดย Harry J. Sonneborn เคยพูดไว้ว่า “จริงๆแล้วเราไม่ได้อยู่ในธุรกิจอาหาร แต่เราทำธุรกิจอสังหาอยู่ต่างหาก ซึ่งเหตุผลเดียวที่เราขายแฮมเบอเกอร์ ราคา 15 เซนต์ ก็เพราะมันคือสิ่งที่สร้างกำไรได้เยี่ยมที่สุดเพื่อให้ผู้เช่าสามารถจ่ายค่าเช่าให้เราได้ยังไงละ” ซึ่งจากนั้น ทั้งคู่ก็พากันเปิดบริษัท ชื่อ Franchise Realty Corp. แล้วเป็นเจ้าของที่ดินของผู้ถือแฟรชไชส์อีกที ซึ่งจากความหมายของคำว่า อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดิน หรือ ทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน รวมทั้งสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย ก็สรุปได้เลยว่า Ray Croc เป็นเจ้าของที่ดิน ร้านอาหารฟาสฟู๊ดบนที่ดินของเค้าด้วยนั่นเอง ไหนๆ เป็นเจ้าของไม่ได้ ก็เอามันทั้งที่ดินเลยนะกันครับ

ดังนั้นกำไรทั้งหมดที่ได้จากแฟรชไชส์มาจาก 2 รูปแบบซึ่งได้แก่ ค่าส่วนแบ่งแฟรนไชส์ 4 เปอร์เซ็นหรือมากกว่านั้นจากยอดขาย และค่าเช่าที่ดินของแมคโดนัลด์นั่นเอง ซึ่งค่าเช่าที่นี้ไม่ได้เก็บกันแบบด้วยไปนะครับ พี่แกได้จัดการบวกเพิ่มจากราคาค่าเช่าทั่วไปอีก ซึ่งรายได้จากค่าเช่าที่ดินของแฟรนไชส์ได้ถือเป็น 65% ของรายได้จากแฟรชไชส์ทั้งหมดเลยนะครับ 


โดย Richard Adams ที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง และเป็นที่ปรึกษาแฟรนไชส์เจ้าอื่นๆกล่าวว่าแมคโดนัลด์จ่ายค่าเช่าเดือนละ 2,400 ดอลล่าร์ (ประมาณ 80,000 บาท) แก่ห้างสรรพสินค้า และขอส่วนแบ่งจาก Adams ถึง 8.5% จากกำไรการขาย และเขาต้องจ่ายค่าเช่าที่ให้แก่แมคโดนัลด์ถึง 170,000 ดอลล่าร์ต่อปี หรือ 14,000 ดอลลาห์ต่อเดือน คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 490,000 บาทครับ กินอร่อยเลยครับแมคโดนัลด์ ผมหมายถึงค่าเช่าที่นะครับไม่ใช่แฮมเบอเกอร์

ที่มา : estopolis

Mcdonald นำร่องสร้างสถานีชาร์จไฟมาตั้ง 10 ปีแล้ว

ดังนั้นมีหรอที่ Mcdonald จะไม่สนใจธุรกิจใหม่ๆ อย่างสถานีชาร์จไฟครับ

ในปี 2009 , Mcdonald ได้นำร่องสร้างสถานีชาร์จไฟในประเทศแถบแสกนดิเนเวียทั้งหมด 55 แห่ง ซึ่ง Mcdonald คาดหวังว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ การสร้างสถานีชาร์จไฟจะถูกนำไปรวมในแผนการณ์สร้าง Mcdonald ทุกสาขาทั่วโลก เหมือนกลับการสร้างช่อง drive-thru เพื่อให้เราขับรถไปสั่งอาหาร-รับอาหารโดยไม่ต้องลงจากรถยังไงกันล่ะครับ

อย่าว่าอย่างนั้นอย่างนี้เลย Mcdonald ไม่ได้ทำตามเทรนของโลกนะครับ แต่ Mcdonald เลือกที่จะเป็น “ปลาเร็ว” ในด้านธุรกิจมาตลอด ซึ่งเค้าตั้งทีมส่งแบบสอบถามไปถึงผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าจนกลายออกมาเป็น report ว่า 48 % ของผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้านั้นประสบปัญหาการหาสถานีชาร์จไฟอยู่ครับ

