เป็นที่รู้กันว่า ตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 คันนี้ออกมาสู่สายตาประชาชนแล้ว การจะเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ยิ่งมี ใบจองมากกว่า 400,000 ใบจอง แต่กำลังผลิตสามารถทำได้เพียง 2,000 คันต่อเดือนในช่วงแรก เป็นอุปสรรคอย่างมากสำหรับคนธรรมดา และการที่บริษัทผลิตรถยนต์พวกนี้(เช่น audi หรือ Porsche) จะซื้อมาเพื่อชำแระก็เป็นเรื่องยากเช่นกัน
แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ. 2561) มีใบสั่งซื้อรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ไปถึง 2 คัน และรถ 2 คันนี้ถูกจัดส่งทางอากาศโดย DHL ในวันรุ่งขึ้นไปยังประเทศเยอรมันทันที ส่วนจุดหมายปลายทางก็คือ “Leipzig” ซึ่งก็คือ ฐานบัญชาการของ BMW โดยมีการคาดการณ์ว่า คนที่ซื้อรถ tesla model 3 เหล่านี้ไปก็เพื่อเอาไปชำแระ(reverse-engineer) และวิเคราะห์ชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อนำไปพัฒนาต่อ
“The Porsche and Audi engineers have to change [the PPE] because Tesla’s Model 3 has gotten better than they thought.”
หลังจากที่วิศวกรของปอร์เช่และออดี้ได้ชำแระรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 ออกมาดูแล้ว พวกเค้าก็ได้ประกาศยอมรับว่า ยังไม่เคยเห็นวิศกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบบนี้มาก่อนเลย และวิศกรรมยานยนต์ของ Tesla นั้นก้าวนำพวกเค้าไปอย่างมาก ถึงขั้นออกมาเปลี่ยนแผนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ทั้งหมดเลย ซึ่งแผนนั้นชื่อว่า PPE ย่อมาจาก Premium Platform Electric ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่าง Audi กับ Porsche เพื่อพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและดีกว่าเดิม โดยแผนนี้จะเอารถออกมาขายในปี 2563 – 2564 (2020-2021)
ค่ายหนังสือแม็กกาซีนชื่อดังของเยอรมันชื่อ Manager-Magazin ออกมาตีแผ่ความล้มเหลวของ รถยนต์ Audi รุ่น E-tron ว่า
“รถยนต์ไฟฟ้า รุ่น e-tron นั้นเป็นรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกของค่ายรถยนต์ audi ซึ่งตอนนี้ไม่เพียงแต่ส่งมอบรถให้กับลูกค้าช้าไปเท่านั้น แต่ยังเจอปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในสายการผลิตซึ่งตอนนี้ audi ลงทุนไปมากกว่า 2 พันล้านยูโร หรือ 7.1 หมื่นล้านบาท แล้ว แต่ยังไม่สามารถนำรถออกมาขายได้เลย เพราะว่าขั้นตอนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้านั้น ต้องเดินสายการผลิตใหม่เกือบหมด ซึ่งการออกแบบส่วนนี้ใช้เงินมหาศาลอย่างมาก โดย audi ได้คำนวณดูแล้วว่า ถ้าจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ถึงจุดคุ้มทุน( break-even) นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 600,000 คัน แต่พอเจอเซอร์ไพร์สจาก การชำแหละ tesla model 3 ออกมาดูแล้ว เหมือนตอนนี้พวกเราต้องกลับไปนับหนึ่งใหม่หมดเลย เพราะระบบมอเตอร์และแบตของ tesla นั้นเหนือชั้นกว่าคู่แข่งทุกค่ายบนโลกนี้ ทำให้พวกเราต้องกลับไปทำการบ้านมาใหม่ทั้งหมด เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการออกแบบ (PPE) ทั้งระบบ”
อ้างอิง : https://electrek.co/2019/02/09/tesla-model-3-cost-surprise-porsche-audi-reverse-engineering/
Blink Drive Take
เคยได้ยินเรื่องราวตอน Tesla เข้ามาในวงการรถยนต์เมื่อ 10 ปีที่แล้วได้ไหมครับ ตอนนั้น ค่ายรถใหญ่ๆ ต่างดูถูกค่ายรถยนต์ไฟฟ้า Tesla อย่างมาก บอกว่า ทำอะไรขวานผ่าซากบ้าง, สวนกระแสโลกบ้าง, แล้วที่หนักสุด ค่ายรถใหญ่ๆ พวกนั้น พูดกับสื่อว่า ค่ายรถกระจอก(แบบ tesla) ไม่เคยอยู่ในสายตาพวกเราหรอก ถ้าพวกเราจะเหยียบค่ายรถนี้ให้ตายจากวงการรถยนต์ไปในวันพรุ่งนี้ก็ย่อมได้ แต่ที่ไม่ทำเพราะพวกเราเมตตาคุณอยู่น่ะ ซึ่งการเหยียบที่เค้าหมายถึงคือ การที่ลงมาสร้างรถยนต์ไฟฟ้าแข่งกับ Tesla ยังไงครับ เค้าเคยพูดเอาไว้ว่า กำลังผลิตของ Volk Swagen นั้น มากกว่า กำลังผลิตของ Tesla เป็นร้อยเท่า โรงงานผลิตรถยนต์ของ GM นั้นก็ยิ่งใหญ่กว่า Tesla เป็น ร้อย เท่าเช่นกัน
แต่ทำไมบี้ไม่ได้ซักทีน้าาาา แล้วทำไมปล่อยให้ Tesla โตเอาๆ แบบนี้กันน่ะเนี่ย
ผมเฉลยให้น่ะครับ
เพราะการสร้างรถยนต์น้ำมัน ช่างแตกต่างกับการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าราวฟ้ากับเหว
การสร้างรถยนต์น้ำมันต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะทางในการออกแบบผนังสูบ, ลูกสูบให้มีประสิทธิภาพ, และอุปกรณ์ 2,000 กว่าชิ้นให้แม่นยำมากๆ ซึ่งบริษัท noname หน้าไหนก็ตาม ต้องใช้ระยะเวลาอย่างต่ำ 50 ปี ถึงจะสร้างเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าบริษัทใหญ่ๆ อย่าง GM และ Volk Swagen
Tesla นั้นมาสร้างรถยนต์น้ำมันแข่งกับ GM ไม่ไหวหรอก
แต่การสร้างรถยนต์ไฟฟ้า มันไม่ได้ใช้ประสบการณ์อะไรเลยจากการสร้างรถยนต์น้ำมัน เรียกว่า ใครก็ตามที่จะสร้างรถยนต์ไฟฟ้าขายนั้น ต้องมาเริ่มจากศูนย์
ช่วงแรกของการสร้างรถยนต์ไฟฟ้านั้นเป็นช่วงบุกเบิก ดังนั้น ราคารถยนต์ไฟฟ้าช่วงแรกจะแพงมากๆ รถยนต์ไฟฟ้า Tesla model 3 คันนี้คือ ผลผลิตของประสบการณ์การสร้างรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 10 ปี แต่พวก audi, หรือ porsche นั้นยังไม่เคยเริ่มสร้างมาขายซักคันเลย เรียกได้ว่า ไม่มีประสบการณ์การสร้างรถยนต์ไฟฟ้าเลยก็ว่าได้ แต่ถ้าตัวเองจะสร้างรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้เร็วๆ ก็ต้องเรียนทางลัด ซึ่งนั่นก็คือ ซื้อมาชำแระเพื่อ copy ให้เหมือนเค้านี่แหละครับ ต่อให้สร้างเหมือนแค่ไหน แต่ไม่เคยทดสอบก็จะเกิดปัญหาหลังการขายได้ ทำให้ตัวเองไม่กล้าสร้างออกมาเยอะแบบ tesla เพราะกลัวว่า ถ้าเกิดปัญหาแล้วจำเป็นต้อง recall ล่ะก็ จากสร้างรถเพื่อกำไรจะกลายเป็นขาดทุนทันที เพราะ recall (เรียกกลับมาซ่อม)แต่ล่ะครั้งใช้เงินมหาศาลเพื่อซ่อมรถเหล่านี้น่ะครับ ซึ่ง Tesla นั้น ปูทางมามากกว่า 10 ปีแล้ว กับการขายรถยนต์ไฟฟ้า, ซ่อมรถยนต์ไฟฟ้า, recall รถยนต์ไฟฟ้า, ฯลฯ ดังนั้น พอเค้ามาทำ scale ใหญ่ขึ้นก็ไม่ต้องกลัวอะไรเยอะเหมือนคนเพิ่งเริ่มทำรถยนต์ไฟฟ้า