อย่าลืมนะครับ ถ้าธุรกิจไหนแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้ ธุรกิจนั้นจะทำกำไรได้อย่างมหาศาลเลยครับ เช่น 7-11 เป็นต้น , บอกตามตรงว่า 7-11 ในไทยนั้นไม่ได้ขายของถูกกว่าร้านขายของชำเลยครับ , แต่สิ่งที่ทำให้ทุกคนหันเข้าไปใช้งาน 7-11 เพราะ 7-11 นั้นไม่เคยปิดให้บริการเหมือนร้านขายของชำ สร้าง brand loyalty ให้กับผู้บริโภคว่า ถ้าที่ไหนมี 7-11 ที่นั่นเจริญแน่นอน และหาซื้อของกินได้ง่ายอย่างแน่นอนครับ

Mcdrive คือยุทธศาสตร์ใหม่ของบริษัท Mcdonald

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา Mcdonald นั้นพยายามไปตั้งร้านของตนเองให้อยู่ในถนนทางหลวงเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใช้บริการ พอมาถึงยุครถยนต์ไฟฟ้าบูมแล้ว Mcdonald แทบไม่ต้องทำอะไรเลยครับ แต่ติดตั้งป้ายชาร์จไฟเพิ่มเข้าไปบนป้าย Mcdonald แบบนี้เรียกว่า win-win มากๆ , win ทั้งลูกค้าที่ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า จะได้มีที่ชาร์จไฟระหว่างทาง, และก็ win ทั้งร้าน Mcdonald ที่จะสามารถเพิ่มยอดขายและ traffic(การสัญจร)ของลูกค้าได้อย่างมากขึ้น อย่างน้อยก็ต้องสั่งกาแฟหรือไม่ก็ไอติมกินบ้างระหว่างรอแหละว่ะ ฮ่าๆ

ส่วนราคาค่าชาร์จไฟก็ตกประมาณ 2.5 SEK (Swedish Krona)[ 7.82 บาท] ต่อนาที ซึ่งให้บริการโดยบริษัท nuon ผ่านหัวชาร์จ fast charge : 50 kW เรียกได้ว่า เกินคุ้มกับค่าไฟในการชาร์จและชาร์จเต็ม 80 % ภายใน 30 นาทีสบายๆ

ชาร์จ 30 นาที ก็ 234 บาท วิ่งได้ 300 km ชิวๆ (สำหรับ tesla model 3)

ส่วนราคา Big Mac ก็อยู่ที่ 52 SEK หรือ 162.7 บาทนะครับ

อ้างอิงจากเว็บไซต์ designboom

ประเทศสวีเดนมีเงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า

ใช่ครับ ประเทศสวีเดนไม่เพียงไม่เก็บภาษีแบตหรือภาษีรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจังซะด้วย

อย่างรถยนต์ไฟฟ้านั้นเค้าให้ incentive (เงินอุดหนุน)ที่ 60,000 SEK หรือ 187,731 บาทต่อคัน

ของประเทศไทยนั้น ผมเชื่อว่า ประชาชนภาวนาอย่างเดียวคือ เอาภาษีต่างๆ ออกไปเพื่อให้ราคารถยนต์ไฟฟ้านำเข้าจากต่างประเทศหรือผลิตในประเทศไม่โดดเกิน 200% พวกเค้าก็พอใจแล้วครับ ไม่ต้องมา incentive (เงินอุดหนุน)ให้เมื่อยหรอกครับ

ทุกวันนี้ nissan leaf ในประเทศสวีเดนขายกันคันล่ะ 389,000.00 SEK หรือ 1,217,126 บาท(นี่ขนาดได้ incentive ไปแล้วแพงกว่าอเมริกาซะอีก) แต่ไทยไม่ยอมน้อยหน้าครับ เอาราคา 1.99 ล้านบาทไปเลย ฮ่าๆ ไทยซะอย่าง ใครจะทำไม

ที่มา : cleantechnica

BLINK DRIVE TAKE

Mcdonald พลิกวิกฤตของผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเป็นโอกาสทองของเค้า ซึ่งก็ตรงกับ concept บริษัทคือ golden arches (รูปตัว m นั่นไงครับ) หรือคว้าโอกาสทองทุกอย่างที่เข้ามาให้หมด

ดังนั้นไม่แปลกใจว่า อนาคต ร้าน Mcdonald จะยังครองแชมป์มหาอำนาจในธุรกิจ food chain ต่อไปแหละครับ

ถึงเวลานั้นแล้ว ก็ยากที่ food chain บริษัทอื่นๆ จะมาล้ม mcdonald แล้วล่ะครับ มีทั้ง drive-thru, สถานีชาร์จไฟ, เบอร์เกอร์, ห้องน้ำ และก็ทำเลทอง

ถือว่า เป็นอัจฉริยภาพของ food chain ของโลกใบนี้เลยครับ

ขอบคุณ Mcdonald ที่มอบสิ่งดีๆ ให้แก่ชาวยุโรปครับ

stay tune, stay with blink drive

Follow by Email