แต่ที่สำคัญคือ ตอนนี้ demand(ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า) นั้นมันเพิ่มขึ้นมหาศาล เช่น porsche เปิดให้จองรถยนต์ไฟฟ้า Taycan ผ่าน website ของตนเอง พอเวลาผ่านไป 4 วัน เว็บล่มแล้วทำการปิดการจองเพราะว่า ยอดจองมีมากกว่า 40,000 คันภายใน 4 วัน porsche ก็ออกมาแถลงการทันทีว่า ยอดขนาดนี้ผลิตไม่ไหวหรอก ต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 2 ปีในการผลิตและส่งมอบ อย่าเพิ่งสั่งกันมาเยอะสิฟ่ะ ไปสั่งporsche รุ่นอื่นๆ (ที่ใช้น้ำมัน)ใช้บ้างสิ (CEO ออกมาอวดแกมบ่น)
ส่วน Audi ก็ประสบปัญหาหนักตอนนี้คือ ได้ใบจองรถมามากกว่า 20,000 ใบแล้ว และไม่สามารถส่งมอบรถให้กับลูกค้าตามกำหนด แถมลูกค้าแถบอเมริกาตอนนี้บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า อยากซื้อ แต่ audi ไม่มีรถออกมาขาย โดย audi ได้เลื่อนเวลาส่งมอบรถในประเทศอเมริกาออกไปเป็นปีหน้าเรียบร้อยแล้ว (2020)
แม้กระทั้ง Kia กับ Hyundai ก็เจอปัญหาเดียวกันคือ ยอดจองมากกว่ากำลังผลิตของตัวเอง ตอนนี้ พวกเค้าไม่สามารถส่งรถยนต์ไฟฟ้ามาขายในประเทศอเมริกาได้เลย เพราะคนเกาหลีจองเอาไว้หมดแล้ว ทำให้ Kia กับ Hyundai เสียหน้าเป็นอย่างมากที่ไม่สามารถขายรถยนต์ไฟฟ้าในอเมริกาภายในต้นปีนี้
ช่วงแรกที่ Nikon กับ Canon ย้ายไปทำกล้อง digital ก็สร้างออกมาได้ทุลักทุเลมากๆ เพราะไม่มีประสบการณ์การสร้างกล้อง digital มาก่อน เรียกได้ว่า ตัวเองต้องไปเดินตาม Fuji หรือ Sony อยู่ซักพัก จนตอนนี้ขึ้นมาสูสีกันแล้ว ฮ่า ๆ
ผมขอเปรียบเทียบรถยนต์น้ำมันเป็น กล้องฟิล์มน่ะครับ
หลักการทำงานของกล้องฟิล์มนั้นสลับซับซ้อนมากๆ เช่น การใส่ฟิล์มเข้าตัวกล้องต้องเปิดด้านหลังออกแล้วทำการใส่ฟิล์มลงไป หลังจากถ่ายรูปเสร็จแล้วก็ต้องเอาฟิล์มไปร้านล้างฟิล์ม แล้วการจะสร้างร้านล้างฟิล์มแบบเชิงพาณิชย์นั้นต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 5-10 ล้านบาท เพราะการใช้เครื่องล้างฟิล์มแบบทันสมัยนั้นทำให้งานทุกอย่างออกมาเร็วมาก โดย process ล้างฟิล์มนั้นมีไม่ต่ำกว่า 5 ขั้นตอน (ผมเรียนถ่ายรูปมาด้วยเลยเข้าใจห้องมืดว่าทำงานอย่างไร) ดังนั้น กล้องฟิล์มจะวัดกันที่ฝีมือการล้างฟิล์มและไอเดียการถ่ายรูปน่ะครับ
คราวนี้หันมาดูกล้อง ดิจิตอลบ้าง ถ้าคุณอยากเอารูปออกมาจากกล้องล่ะ ก็แค่ไปซื้อ card-reader มาจากนั้นก็ซื้อคอมพ์ spec ไม่น่าเกลียดมาซักตัว ราคาก็ประมาณ 20,000 บาทก็สามารถล้างรูปจากกล้องได้แล้ว ส่วน printer ก็ไปซื้อ canon หรือ epson ที่ติด ink tank มาซักตัวเพื่อสร้างธุรกิจ จบแล้ว เสียเงินไม่เกิน 100,000 บาท ก็ได้ร้านล้างรูป digital แล้ว แต่ราคา software นั้น แพงมากๆ ทั้ง photoshop, lightroom, หรือ capture one ค่าลิขสิทธิ์ software นั้นสูงลิ่วเลย เรียกได้ว่า ถ้าซื้อของแท้มาใช้กับเครื่องคอมพ์ทุกเครื่องในร้านจริงๆ ก็ใช้ทุนมากกว่า 1 ล้านบาท แน่นอน ดังนั้น กล้อง digital วัดกันที่ฝีมือการแต่งภาพครับ เพราะถ่ายออกมาอย่างไรก็มาแก้ไขในคอมพ์ได้ดีกว่ากล้องฟิล์มเป็นร้อยๆ เท่า
ผมเปรียบเทียบรถยนต์ไฟฟ้าเป็น กล้อง digital
กล้อง digital ไม่มีอะไหล่อะไรซับซ้อน สิ่งต้องเปลี่ยนก็ไม่มีเลย นอกจากแบตซึ่งใช้ได้ 2-3 ปีกว่าจะเสื่อม แตกต่างจากกล้องฟิล์มที่ต้องเสียเงินทุกครั้งที่เปลี่ยนฟิล์ม
รถยนต์ไฟฟ้า ไม่มีอะไหล่อะไรซับซ้อนเช่นกัน สิ่งที่ต้องเปลี่ยนก็เป็นแค่แบต ซึ่งอายุการใช้งานอยู่ที่ 8-10 ปีกว่าจะเสื่อม จะเสียเงินเพิ่มก็เป็นค่า software ลิขสิทธิ์เช่น auto -pilot ที่ tesla คิดค่า activate ต่อคันที่ 160,000 บาท ($5,000)
แตกต่างจากรถยนต์น้ำมันที่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุกๆ 6 เดือนและของเหลวอื่นๆ ทุกๆ 1 ปี และต้องคอยเปลี่ยนอะไหล่ต่างๆ ทุกๆ 2-3 ปี เช่น แหวนรองน๊อต, ยางรองแท่นเครื่อง, ไส้กรองน้ำมัน, ไส้กรองอากาศ, หัวเทียน, สายพานเครื่องยนต์, และอะไหล่อื่นๆ อีกมากกว่า 1,000 อย่าง
ยังไงก็รอดูกันต่อไปน่ะครับ ว่า บริษัทรถยนต์น้ำมันที่ภาคภูมิใจกันหนักกันหนาอย่าง GM หรือ Volk Swagen นั้นจะสามารถสร้างรถยนต์ไฟฟ้าเทียบเท่าค่ายรถอย่าง Tesla ได้ทันภายใน 1-2 ปีนี้ไหม?
ไม่งั้น พี่จีนจะแซงเอาได้น่ะครับ เพราะ BYD, Byton หรือ Nio(จริงๆ จีนมีค่ายรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่านี้ แต่ผมยกเอาค่ายรถที่เด่นๆ ออกมาเปรียบเปรยน่ะครับ) นั้นคือ เสือซุ่มเงียบที่กำลังรอจังหวะกระโดดเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตก็เป็นได้ครับ
ต้องขอออกตัวก่อนเลยว่า ผมไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้ Tesla น่ะครับ ผมเชื่อว่า คนไทยหลายคนนั้นเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับ Tesla ได้มากกว่าผมหลายเท่า แต่ที่ผมเขียนเรื่องราวของ Tesla ออกมาเยอะขนาดนี้ ก็เพราะว่า ตอนนี้ Tesla เป็นผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้า ซักวันนึงถ้าใครสามารถสรรสร้างเทคโนโลยีได้ดีกว่า Tesla ผมจะนำเรื่องราวเหล่านั้นมาเสนอพวกคุณแน่นอน นี่ก็คือ สาเหตุที่ website ของผมไม่ได้ชื่อ Teslafanpage.com หรือ teslathailand.com น่ะครับ เพราะผมอยากสร้างสื่อที่ไม่ยึดติดกับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเท่านั้น ผมอยากให้เว็บผมเป็นเว็บสากลเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ทำให้ผมถึงคิดชื่อเว็บ blink-drive.com ขึ้นมา เอาไว้ คน like ครบ 1 พันคนเมื่อไหร่ผมจะมาเฉลยน่ะว่า ชื่อเว็บนี้มีที่มา ที่ไปอย่างไร ฮ่า ๆ